ก๊าซไฮโดรเจน
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ไฮโดรเจน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดบนโลก ส่วนใหญ่จะ…') |
|||
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 19: | แถว 19: | ||
- | '''''รวบรวมและเรียบเรียงบทความ''''' | + | '''''ที่มาข้อมูล''''' จุฬาฯสัมพันธ์ |
+ | |||
+ | '''''รวบรวมและเรียบเรียงบทความ''''' ศูนย์สื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ |
รุ่นปัจจุบันของ 08:06, 14 กันยายน 2554
ไฮโดรเจน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดบนโลก ส่วนใหญ่จะจับตัวกับออกซิเจนอยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเผาไหม้จะได้ค่าพลังงานที่สูงกว่าน้ำมันเบนซินเกือบ 3 เท่า สูงกว่าเอทานอล ซึ่งใช้ผลิตก๊าซโซฮอล์ถึง 5 เท่า และผลพลอยได้จากการเผาไหม้จะมีเพียงไอน้ำเท่านั้น ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศเหมือนน้ำมันเบนซิน หรือน้ำมันดีเซล สามารถช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ ไฮโดรเจนจึงกลายเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ ที่กำลังอยู่ในความสนใจของนักวิทยาศาสตร์
การผลิตก๊าซไฮโดรเจน
ปัจจุบันการผลิตก๊าซไฮโดรเจนทำได้หลายวิธี ส่วนใหญ่จะใช้กระบวนการเปลี่ยนรูปสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งอยู่ในน้ำมันดิบ มาทำปฏิกิริยากับไอน้ำบนตัวเร่งปฏิกิริยาจำเพาะ ก็จะได้ก๊าซไฮโดรเจน และได้ผลพลอยได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. การประยุกต์ใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใช้แสง เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนไฟฟ้าในการแยกไฮโดรเจน เมื่อไทเทเนียมไดออกไซด์ได้รับแสงอาทิตย์ จะเกิดการเหนี่ยวนำระดับชั้นพลังงานภายในโมเลกุลจนสามารถแยกไฮโดรเจนจากน้ำได้
2. การใช้เทคโนโลยีพลาสมาในการเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติด้วยการทำให้ไฮโดรเจนออกจากมีเทน เพื่อให้ได้ค่าพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีองค์ประกอบหลักคือ มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ในอ่าวไทยเป็นจำนวนมาก
3. การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากน้ำเสียอุตสาหกรรม โดยน้ำเสียจากโรงงานบางประเภท เช่น โรงงานแป้งมัน โรงงานสุรา ฯลฯ จะมีสารอินทรีย์ที่เหมาะกับการผลิตไฮโดรเจน จึงออกแบบถังหมักสำหรับเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถเปลี่ยนสารอินทรีย์เป็นไฮโดรเจนได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีการผลิตอื่นๆ ที่ทำในระดับอุตสาหกรรม เช่น อิเล็กโทรลิซิส การให้กระแสไฟฟ้าเข้าไประหว่างสองขั้วอิเล็กโทรด เพื่อแยกประจุให้น้ำแตกตัวออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน ฯลฯ
ที่มาข้อมูล จุฬาฯสัมพันธ์
รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์สื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ