ชิคุนกุนยา
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วย ปวดตามข้อและเ…') |
|||
แถว 13: | แถว 13: | ||
การป้องกันโรคชิคุนกุนยาจะเหมือนกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การกำจัดยุงลาย โดยเฉพาะยุงลายสวน เพราะเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกา มีการกลายพันธุ์มาจากยุงลายบ้าน มาอยู่ในยุงลายสวน หรือยุงลายเสือซึ่งมีขนาดโตกว่ายุงลายบ้านเล็กน้อย และอาศัยอยู่ตามสวน แต่การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์น้ำทำได้ยาก เพราะพื้นที่สวนกว้างใหญ่ ชาวสวนจึงควรป้องกันตนเองโดยการใส่เสื้อผ้าแขนยาว ขายาว คลุมหน้า และทายากันยุง | การป้องกันโรคชิคุนกุนยาจะเหมือนกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การกำจัดยุงลาย โดยเฉพาะยุงลายสวน เพราะเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกา มีการกลายพันธุ์มาจากยุงลายบ้าน มาอยู่ในยุงลายสวน หรือยุงลายเสือซึ่งมีขนาดโตกว่ายุงลายบ้านเล็กน้อย และอาศัยอยู่ตามสวน แต่การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์น้ำทำได้ยาก เพราะพื้นที่สวนกว้างใหญ่ ชาวสวนจึงควรป้องกันตนเองโดยการใส่เสื้อผ้าแขนยาว ขายาว คลุมหน้า และทายากันยุง | ||
+ | |||
+ | |||
+ | '''''ที่มาข้อมูล''''' จุฬาฯสัมพันธ์ | ||
'''''รวบรวมและเรียบเรียงบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ | '''''รวบรวมและเรียบเรียงบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ |
รุ่นปัจจุบันของ 08:09, 14 กันยายน 2554
ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วย ปวดตามข้อและเข่าบางครั้งอาจปวดมากจนทำให้ผู้ป่วยมีอาการงอตัว โรคชิคุนกุนยาเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์เอเชีย และสายพันธุ์แอฟริกา โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 ที่ทวีปแอฟริกา ในประเทศไทยระบาดหลังปี พ.ศ.2500 มีผู้ป่วยนับหมื่นราย จากนั้นโรคดังกล่าวได้หายไปจากประเทศไทยเกือบ 30 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ.2547 ได้กลับมาใหม่อีกครั้งที่แอฟริกาตะวันออก ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2551 โดยเชื้อชิคุนกุนยา ได้ระบาดเข้ามาในประเทศไทยทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อาการของโรค
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีระยะฟักตัว 2-3 วัน แล้วจะมีไข้สูง 4-5 วัน มีผื่นแดง และปวดตามข้อต่างๆ แม้ไข้จะลดแต่อาการปวดข้อจะยังอยู่ ซึ่งบางคนอาจปวดข้อนานเป็นเดือน หรือเป็นปี
โรคนี้จะมีอาการแตกต่างจากโรคไข้เลือดออกตรงที่ไม่มีอาการของเกล็ดเลือดต่ำ จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงช็อก และเมื่อหายแล้วผู้ป่วยจะมีภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต ทำให้ไม่กลับมาเป็นอีก และจะไม่เป็นพาหะของโรคด้วย
การป้องกัน
การป้องกันโรคชิคุนกุนยาจะเหมือนกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การกำจัดยุงลาย โดยเฉพาะยุงลายสวน เพราะเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกา มีการกลายพันธุ์มาจากยุงลายบ้าน มาอยู่ในยุงลายสวน หรือยุงลายเสือซึ่งมีขนาดโตกว่ายุงลายบ้านเล็กน้อย และอาศัยอยู่ตามสวน แต่การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์น้ำทำได้ยาก เพราะพื้นที่สวนกว้างใหญ่ ชาวสวนจึงควรป้องกันตนเองโดยการใส่เสื้อผ้าแขนยาว ขายาว คลุมหน้า และทายากันยุง
ที่มาข้อมูล จุฬาฯสัมพันธ์
รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ