ฝึกแรงต้านเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อขา
จาก ChulaPedia
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 2: | แถว 2: | ||
== งานวิจัย == | == งานวิจัย == | ||
'''เรื่องผลของการเรียนการสอนฟุตบอลโดยใช้โปรแกรมการฝึกแรงต้านที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาฟุตบอลระดับอุดมศึกษา''' | '''เรื่องผลของการเรียนการสอนฟุตบอลโดยใช้โปรแกรมการฝึกแรงต้านที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาฟุตบอลระดับอุดมศึกษา''' | ||
+ | |||
+ | '''THE EFFECTS OF FOOTBALL INSTRUCTION USING A RESISTANCE TRAINING PROGRAM ON THE POWER OF LEG MUSCLES OF HIGHER EDUCATION FOOTBALL PLAYERS''' | ||
== ผู้วิจัย == | == ผู้วิจัย == | ||
แถว 32: | แถว 34: | ||
5. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีพลังกล้ามเนื้อขา มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | 5. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีพลังกล้ามเนื้อขา มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | ||
- | |||
- | |||
- | |||
- | |||
แถว 48: | แถว 46: | ||
- | == | + | == เอกสารอ้างอิง == |
+ | |||
+ | 1. กิตติพงษ์ เพ็งศรี. 2549. ผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. | ||
+ | |||
+ | 2. ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และ กันยา ปาละวิวัธน์. 2536. สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์. | ||
+ | |||
+ | 3. บุญชู หนูสลุง. 2552. ผลของโปรแกรมการฝึกแรงต้านที่มีต่อความสามารถในการยิงประตูฟุตซอล ณ จุด โทษจุด ที่สอง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. | ||
+ | |||
+ | 4. พงษ์เอก สุกใส. 2548. การพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อปรับปรุงจุดเริ่มล้าในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. | ||
+ | |||
+ | 5. พิชิต ภูติจันทร์. 2547. การฝึกยกน้ำหนักเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. | ||
+ | |||
+ | 6. สนธยา สีละมาด. 2547. หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. | ||
+ | |||
+ | 7. อภิลักษณ์ เทียนทอง. 2541. ผลของการฝึกกระโดดเท้าคู่ข้ามรั้วที่ระยะห่างระหว่างรั้วต่างกันต่อความเร็ว ในการวิ่งระยะทาง 40 เมตร ในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา วิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. | ||
+ | |||
+ | 8. Bompa,O.Periodization. 1993. Training for Sports: the New Wave in Strength Training.Toronto: Veritas. | ||
+ | |||
+ | 9. Kim, Sang H. 1999. Taekwando Kyorugi. 2rd ed. Wethersfield: Turtle. | ||
+ | |||
+ | 10. Newton,RU.,and Kraemer,w.J. 1994. “Developing Explosive Muscular Power : lmplications for a Mixed Methods Training Strategy”. National Strength and Conditioning Association Journal. | ||
+ | |||
+ | 11. Schmidtbleicher, D. 2000. Training for Power Events. In P.V.Komi(ed), Strength and Power in Sport. London: Blackwell Scientific. | ||
- | + | 12. Umberger,R. 1998. “Mechanics of the Vertical Jump and Two-Joint Muscles :Implications For Training”. National Strength and Conditioning Association Journal. | |
- | + | ||
- | + |
รุ่นปัจจุบันของ 15:01, 18 สิงหาคม 2555
เนื้อหา |
งานวิจัย
เรื่องผลของการเรียนการสอนฟุตบอลโดยใช้โปรแกรมการฝึกแรงต้านที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาฟุตบอลระดับอุดมศึกษา
THE EFFECTS OF FOOTBALL INSTRUCTION USING A RESISTANCE TRAINING PROGRAM ON THE POWER OF LEG MUSCLES OF HIGHER EDUCATION FOOTBALL PLAYERS
ผู้วิจัย
นางสาวไอยย์ศรัย พีรภาพรกุล นิสิตระดับปริญญามหาบัญฑิต
สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ อินทร์ถมยา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกฟุตบอลโดยใช้โปรแกรมการฝึกแรงต้านที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชายระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 40 คน ทำการจัดกลุ่มแบบ Match Group Method เพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ20 คน โดยกลุ่มทดลองใช้การเรียนการสอนฟุตบอลโดยใช้โปรแกรมการฝึกแรงต้านสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ร่วมกับการฝึกตามปกติ กลุ่มควบคุมใช้การเรียนการสอนฟุตบอล ทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ทั้งสองกลุ่ม นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance with Repeated Measures) ถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี การของแอล เอส ดี (LSD) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีพลังกล้ามเนื้อขามากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีพลังกล้ามเนื้อขามากกว่าหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีพลังกล้ามเนื้อขา มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีพลังกล้ามเนื้อขา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีพลังกล้ามเนื้อขา มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ
โปรแกรมการฝึกแรงต้าน หมายถึง โปรแกรมการฝึกที่มีน้ำหนักเพื่อเพื่อต้านการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องฝึกด้วยน้ำหนัก ดัมเบลล์ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหรือกลุ่มของกล้ามเนื้อต้องออกแรงเพิ่มมากขึ้นในการเคลื่อนไหว
โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย หมายถึง โปรแกรมการฝึกในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเน้นองค์ประกอบต่าง ๆ ของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับกีฬาฟุตบอล ให้เกิดการพัฒนาขึ้น เช่น การวิ่งระยะสั้น การวิ่งระยะยาว การวิ่งซิกแซ็ก วิ่งยกเข่าสูง วิ่งสไลด์ เป็นต้น
พลังกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถในการหดตัวหรือออกแรงในการทำงานของกล้ามเนื้อเพียงหนึ่งครั้งในการปล่อยแรง (Force) ออกมาอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุด วัดโดยการกระโดดเต็มแรงในแนวดิ่ง (Vertical Jump)
นักกีฬาฟุตบอลระดับอุดมศึกษา หมายถึง นักกีฬาฟุตบอลตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2554 ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิต
เอกสารอ้างอิง
1. กิตติพงษ์ เพ็งศรี. 2549. ผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
2. ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และ กันยา ปาละวิวัธน์. 2536. สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์.
3. บุญชู หนูสลุง. 2552. ผลของโปรแกรมการฝึกแรงต้านที่มีต่อความสามารถในการยิงประตูฟุตซอล ณ จุด โทษจุด ที่สอง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. พงษ์เอก สุกใส. 2548. การพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อปรับปรุงจุดเริ่มล้าในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. พิชิต ภูติจันทร์. 2547. การฝึกยกน้ำหนักเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
6. สนธยา สีละมาด. 2547. หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. อภิลักษณ์ เทียนทอง. 2541. ผลของการฝึกกระโดดเท้าคู่ข้ามรั้วที่ระยะห่างระหว่างรั้วต่างกันต่อความเร็ว ในการวิ่งระยะทาง 40 เมตร ในนักกีฬาฟุตบอล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา วิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
8. Bompa,O.Periodization. 1993. Training for Sports: the New Wave in Strength Training.Toronto: Veritas.
9. Kim, Sang H. 1999. Taekwando Kyorugi. 2rd ed. Wethersfield: Turtle.
10. Newton,RU.,and Kraemer,w.J. 1994. “Developing Explosive Muscular Power : lmplications for a Mixed Methods Training Strategy”. National Strength and Conditioning Association Journal.
11. Schmidtbleicher, D. 2000. Training for Power Events. In P.V.Komi(ed), Strength and Power in Sport. London: Blackwell Scientific.
12. Umberger,R. 1998. “Mechanics of the Vertical Jump and Two-Joint Muscles :Implications For Training”. National Strength and Conditioning Association Journal.