เอ็ม ไนท์ ชามาลัน(M. Night Shyamalan)

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(ไตรภาคเขย่าฝัน-ขวัญเฟื่องของชามาลัน 2 (Visual Style in M. Night Shyamalan’s “Fantastic” Trilogy Part 2))
(ทำหน้าว่าง)
 
(การแก้ไข 6 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 1: แถว 1:
-
จักริน  วิภาสวัชรโยธิน
 
-
 
-
== ไตรภาคเขย่าฝัน-ขวัญเฟื่องของชามาลัน 1 (Visual Style in M. Night Shyamalan’s “Fantastic” Trilogy Part 1 ) ==
 
-
 
-
 
-
มีผู้กำกับน้อยรายจะเป็นที่ยอมรับทั้งฟากพาณิชยศิลป์และอุตมศิลป์หลังออกผลงานเพียง 3 ชิ้น แต่เอ็ม ไนท์ ชามาลัน(M. Night Shyamalan)เชยชมกับเกียรติภูมิดังกล่าวมาแล้ว เชิงหนังของผู้กำกับซึ่งถือกำเนิดในชมพูทวีปรายนี้เป็นที่ร่ำลือจากความสำเร็จของ The Sixth Sense  Unbreakable และ Signs งานใน ค.ศ. 1999  2000 และ 2002 ตามลำดับ
 
-
 
-
ชามาลันเป็นหนึ่งในผู้กำกับเนื้อหอมของวงการหนังอเมริกัน เขาผงาดขึ้นเป็นมือวางอันดับต้น ๆ ทั้งในด้านการเขียนบทหนังและการกำกับ และร่วมอำนวยการสร้าง(ในกรณีของ Signs)จากความช่ำชองในการขึ้นรูปเรื่องราว พร้อมกับสลักเสลาเชิงแฉกความหมายและปมย่อย ๆ ของหนังไว้ตามปมเรื่องและบุคลิกตัวละครได้อย่างกลมกลืนกับแบบแผนและรูปลักษณ์ของหนัง(ยกเว้นกรณีของ Signs ที่มีการส่งผ่านปมย่อยและสาระสำคัญของหนังมาทางบทพูดค่อนข้างมาก) ในการวาดลวดลายการเล่า ชามาลันจะระดมเขี้ยวเล็บความเป็นหนังไล่ตั้งแต่ปมขัดแย้งแย้งหลัก ความหมาย ปมขัดแย้งย่อย รวมไปถึง ดนตรี เสียง สี การแสดงและภาษาภาพ มาใช้ครบเครื่อง
 
-
 
-
กรรมวิธีและวิธีคิดในการขึ้นรูปงานของชยามาลัยจัดว่าเหนือชั้นแต่ก็ไม่ถึงกับหลุดกรอบมาตรฐานการเล่าสากล หนังชามาลันยังไม่ถึงกับแตกหักหรือขุดรากถอนโคนขนบการเล่าดั้งเดิม คาถาเนรมิตโลกตามจินตกรรมผ่านบรรดาตัวละคร และเหตุการณ์ของชามาลันขึ้นชื่อว่าชะงัดนัก คนดูหัวปักหัวปำไปกับฝีมือการร่ายเรื่องราวทำนอง"ไม่เชื่ออย่าลบหลู่"จากเขา การหยิบยกประเด็นทางศิลธรรมและปรัชญามาใส่ในหนังก็นับว่ากล้าหาญเกินตัวอยู่แล้ว แต่ชามาลันยังมีดีอยู่ตรงลูกเย่อยื้อ ความสด และกลิ่นรสใหม่ ๆ ที่เขาปรุงขึ้นเพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ในการดัดหลังคนดูภายใต้กลบทการเล่าแบบดั้งเดิมอีกด้วย ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของกล้องในการเก็บภาพจากทิศตรงกันข้าม(shot counter-shot)เพื่อเชื่อมเรื่องเข้าด้วยกัน(ดังจะกล่าวถึงข้างหน้า) ชามาลันให้ความสำคัญกับการสร้างความน่าเชื่อถือแก่น้ำเสียงการเล่าเป็นอย่างมาก โดยเน้นที่ความเรียบง่าย เนิบ ๆ แต่ก็ไม่ใช่จะเอาแต่เดินตามสูตรการเล่าหรือมุ่งสร้างความสะเทือนใจตามแบบดรามา ชามาลันอาจตีสนิทกับคนดูเพื่อเชื่อมต่อตัวหนังเข้ากับระบบความเข้าใจของคนดูไว้ก่อนก็จริง แต่บทจะสำแดงอิทธิฤทธิ์ความเป็นหนังและลวดลายเฉพาะตนขึ้นมา เขาก็พร้อมจะเก็บเจตจำนงในการเล่าเข้าลิ้นชักเป็นการชั่วคราวและหันมาละเลงเพลงยุทธหนังให้หายอยากกันไปข้าง(ยกตัวอย่างเช่น การใช้สีแดงเป็นรูปสัญญะแทนความหมายของความหวาดหวั่นและอันตรายใน The Sixth Sense)
 
-
 
-
ถึงเจ้าตัวจะแบ่งรับแบ่งสู้ว่างานของเขาเป็นการสำรวจจิตวิญญาณมนุษย์(เช่น ประเด็นวิกฤติความขัดแย้ง ณ ก้นบึ้งความเป็นมนุษย์, ความศรัทธา, พลังความเป็นมนุษย์ โชค และพรหมลิขิต เป็นต้น)ใช่หรือไม่ แต่หากไม่นับ The Unbreakable หนังอีกสองเรื่องของชามาลันหนักอึ้งด้วยมุมมองเชิงศาสนาวิทยาและสัญลักษณ์ทางอภิปรัชญา โดยเฉพาะในกรณีของ Signs ซึ่งมุมมองเหล่านี้ไม่ได้เป็นปมไม้ประดับอีกต่อไป หากถูกชูขึ้นเป็นหน้าเป็นตาของหนังเลยทีเดียว แม้ข้อมูลดังกล่าวไม่น่าจะผิดเพี้ยนจากความจริงว่าด้วยงานของชามาลัน แต่เพื่อไม่ให้เป็นการตีกรอบมากจนเกินไป จึงควรขนานนามหนังทั้งสามเรื่องของชามาลันว่า fantastic trilogy คำว่า fantastic ในที่นี้ เป็นคนละความหมายกับ fantastic ของซเวตาน โทโดรอฟ(Tzvetan Todorov) แต่หมายถึงการที่หนังนำเสนอภาพเหตุการณ์ซึ่งเป็นไปได้ภายใต้กฎการเล่าของหนัง แม้เหตุการณ์นั้นจะผิดธรรมชาติหรือไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์มารองรับ เช่น การที่ตัวละคร(ดช.โคล เซียร์)มองเห็นและมีปฏิสัมพันธ์กับผีได้ตามที่เจ้าตัวสารภาพไว้แผ่ว ๆ แต่กลายเป็นประโยคเด็ดของ The Sixth Sense ว่า I see dead people ส่วนในThe Unbreakable แม้ตัวละครเอกคือ เดวิด ดันน์ จะดูเป็นผู้ชายธรรมดา ๆ แต่เขาก็ค่อย ๆ ค้นพบและเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากความคงกระพันของตนและยอมรับฐานภาพการเป็นมหัศจรรย์ชนนอกหน้าหนังสือการ์ตูนในที่สุด ส่วน Signs กล่าวถึงความโกลาหลในชุมชนเกษตรกรรมไกลปืนเที่ยงอันเงียบสงบแห่งหนึ่งอันเป็นผลจากหางเลขของวันโลกาวินาศ เมื่อโลกถูกมนุษย์ต่างดาวบุก ผลจากการยืนหยัดขึ้นสู้กับภัยจากนอกโลกสร้างความเข้าใจต่อความหมายและคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ [http://wp.me/p4vTm-3U อ่านทั้งหมด]
 
-
 
-
 
-
 
-
== ไตรภาคเขย่าฝัน-ขวัญเฟื่องของชามาลัน 2 (Visual Style in M. Night Shyamalan’s “Fantastic” Trilogy Part 2) ==
 
-
 
-
ชามาลันนิยมใช้การเล่าเรื่องด้วยฝีภาพยาว(long take)เพื่อวางรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลัก ดังคำให้สัมภาษณ์ของเขาในดีวีดีที่ว่า "ข้อดีของการเล่าผ่านฝีภาพยาว คือ เป็นการทอดเวลาแก่คนดูในการหลอมรวมตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโลกของหนัง นอกจากนี้ ยังเป็นการถักทอเยื่อใยความสัมพันธ์ฉันท์มนุษย์ต่อมนุษย์ มิใช่แค่มนุษย์กับตัวละครในเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ระหว่างคนดูกับตัวละครหลัก อันถือเป็นเป้าหมายของหนัง"
 
-
กลยุทธดังกล่าวเมื่อขยายสู่ภาคปฏิบัติใน The Sixth Sense จะเห็นเป็นการผูกฝีภาพยาวเพื่อบ่มความหมายระหว่าง ดช.โคลอยู่ร่วมฉากกับผู้เป็นแม่ และ มัลคอล์มกับภรรยา ภาพฝีภาพยาวอันแรกเป็นส่วนหนึ่งของฉากชีวิตในครัวของสองแม่ลูก เหตุการณ์ในช่วงนาทีที่ 16 นาที 58 วินาที ถึง 19 นาที 38 วินาที ของ The Sixth Sense นี้นับเป็นการร่วมฉากกันครั้งแรกระหว่างแม่ลูก และยังเป็นการพาคนดูเข้าถึงก้นครัวบ้านเซียร์เป็นครั้งแรกอีกด้วย ชามาลันใช้กล้องมือถือในการตามติดแม่น้องโคลขณะสาละวนอยู่กับงานซักรีดกับงานครัวและต้องเดินกลับไปกลับมาระหว่าง 2 ห้องนี้สองรอบ รอบแรกยังไม่มีอะไรผิดสังเกต พอปิดฝาตู้ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเสร็จลินน์ก็เดินออกไปจากครัวหายเข้าไปในห้องซักรีด รอบที่สอบ ลินน์ออกจากห้องซักรีดกลับเข้ามาห้องครัวอีกครั้ง คราวนี้ฝาตู้และลิ้นชักเพยิบพยาบอยู่ในสภาพอิเหละเขละขละ ผิดกับเมื่อชั่วอึดใจที่แล้วราวอยู่คนละมิติ เธอแหกปากลั่นบ้านด้วยความขวัญหนีดีฝ่อ ความต่อเนื่องในการถ่ายทอดเหตุการณ์ โดยเปิดหน้ากล้องค้างไว้เพื่อเก็บภาพรวดเดียวและใส่มาในหนังทั้งกระบิ ขณะที่อัตราเร็วของเหตุการณ์(การสะสางงานแม่บ้านของลินน์)ในหนังก็เทียบเท่ากับการเดินของเข็มนาฬิกาจริง ๆ บนโลก ก่อนตบท้ายด้วยเหตุประหลาด สร้างความตระหนกแก่คนดูถ้วนหน้ากัน ฉากดังกล่าวยังเป็นการบอกใบ้คนดูว่า เรื่องเหนือธรรมชาติ เพิ่งจะโหมโรง (ถึงแม้ในความเป็นจริง ณ ห้วงเวลาดังกล่าว ฝาตู้และลิ้นชักอาจถูกทึ้งกระชากโดยคน(ดช.โคล)มือบอน หาใช่เพราะผีมือบอน ก็เป็นได้)
 
-
 
-
The Sixth Sense เปิดเรื่องด้วยภาพวินเซ็นต์ เกรย์คนไข้เก่าของมัลคอล์ม บุกเขาบ้านโครว และจ่อปืนขู่สามี-ภรรยาเจ้าของบ้าน กระสุนจากปากประบอกปืนในมือเกรย์พุ่งเข้าสู่ร่างมัลคอล์ม เกิดแรงปะทะจนเขาหงายหลังลงไปนอนราบกับพื้นเตียง หนังตัดไปเป็นภาพจากกล้องมุมสูง-ยิงดาดตรงลงมาจับเหตุการณ์(ไม่แต่เฉพาะ The Sixth Sense ภาพ"มองลงมายังเบื้องล่าง"มีอยู่ในหนังอีกสองเรื่องด้วยเช่นกัน) แอนนาถลันเข้าไปดูบาดแผลของสามี แล้วหนังก็ชิงเลือนภาพเป็นดำ คนดูจึงมิอาจทราบได้ว่ามัลคอล์มเป็นตายร้ายดีฉันใด หลังจากทิ้งคนดูอยู่กับความมืดทะมึนนานพอดูหนังจึงคลี่ภาพไปยังฤดูใบไม้ร่วงถัดมา พอเห็นว่าเป็นฤดูใบไม้ร่วงที่ยังมีมัลคอล์มอยู่คนดูย่อมด่วนสรุปไปว่ามัลคอล์มคงรอดชีวิตจากกระสุนของเกรย์มาได้ ภาพปฎิสัมพันธ์ครั้งแรกระหว่างมัลคอล์มกับภรรยาภายหลังเหตุการณ์เกรย์บุกบ้านมีให้เห็นในพิกัดที่ 26 นาที 18 วินาที จนถึง ที่ 28 นาที18 วินาที ของหนัง อันเป็น ฉากมื้อค่ำฉลองการเวียนมาบรรจบครบรอบอีกปีของวันคล้ายวันวิวาห์ แบบแผนการเก็บภาพเหตุการณ์ในฉากมื้อค่ำด้วยการรวบเหตุการณ์ทั้งหมดมาไว้ในหนังโดยเปิดหน้ากล้องครั้งเดียวนี้ถือเป็นแม่บทด้านภาพของชามาลันในงานอีก 2 เรื่องถัดมาด้วย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Unbreakable) [http://wp.me/p4vTm-Jn อ่านทั้งหมด]
 
-
 
-
== ไตรภาคเขย่าฝัน-ขวัญเฟื่องของชามาลัน 3 (Visual Style in M. Night Shyamalan’s “Fantastic” Trilogy Part 3 ) ==
 
-
 
-
ฝีภาพยาว กับ พื้นที่รโหฐาน และทัศนะทางชนชั้น
 
-
 
-
ความสัมพันธ์ระหว่างกำพืดผู้กำกับกับพื้นเพของตัวละครหลัก ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าให้ความสนใจงานไตรภาคของชามาลัน ตัวชามาลันนั้นถือกำเนิดมาในครอบครัวชนชั้นสูง พ่อและแม่ของเขาต่างเป็นแพทย์ แต่เรื่องราวที่เขานำมาเล่าในหนังกลับมีครอบครัวชนชั้นแรงงานเป็นท้องเรื่อง ไม่ว่าจะมาในรูปเพศหญิงกับรับบทบาททั้งพ่อและแม่ใน The Sixth Sense และ Unbreakable หรืออดีตนักฟุตบอลระดับตำนานผู้กลายมาเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยอย่าง เดวิด ดันน์ใน Unbreakable รวมไปถึงบาทหลวงแกรม กับน้องชายผู้เคยเป็นนักเบสบอลดาวโรจน์มาก่อน ทั้งหมดต่างมาจากชนชั้นแรงงาน
 
-
 
-
โดยเหตุที่หนังทั้งสามเรื่องยึดพื้นที่รโหฐานเป็นรูปสัญญะแทนสภาพแวดล้อมของชนชั้นแรงงาน ดังนั้น จึงมีพื้นที่รโหฐานให้เห็นดาษดื่นในหนังทั้งสามเรื่อง ในบรรดาพื้นที่รโหฐานด้วยกัน ห้องครัว ดูเหมือนจะทรงความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ของบ้าน และชามาลันก็เดินตามกฎดังกล่าวมาตั้งแต่ที่เขากำกับ The Sixth Sense ดังจะเห็นได้ว่าคำพูดกินใจและทรงความหมายไม่ว่าจะมาจากปากของลินน์ หรือ ดช.โคล ส่วนใหญ่เป็นผลสืบเนื่องจากการพูดคุยตามประสาแม่-ลูกในห้องครัวนั่นเอง อพาร์ตเมนต์ที่ถือว่าเป็นบ้านของสองแม่ลูกมีขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป เฟอรนิเจอร์ก็เน้นความเรียบง่าย ทั้งหมดไม่เพียงเป็นรั้วแห่งรูปสัญญะคอยโอบล้อมลินน์และ ดช.โคลไว้ในปริมณฑลของชนชั้นแรงงานเท่านั้น หากแต่หลายเหตุการณ์อันเป็นเครื่องพิสูจน์ความเหนียวแน่นของสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ก็มักจะมาเกิดเอาในที่ที่เรียกว่าห้องครัวนี้อีกด้วย
 
-
 
-
ห้องครัวใน Unbreakable มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน หนึ่งในฉากเด็ดจากห้องครัวในงานชิ้นนี้เกิดขึ้นขณะที่เดวิด ดันน์กับภรรยาล้างจานกันอยู่ ส่วนโจเซฟนั่งอยู่ที่โต๊ะกินข้าว ชามาลันแตกฉากนี้ออกเป็น 4 ฝีภาพ และให้ฝีภาพลำดับที่ 3 ซึ่งกินระวางหนังไป 2 นาที 8 วินาทีเป็นประธานของฉาก ในฝีภาพประธานจะเห็นโจเซฟงัดปืนพกออกมาบ่ายปากกระบอกไปยังเดวิด ดันน์เพื่อหวังจะพิสูจน์ความคงกระพันของผู้เป็นพ่อ กล้องบ่ายหน้าไปจับภาพโจเซฟสลับกลับไปกลับมากับภาพฝ่ายพ่อและแม่เกลี้ยกล่อมแกมข่มขู่ให้ลูกวางปืน เหตุการณ์ระทึกใจในฝีภาพนี้บีบคั้นอารมณ์เป็นอย่างมากและช่างบังเอิญต้องมาเกิดขึ้นในที่ที่มิดชิดและมีความเป็นส่วนตัวสูงอย่างห้องครัว ถึงจะไม่เกิดการเสียเลือดเนื้อแถมไปเพิ่มความกลมเกลียวในหมู่สมาชิกของบ้านดันน์ แต่การใส่ปืนเข้ามาในฉากอาจมีนัยของการวิพากษ์นโยบายควบคุมอาวุธปืนของทางการ มองในอีกแง่การมีปืนโผล่เข้ามาในหนังพร้อมกับพฤติกรรมมุ่งใช้ความรุนแรงของมนุษย์ทว่าแทนที่สถานการณ์จะลงเอยด้วยภาพการบู๊ล้างผลาญ การณ์กลับพลิกผัน ปืนและความสิ้นคิดกลายเป็นปัจจัยสมานรอยร้าวในครอบครัว การคลี่คลายสถานการณ์ในทิศทางดังกล่าวสอดคล้องตามครรลองของวัฒนธรรมที่มาร์ค เซลท์เซอร์(Mark Seltzer)ขนานนามว่าวัฒนธรรมไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา(wound culture)อันเป็นชะตาชีวิตของสังคมของอเมริกันมาช้านาน เพราะในทัศนะของเซลท์เซอร์ ความเป็นปึกแผ่นของรัฐและความสมานฉันท์ในหมู่พลเมืองอเมริกันมักเป็นผลพลอยได้ของการเผชิญหายนะหรือเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ ๆ [http://wp.me/p4vTm-Jq อ่านทั้งหมด]
 
-
 
-
== ชามานน์ลัน (Mirrored Images:  Shy and Mann)  ==
 
-
 
-
 
-
แม้ลูกถนัดด้านภาพและผังความคิดหลักในการสืบเสาะความหมายแฝงจะต่างกันสุดขั้ว แต่กลับมีขนบการสร้างงานพ้องกันอยู่ในผลงานของเอ็ม ไนท์ ชามาลัน(M. Night Shyamalan)กับไมเคิล มานน์(Michael Mann) ใต้ผ้าพันแผลอาบยาสลบของค.ศ.2000 สังคีตยุทธพลันกัมปนาท ความระทึกพวยพุ่งในความเงียบสงัด วันดีคืนดี วิญญาณมนุษย์ค้างคาวเข้าสิงนกฮูกซึมกระทือใน Unbreakable ส่วนผู้บริหารขี้หงอใน The Insider(ค.ศ.1999)ก็องค์ลง ปวารณาตัวจองเวรกับวงการยาสูบ มีความละม้ายในงานของสองผู้กำกับต่างวัยทั้งในงานขนาดย่อมและงานไว้ลาย
 
-
 
-
ความพ้องพานในงานของเอ็ม ไนท์ ชามาลันและไมเคิล มานน์จะเป็นที่ประจักษ์ในชั่วความยาวของบทความนี้ ไม่เฉพาะในแง่ใดแง่หนึ่ง หากหมายรวมไปถึงความสอดประสานอันสืบเนื่องลื่นไหล แม้จะมีให้เห็นเพียงนานทีปีหน แม้กระนั้น การเปรียบต่างคนทั้งสองพิกัดต่อพิกัดน่าจะช่วย น่าจะช่วยทุ่นแรงได้มาก ในแง่หนึ่งมานน์เป็นรุ่นลายครามคร่ำหวอดอยู่ในวงการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพ ไม่เกี่ยงงาน กำกับได้ทั้งงานเดินตามขนบและตามใจตัวเอง อีกด้านหนึ่งคือรัตติกาลขี้อาย(Night and Shy)ในคราบเด็กพิเรนท์ตาแป๋ว มุ่งมั่นและคึกคะนอง เหมือนเป็นการบ่มกลั่นจนเกือบนานเกินรอเป็นครั้งที่สอง มานน์กำกับ Heat(ค.ศ.1995)ในวัย 50 ต้น ๆ ตบะหนังแก่กล้าเจนจบ ถึงพร้อมด้วยกลเม็ดทว่าสุขุมในทุกก้าวย่าง ขณะที่หนังผีของราตรีขี้อายก็แสนละเมียดเนิบนาบเสียจนตะคริวจับ
 
-
 
-
ลูกผีลูกคน(Gray Zone)
 
-
 
-
งานทั้งสองเรื่องเข้ากันเป็นคอหอยลูกกระเดือกในเรื่องความเคลือบแคลงวังเวง ปราศจากอารมณ์ฟูมฟาย รปภ.กะกลางคืน(บรูซ วิลลิส)เพิ่งประจักษ์ในพลังแห่งเจตจำนงของตนลอกคราบกลับไปกลับมาระหว่างภาพลักษณ์ซีดหมองพอกันระหว่างการเป็นพ่อบ้านเงื่องหงอยเหมือนสีเทากระดำกระด่าง และผู้พิทักษ์สนามกีฬาผู้มาพร้อมกับเงาทะมึน เจฟฟรีย์(รัสเซล โครว)ผู้บริหารปลายแถวถูกนายจ้างตักเตือน จากนั้นบททดสอบชวนใจหายใจคว่ำก็ประเดประดังเข้ามา เดวิดเป็นผู้รอดชีวิติหนึ่งเดียวจากอุบัติเหตุทางรถไฟ
 
-
 
-
ลือกันไปทั่วว่าเจฟฟรีย์จะลากไส้บริษัทที่ตนเองเป็นลูกจ้าง รอเพียงคนจุดประกายมาปรากฏตัวเพื่อปลุกจิตวิญญาณวีรบุรุษ และมอบอนุสติ ทั้งนี้คนจุดประกายมักเป็นพวกอยู่ไม่สุขและสีสันจัดจ้าน ไม่ก็ฉลาดเป็นกรด เหมือนเคยกะล่อนหาตัวจับยากมาก่อนแต่เลิกพฤติกรรมนั้นแล้ว
 
-
 
-
เอไลจาห์(แซมมวล แอล แจ็คสัน)ใน Unbreakable คอการ์ตูนเข้าเส้น ผู้พิสมัยชุดเสื้อคลุมสีช้ำเลือดช้ำหนองยาวกรอมเข่า เขาคนนี้เชื่อว่าเดวิดคิดไม่ตกคือวีรบุรุษ ส่วนใน The Insider นักข่าวโลเวล(อัล ปาชิโน)(กับการวาดลวดลายสวมบทขั้นสุดยอด)ร่ายโวหารชักแม่น้ำทั้งห้าไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยสมราคาความกร่างระหว่างตามตื้อเจฟฟรีย์ให้ดับเครื่องชนกับสารเสพติดในบุหรี่
 
-
 
-
ก็เห็นอยู่ว่ามนุษย์หาเช้ากินค่ำเหล่านี้ตะหงิด ๆ จะประกาศธาตุแท้อันองอาจให้รู้ดีรู้ชั่ว แต่กระนั้นความอึมครึมลูกผีลูกคนในตัวพวกเขาหาได้สูญสลายไป หนำซ้ำกลับหนักข้อกว่าเดิม เจฟฟรีย์เป็นนักสู้ลมเพลมพัด เขาพร้อมจะผละหนีจากเส้นทางการลุยไถทุกขณะจิต ฉันใดก็ฉันนั้น เดวิดยังคิดไม่ตกอยู่วันยังค่ำนับแต่เหตุการณ์ที่สถานีรถไฟจนถึงสระน้ำ การให้สีดังกล่าวแทบจะถือได้ว่าเป็นเบาะแสสำคัญคอยการคุ้ยแคะ ดังจะเห็นต่อมาใน The Village(ค.ศ.2004) ชุดคลุมหัวสีบาดตาห้องล้อมด้วยฉากหลังหม่นทึม ขับเน้นภาวะการเป็นผู้พักพิงดุจเดียวกับนักบวช ส่วนสีแดงกระชากขวัญของผีป่าคือการตายตกไปตามกัน [http://wp.me/p4vTm-Hj อ่านทั้งหมด]
 
-
 
-
== อ้างอิง ==
 
-
 
-
Aubron,  Herve. 2006. 'MIRRORED IMAGES: SHY AND MANN'. http://www.cahiersducinema.com/article823.html
 
-
 
-
Totaro,  Donato. “Visual Style in M. Night Shyamalan’s “Fantastic” Trilogy, Part 1: The Long Take”.http://www.horschamp.qc.ca/new_offscreen/shyamalan_pt1.html
 
-
 
-
Totaro,  Donato. “Visual Style in M. Night Shyamalan’s “Fantastic” Trilogy, Part 2: Mise en Scène”.http://www.horschamp.qc.ca/new_offscreen/shyamalan_pt2.html
 

รุ่นปัจจุบันของ 00:47, 25 เมษายน 2556

เครื่องมือส่วนตัว