“หนึ่งในสยาม” บทเพลงสร้างสรรค์
จาก ChulaPedia
แถว 13: | แถว 13: | ||
'''ช่วงที่ 2 ดนตรีสี่ภาค''' นำแนวคิดและท่วงทำนองบางส่วนของเพลงพื้นบ้านสี่ภาคมาประยุกต์ใช้และนำลักษณะการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาให้เครื่องดนตรีตะวันตกบรรเลง ช่วงดนตรีในแต่ละภาค ดังนี้ | '''ช่วงที่ 2 ดนตรีสี่ภาค''' นำแนวคิดและท่วงทำนองบางส่วนของเพลงพื้นบ้านสี่ภาคมาประยุกต์ใช้และนำลักษณะการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาให้เครื่องดนตรีตะวันตกบรรเลง ช่วงดนตรีในแต่ละภาค ดังนี้ | ||
- | + | ''' ภาคกลาง''' เลือกทำนองในท่อนสร้อยของเพลงเรือมาประยุกต์ใช้เป็นทำนองภาคกลาง | |
[[ไฟล์:siam_4.jpg]] | [[ไฟล์:siam_4.jpg]] |
การปรับปรุง เมื่อ 01:56, 12 มิถุนายน 2556
บทประพันธ์เพลง “หนึ่งในสยาม” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช แนวทางการประพันธ์เนื้อร้อง ศึกษาลักษณะการใช้บทกวีนิพนธ์ ถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียง ตามกฏเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ เนื้อร้องแสดงออกถึงความจงรักภักดี ลักษณะทางดนตรี บทเพลงแบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 โหมโรง ประพันธ์บทกวีนิพนธ์ประเภทกาพย์ฉบัง 16 ใช้เป็นบทสดุดี โดยอ่านบทกวีนิพนธ์ไปพร้อมกับวงออร์เคสตรา
และเป็นการนำเสนอทำนองหลัก สร้างจากบันไดเสียงเพนตาโทนิก (Pentatonic Scale) เรียกทำนองนี้ว่า “ทำนองถวายพระพร” ลักษณะทำนองที่ฟังไม่ซับซ้อนและความรู้สึกแบบไทย เพื่อเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ของไทย
ตัวอย่างการบรรเลงทำนองถวายพระพรพร้อมกัน โดยกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง เครื่องสายและเครื่องลมไม้
ช่วงที่ 2 ดนตรีสี่ภาค นำแนวคิดและท่วงทำนองบางส่วนของเพลงพื้นบ้านสี่ภาคมาประยุกต์ใช้และนำลักษณะการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาให้เครื่องดนตรีตะวันตกบรรเลง ช่วงดนตรีในแต่ละภาค ดังนี้ ภาคกลาง เลือกทำนองในท่อนสร้อยของเพลงเรือมาประยุกต์ใช้เป็นทำนองภาคกลาง
ภาคเหนือ แนวทำนองมาจากลักษณะการตีกลอง เรียกว่า “กลองตึ่งนง” การตีกลองจังหวะที่เป็นการสอดรับกันระหว่างกลองกับฉาบ และนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องดนตรีตะวันตก