ชาวเล

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
 
(การแก้ไข 11 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 1: แถว 1:
'''อูรักลาโว้ย มอแกลน และมอแกน'''
'''อูรักลาโว้ย มอแกลน และมอแกน'''
-
ผู้เชี่ยวชาญทะเลแห่งเกาะและชายฝั่งอันดามัน
+
''ผู้เชี่ยวชาญทะเลแห่งเกาะและชายฝั่งอันดามัน''
 +
 
[[ไฟล์:cusri_image001.png|200px|thumb|left|ลักษณะบ้านแบบดั้งเดิมของชาวมอแกน ถ่ายเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2547 ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์]]
[[ไฟล์:cusri_image001.png|200px|thumb|left|ลักษณะบ้านแบบดั้งเดิมของชาวมอแกน ถ่ายเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2547 ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์]]
-
คนในสังคมไทยรวมทั้งสังคมโลกได้รู้จักกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า “ชาวเล” มากขึ้นหลังจากที่เกิดคลื่นยักษ์เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 และเราก็คงได้รับรู้แล้วว่าชาวเลกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยทั้งสามกลุ่มคือมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย มีปัญหาร่วมกันกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบอีกหลายกลุ่ม คือ การขาดความมั่นใจและภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม การขาดการสืบทอดความรู้พื้นบ้าน การถูกกีดกันออกจากสิทธิในการใช้และเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ การถูกดูแคลนจากบุคคลที่ไม่เข้าใจในวิถีวัฒนธรรมแบบ “ชาวเล” และที่สำคัญก็คือการขาดความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาอื่นๆ อีก เช่น การขาดแคลนด้านสาธารณูปโภค การขาดแคลนพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวบริเวณชุมชน การขยายตัวของบ้านเรือนอย่างไร้ทิศทาง  ความแออัดของพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ฯลฯ
 
-
คนไทยส่วนหนึ่งไม่เคยทราบว่ามีกลุ่มคนที่เรียกกันว่า “ชาวเล” ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิต ภาษา วิถีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับทะเล และมีชื่อเฉพาะที่เรียกกลุ่มของตนเองว่า     “มอแกน” (ชาวเลที่เกาะเหลา เกาะพยามและเกาะสินไหในจังหวัดระนอง หมู่เกาะสุรินทร์ ในจังหวัดพังงา) “มอแกลน” (ชาวเลที่เกาะพระทอง และหมู่บ้านชายฝั่งทะเลกว่ายี่สิบหมู่บ้านในจังหวัดพังงา และภูเก็ต) และ “อูรักลาโว้ย” (ชาวเลที่อาศัยอยู่บนเกาะต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล) คนไทยอีกส่วนหนึ่งรู้จักกลุ่มชาติพันธุ์นี้ในชื่อของ “ไทยใหม่”
+
คนในสังคมไทยรวมทั้งสังคมโลกมีโอกาสได้รู้จักกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า “ชาวเล” มากขึ้นหลังจากที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 พร้อมกับการได้รับรู้ว่าชาวเลกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยทั้งสามกลุ่มในประเทศไทย คือ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ต่างมีปัญหาร่วมกันกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบอีกหลายกลุ่ม อาทิ การขาดความมั่นใจและภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม การขาดการสืบทอดความรู้พื้นบ้าน การถูกกีดกันออกจากสิทธิในการใช้และเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ การถูกดูแคลนจากบุคคลที่ไม่เข้าใจในวิถีวัฒนธรรมแบบ “ชาวเล” และที่สำคัญก็คือการขาดความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาอื่นๆ อีก เช่น การขาดแคลนด้านสาธารณูปโภค การขาดแคลนพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวบริเวณชุมชน การขยายตัวของบ้านเรือนอย่างไร้ทิศทาง  ความแออัดของพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ฯลฯ
-
[[ไฟล์:cusri_image002.png|200px|thumb|right|แผนที่แสดงการกระจายตัวของชุมชนชาวเลโดยสังเขป]]
+
 
 +
 
 +
“ชาวเล” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิต ภาษา วิถีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับทะเล และมีชื่อเฉพาะที่เรียกกลุ่มของตนเองว่า “มอแกน” (ชาวเลที่เกาะเหลา เกาะพยามและเกาะสินไหในจังหวัดระนอง หมู่เกาะสุรินทร์ ในจังหวัดพังงา และหาดราไวย์ ในจังหวัดภูเก็ต) “มอแกลน” (ชาวเลที่เกาะพระทอง และหมู่บ้านชายฝั่งทะเลกว่ายี่สิบหมู่บ้านในจังหวัดพังงา และภูเก็ต) และ “อูรักลาโว้ย” (ชาวเลที่อาศัยอยู่บนเกาะต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล)
 +
 
 +
[[ไฟล์:cusri_image002.png|200px|thumb|right|แผนที่แสดงการกระจายตัวของชุมชนชาวเลโดยสังเขป]]
 +
 
 +
 
แม้ว่าชาวเลจะเป็นคนพื้นเมือง เป็นผู้อยู่อาศัยแต่ดั้งเดิมในบริเวณชายฝั่งทะเลแถบนี้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางทะเลที่ยึดการเก็บหาสัตว์ทะเลและพืชผักต่างๆ ในป่าเพื่อการยังชีพในอดีต แต่ในบางท้องถิ่นชาวเลกลับไม่ได้รับการยอมรับ หลายพื้นที่ในอดีต คำว่า “ชาวเล” เป็นคำที่มักจะใช้ในทางลบ คือใช้เรียกคนที่ละเลยเรื่องอนามัยและความสะอาด ไม่เอาใจใส่การเล่าเรียน หรือคนที่จับจ่ายใช้สอยจนไม่มีเงินเหลือเก็บ การเรียกเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างภาพลักษณ์ด้านลบที่หยุดนิ่งตายตัว และการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรมและลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของชาวเล จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวเลส่วนใหญ่ในปัจจุบันยินดีที่จะถูกเรียกว่า “ไทยใหม่” มากกว่า “ชาวเล”
แม้ว่าชาวเลจะเป็นคนพื้นเมือง เป็นผู้อยู่อาศัยแต่ดั้งเดิมในบริเวณชายฝั่งทะเลแถบนี้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางทะเลที่ยึดการเก็บหาสัตว์ทะเลและพืชผักต่างๆ ในป่าเพื่อการยังชีพในอดีต แต่ในบางท้องถิ่นชาวเลกลับไม่ได้รับการยอมรับ หลายพื้นที่ในอดีต คำว่า “ชาวเล” เป็นคำที่มักจะใช้ในทางลบ คือใช้เรียกคนที่ละเลยเรื่องอนามัยและความสะอาด ไม่เอาใจใส่การเล่าเรียน หรือคนที่จับจ่ายใช้สอยจนไม่มีเงินเหลือเก็บ การเรียกเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างภาพลักษณ์ด้านลบที่หยุดนิ่งตายตัว และการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรมและลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของชาวเล จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวเลส่วนใหญ่ในปัจจุบันยินดีที่จะถูกเรียกว่า “ไทยใหม่” มากกว่า “ชาวเล”
 +
[[ไฟล์:cusri_image003.png|200px|thumb|left|บ้านชาวอูรักลาโว้ยที่ชุมชนแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน]]
[[ไฟล์:cusri_image003.png|200px|thumb|left|บ้านชาวอูรักลาโว้ยที่ชุมชนแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน]]
-
คนนอกที่ได้มีโอกาสรู้จักสนิทสนมกับชาวเลจะทราบดีว่าชาวเลส่วนใหญ่มีส่วนดีๆ ที่มักจะไม่ได้รับการกล่าวอ้างถึงอยู่มาก นอกจากเป็นคนที่รักพวกพ้อง อ่อนน้อมถ่อมตัว และไม่ละโมบโลภมากแล้ว ชาวเลมักจะไม่เกี่ยงงานหนัก งานที่ต้องลงแรงกาย ตรากตรำกรำแดดฝน ลักษณะเช่นนี้น่าจะเป็นที่ยกย่องมากกว่าการเป็นเจ้าของทรัพย์ศฤงคาร มียศตำแหน่ง ฝักใฝ่อำนาจ เช่นที่เรายกย่องเชิดชูกันในสังคมปัจจุบัน นอกจากนั้น ชาวเลทุกกลุ่มยังมีความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับทะเล มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเดินเรือ การสร้างเรือ การเก็บหาสัตว์ทะเล ความรู้นี้ทำให้ชาวเลอยู่กับทะเลได้อย่างสมดุลมานับร้อยๆ ปี  
+
 
-
ดังนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ให้สาธารณชนเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งสภาพปัญหาต่างๆ ซึ่งชุมชนชาวเลกำลังประสบอยู่ เพราะเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับสังคมใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น จะต้องมีการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มชาวเลมากขึ้นด้วย
+
 
 +
ทว่าคนนอกที่ได้มีโอกาสรู้จักสนิทสนมกับชาวเลจะทราบดีว่าชาวเลส่วนใหญ่มีส่วนดีๆ ที่มักจะไม่ได้รับการกล่าวอ้างถึงอยู่มาก นอกจากเป็นคนที่รักพวกพ้อง อ่อนน้อมถ่อมตัว และไม่ละโมบโลภมากแล้ว ชาวเลมักจะไม่เกี่ยงงานหนัก งานที่ต้องลงแรงกาย ตรากตรำกรำแดดฝน ลักษณะเช่นนี้น่าจะเป็นที่ยกย่องมากกว่าการเป็นเจ้าของทรัพย์ศฤงคาร มียศตำแหน่ง ฝักใฝ่อำนาจ เช่นที่เรายกย่องเชิดชูกันในสังคมปัจจุบัน นอกจากนั้น ชาวเลทุกกลุ่มยังมีความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับทะเล มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเดินเรือ การสร้างเรือ การเก็บหาสัตว์ทะเล ความรู้นี้ทำให้ชาวเลอยู่กับทะเลได้อย่างสมดุลมานับร้อยๆ ปี
 +
 
 +
 
 +
ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ให้สาธารณชนเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งสภาพปัญหาต่างๆ ซึ่งชุมชนชาวเลกำลังประสบอยู่ เพราะเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับสังคมใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น จะต้องมีการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มชาวเลมากขึ้นด้วย
 +
 
โครงการต้อยติ่ง – ขยายเมล็ดพันธุ์ความรู้เรื่องกลุ่มชาติพันธุ์และชายขอบสู่สาธารณชน
โครงการต้อยติ่ง – ขยายเมล็ดพันธุ์ความรู้เรื่องกลุ่มชาติพันธุ์และชายขอบสู่สาธารณชน

รุ่นปัจจุบันของ 03:08, 20 เมษายน 2554

อูรักลาโว้ย มอแกลน และมอแกน ผู้เชี่ยวชาญทะเลแห่งเกาะและชายฝั่งอันดามัน

ลักษณะบ้านแบบดั้งเดิมของชาวมอแกน ถ่ายเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2547 ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

คนในสังคมไทยรวมทั้งสังคมโลกมีโอกาสได้รู้จักกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า “ชาวเล” มากขึ้นหลังจากที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 พร้อมกับการได้รับรู้ว่าชาวเลกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยทั้งสามกลุ่มในประเทศไทย คือ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ต่างมีปัญหาร่วมกันกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบอีกหลายกลุ่ม อาทิ การขาดความมั่นใจและภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม การขาดการสืบทอดความรู้พื้นบ้าน การถูกกีดกันออกจากสิทธิในการใช้และเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ การถูกดูแคลนจากบุคคลที่ไม่เข้าใจในวิถีวัฒนธรรมแบบ “ชาวเล” และที่สำคัญก็คือการขาดความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาอื่นๆ อีก เช่น การขาดแคลนด้านสาธารณูปโภค การขาดแคลนพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวบริเวณชุมชน การขยายตัวของบ้านเรือนอย่างไร้ทิศทาง ความแออัดของพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ฯลฯ


“ชาวเล” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิต ภาษา วิถีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับทะเล และมีชื่อเฉพาะที่เรียกกลุ่มของตนเองว่า “มอแกน” (ชาวเลที่เกาะเหลา เกาะพยามและเกาะสินไหในจังหวัดระนอง หมู่เกาะสุรินทร์ ในจังหวัดพังงา และหาดราไวย์ ในจังหวัดภูเก็ต) “มอแกลน” (ชาวเลที่เกาะพระทอง และหมู่บ้านชายฝั่งทะเลกว่ายี่สิบหมู่บ้านในจังหวัดพังงา และภูเก็ต) และ “อูรักลาโว้ย” (ชาวเลที่อาศัยอยู่บนเกาะต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล)

แผนที่แสดงการกระจายตัวของชุมชนชาวเลโดยสังเขป


แม้ว่าชาวเลจะเป็นคนพื้นเมือง เป็นผู้อยู่อาศัยแต่ดั้งเดิมในบริเวณชายฝั่งทะเลแถบนี้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางทะเลที่ยึดการเก็บหาสัตว์ทะเลและพืชผักต่างๆ ในป่าเพื่อการยังชีพในอดีต แต่ในบางท้องถิ่นชาวเลกลับไม่ได้รับการยอมรับ หลายพื้นที่ในอดีต คำว่า “ชาวเล” เป็นคำที่มักจะใช้ในทางลบ คือใช้เรียกคนที่ละเลยเรื่องอนามัยและความสะอาด ไม่เอาใจใส่การเล่าเรียน หรือคนที่จับจ่ายใช้สอยจนไม่มีเงินเหลือเก็บ การเรียกเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างภาพลักษณ์ด้านลบที่หยุดนิ่งตายตัว และการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรมและลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของชาวเล จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวเลส่วนใหญ่ในปัจจุบันยินดีที่จะถูกเรียกว่า “ไทยใหม่” มากกว่า “ชาวเล”

บ้านชาวอูรักลาโว้ยที่ชุมชนแหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน


ทว่าคนนอกที่ได้มีโอกาสรู้จักสนิทสนมกับชาวเลจะทราบดีว่าชาวเลส่วนใหญ่มีส่วนดีๆ ที่มักจะไม่ได้รับการกล่าวอ้างถึงอยู่มาก นอกจากเป็นคนที่รักพวกพ้อง อ่อนน้อมถ่อมตัว และไม่ละโมบโลภมากแล้ว ชาวเลมักจะไม่เกี่ยงงานหนัก งานที่ต้องลงแรงกาย ตรากตรำกรำแดดฝน ลักษณะเช่นนี้น่าจะเป็นที่ยกย่องมากกว่าการเป็นเจ้าของทรัพย์ศฤงคาร มียศตำแหน่ง ฝักใฝ่อำนาจ เช่นที่เรายกย่องเชิดชูกันในสังคมปัจจุบัน นอกจากนั้น ชาวเลทุกกลุ่มยังมีความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับทะเล มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเดินเรือ การสร้างเรือ การเก็บหาสัตว์ทะเล ความรู้นี้ทำให้ชาวเลอยู่กับทะเลได้อย่างสมดุลมานับร้อยๆ ปี


ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ให้สาธารณชนเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งสภาพปัญหาต่างๆ ซึ่งชุมชนชาวเลกำลังประสบอยู่ เพราะเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับสังคมใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น จะต้องมีการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มชาวเลมากขึ้นด้วย


โครงการต้อยติ่ง – ขยายเมล็ดพันธุ์ความรู้เรื่องกลุ่มชาติพันธุ์และชายขอบสู่สาธารณชน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-7366, 0-2218-7376 โทรสาร 0-2255-2353 Email paladej1@yahoo.com www.andaman.cusri.chula.ac.th

เครื่องมือส่วนตัว