“กรุณา” “หน่อย”: ที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '''“'''กรุณา'''ส่งเอกสารด้านหน้าค่ะ” “ขอลางาน'''หน่อย'''น…') |
|||
แถว 5: | แถว 5: | ||
'''กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม''' เช่น คำกริยา “กรุณา” มีคุณสมบัติสำคัญคือ มีคำวิเศษณ์มาขยายได้ เช่น ''“คุณตาของเธอ'''กรุณา'''ฉัน'''มาก'''”'' แต่เมื่อ “กรุณา” กลายเป็นคำแสดงการขอร้องจะมีคำวิเศษณ์มาขยายไม่ได้ เช่น ''"'''กรุณา'''งดสูบบุหรี่'''มาก'''"'' | '''กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม''' เช่น คำกริยา “กรุณา” มีคุณสมบัติสำคัญคือ มีคำวิเศษณ์มาขยายได้ เช่น ''“คุณตาของเธอ'''กรุณา'''ฉัน'''มาก'''”'' แต่เมื่อ “กรุณา” กลายเป็นคำแสดงการขอร้องจะมีคำวิเศษณ์มาขยายไม่ได้ เช่น ''"'''กรุณา'''งดสูบบุหรี่'''มาก'''"'' | ||
'''กระบวนการจางลงทางความหมาย และกระบวนการคงเค้าความหมายเดิม''' เช่น ความหมายของคำกริยา “กรุณา” ซึ่งมีความหมายแสดงความสงสาร ความเสียสละและบุญคุณได้หายไป เหลือเพียงเค้าความหมายของความสงสารคิดช่วยเหลือ และมีความหมายของการสั่งอย่างสุภาพเพิ่มเข้ามาแทน | '''กระบวนการจางลงทางความหมาย และกระบวนการคงเค้าความหมายเดิม''' เช่น ความหมายของคำกริยา “กรุณา” ซึ่งมีความหมายแสดงความสงสาร ความเสียสละและบุญคุณได้หายไป เหลือเพียงเค้าความหมายของความสงสารคิดช่วยเหลือ และมีความหมายของการสั่งอย่างสุภาพเพิ่มเข้ามาแทน | ||
+ | '''อ้างอิง''': นพวรรณ เมืองแก้ว. 2556. คำแสดงการขอร้องในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. |
การปรับปรุง เมื่อ 10:09, 26 กุมภาพันธ์ 2557
“กรุณาส่งเอกสารด้านหน้าค่ะ” “ขอลางานหน่อยนะครับ” ประโยคขอร้องดังกล่าว มีโครงสร้างเป็นประโยคคำสั่งที่มีการเติมคำว่า “กรุณา” ไว้ข้างหน้าและเติมคำว่า “หน่อย”ไว้ข้างท้ายประโยค เพื่อทำให้เกิดความหมายขอร้องอย่างสุภาพ คำทั้งสองมีความหมายประจำคำที่แตกต่างกัน เมื่อผู้ใช้ภาษานำคำเหล่านี้มาช่วยเสริมการขอร้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากคำที่มีเพียงความหมายประจำคำ (lexical meaning) ได้แก่คำกริยา “กรุณา” หมายถึง สงสารคิดช่วยเหลือ และคำบอกปริมาณ “หน่อย” หมายถึง น้อย กลายมาเป็นคำที่มีความหมายทางไวยากรณ์ (grammatical meaning) คือ ใช้เป็นคำแสดงการขอร้อง (requestive marker) ด้วย ในภาษาไทยปัจจุบันคำทั้งสอง ปรากฏใช้ 2 หน้าที่ ได้แก่ คำว่า “กรุณา” เป็นได้ทั้งคำกริยาและคำแสดงการขอร้อง และคำว่า “หน่อย” เป็นได้ทั้งคำบอกปริมาณและคำแสดงการขอร้อง เกณฑ์ที่ใช้จำแนก ได้แก่ เกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ เช่น “กรุณา” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องมักจะไม่ปรากฏร่วมกับประธานในประโยค เช่น “กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าห้อง” ในขณะที่ “กรุณา” ที่เป็นคำกริยามักจะปรากฏร่วมกับประธานในประโยค เช่น “คุณลุงกรุณาขับรถมาส่งฉัน” และเกณฑ์ทางอรรถศาสตร์ เช่น “หน่อย” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องแทนที่ด้วยคำว่า “มาก” ไม่ได้ เช่น “พาเรากลับบ้านหน่อย” เป็น “*พาเรากลับบ้านมาก” ไม่ได้ ในขณะที่ “หน่อย” ที่เป็นคำบอกปริมาณแทนที่ด้วยคำว่า “มาก” ได้ เช่น “ตอนนี้สบายขึ้นหน่อย” เป็น “ตอนนี้สบายขึ้นมาก” ได้ ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้คำทั้งสองกลายเป็นคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ ปัจจัยทางวากยสัมพันธ์ เนื่องจากประโยคในภาษาไทยอนุญาตให้คำกริยาเกิดเรียงต่อกันได้ คำว่า “กรุณา” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องจึงน่าจะพัฒนามาจากประโยคที่มีคำว่า “กรุณา” เป็นคำกริยาหลักปรากฏหน้าคำกริยาตัวอื่นๆ เรียงต่อกันในประโยค และปัจจัยทางอรรถศาสตร์ เช่น ความหมายประจำคำของคำบอกปริมาณ “หน่อย” มีความหมายแสดงปริมาณน้อย จึงทำให้ผู้พูดเลือกใช้ความหมายนี้เพื่อสื่อไปยังผู้ฟังว่า การขอร้องเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่เป็นภาระหรือสร้างความลำบากให้แก่ผู้ฟัง การกลายเป็นคำไวยากรณ์ครั้งนี้ผ่านกระบวนการทางภาษาที่สำคัญ เช่น กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม เช่น คำกริยา “กรุณา” มีคุณสมบัติสำคัญคือ มีคำวิเศษณ์มาขยายได้ เช่น “คุณตาของเธอกรุณาฉันมาก” แต่เมื่อ “กรุณา” กลายเป็นคำแสดงการขอร้องจะมีคำวิเศษณ์มาขยายไม่ได้ เช่น "กรุณางดสูบบุหรี่มาก" กระบวนการจางลงทางความหมาย และกระบวนการคงเค้าความหมายเดิม เช่น ความหมายของคำกริยา “กรุณา” ซึ่งมีความหมายแสดงความสงสาร ความเสียสละและบุญคุณได้หายไป เหลือเพียงเค้าความหมายของความสงสารคิดช่วยเหลือ และมีความหมายของการสั่งอย่างสุภาพเพิ่มเข้ามาแทน อ้างอิง: นพวรรณ เมืองแก้ว. 2556. คำแสดงการขอร้องในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.