แบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเจริญเติบโตของต้นข้าว
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'วรรณทัศน์ เลิศอภิสิทธิ : แบบจำลองคณิตศาสตร์ของกา…') |
|||
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
วรรณทัศน์ เลิศอภิสิทธิ : แบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเจริญเติบโตของต้นข้าวช่วงระยะแตกกอภายใต้ผลกระทบของสารประกอบไนโตรเจน. (MATHEMATICAL MODEL OF RICE GROWTH AT TILLERING STAGE UNDER THE EFFECT OF NITROGEN COMPOUNDS) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: อ. ดร. รตินันท์ บุญเคลือบ, อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม: รศ. สุชาดา ศิริพันธุ์ | วรรณทัศน์ เลิศอภิสิทธิ : แบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเจริญเติบโตของต้นข้าวช่วงระยะแตกกอภายใต้ผลกระทบของสารประกอบไนโตรเจน. (MATHEMATICAL MODEL OF RICE GROWTH AT TILLERING STAGE UNDER THE EFFECT OF NITROGEN COMPOUNDS) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: อ. ดร. รตินันท์ บุญเคลือบ, อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม: รศ. สุชาดา ศิริพันธุ์ | ||
- | + | ||
+ | การปลูกพืชซ้ำๆ บนดินเดิม เช่น ข้าว (Oryza sativa) ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ส่งผลให้ผลิตภาพของดินลดลง เกษตรกรส่วนใหญ่แก้ปัญหาโดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเร่งการเติบโตและเพิ่มผลผลิตของข้าว ปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกันส่งผลกระทบต่อการดูดและการสะสมไนโตรเจนในต้นข้าว การดูดและการสะสมไนโตรเจนที่ความเหมาะสมส่งผลให้ต้นข้าวเติบโตเพิ่มขึ้น มีผลผลิตเพิ่มขึ้น และลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ในงานวิจัยนี้ได้เสนอแบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเติบโตและการสะสมปริมาณไนโตรเจนของต้นข้าวในระยะแตกกอที่ได้รับปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกัน โดยใช้สมการเชิงอนุพันธ์ในรูปแบบโลจิสติกมาอธิบายพฤติกรรมดังกล่าว โดยข้อมูลเข้าเป็นอายุของต้นข้าว และปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้ และ มีน้ำหนักแห้งของต้นข้าวและปริมาณการดูดและการสะสมไนโตรเจนในต้นข้าวเป็นตัวแปรเป้าหมาย ผลที่ได้ปรากฏว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้นสามารถอธิบายการเติบโตและทำนายน้ำหนักแห้งตลอดจนการสะสมไนโตรเจนในต้นข้าวได้เป็นอย่างดีด้วยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ไม่เกิน 1.4% |
รุ่นปัจจุบันของ 08:46, 9 เมษายน 2557
วรรณทัศน์ เลิศอภิสิทธิ : แบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเจริญเติบโตของต้นข้าวช่วงระยะแตกกอภายใต้ผลกระทบของสารประกอบไนโตรเจน. (MATHEMATICAL MODEL OF RICE GROWTH AT TILLERING STAGE UNDER THE EFFECT OF NITROGEN COMPOUNDS) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: อ. ดร. รตินันท์ บุญเคลือบ, อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม: รศ. สุชาดา ศิริพันธุ์
การปลูกพืชซ้ำๆ บนดินเดิม เช่น ข้าว (Oryza sativa) ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ส่งผลให้ผลิตภาพของดินลดลง เกษตรกรส่วนใหญ่แก้ปัญหาโดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเร่งการเติบโตและเพิ่มผลผลิตของข้าว ปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกันส่งผลกระทบต่อการดูดและการสะสมไนโตรเจนในต้นข้าว การดูดและการสะสมไนโตรเจนที่ความเหมาะสมส่งผลให้ต้นข้าวเติบโตเพิ่มขึ้น มีผลผลิตเพิ่มขึ้น และลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ในงานวิจัยนี้ได้เสนอแบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเติบโตและการสะสมปริมาณไนโตรเจนของต้นข้าวในระยะแตกกอที่ได้รับปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจนที่แตกต่างกัน โดยใช้สมการเชิงอนุพันธ์ในรูปแบบโลจิสติกมาอธิบายพฤติกรรมดังกล่าว โดยข้อมูลเข้าเป็นอายุของต้นข้าว และปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้ และ มีน้ำหนักแห้งของต้นข้าวและปริมาณการดูดและการสะสมไนโตรเจนในต้นข้าวเป็นตัวแปรเป้าหมาย ผลที่ได้ปรากฏว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้นสามารถอธิบายการเติบโตและทำนายน้ำหนักแห้งตลอดจนการสะสมไนโตรเจนในต้นข้าวได้เป็นอย่างดีด้วยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ไม่เกิน 1.4%