อัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถาม
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มีการพั…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | + | การเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ต: พัทธนันท์ มากบุญ | |
+ | ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้นักวิจัยส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตยังมีข้อจำกัดในเรื่องอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามที่ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 50 ขึ้นไป (Babbie, 2007) นักวิจัยจึงมีความพยายามในการหาเทคนิควิธีการเพื่อเพิ่มอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามจะส่งผลต่อความเป็นตัวแทนของประชากรที่ดี นอกจากอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามแล้ว ความเชื่อถือได้ของผลการวิจัยยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับด้วยว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพเพียงพอหรือไม่ แม้ผู้วิจัยจะได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบโดยไม่ตั้งใจหรือขาดความจริงใจในการตอบ (sincerity of responses) ก็จะส่งผลให้ข้อมูลที่ได้ไม่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน (ชยการ คีรีรัตน์, 2543) ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวไว้ข้างต้นผู้วิจัยจึงพยายามหาเทคนิควิธีการเพื่อเพิ่มอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามและความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตโดยการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามที่มีวิธีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง E-mail กับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook โดยใช้มาตรประมาณค่าของแบบสอบถามเป็นแบบลิเคิร์ทกับแบบออสกูด และให้สิ่งตอบแทนเป็นสิ่งตอบแทนที่ส่งผลทันที สิ่งตอบแทนที่ส่งผลในอนาคตและไม่ให้สิ่งตอบแทน สำหรับประชากรในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีบัญชีผู้ใช้ E-mail และบัญชีผู้ใช้ Facebook ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการแจ้งให้ทราบล่วงหน้ามีผลต่ออัตราการตอบกลับของแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ต โดยอัตราการตอบกลับของกลุ่มที่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook สูงกว่าอัตราการตอบกลับของกลุ่มที่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง.Email ดังนั้นในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยทางอินเทอร์เน็ตจึงควรใช้การแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook มากกว่าทาง E-mail 2) ค่าเฉลี่ยความจริงใจของกลุ่มที่ทาแบบสอบถามที่ใช้มาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ทสูงกว่าค่าเฉลี่ยความจริงใจของกลุ่มที่ทาแบบสอบถามที่ใช้มาตรประมาณค่าแบบออสกูด ดังนั้นในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยทางอินเทอร์เน็ตจึงควรใช้แบบสอบถามที่ใช้มาตรประมาณค่าแบบ ลิเคิร์ทมากกว่ามาตรประมาณค่าแบบออสกูด 3) การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า การใช้รูปแบบมาตรประมาณค่า และการให้สิ่งตอบแทนพร้อมกันในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้อัตราการตอบกลับที่มีค่าสูงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ การแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook แบบสอบถามที่ใช้แบบมาตรประมาณค่าแบบออสกูด และการให้สิ่งตอบแทนเป็นเว็บลิ้งก์เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีอัตราการตอบกลับสูงสุด | ||
การปรับปรุง เมื่อ 10:42, 12 กุมภาพันธ์ 2556
การเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ต: พัทธนันท์ มากบุญ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้นักวิจัยส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตยังมีข้อจำกัดในเรื่องอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามที่ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 50 ขึ้นไป (Babbie, 2007) นักวิจัยจึงมีความพยายามในการหาเทคนิควิธีการเพื่อเพิ่มอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามจะส่งผลต่อความเป็นตัวแทนของประชากรที่ดี นอกจากอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามแล้ว ความเชื่อถือได้ของผลการวิจัยยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับด้วยว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพเพียงพอหรือไม่ แม้ผู้วิจัยจะได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบโดยไม่ตั้งใจหรือขาดความจริงใจในการตอบ (sincerity of responses) ก็จะส่งผลให้ข้อมูลที่ได้ไม่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน (ชยการ คีรีรัตน์, 2543) ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวไว้ข้างต้นผู้วิจัยจึงพยายามหาเทคนิควิธีการเพื่อเพิ่มอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามและความจริงใจในการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตโดยการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบแบบสอบถามที่มีวิธีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง E-mail กับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook โดยใช้มาตรประมาณค่าของแบบสอบถามเป็นแบบลิเคิร์ทกับแบบออสกูด และให้สิ่งตอบแทนเป็นสิ่งตอบแทนที่ส่งผลทันที สิ่งตอบแทนที่ส่งผลในอนาคตและไม่ให้สิ่งตอบแทน สำหรับประชากรในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีบัญชีผู้ใช้ E-mail และบัญชีผู้ใช้ Facebook ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการแจ้งให้ทราบล่วงหน้ามีผลต่ออัตราการตอบกลับของแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ต โดยอัตราการตอบกลับของกลุ่มที่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook สูงกว่าอัตราการตอบกลับของกลุ่มที่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง.Email ดังนั้นในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยทางอินเทอร์เน็ตจึงควรใช้การแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook มากกว่าทาง E-mail 2) ค่าเฉลี่ยความจริงใจของกลุ่มที่ทาแบบสอบถามที่ใช้มาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ทสูงกว่าค่าเฉลี่ยความจริงใจของกลุ่มที่ทาแบบสอบถามที่ใช้มาตรประมาณค่าแบบออสกูด ดังนั้นในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยทางอินเทอร์เน็ตจึงควรใช้แบบสอบถามที่ใช้มาตรประมาณค่าแบบ ลิเคิร์ทมากกว่ามาตรประมาณค่าแบบออสกูด 3) การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า การใช้รูปแบบมาตรประมาณค่า และการให้สิ่งตอบแทนพร้อมกันในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ได้อัตราการตอบกลับที่มีค่าสูงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ การแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทาง Facebook แบบสอบถามที่ใช้แบบมาตรประมาณค่าแบบออสกูด และการให้สิ่งตอบแทนเป็นเว็บลิ้งก์เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีอัตราการตอบกลับสูงสุด
รายการอ้างอิง
ชยการ คีรีรัตน์. (2543). การเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับและความจริงใจในการตอบกลับ แบบสอบถามทางอินเตอร์เน็ตที่มีวิธีการส่งเทคนิคการติดตาม และเนื้อหาที่แตกต่างกัน.วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณทิต. ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Babbie, E. (2007). The Practice of Social Research,11th ed. Belmont, CA: Wadsworth.