จาก ChulaPedia
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ล |
|
(การแก้ไข 2 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) |
แถว 1: |
แถว 1: |
- | จักริน วิภาสวัชรโยธิน
| |
| | | |
- | ขบวนการหนังคู่ปรับของงานกระแสหลักอเมริกันพันธุ์ดุประเภทตั้งหน้าตั้งตาสะสางเหตุการณ์ให้จบ ๆ ไปนั้นเพิ่งมาเฟื่องฟูและแพร่หลายในหมู่ผู้กำกับขาประจำเทศกาลช่วงสองทศวรรษหลังมานี้ "หนังเอ้อระเหย"(cinema of slowness) ตามที่มิแชล ซิม็องต์(Michel Ciment)เริ่มจำแนกไว้ในค.ศ.2003 โดยเริ่มผลิตงานที่ให้ความสำคัญกับการสะท้อนรูปแบบและอนิจจะลักษณะไม่น้อยหน้าการเน้นย้ำปัจจุบันสภาพและเพิกเฉยกับความฉับไวแทนที่จะตีคลื่นเร่งความเคลื่อนไหวในแบบแนวการเล่าตามหลักเหตุและผล
| |
- |
| |
- | หากลองจัดลำดับความจัดจ้านในฝีมือของนักทำหนังตามแนวนี้พอจะแย้มคร่าวๆ ได้ดังนี้ ฟิลิป การ์เรล(Philippe Garrel) ชองทาล อเคอร์มาน(Chantal Akerman) [http://wp.me/p4vTm-1BE ธีโอ แองเจโลปูลอส(Theo Angelopoulos)] อับบาส เคียรอสตามี(Abbas Kiarostami) [http://wp.me/P4vTm-19R เบลา ทาร์(Béla Tarr)] อเล็กซานเดอร์ โซกูรอฟ(Aleksandr Sokurov) โหวเชี่ยวเฉียน(Hou Hsiao-hsien) ไฉ่มิ่งเหลียง(Tsai Ming-liang) ชารูนาส บาร์ตัส(Sharunas Bartas) เปโดร คอสตา(Pedro Costa) เจี่ยฉางเค่อ(Jia Zhang-ke) อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล(Apichatpong Weerasethakul) ลิซานโดร อลอนโซ(Lisandro Alonso)[[ลิงก์เชื่อมโยง]] คาร์ลอส เรย์กาดาส(Carlos Reygadas) กัส แวน ซ็องต์(Gus Van Sant) และอัลแบรต์ แซร์รา(Albert Serra)
| |
- |
| |
- | ลักษณะร่วมประการสำคัญในงานสร้างของผู้กำกับเหล่านี้ ประมวลคร่าว ๆ แล้วประกอบด้วย เล่าเหตุการณ์ลากยาว(longtake) กระจายศูนย์เล็งการเล่า และไม่มีจุดหมายปลายทางหรือประเด็นไว้ตายตัว ลอยชาย พิรี้พิไร และเน้นหนักในความสงบนิ่งและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ในภาวะที่หนังเหล่านี้ผุดขึ้นราวดอกเห็ดจึงสมควรแก่เวลาที่จะพินิจพิเคราะห์ขนบการสร้างงาน สืบสาวสาแหรกงานฝีมือเพื่ิอค้นหาแบบแผนอันเป็นเอกลักษณ์และการออกแบบเค้าโครง หรืออีกนัยหนึ่งคือสุนทรียะของการเอ้อระเหย(aesthetic of slow)
| |
- |
| |
- | งานของผู้กำกับที่กล่าวไปคือปฏิบัติการหักดิบคนดูจากการเป็นทาสวัฒนธรรมตาลีตาเหลือก ดัดหลังความคาดหวังกับท่วงทีการเล่าตามขนบหนังและปรับปรุงท่วงทำนองทางกายภาพของคนดูให้สงบ ตั้งมั่นในสติ เมื่อหลุดพ้นจากการรังควานของกองทัพภาพและสรรพสื่อซ่อนนัยขนาดมหึมาจากการระดมกำลังของหนังเอาใจตลาด ดนดูจึงจะเข้าถึงอรรถรสแห่งสามัญสำนึกอันไพศาล และอ่อนละมุน ภาพเหตุการณ์ลากยาว(longtake)เปิดโอกาสให้เกิดการพเนจรทางสายตา คนดูั้ดั้นด้นไปได้ทั่วแนวระนาบของกรอบภาพและสังเกตรายละเอียดจิปาถะที่แฝงเร้น หรือคอยยั่วแหย่จากเพลงกล้องอันพริ้วไหว [http://wp.me/p4vTm-ur อ่านทั้งหมด]
| |
รุ่นปัจจุบันของ 08:42, 16 ตุลาคม 2556