แบบจำลองการวิเคราะห์การค้าโลก (GTAP Model)

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
แถว 2: แถว 2:
แบบจำลอง GTAP (Global Trade Analysis Project) เป็นแบบจำลอง CGE Model (Computable General Equilibrium) ที่ถูกสร้างและได้รับการพัฒนาโดย The Center for Global Trade Analysis แห่งมหาวิทยาลัย Purdue University และจากผู้ใช้งานแบบจำลองทั่วโลกผ่านทาง Website https://www.gtap.agecon.purdue.edu
แบบจำลอง GTAP (Global Trade Analysis Project) เป็นแบบจำลอง CGE Model (Computable General Equilibrium) ที่ถูกสร้างและได้รับการพัฒนาโดย The Center for Global Trade Analysis แห่งมหาวิทยาลัย Purdue University และจากผู้ใช้งานแบบจำลองทั่วโลกผ่านทาง Website https://www.gtap.agecon.purdue.edu
 +
 +
ในประเทศไทยแบบจำลอง GTAP นิยมใช้เป็นแบบจำลองหลักในการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายการค้าระหว่างประเทศ อาทิเช่น การปรับลดอัตราภาษีศุลกากร การรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การจัดตั้งเขตการค้าเสรี การเปิดเสรีการค้าทั้งสินค้าและบริการในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งใช้ในการศึกษาผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ผลกระทบของการค้าระหว่างประเทศที่มี่ต่อการปล่อยมลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อม
แบบจำลอง GTAP สร้างขึ้นโดยการใช้สมการทางคณิตศาสตร์และเศรษฐมิติ (Econometric) เพื่อแสดงให้เห็นและเชื่อมโยงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของหน่วยทางเศรษฐกิจ 4 หน่วย ได้แก่  
แบบจำลอง GTAP สร้างขึ้นโดยการใช้สมการทางคณิตศาสตร์และเศรษฐมิติ (Econometric) เพื่อแสดงให้เห็นและเชื่อมโยงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของหน่วยทางเศรษฐกิจ 4 หน่วย ได้แก่  

การปรับปรุง เมื่อ 02:42, 13 สิงหาคม 2553

เนื้อหา

แบบจำลอง GTAP Model

แบบจำลอง GTAP (Global Trade Analysis Project) เป็นแบบจำลอง CGE Model (Computable General Equilibrium) ที่ถูกสร้างและได้รับการพัฒนาโดย The Center for Global Trade Analysis แห่งมหาวิทยาลัย Purdue University และจากผู้ใช้งานแบบจำลองทั่วโลกผ่านทาง Website https://www.gtap.agecon.purdue.edu

ในประเทศไทยแบบจำลอง GTAP นิยมใช้เป็นแบบจำลองหลักในการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายการค้าระหว่างประเทศ อาทิเช่น การปรับลดอัตราภาษีศุลกากร การรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การจัดตั้งเขตการค้าเสรี การเปิดเสรีการค้าทั้งสินค้าและบริการในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งใช้ในการศึกษาผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ผลกระทบของการค้าระหว่างประเทศที่มี่ต่อการปล่อยมลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อม

แบบจำลอง GTAP สร้างขึ้นโดยการใช้สมการทางคณิตศาสตร์และเศรษฐมิติ (Econometric) เพื่อแสดงให้เห็นและเชื่อมโยงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของหน่วยทางเศรษฐกิจ 4 หน่วย ได้แก่

1. ผู้ผลิต (Firms or Producers)

2. ภาคครัวเรือนและภาครัฐ (Regional Households)

3. นักลงทุน (Regional Investors

4. ภาคการขนส่ง (Transportation Sectors)

โดยความสัมพันธ์ของผู้เล่นหลักทั้ง 4 หน่วยนี้สามารถแสดงให้เห็นได้ในแผนภาพด้านล่าง ภายใต้เงื่อนไขและข้อสมมติ คือ ประเทศมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดและไม่มีการแทรกแซงจากภาครัฐ อย่างไรก็ตามข้อสมมตินี้จะยกเลิกในภายหลัง แต่เพื่อแสดงความสัมพันธ์ในเบื้องต้นจึงยังคงข้อสมมตินี้ไว้เพื่อลดความซับซ้อนในการอธิบายแบบจำลอง) (Hertel and Tsigas, 1997)

ไฟล์:gtap01.jpg


แบบจำลองทางด้านอุปสงค์ (Demand Side)

จากแผนภาพ แบบจำลอง GTAP สมมติให้ภาคครัวเรือนและภาครัฐ (Regional Households) ซึ่งเป็นผู้บริโภครายหลักในแบบจำลองมีจุดมุ่งหมายในการบริโภคเพื่อในตนเองได้รับความพึงพอใจสูงที่สุดจากการบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ทั้งที่ผลิตได้เองภายในประเทศและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยกำหนดในมีการใช้จ่ายซึ่งถูกควบคุมโดยสมการอรรถประโยชน์แบบ Cobb-Douglas Utility Function ซึ่งเป็นการกำหนดครัวเรือนและภาครัฐกำหนดพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการของตนเพื่อให้ตนเองได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด โดยครัวเรือนจะมีรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าต่างๆ ในสัดส่วนที่คงที่ โดยรายจ่ายของภาคครัวเรือนแยกออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ รายจ่ายของภาคเอกชน (Private Household Expenditure: PRIVEXP) รายจ่ายของภาครัฐ (Government Household Expenditure: GOVEXP) และรายจ่ายเพื่อการออม (Saving Expenditure: SAVE) โดยพฤติกรรมของภาคเอกชนและภาครัฐจะถูกควบคุมโดยค่าความยืดหยุ่นของการทดแทนกัน (Elasticities of Substitution) และยังถูกควบคุมโดยค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Consumer Demand Elasticity) และสมการแบบ Constant Difference Elasticity Function (CDE) โดยสมการในช่วงนี้ได้รับการปรับปรุงให้สามารถอธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับราคา ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการลดมาตรการกีดกันทางการค้าลง โดยเฉพาะมาตรการทางภาษี หรือเป็นการเพิ่มความสามารถของแบบจำลองให้สามารถอธิบายตัวแปรที่ได้รับการกระทบจากภาคการเงิน เป็นการเชื่อมโยงภาคการเงินเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจแท้จริง (Hertel and Tsigas, 1997; McDougall, 2002)

ภาคครัวเรือนสามารถซื้อสินค้าและบริการได้ทั้งจากผู้ผลิตในประเทศ และ/หรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยกระแสเงินที่ไหลออกนอกประเทศ ได้แก่ VIPA: Value of Import Payment from ROW by Private households at Agents’ Prices, VIGA: Value of Import Payment from ROW by Government households at Agents’ Prices


แบบจำลองทางด้านอุปทาน (Supply Side)

รายได้ของภาคครัวเรือนและรัฐบาลที่จะใช้ในการซื้อสินค้าและบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดเกิดขึ้นจากการขายปัจจัยการผลิตให้กับผู้ผลิต (Firms or Producers) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการผลิตเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงที่สุด (Profit Maximisation) จากแผนภาพ กระแสรายได้แสดงโดย VOA (endw) หรือ Value of Output at Agents’ price of endowment commodities ผู้ผลิตจะนำปัจจัยการผลิตเหล่านี้มาประกอบเข้ากับวัตถุดิบขั้นกลางทั้งที่ผลิตจากต่างประเทศ (VIFA) และที่ผลิตได้ในประเทศ (VDFA) มาผลิตเป็นสินค้าและบริการตอบสนองให้แก่อุปสงค์จากภาคครัวเรือนเอกชน (VDPA) ภาครัฐ (VDGA) และส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศ (VXMD) นอกจากนี้ยังผลิตสินค้าทุนเพื่อตอบสนองอุปสงค์ต่อการออมและการลงทุน (REGINV) การตัดสินใจผลิตของผู้ผลิตจะถูกกำหนดโดยค่าความยืดหยุ่น Elasticity of Substitution และ Transformation Elasticities

ภาคสมมติที่เรียกว่า Global Bank ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ลงทุนที่ต้องการเงินทุนกับอุปสงค์ที่มีต่อการออมที่เกิดขึ้นจากภาคครัวเรือน ภาคสมมตินี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างปริมาณการออมและอัตราผลตอบแทนจากการออมที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ และการตัดสินใจลงทุนนี้ก็ถูกกำหนดโดยรูปแบบสมการ Constant Elasticity of Substitution (CES) Function เช่นเดียวกัน ในภาพที่ 10 หน่วยธุรกิจที่ไม่ได้แสดงในแผนภาพนี้คือ ภาคการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Transportation Sectors) ซึ่งเป็นหน่วยสมมติเช่นเดียวกับ Global Bank ทำหน้าที่สร้างสมดุลระหว่างปริมาณการส่งออก และนำเข้าจากแต่ละประเทศ โดยภาคสมมตินี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ทำแบบจำลองใช้ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ โดยทั่วไปแล้วมูลค่าของภาคสมมตินี้สามารถคำนวณได้จากความแตกต่างระหว่างมูลค่าการส่งออกแบบ FOB (Free On Board) กับมูลค่าการนำเข้าของสินค้าเดียวกันในแบบ CIF (Cost, Insurance and Freight)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบจำลอง GTAP สามารถหาได้จาก Hertel and Tsigas (1997), Narayanan and Walmsley (2008) หรือ Website http://www.gtap.agecon.purdue.edu


ฐานข้อมูล GTAP Database

เครื่องมือส่วนตัว