พัฒนาการทางด้านหมวดคำและความหมายของคำ "ด้วย"
จาก ChulaPedia
(→เชิงอรรถ) |
|||
(การแก้ไข 5 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | พัฒนาการทางด้านหมวดคำและความหมายของคำ | + | == พัฒนาการทางด้านหมวดคำและความหมายของคำ "ด้วย" == |
- | + | “ด้วย” เป็นคำไวยากรณ์ (1) ที่ใช้ในประโยคภาษาไทยมาตั้งแต่ปรากฏหลักฐานตัวเขียน ดังตัวอย่าง | |
- | + | " ก่อทั้งมหาพิหารใหญ่ด้วยอิฐเสร็จบริบวรแล้ว จึงไปสืบค้นหาเอาพระพุทธรูปหินเก่าแก่แต่บูราด้วยไกล ชั่วสองสามคืน เอามาประดิษฐานไว้ในมหาพิหาร" (กรมศิลปากร, 2527: 74-75) | |
ช่วงสมัยสุโขทัย “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ที่ปรากฏในประโยคมี 2 ตำแหน่ง คือ 1. ปรากฏอยู่หน้าคำนาม เพื่อทำหน้าที่บอกว่าคำนามที่ตามหลังมีความสัมพันธ์กับคำกริยาของประโยคในแง่ใดแง่หนึ่ง ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำบุพบท” 2. ปรากฏอยู่ระหว่างคำนาม 2 คำ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงคำนามทั้งสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำเชื่อมนาม” | ช่วงสมัยสุโขทัย “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ที่ปรากฏในประโยคมี 2 ตำแหน่ง คือ 1. ปรากฏอยู่หน้าคำนาม เพื่อทำหน้าที่บอกว่าคำนามที่ตามหลังมีความสัมพันธ์กับคำกริยาของประโยคในแง่ใดแง่หนึ่ง ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำบุพบท” 2. ปรากฏอยู่ระหว่างคำนาม 2 คำ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงคำนามทั้งสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำเชื่อมนาม” | ||
- | ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ (Grammaticalization) (2) พบว่า คำบุพบท “ด้วย” บอก ‘ผู้ร่วม’ เช่น กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ได้พัฒนาไปเป็นคำเชื่อมนาม “ด้วย” บอก ‘ความคล้อยตาม’ เช่น แล้วจึงอัญเชิญมหาสามีสังฆราชด้วยเถรานุเถระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายขึ้นเมือเถิงราชมนเทียร | + | ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ (Grammaticalization) (2) พบว่า คำบุพบท “ด้วย” บอก ‘ผู้ร่วม’ เช่น กูต่อช้างด้วยขุนสามชน (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ได้พัฒนาไปเป็นคำเชื่อมนาม “ด้วย” บอก ‘ความคล้อยตาม’ เช่น แล้วจึงอัญเชิญมหาสามีสังฆราชด้วยเถรานุเถระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายขึ้นเมือเถิงราชมนเทียร (จารึกวัดป่ามะม่วง) |
ต่อมา ช่วงสมัยอยุธยา “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ปรากฏเพิ่มขึ้นในประโยคอีก 2 ตำแหน่ง คือ 1. ปรากฏอยู่ระหว่างประโยค 2 ประโยค เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงประโยคทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำเชื่อมอนุพากย์” 2. ปรากฏอยู่หลังคำกริยา เพื่อทำหน้าที่ขยายกริยา ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำกริยาวิเศษณ์” | ต่อมา ช่วงสมัยอยุธยา “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ปรากฏเพิ่มขึ้นในประโยคอีก 2 ตำแหน่ง คือ 1. ปรากฏอยู่ระหว่างประโยค 2 ประโยค เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงประโยคทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำเชื่อมอนุพากย์” 2. ปรากฏอยู่หลังคำกริยา เพื่อทำหน้าที่ขยายกริยา ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำกริยาวิเศษณ์” | ||
- | ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ พบว่า คำเชื่อมอนุพากย์ “ด้วย” บอก ‘สาเหตุ’ เช่น ไพร่พลทั้งปวงตาย ด้วย อดอาหารเป็นอันมาก มีพัฒนาการมาจากคำบุพบท “ด้วย” บอก ‘สาเหตุ’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย | + | ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ พบว่า คำเชื่อมอนุพากย์ “ด้วย” บอก ‘สาเหตุ’ เช่น ไพร่พลทั้งปวงตาย ด้วย อดอาหารเป็นอันมาก (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, 2549: 67-69) มีพัฒนาการมาจากคำบุพบท “ด้วย” บอก ‘สาเหตุ’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย |
- | ในทางตรงกันข้าม พัฒนาการของคำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” นั้น มิได้เป็นไปตามทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ กล่าวคือ คำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” บอก ‘การเข้าร่วม’ เช่น พระเจ้าหงษาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย มีพัฒนาการมาจากคำบุพบท “ด้วย” บอก ‘ผู้ร่วม’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย | + | ในทางตรงกันข้าม พัฒนาการของคำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” นั้น มิได้เป็นไปตามทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ กล่าวคือ คำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” บอก ‘การเข้าร่วม’ เช่น พระเจ้าหงษาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, 2549: 49) มีพัฒนาการมาจากคำบุพบท “ด้วย” บอก ‘ผู้ร่วม’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย |
หากพิจารณาถึง “ระดับความหมายเชิงเนื้อความ” จะพบว่า คำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” มีระดับความหมายภายในตัวเองสูงกว่าคำบุพบท “ด้วย” พัฒนาการที่ย้อนทิศทางเช่นนี้ไม่เป็นไปตามทฤษฎีข้างต้น | หากพิจารณาถึง “ระดับความหมายเชิงเนื้อความ” จะพบว่า คำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” มีระดับความหมายภายในตัวเองสูงกว่าคำบุพบท “ด้วย” พัฒนาการที่ย้อนทิศทางเช่นนี้ไม่เป็นไปตามทฤษฎีข้างต้น | ||
แถว 19: | แถว 19: | ||
ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ปรากฏเพิ่มขึ้นในประโยคอีก 1 ตำแหน่ง คือ ปรากฏอยู่ในส่วนท้ายสุดของประโยค เพื่อทำหน้าที่ลดทอนความเป็นคำสั่งในประโยคคำสั่ง และเพิ่มระดับการขอร้องให้มากขึ้น ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำลงท้าย” | ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ปรากฏเพิ่มขึ้นในประโยคอีก 1 ตำแหน่ง คือ ปรากฏอยู่ในส่วนท้ายสุดของประโยค เพื่อทำหน้าที่ลดทอนความเป็นคำสั่งในประโยคคำสั่ง และเพิ่มระดับการขอร้องให้มากขึ้น ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำลงท้าย” | ||
- | ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ พบว่า คำลงท้าย “ด้วย” บอก ‘การขอร้อง’ เช่น ช่วยดูขนมปังที่ปิ้งด้วยเถิด มีพัฒนาการมาจากคำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” บอก ‘การเข้าร่วม’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา | + | ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ พบว่า คำลงท้าย “ด้วย” บอก ‘การขอร้อง’ เช่น ช่วยดูขนมปังที่ปิ้งด้วยเถิด (หนังสือจดหมายเหตุ ๚ THE BANGKOK RECORDER, 2537: 193) มีพัฒนาการมาจากคำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” บอก ‘การเข้าร่วม’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา |
- | ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 คำ “ด้วย” ในตำแหน่ง “คำเชื่อมนาม” เริ่มไม่เป็นที่นิยมใช้ ดังนั้น หมวดคำของคำ “ด้วย” จึงปรากฏใช้เพียง 4 หมวดคำ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงสมัยปัจจุบัน ได้แก่ 1. หมวดคำบุพบท 2. หมวดคำเชื่อมอนุพากย์ 3. หมวดคำกริยาวิเศษณ์ และ 4. หมวดคำลงท้าย | + | ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 คำ “ด้วย” ในตำแหน่ง “คำเชื่อมนาม” เริ่มไม่เป็นที่นิยมใช้ ดังนั้น หมวดคำของคำ “ด้วย” จึงปรากฏใช้เพียง 4 หมวดคำ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงสมัยปัจจุบัน ได้แก่ 1. หมวดคำบุพบท 2. หมวดคำเชื่อมอนุพากย์ 3. หมวดคำกริยาวิเศษณ์ และ 4. หมวดคำลงท้าย |
+ | == เชิงอรรถ == | ||
+ | 1. คำไวยากรณ์ คือ คำที่แสดงความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ระหว่างคำหลักหรืออนุพากย์ คำที่แสดงลักษณะทางไวยากรณ์ เช่น แสดงกาล การณ์ลักษณะ พจน์ บุรุษ การก เป็นต้น มีข้อจำกัดในการปรากฏร่วมกับคำอื่นมาก ไม่สามารถสื่อความหมายได้โดยลำพัง ต้องอาศัยคำอื่นมาช่วยแสดงความหมาย เช่น คำบุพบท, คำเชื่อมอนุพากย์ เป็นต้น (Hopper และ Traugott, 2003: 4, 107) | ||
+ | 2. กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ คือ การกลายเป็นคำไวยากรณ์เป็นการเพิ่มขอบเขตของคำจากคำหลักไปเป็นคำไวยากรณ์ หรือ จากคำไวยากรณ์ที่มีความเป็นไวยากรณ์อยู่แล้วกลายไปเป็นคำที่มีความเป็นไวยากรณ์มากขึ้น (Kurylowicz, 1975) | ||
- | == | + | == อ้างอิง == |
- | + | นพรัฐ เสน่ห์. 2556. การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของ "ด้วย". วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. | |
- | + | ||
- | + |
รุ่นปัจจุบันของ 15:04, 13 กุมภาพันธ์ 2557
พัฒนาการทางด้านหมวดคำและความหมายของคำ "ด้วย"
“ด้วย” เป็นคำไวยากรณ์ (1) ที่ใช้ในประโยคภาษาไทยมาตั้งแต่ปรากฏหลักฐานตัวเขียน ดังตัวอย่าง
" ก่อทั้งมหาพิหารใหญ่ด้วยอิฐเสร็จบริบวรแล้ว จึงไปสืบค้นหาเอาพระพุทธรูปหินเก่าแก่แต่บูราด้วยไกล ชั่วสองสามคืน เอามาประดิษฐานไว้ในมหาพิหาร" (กรมศิลปากร, 2527: 74-75)
ช่วงสมัยสุโขทัย “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ที่ปรากฏในประโยคมี 2 ตำแหน่ง คือ 1. ปรากฏอยู่หน้าคำนาม เพื่อทำหน้าที่บอกว่าคำนามที่ตามหลังมีความสัมพันธ์กับคำกริยาของประโยคในแง่ใดแง่หนึ่ง ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำบุพบท” 2. ปรากฏอยู่ระหว่างคำนาม 2 คำ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงคำนามทั้งสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำเชื่อมนาม”
ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ (Grammaticalization) (2) พบว่า คำบุพบท “ด้วย” บอก ‘ผู้ร่วม’ เช่น กูต่อช้างด้วยขุนสามชน (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ได้พัฒนาไปเป็นคำเชื่อมนาม “ด้วย” บอก ‘ความคล้อยตาม’ เช่น แล้วจึงอัญเชิญมหาสามีสังฆราชด้วยเถรานุเถระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายขึ้นเมือเถิงราชมนเทียร (จารึกวัดป่ามะม่วง)
ต่อมา ช่วงสมัยอยุธยา “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ปรากฏเพิ่มขึ้นในประโยคอีก 2 ตำแหน่ง คือ 1. ปรากฏอยู่ระหว่างประโยค 2 ประโยค เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงประโยคทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำเชื่อมอนุพากย์” 2. ปรากฏอยู่หลังคำกริยา เพื่อทำหน้าที่ขยายกริยา ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำกริยาวิเศษณ์”
ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ พบว่า คำเชื่อมอนุพากย์ “ด้วย” บอก ‘สาเหตุ’ เช่น ไพร่พลทั้งปวงตาย ด้วย อดอาหารเป็นอันมาก (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, 2549: 67-69) มีพัฒนาการมาจากคำบุพบท “ด้วย” บอก ‘สาเหตุ’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ในทางตรงกันข้าม พัฒนาการของคำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” นั้น มิได้เป็นไปตามทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ กล่าวคือ คำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” บอก ‘การเข้าร่วม’ เช่น พระเจ้าหงษาเอาสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าขึ้นไปด้วย (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, 2549: 49) มีพัฒนาการมาจากคำบุพบท “ด้วย” บอก ‘ผู้ร่วม’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
หากพิจารณาถึง “ระดับความหมายเชิงเนื้อความ” จะพบว่า คำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” มีระดับความหมายภายในตัวเองสูงกว่าคำบุพบท “ด้วย” พัฒนาการที่ย้อนทิศทางเช่นนี้ไม่เป็นไปตามทฤษฎีข้างต้น
ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ “ตำแหน่ง” ของคำ “ด้วย” ปรากฏเพิ่มขึ้นในประโยคอีก 1 ตำแหน่ง คือ ปรากฏอยู่ในส่วนท้ายสุดของประโยค เพื่อทำหน้าที่ลดทอนความเป็นคำสั่งในประโยคคำสั่ง และเพิ่มระดับการขอร้องให้มากขึ้น ตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ “คำลงท้าย”
ผลการศึกษาตามกรอบทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ พบว่า คำลงท้าย “ด้วย” บอก ‘การขอร้อง’ เช่น ช่วยดูขนมปังที่ปิ้งด้วยเถิด (หนังสือจดหมายเหตุ ๚ THE BANGKOK RECORDER, 2537: 193) มีพัฒนาการมาจากคำกริยาวิเศษณ์ “ด้วย” บอก ‘การเข้าร่วม’ ที่ปรากฏใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 คำ “ด้วย” ในตำแหน่ง “คำเชื่อมนาม” เริ่มไม่เป็นที่นิยมใช้ ดังนั้น หมวดคำของคำ “ด้วย” จึงปรากฏใช้เพียง 4 หมวดคำ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงสมัยปัจจุบัน ได้แก่ 1. หมวดคำบุพบท 2. หมวดคำเชื่อมอนุพากย์ 3. หมวดคำกริยาวิเศษณ์ และ 4. หมวดคำลงท้าย
เชิงอรรถ
1. คำไวยากรณ์ คือ คำที่แสดงความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ระหว่างคำหลักหรืออนุพากย์ คำที่แสดงลักษณะทางไวยากรณ์ เช่น แสดงกาล การณ์ลักษณะ พจน์ บุรุษ การก เป็นต้น มีข้อจำกัดในการปรากฏร่วมกับคำอื่นมาก ไม่สามารถสื่อความหมายได้โดยลำพัง ต้องอาศัยคำอื่นมาช่วยแสดงความหมาย เช่น คำบุพบท, คำเชื่อมอนุพากย์ เป็นต้น (Hopper และ Traugott, 2003: 4, 107)
2. กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ คือ การกลายเป็นคำไวยากรณ์เป็นการเพิ่มขอบเขตของคำจากคำหลักไปเป็นคำไวยากรณ์ หรือ จากคำไวยากรณ์ที่มีความเป็นไวยากรณ์อยู่แล้วกลายไปเป็นคำที่มีความเป็นไวยากรณ์มากขึ้น (Kurylowicz, 1975)
อ้างอิง
นพรัฐ เสน่ห์. 2556. การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของ "ด้วย". วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.