การอ่านแบบPARU

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
Tubolrat (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(การอ่านด้วยการ preview, ask, read, use)

รุ่นปัจจุบันของ 06:14, 24 มกราคม 2554

การอ่านแบบ PARU

วิธีการอ่านแบบ PARU เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณจำสิ่งที่คุณอ่านได้ง่าย และช่วยให้คุณอ่านได้เร็วขึ้น และเข้าใจมากขึ้น คำว่า PARU มาจาก • Preview สำรวจ • Ask ถาม หรือตั้งคำถาม • Read อ่าน • Use ใช้

สำรวจ วิธีสำรวจขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งที่คุณจะอ่าน เช่น คุณสำรวจหนังสือได้ด้วยการดูชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ปก คำนำ ความเห็นของนักวิจารณ์ สารบัญ หัวข้อของแต่ละบท ภาพประกอบ ดัชนี และรายการคำศัพท์ หรือสำรวจบทความในนิตยสารได้ด้วยการดู ชื่อเรื่อง ผู้แต่ หัวข้อ และภาพประกอบ และสำรวจอีเมลได้ด้วยการดูหัวข้อเรื่องและตอนท้ายของอีเมลเพื่อดูว่าผู้เขียนต้องการอะไร

ถาม หรือตั้งคำถาม ในการอ่าน ขอให้อ่านอย่างมีจุดมุ่งหมายเสมอ และจำจุดมุ่งหมายนั้นไว้ในใจขณะที่อ่าน จำไว้ว่าการอ่านนั้น โดยพื้นฐานแล้ว เป็นการแยกแยะ เป็นการเลือกเนื้อหาที่คุณต้องการออกมา และทิ้งส่วนที่คุณไม่ต้องการทิ้งไป ไม่ว่าจะอ่านอะไรก็ตาม คุณจะต้องถามเสมอว่า

• เราจะได้อะไรบ้างจากงานเขียนชิ้นนี้ • งานเขียนชิ้นนี้จะให้อะไรที่เราต้องการบ้าง • เราจะได้ข้อมูลนั้นได้อย่างไร

ให้ลองนึกว่า คุณถูกส่งไปร้านขายของเพื่อ “อะไรบางอย่าง” แต่คุณไม่ทราบว่าเป็นอะไร คุณก็ไม่รู้ว่าจะหาอะไร แต่ถ้าคุณรู้ว่าให้ไปที่ร้านเพื่อซื้อรองเท้าแตะ เบอร์ 7 ที่ราคาไม่เกิน 200 บาท คุณจะรู้ว่าต้องไปหาอะไร ที่ไหน คุณจะมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้การไปซื้อของของคุณง่ายขึ้น และใช้เวลาน้อยลง ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณมีจุดประสงค์ในการอ่าน คุณจะอ่านได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น อันที่จริง ความสามารถในการเรียนรู้ของคุณขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะตั้งคำถาม เข้าใจคำตอบ และผนวกความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องเข้ากับสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว การอ่านโดยมีจุดประสงค์เฉพาะอยู่ในใจจะช่วยให้คุณหาข้อมูลที่คุณต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อ่าน

หลังจากสำรวจเนื้อความ และตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านแล้ว ก็ถึงเวลาอ่านอย่างเร็วที่สุดด้วยความเข้าใจ ขณะที่อ่าน ให้เปรียบเทียบสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วกับสิ่งที่คุณได้มาใหม่ ให้อ่านเพื่อหาความหมายและเพื่อผนวกความรู้เก่าและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน

ใช้

การได้ข้อมูลมาก็ดีอยู่ แต่การใช้ข้อมูลนั้นได้ยิ่งสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ คนจำนวนมากจะไม่มีโอกาสอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน และจะได้แต่อ่านเพื่อหาข้อมูล ขณะที่อ่าน ให้คิดว่า จะเอาข้อมูลที่คุณกำลังรวบรวมนั้นมาใช้กับจุดมุ่งหมายในการอ่านของคุณได้อย่างไร เช่น ถามตนเองว่า

• สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรารู้แล้วในเรื่องนี้อย่างไร • สิ่งนี้ให้ข้อเท็จจริงที่เรารู้อยู่แล้วหรือไม่ • ข้อมูลไหนสำคัญจริงๆสำหรับจุดประสงค์ในการอ่านของเรา

ถ้าพบว่า บทความนั้นไม่มีอะไรใหม่สำหรับคุณเลย คุณก็ไม่น่าจะต้องอ่านจนจบด้วยซ้ำไป บางคนเชื่อว่า ต้องอ่านทุกอย่างให้จบ ถ้าคุณอ่านหนังสือสักเล่มเพื่อความเพลิดเพลิน แต่อ่านไปแล้ว รู้สึกว่ามันไม่สนุก ก็น่าจะเลิกอ่าน และหาเล่มใหม่มาอ่านแทน หากคุณอ่านเพื่อหาข้อมูล และไม่เจอข้อมูลที่คุณต้องการ ก็ควรจะไปอ่านเรื่องอื่นสิ่งอื่น อย่าเสียเวลา เว้นแต่ว่าคุณจะมีเวลาล้นเหลือ

เครื่องมือส่วนตัว