การบริหารงานวิจัย
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''การบริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา''' สถาบันอุ…') |
|||
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
'''การบริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา''' | '''การบริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา''' | ||
- | สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาด้านการวิจัยทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพของงานวิจัย ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมการบริหารงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพงานวิจัยภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของสถาบัน ซึ่งอาจทำได้โดยใช้หลักการบริหารงานวิจัยที่สำคัญ 3 ส่วน คือ การบริหารงานวิจัยระดับต้นน้ำ การบริหารงานวิจัยระดับกลางน้ำ และการบริหารงานวิจัยระดับปลายน้ำ ร่วมกับเครื่องมือทางการบริหารที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คือ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria For Performance Excellence: EdPEx) และแนวคิดการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) เพื่อเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของสถาบันอื่น เช่นกรณีศึกษาของผู้วิจัย ที่ได้ทำการเทียบเคียงสมรรถนะการบริหารงานวิจัยระหว่างวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมกับสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ. 2552-2553 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | + | สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาด้านการวิจัยทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพของงานวิจัย ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมการบริหารงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพงานวิจัยภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของสถาบัน ซึ่งอาจทำได้โดยใช้หลักการบริหารงานวิจัยที่สำคัญ 3 ส่วน คือ การบริหารงานวิจัยระดับต้นน้ำ การบริหารงานวิจัยระดับกลางน้ำ และการบริหารงานวิจัยระดับปลายน้ำ ร่วมกับเครื่องมือทางการบริหารที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คือ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria For Performance Excellence: EdPEx) และแนวคิดการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) เพื่อเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของสถาบันอื่น เช่นกรณีศึกษาของผู้วิจัย ที่ได้ทำการเทียบเคียงสมรรถนะการบริหารงานวิจัยระหว่างวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมกับสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ. 2552-2553 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา |
+ | |||
+ | '''การบริหารงานวิจัยระดับต้นน้ำ (ต้นทาง)''' ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และปรัชญา/ค่านิยมของสถาบัน 2) การจัดโครงสร้างการบริหารงานวิจัย 3) การกำหนดนโยบาย ทิศทาง และลำดับความสำคัญของการวิจัย 4) การจัดทำแผน/ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย 5) การกำหนดโจทย์/ประเด็นวิจัย 6) การพัฒนาแผนงาน/ชุดโครงการวิจัย 7) การตรวจสอบคุณภาพข้อเสนอโครงการวิจัย 8) การจัดการทุน/งบประมาณสนับสนุนการวิจัย 9) การพัฒนานักวิจัย 10) การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารงานวิจัย และ 11) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล/สารสนเทศด้านการวิจัย | ||
+ | |||
+ | '''การบริหารงานวิจัยระดับกลางน้ำ (กลางทาง)''' ได้แก่ 1) การช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัย 2) การสร้างบรรยากาศทางการวิจัย 3) การสร้างวัฒนธรรมวิจัย 4) การกำกับดูแลด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณนักวิจัย 5) การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัย 6) การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย/เครือข่ายวิจัย และ 7) การสร้างแรงจูงใจและสิ่งตอบแทนนักวิจัย | ||
+ | |||
+ | '''การบริหารงานวิจัยระดับปลายน้ำ (ปลายทาง)''' ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ด้านการวิจัย เกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และ 2) การประเมินผลกระทบของการวิจัย | ||
+ | |||
+ | ผลการศึกษาทำให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยที่สถาบันการศึกษาทั่วไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานวิจัยได้ ดังนี้ | ||
'''แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัย''' | '''แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัย''' | ||
แถว 21: | แถว 29: | ||
'''รายการอ้างอิง''' | '''รายการอ้างอิง''' | ||
- | อาทิตยา ดวงมณี. (2555). ''' | + | อาทิตยา ดวงมณี. (2555). '''การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยโดยการเทียบเคียงสมรรถนะตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม'''. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. |
รุ่นปัจจุบันของ 01:18, 15 พฤษภาคม 2556
การบริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาด้านการวิจัยทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพของงานวิจัย ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมการบริหารงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพงานวิจัยภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ของสถาบัน ซึ่งอาจทำได้โดยใช้หลักการบริหารงานวิจัยที่สำคัญ 3 ส่วน คือ การบริหารงานวิจัยระดับต้นน้ำ การบริหารงานวิจัยระดับกลางน้ำ และการบริหารงานวิจัยระดับปลายน้ำ ร่วมกับเครื่องมือทางการบริหารที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คือ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria For Performance Excellence: EdPEx) และแนวคิดการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) เพื่อเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของสถาบันอื่น เช่นกรณีศึกษาของผู้วิจัย ที่ได้ทำการเทียบเคียงสมรรถนะการบริหารงานวิจัยระหว่างวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมกับสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ. 2552-2553 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
การบริหารงานวิจัยระดับต้นน้ำ (ต้นทาง) ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และปรัชญา/ค่านิยมของสถาบัน 2) การจัดโครงสร้างการบริหารงานวิจัย 3) การกำหนดนโยบาย ทิศทาง และลำดับความสำคัญของการวิจัย 4) การจัดทำแผน/ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย 5) การกำหนดโจทย์/ประเด็นวิจัย 6) การพัฒนาแผนงาน/ชุดโครงการวิจัย 7) การตรวจสอบคุณภาพข้อเสนอโครงการวิจัย 8) การจัดการทุน/งบประมาณสนับสนุนการวิจัย 9) การพัฒนานักวิจัย 10) การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารงานวิจัย และ 11) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล/สารสนเทศด้านการวิจัย
การบริหารงานวิจัยระดับกลางน้ำ (กลางทาง) ได้แก่ 1) การช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัย 2) การสร้างบรรยากาศทางการวิจัย 3) การสร้างวัฒนธรรมวิจัย 4) การกำกับดูแลด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณนักวิจัย 5) การติดตามและประเมินผลโครงการวิจัย 6) การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย/เครือข่ายวิจัย และ 7) การสร้างแรงจูงใจและสิ่งตอบแทนนักวิจัย
การบริหารงานวิจัยระดับปลายน้ำ (ปลายทาง) ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ด้านการวิจัย เกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และ 2) การประเมินผลกระทบของการวิจัย
ผลการศึกษาทำให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยที่สถาบันการศึกษาทั่วไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานวิจัยได้ ดังนี้
แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัย
ด้านการนำองค์การ คือ ผู้นำระดับสูงกำหนดและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย และค่านิยมด้านการวิจัยที่ชัดเจนและเป็นระบบ สร้างความผูกพันหรือแรงจูงใจด้านการวิจัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน สร้างบรรยากาศทางการวิจัยที่ดี และบริหารงานวิจัยโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ คือ จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยโดยให้ความสำคัญต่อความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการวิจัยที่เป็นระบบสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบัน และคาดการณ์ผลการดำเนินการด้านการวิจัยและเปรียบเทียบตัวบ่งชี้กับคู่เปรียบเทียบอยู่เสมอ (คู่เปรียบเทียบ หมายถึง ผลการดำเนินงานในอดีต เป้าประสงค์ หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ)
ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ สร้างความผูกพันด้านการวิจัยให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยกำหนดทิศทางการวิจัยที่ชัดเจนและให้บริการด้วยความเอาใจใส่ สร้างวัฒนธรรมวิจัยที่มุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยกำหนดให้งานวิจัยเป็นภาระงานหลักที่มีผลต่อการเลื่อนขั้นเงินเดือน/เพิ่มค่าจ้าง มีเงินรางวัลสำหรับโครงการวิจัยที่เสร็จตรงเวลา และรับฟังข้อมูลด้านการวิจัยจากผู้รับบริการและจัดการอย่างเป็นระบบ
ด้านการวัดผล การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ คือ วัด วิเคราะห์และปรับปรุงผลการดำเนินการด้านการวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จัดการสารสนเทศด้านการวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และจัดการความรู้ด้านการวิจัยที่เชื่อถือได้
ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน คือ ผูกใจผู้วิจัยด้วยแรงจูงใจหรือสิ่งตอบแทนที่หลากหลายและเป็นระบบ พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวิจัยอย่างเป็นระบบตอบสนองต่อความต้องการของอาจารย์และผู้บริหาร ประเมินความผูกพันด้านการวิจัยและใช้ผลการประเมินมาทำให้ผลการดำเนินการด้านการวิจัยดีขึ้น บริหารขีดความสามารถและอัตรากำลังด้านการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาบรรยากาศในการทำงานให้ปลอดภัย มั่นคงและเกื้อหนุนต่อการทำงานวิจัย
ด้านการจัดการกระบวนการ คือ ออกแบบระบบการบริหารงานวิจัยที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพโดยสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายวิจัยในสถาบัน ออกแบบและบริหารโครงการวิจัยที่เป็นระบบและคล่องตัว และจัดสรรเงินรายได้สนับสนุนเครือข่ายวิจัยภายในเพื่อกระตุ้นการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
รายการอ้างอิง
อาทิตยา ดวงมณี. (2555). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยโดยการเทียบเคียงสมรรถนะตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.