การเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ตรึงบนไดอะทอไมต์โดยใช้วัตถุดิบจากของเสียอุตสาหกรรม
จาก ChulaPedia
(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ถูกตรึงลงบนไดอะทอไมต์ โดยใช้ฝุ่นผงสังกะสีที่เป็นกากของเสียจากกระบวนการชุบโลหะด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ซิงก์ออกไซด์ และไดอะทอไมต์ที่ผ่านการใช้เป็นตัวกรองจากอุตสาหกรรมผลิตเบียร์เป็นวัสดุรองรับ ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษา 2 ส่วน | + | งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ถูกตรึงลงบนไดอะทอไมต์ โดยใช้ฝุ่นผงสังกะสีที่เป็นกากของเสียจากกระบวนการชุบโลหะด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ซิงก์ออกไซด์ และไดอะทอไมต์ที่ผ่านการใช้เป็นตัวกรองจากอุตสาหกรรมผลิตเบียร์เป็นวัสดุรองรับ ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษา 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาการเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ถูกตรึงบนผงไดอะทอไมต์ ด้วยวิธีการจุ่มแช่ และเผาแคลไซน์ โดยศึกษาค่าพีเอชในการตกตะกอนซิงก์ออกไซด์ ปริมาณซิงก์ออกไซด์ที่ตรึงบนผงไดอะทอไมต์ และอุณหภูมิการเผาแคลไซน์ ซึ่งพบว่าการตรึงอนุภาคซิงก์ออกไซด์บนไดอะทอไมต์ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลูสูงขึ้น โดยพีเอชที่ใช้ในการตกตะกอน และอุณหภูมิในการเผาแคลไซน์ส่งผลต่อโครงสร้างทางจุลภาคของซิงก์ออกไซด์ และปริมาณซิงก์ออกไซด์ที่มากไปจะเกาะกลุ่มกันและอุดรูพรุนของวัสดุรองรับซึ่งส่งให้ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลูต่ำลง โดยเงื่อนไขที่เหมาะสมในการเตรียมคือ ปริมาณซิงก์ออกไซด์ที่ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของไดอะทอไมต์ ตกตะกอนที่พีเอช 10 และใช้อุณหภูมิในการเผาแคลไซน์ที่ 600 องศาเซลเซียสซึ่งให้ค่าประสิทธิภาพการย่อยสลายเมทิลีนบลูได้สูงสุด คิดเป็น 88.20 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 210 นาที ส่วนที่สองเป็นการศึกษาการเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ถูกตรึงบนไดอะทอไมต์ที่มีลักษณะเป็นชิ้นงานอัดเม็ดที่เตรียมขึ้นด้วยการผสมโซเดียมซิลิเกต 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของไดอะทอไมต์ เพื่อช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของชิ้นงานในการเผาผนึกที่ 800 องศาเซลเซียส และจุ่มเคลือบในสารแขวนลอยซิงก์ออกไซด์ที่เตรียมจากการตกตะกอน ทำซ้ำที่จำนวนรอบต่างๆ พบว่าจำนวนรอบในการเตรียมที่เหมาะสม อีกทั้งความสามารถในการดูดซับที่ดี ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลูสูงขึ้น โดยสูงสุด 81.74 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 5 ชั่วโมง จากตัวอย่างที่ชุบด้วยจำนวน 7 รอบ ซึ่งชั้นที่หนาเกินไปกลับทำให้ค่าประสิทธิภาพที่ได้ต่ำลง |
- | + | ||
- | + |
การปรับปรุง เมื่อ 05:22, 12 ธันวาคม 2556
งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ถูกตรึงลงบนไดอะทอไมต์ โดยใช้ฝุ่นผงสังกะสีที่เป็นกากของเสียจากกระบวนการชุบโลหะด้วยสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ซิงก์ออกไซด์ และไดอะทอไมต์ที่ผ่านการใช้เป็นตัวกรองจากอุตสาหกรรมผลิตเบียร์เป็นวัสดุรองรับ ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษา 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาการเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ถูกตรึงบนผงไดอะทอไมต์ ด้วยวิธีการจุ่มแช่ และเผาแคลไซน์ โดยศึกษาค่าพีเอชในการตกตะกอนซิงก์ออกไซด์ ปริมาณซิงก์ออกไซด์ที่ตรึงบนผงไดอะทอไมต์ และอุณหภูมิการเผาแคลไซน์ ซึ่งพบว่าการตรึงอนุภาคซิงก์ออกไซด์บนไดอะทอไมต์ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลูสูงขึ้น โดยพีเอชที่ใช้ในการตกตะกอน และอุณหภูมิในการเผาแคลไซน์ส่งผลต่อโครงสร้างทางจุลภาคของซิงก์ออกไซด์ และปริมาณซิงก์ออกไซด์ที่มากไปจะเกาะกลุ่มกันและอุดรูพรุนของวัสดุรองรับซึ่งส่งให้ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลูต่ำลง โดยเงื่อนไขที่เหมาะสมในการเตรียมคือ ปริมาณซิงก์ออกไซด์ที่ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของไดอะทอไมต์ ตกตะกอนที่พีเอช 10 และใช้อุณหภูมิในการเผาแคลไซน์ที่ 600 องศาเซลเซียสซึ่งให้ค่าประสิทธิภาพการย่อยสลายเมทิลีนบลูได้สูงสุด คิดเป็น 88.20 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 210 นาที ส่วนที่สองเป็นการศึกษาการเตรียมซิงก์ออกไซด์ที่ถูกตรึงบนไดอะทอไมต์ที่มีลักษณะเป็นชิ้นงานอัดเม็ดที่เตรียมขึ้นด้วยการผสมโซเดียมซิลิเกต 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของไดอะทอไมต์ เพื่อช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของชิ้นงานในการเผาผนึกที่ 800 องศาเซลเซียส และจุ่มเคลือบในสารแขวนลอยซิงก์ออกไซด์ที่เตรียมจากการตกตะกอน ทำซ้ำที่จำนวนรอบต่างๆ พบว่าจำนวนรอบในการเตรียมที่เหมาะสม อีกทั้งความสามารถในการดูดซับที่ดี ทำให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลูสูงขึ้น โดยสูงสุด 81.74 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 5 ชั่วโมง จากตัวอย่างที่ชุบด้วยจำนวน 7 รอบ ซึ่งชั้นที่หนาเกินไปกลับทำให้ค่าประสิทธิภาพที่ได้ต่ำลง