รอยประทับของภาพสะท้อน
จาก ChulaPedia
(การแก้ไข 2 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | + | ลัดให้ตรงเป้า ภาพของ Close-Up คือตัวการชักใบให้เรือเสียด้วยการนำพาหนังไปสู่ทางตันในการคลายปมเรื่อง ดังจะเห็นได้จาก ในที่สุดแล้ว เรื่องของคดีถูกถอดออกจากวงสนทนาเสียดื้อ ๆ คนในรถเสไปคุยกันถึงภูมิลำเนา หน้าที่การงานของแต่ละคน และเรื่องสัพเพเหระ คุยไปคุยมาจนรถหลงออกนอกเส้นทางเข้าให้ จึงต้องหยุดรถสอบถามเส้นทางจากชาวบ้านไปเป็นระยะ เหตุการณ์ทั้งหมดกินเวลาเทียบเท่าเวลาจริงบนหน้าปัดนาฬิกา รถพาคนทั้งหมดมาถึงที่หมายคือบ้านเจ้าทุกข์จนได้ แต่การมาถึงแหล่งข้อมูลสำคัญใช่ว่าจะยังประโยชน์แก่คนดู เพราะมีแต่ตำรวจกับนักข่าวเท่านั้นที่หายเข้าไปในบ้าน กล้องไม่ได้พาคนดูติดตามเข้าไปร่วมในเหตุการณ์การสอบปากคำและทำข่าวข้างในบ้านแต่กลับทอดหุ่ยอยู่เคียงข้างคนขับรถ และดูเขาฆ่าเวลาด้วยการขับรถวนไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็เห็นเขาหยิบดอกไม้ขึ้นมาดูเล่น คนดูถูกทิ้งไว้กับคนขับรถจนกระทั่งเขาเดินไปเตะกระป๋อง และกล้องหันไปจับภาพขณะที่มันกลิ้งกระดอนอยู่กับพื้นถนนอยู่เป็นนานสองนาน | |
- | + | ในระยะหลายปีหลังมานี้ มีหนังจากอิหร่านทยอยออกสู่สายตาคอหนังนานาชาติมากต่อมาก มากเสียจนเสียจนกระทั่งภายในกลุ่มเดียวกันเองยังสามารถแบ่งแยกออกเป็นหลายแนว ในจำนวนนี้มีหนังบางกลุ่มมีจุดร่วมของภาษาหนังและกลบทการเล่าจนอาจใช้เป็นเกณฑ์จัดตั้งเป็นแนวทางใหม่ขึ้นมา คุณสมบัติเช่นที่ว่ามีอยู่ในการดำเนินเรื่องช่วงต้นของ Close-Up ดังที่กล่าวไป Close-Up เป็นงานลำดับที่ห้าของผู้กำกับอับบาส เคียรอสตามี(Abbas Kiarostami) แต่ถือเป็นงานชิ้นแรกที่เขาพางานคร่อมเส้นแบ่งการเป็นสารคดีกับหนังผูกเรื่อง จนกลายเป็นการบุกเบิกที่ยังคงคึกคักด้วยเพื่อนร่วมทางงานพันธุ์ทางที่ยากจะจัดเข้าตระกูลหนังใด ๆ | |
- | + | ตัวละครศูนย์กลางของ Close-Up และเรื่องราวที่วนเวียนอยู่รายรอบ ล้วนไม่ได้มาจากการผูกแต่ง ชายชื่อฮอสเซน ซาเบียน(Hossain Sabzian)ซึ่งรับสมอ้างเป็นมอเซ็น มักห์มาลบาฟในหนัง คือซาเบียนในชีวิตจริง อันที่จริงตัวละครใน Close-Up ต่างไม่ได้เป็นนักแสดง เขาและเธอล้วนแต่เพียงดำเนินบทบาทไปตามชีวิตที่เป็นอยู่ ไม่เว้นแม้แต่สองผู้กำกับคือ มักห์มาลบาฟและเคียรอสตามีที่กระโจนเข้ามาอยู่ในหนังตนโดยบุกเข้าไปเป็นคู่สนทนากับตัวละคร กล่าวได้ว่าวิถีชีวิตเป็นแรงจูงใจเดียวของตัวละครสมทบทั้งหลายในการทำหน้าในฉาก เช่นเดียวกับภาพจากระหว่างการดำเนินคดีซาเบียน | |
- | + | แนวทางของเคียรอสตามียิ่งฉายเด่นเมื่อมาถึงงานลำดับที่หกในค.ศ.1991 คือ …And Life Goes on…ผลงานชิ้นนี้กลายเป็นธงชัยแห่งยุคของหนังอิหร่าน เคียรอสตามี กับ…And Life Goes on… กลายเป็นชื่อลำดับต้นในการอ้างอิงในวงสนทนาเกี่ยวกับหนังอิหร่านรุ่นปัจจุบันก่อนตามติดมาด้วยมอเซ็น มักห์มาลบาฟ(Mohsen Makhmalbaf) กับ Moment of Innocence งานค.ศ.1996 พร้อมด้วยบุตรีคือซามิรา(Samira Makhmalbaf)กับงานค.ศ.1998 คือ The Apple และจาฟาร์ ปานาอี(Jafar Panahi)ศิษย์ก้นกุฏิเคียรอสตามีเองกับ The Mirror งานปี 1997 เนื้องานที่ยกมาล้วนเป็นผลการถลุงจากสายแร่ความคิดที่เรียกว่า แนวอัตสำเหนียก(self-consciousness) แม้นักทำหนังอิหร่านเหล่านี้ไม่อาจได้ชื่อเป็นผู้ปักธงแห่งการค้นพบเนื่องจากเขาและเธอยังเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งแนวทางอย่างฌอง ลุก โกดารด์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องตระกูลทาวิอานี(Taviani brothers)อยู่ท่วมหัว กระนั้นงานเหล่านี้ก็มีเลือดอัตสำเหนียกอยู่ในตัวเข้มพอจะเรียกรวมว่าเป็นงาน อัตสำเหนียกแห่งอิหร่าน ได้อย่างเต็มภาคภูมิ หนังอัตสำเหนียกแบบอิหร่านไม่เพียงมีวิธีถ่ายทอดอันหลักแหลม หากยังต่อยอดได้ในตัวเองชนิดหนังจบแต่ไม่หมดเรื่อง | |
- | + | หนังจากชาติอื่นที่พอจะอยู่ร่วมร่มธงแนวคิดเดียวกันและพอจะยกมาเทียบเคียงได้เห็นจะเป็น Vanya on 42nd Street งานค.ศ. 1994 ของผู้กำกับหลุยส์ มาลล์(Louis Malle)เมื่อดูจากการฆ่าเชื้อกลิ่นอายละคอนให้หมดไปจากกระบวนการเล่าหนังแม้จะเป็นหนังเล่าเรื่องของละคร และแย่งชิงสัดส่วนความเป็นหนังกลับคืนสู่ตัวหนังด้วยการเน้นหนักกับศักยภาพและชั้นเชิงการเล่าแบบหนังเท่านั้นจะทำได้ | |
- | + | Vanya เข้าข่ายและฉายแววความเป็นงานอัตสำเหนียกเพราะผู้กำกับมาลล์ไม่ต้องสละทรัพยากรการเล่าไปกับการฉายภาพพัฒนาการของตัวละคร หรือ การบรรยายเพื่อลากเส้นประทิศทางและกระชับโครงเรื่องแม้แต่น้อย กล้องของมาลล์โลดแล่นไปเก็บภาพทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับละคอน ไม่ว่าจะเหตุการณ์ ณ ฉนวนคาบเกี่ยวระหว่างเวทีละครกับ พื้นที่รายรอบ รวมถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าที่นาฏกรรมแบบละคอนจะอุบัติ ตลอดจนสิ่งละอันพันละน้อยที่แวดล้อมหรือมีเส้นสายสืบเนื่องกับ(เวที)ละคอน ไล่เรื่อยไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังม่านละคอน แม้แต่ปฏิกิริยาของคนดูหน้าม่าน ในตัว Vanya จึงเป็นทั้งหนังว่าด้วยเรื่องราวในละคร และ ว่าด้วยเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับการละคร | |
- | + | กลวิธีของเคียรอสตามีและมักห์มาลบาฟในการเล่า Close-Up และ Moment of Innocence ไม่ต่างกับมาลล์ใน Vanya หนังสองเรื่องนี้ใช่ว่าไม่มีแก่นหรือสาระอันเป็นภารกิจในการย่อยป้อนสู่คนดู ผิดแต่เพียงในระหว่างการสื่อความผู้กำกับทั้งสองกลับสำรอกมากกว่าแค่แก่น พวกเขายักยอกทรัพยากรของหนังหลายส่วนไปจุนเจือแก่การถ่ายทอดให้คนดูรับรู้กรรมวิธีทำหนังซึ่งกำลังขย้อนแก่นหรือปม พร้อมกันไปด้วย | |
- | |||
- | + | อุปมาดั่งพวกเขานำกล้องไปถ่ายภาพการคลี่คลายของปมซึ่งสะท้อนอยู่บนบานกระจกเงาอีกต่อหนึ่ง แทนที่จะไปจ่อเก็บจากเหตุการณ์จริงตรง ๆ เหตุดังนั้น แม้จะ'ได้เรื่อง' แต่จะมีภาพของกล้องที่ตกประทับอยู่ในบานกระจกเป็นผลพลอยได้ โดยที่ภาพของกล้องที่ว่าก็คือกรรมวิธีทำหนังนั่นเอง เท่ากับว่า หนังทั้งสองเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์สองชุดไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้แต่ละชุดเหตุการณ์ต่างมีจุดเริ่มต้นและจุดจบในตัวเองและเป็นอิสระต่อกัน การเล่าเชิงซ้อนแบบ Close-Up และ Moment of Innocence ประสบผลงดงามจนกลายเป็นหน้าเป็นตาของหนังอิหร่าน ก็เพราะเหตุการณ์สองชุดต่างยังคงความกระจ่างและบริบูรณ์ในตัวเองเอาไว้ได้ | |
+ | |||
+ | ชั้นเชิงการเล่าหนังตามคติอัตสำเหนียกของเคียรอสตามีและมักห์มาลบาฟ มาในรูปการยันผู้ชมไว้ในระยะห่างจากกระบวนการคลี่คลายปมขัดแย้งหรือเหตุการณ์อันเป็นกุญแจของหนัง กล่าวคือคนดูจะรับรู้ความเป็นไปของละคอนในหนังได้จากตำแหน่งที่ผู้กำกับกำหนดไว้ให้เท่านั้นในแง่การสื่อด้วยภาพ ดังนั้นแม้จะระแคะระคายรวมถึงสังหรณ์ใจถึงการมีอยู่ของปมปัญหาหรือเรื่องราว แต่คนดูจะไม่มีทางเห็นภาพรอบด้านของปัญหา จากจุดยืนที่หนังยุดหรือล้อมไว้ | ||
+ | |||
+ | เหตุการณ์ในตอนต้นของ Close-Up เป็นไปตามเจตนาและชั้นเชิงที่กล่าว เพราะหลังจากสะกิดต่อมความอยากรู้ของคนดูด้วยเงื่อนงำของคดี เคียรอสตามีไม่ได้สานต่อความคาดหวังของคนดูด้วยการสางปมคดีอีก(จนกว่าหนังจะเข้าสู่ช่วงครึ่งหลัง) จนดูราวกับว่าผู้กำกับจงใจอมพะนำเรื่องราวดังกล่าวให้พ้นหูพ้นตาคนดู บางทีก็เหมือนจะสร้างความอึดอัดคลางแคลงจนคนดูแทบตบะแตก หรือจะอีกที การเอ้อระเหยไปกล่าวถึงอะไรต่อมิอะไรที่คนดูเห็นว่าไม่เข้าเรื่อง ก็อาจไม่มีคำอธิบายใด ๆ มากกว่าเป็นการเอ้อระเหย | ||
+ | |||
+ | หนังเริ่มเข้าเค้าหลังเคียรอสตามีวกกลับมาเล่าความสืบต่อเหตุการณ์ตอนต้นเรื่องในช่วงท้ายโดยเป็นการเล่าผ่านมุมมองของซาเบียน และคนดูเมื่อพอจะจับต้นชนปลายได้ ความคิดที่ว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าคือภาพจากสารคดีจึงหมดไปจากหัว แต่จะพอมองออกว่าส่วนที่ฟูหนาจากความคิดรวบยอดว่าด้วยอัตสำเหนียกคือทบของชั้นเหตุการณ์หลาย ๆ ชั้นซึ่งผ่านการฝานซอยเป็นแผ่นบาง ๆ อณูความเป็นไปได้แห่งเรื่องราวและผู้คนที่เคยอ้อยอิ่งลอยฟ่อง จู่ ๆ ก็เรียงตัวเป็นระเบียบเหมือนหนึ่งผู้หลงทางพบแผนที่แจกแจงเส้นทางอันเลี้ยวลดที่ผู้กำกับพาคนดูตะลอนไปพบพานเรื่องราวและผู้คนมา คนดูจะเข้าถึงและตกผลึกภายในว่าเหตุการณ์ทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรและเกิดการยอมรับโดยดุษฎีถึงความเกี่ยวพันและส่งผลกระทบต่อกันระหว่างปมขัดแย้งกับทั้งหมดทั้งหลายที่หนังนำเสนอมา หากจะมีอาการคับข้องขัดเคืองใจบังเกิดแก่คนดูรายใด ก็วินิจฉัยได้สถานเดียวว่าเป็นเพราะมีวิสัยทัศน์คับแคบกว่าผู้กำกับ แก่นแท้ของเรื่องราวหนังหาได้จำแลงมารูปสารคดี หากแต่มีพฤติการณ์ลับ ๆ ล่อ ๆ อยู่ตามริมขอบหนังและคอยตีโอบเนื้อหนังในส่วนสารคดี | ||
+ | |||
+ | ในการรับมือกับความซ่อนเงื่อนวกวนและเหลี่ยมคูที่คอยบดบังขวางทางเข้าถึงเนื้อในในหนังอย่าง Close-Up และ Moment of Innocence คนดูจำต้องทุ่มสมาธิสุดแรงเกิด จนอาจเสียศูนย์และพาลเลิกนำพากับของดี ๆ ในหนัง ชั้นเชิงที่แบ่งย่อยลงมาจากแนวคิดหลักการเล่าถึงอย่างไรก็ถือเป็นเพียงหนึ่งในคุณสมบัติของหนัง หนังอิหร่านก็เหมือนหนังทั่วไปที่ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ผนวกอยู่ในตัวด้วย | ||
+ | |||
+ | คุณสมบัติอีกประการที่โดดเด่นไม่น้อยหน้าฝีไม้ลายมือผู้กำกับคือ การเล่นหนังอย่างเข้าถึงบทบาทของตัวละคร กระทั่งดึงดูดหรือขโมยความสนใจของคนดูไปจากการแกะรอยชั้นเชิงการเล่าของผู้กำกับได้อยู่เนือง ๆ อาจกล่าวได้ว่าส่วนผสมอันกลมกลืนระหว่างละคอนในภาคการแสดงกับหนังในภาคการเล่าที่คละเคล้าสอดแทรกด้วยรายละเอียดจิปาถะสร้างความพะวักพะวงแก่คนดูในการถ่ายน้ำหนักสมาธิเพื่อเลี้ยงตัวอยู่บนสองแคมของนาวาหนัง | ||
+ | |||
+ | การประชุมขององค์ประกอบทั้งมวลในหนังแผ่คลื่นสรรพคุณเสมือนมนต์สะกดกล่อมคนดูให้ตกอยู่ในภวังค์ของการเหยียบเรือสองแคมท่ามกลางทะเลหมอกแห่งชั้นเชิง คนดูแทบไม่เอะใจว่าหมู่เรือพ่วงนี้กำลังแล่นไปข้างหน้ารวดเร็วเพียงใด ทุกเรื่องราวเหมือนจะดำเนินอยู่ในระยะเอื้อมมือถึง ทว่ากลับลางเลือนเกินกว่าจะจับต้องได้ | ||
+ | |||
+ | กลเม็ดยักย้ายภูมิเรื่องและเบนเป้าความสนใจของคนดูในแบบอิหร่าน ๆ มีให้จับได้คาหนังคาเขาแม้แต่ในงานที่มีสัดส่วนความเป็นเรื่องผูกแต่งอยู่ในตัวค่อนข้างสูง เช่น Where is the Friend’s Home งานของเคียรอสตามีในปี คศ. 1987 หรือ The Silence งานจาก คศ. 1998 ของมอเซ็น มักห์มาลบาฟ และ The Circle งานปี คศ. 2000 ของปานาอี | ||
+ | |||
+ | หนังทั้งสามเรื่องต่างมีร่องรอยความพยายามปล่อยคลื่นรบกวนจิตใจให้คนดูหลงตำแหน่งในเหตุการณ์ใหญ่ของหนัง ด้วยการแทรกเหตุการณ์เฉพาะหน้ายิบย่อยเข้ามาในเส้นทางเรื่องราวหลักอยู่เป็นระยะ ผลติดตามมาคือคนดูถูกหน่วงเหนี่ยวไว้กับเหตุการณ์อายุขัยสั้น ๆ เหล่านั้น แม้การปล่อยให้มีเศษเสี้ยวเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของคนดูหลุดเข้ามาอยู่ในหนังอาจฉีกผืนหนังออกเป็นริ้ว ๆ และสร้างความสะเปะสะปะแก่ทิศทางของหนังได้ แต่ดูเหมือนเคียรอสตามี มัขมัลบาฟ และปานาอีจะไม่อินังขังขอบแม้สักนิด ร้ายกว่านั้น ผู้กำกับเหล่านี้กลับดูจะชอบอกชอบใจเสียอีกกับการผนวกหนังด้วยอนุกรมเรื่องเล่าที่ไร้ต้นสายแต่มีปลายเหตุจำนวนมาก | ||
+ | |||
+ | ช่วงที่หนึ่งกับช่วงที่สองของ Close-Up ต่างมีลักษณะเป็นอนุกรมเรื่องเล่าที่มีจุดจบในตัวเอง ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากหยอดเบาะแสไว้เบาะ ๆ หนังก็ไม่เก็บเรื่องของซาเบียนมาเป็นอารมณ์(อยู่ระยะหนึ่ง) แต่กลับทอดสายตาไปยังกิจกรรมของคนขับรถเสียอย่างนั้น กว่าที่คนดูจะได้กลับเข้าสู่ตำแหน่งที่เห็นเหตุการณ์ในส่วนของซาเบียนได้ ก็เมื่อเคียรอสตามียินยอมพร้อมใจ ใน Moment of Innocence มักห์มาลบาฟก็เล่าหนังด้วยกลบทเดียวกัน | ||
+ | |||
+ | Moment of Innocence เป็นเรื่องราวของตัวผู้กำกับมักห์มาลบาฟเองกับอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่ง คนทั้งสองโคจรมาพบกันในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงเมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น ครั้งกระโน้นมักห์มาลบาฟซึ่งอยู่ในการชุมนุมเกิดไปแทงตำรวจนายดังกล่าวเข้าให้ขณะฝ่ายหลังเข้าระงับเหตุวุ่นวาย มาในบัดนี้ด้วย Moment of Innocence เป็นใจ ทั้งมือมีดและเป้ามีดจึงได้มาเปิดใจถึงกรณีทำร้ายร่างกายแต่หนหลัง ภาพของหนังส่วนใหญ่เป็นการการฉายภาพตัวตนและห้วงคำนึงของแต่ละฝ่าย ในฟากของตำรวจ อัตตาอวตารในวัยฉกรรจ์ของเขาเผยอตัวออกมาจากมาจากช่างตัดเสื้อผู้ทำหน้าที่กุมบังเหียนการเล่าเรื่อง นับเป็นกลบทการเล่าที่จากท่าบังคับการเล่าหลายช่วงตัว ในอีกฟากหนึ่งของหนังมักห์มาลบาฟแห่งปัจจุบันก็มีโอกาสปฏิสันฐานกับอัตตาอวตารแห่งอดีต ชีวิตเดียวกันจากต่างวาระพบว่าตนเองยังคงชมชอบการเก็บดอกไม้มาทับไว้ในหน้าหนังสือเหมือนกัน หนังยังมีการขยายภาพความรู้สึกที่มักห์มาลบาฟในครั้งกระโน้นมีต่อและคนรักในอดีต ผ่านบทเจรจาว่าด้วยความปรารถนาในชีวิตคนหนุ่มสาว อันไพเราะจับใจ | ||
+ | |||
+ | ภาพความงดงามตามสุนทรียศาสตร์ของมักห์มาลบาฟจากแต่ละฉากตอนของหนังสมานตัวเข้าด้วยกันเกิดเป็นภาพใหญ่อันหมดจด ได้ที่และไร้รอยตำหนิ สุนทรียศาสตร์ของมักห์มาลบาฟไม่ได้เกิดจากการชะลอหรือเว้นช่วงรอการเผยโฉมคำตอบสุดท้ายอย่างหนึ่งอย่างใด แต่เป็นการบานสะพรั่งของความงามทั้งหมดทั้งหลายในคราวเดียว อานุภาพความงามเมื่อมาตระหง่านอยู่เบื้องหน้าคนดูจึงมีพลังดึงดูดเกินต้านทาน ผู้รับสารจึงถูกหลอมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับหนังโดยดุษฎี | ||
+ | |||
+ | ความช่างสังเกตสังกาเฟ้นหาแง่มุมงดงามของชีวิตในแต่ละวัน หรืออุบัติการณ์ ประเภทฟ้าผ่ากลางวันแสก ๆ รวมถึงเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง เหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อจับท่วงทำนองประสบการณ์จากการขับเคลื่อนชีวิตมาพิมพ์ลายนิ้วมือ คุณสมบัติข้อนี้ชวนให้นึกถึงหนังตระกูลสัจนิยมใหม่ของอิตาลี | ||
+ | |||
+ | ความเป็นอัตสำเหนียกใน Close-Up, Moment of Innocence และ The Apple อาจผันหนังไปในทิศทางตรงกันข้ามกับงานขึ้นหิ้งของสัจนิยมใหม่อิตาลีอย่าง The Bicycle Thief และ Umberto D งานในปี 1948 และ 1952 ตามลำดับของวิตตอริโอ เดอ สิกา (Vittorio De Sica) และออกจะผ่าเหล่ากลายเป็นงาน สัจนิยมใหม่ของยุคหลังสมัยใหม่ (post modern neo-realism) เมื่อดูจากการสวมทับเรื่องราวที่เห็นและเป็นอยู่แทนการลอกคราบความเป็นจริงมาถ่ายทอด มิใยต้องกล่าวถึงการใช้บริการของผู้ประสบเหตุ หรือกำลังเผชิญชะตากรรมที่เป็นมูลแห่งเรื่องเล่าอยู่จริง ๆ มาเล่นในหนัง แทนการนำนักแสดงอาชีพมาสวมบท และประเด็นสำคัญที่พึงพิจารณาให้ถ่องแท้ได้แก่ กรรมวิธีการสร้างสภาพลับแลแก่กล้องและกระบวนทำงานเบื้องหลัง เพื่อพรางสิ่งเหล่านี้ไว้มิให้คนดูไหวตัว ผู้กำกับมีเคล็ดลับอะไรในการนำเสนอตัวเองขณะทำงานอยู่หลังกล้องเพื่อส่งสัญญาณแก่คนดูว่าพวกเขาคนทำงาน ก็อยู่ร่วมเผชิญสภาพการณ์จริงกับตัวละครตามท้องเรื่องด้วยเช่นกัน | ||
+ | |||
+ | ผู้กำกับรุ่นสัจนิยมใหม่ของอิตาลีพยายามลิดกิ่งก้านขนบดราม่าออกจากกระบวนการเล่า ด้วยหมายจะให้คนดูได้ลิ้มรสความสดใหม่ของเหตุการณ์และประสบการณ์ ด้วยการขจัดอุปสรรคจากธรรมชาติของความเป็นสื่อเล่าเรื่องไม่ให้มากางกั้นคนดูกับเหตุเบื้องหน้า เพื่อไม่ให้คนดูรู้สึกว่ากำลังถูกเล่าโดยหนัง | ||
+ | |||
+ | การเป่าขม่อมคนดูให้ลืมความรู้สึกว่ากำลังดูหนังก็เป็นเจตนาของเคียรอสตามีและแนวร่วม เฉกเช่นเดียวกับเดอสิก้า และพวกพ้อง แต่ผู้กำกับอิหร่านรุ่นหลังกลับมีวิธีคิดในการเล่าย้อนยอกกว่าผู้กำกับอิตาลีรุ่นเก่าอีกหนึ่งทบ ในการโน้มนำคนดูเข้าสู่เนื้อแท้ของหนัง แทนที่เคียรอสตามีและพวกพ้องจะกำจัดความเป็นหนังออกจากตัวหนังและการเล่า พวกเขากลับแสร้งสารภาพกับคนดูถึงความเป็นหนังให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียแต่แรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปการสารภาพหลอก ๆ อย่างแยบคายนั่นเองส่งผลให้คนดูเสียรู้และถลำลึกไปกับหนัง จนลืมไปเสียสนิทว่าประสบการณ์ที่ตนสัมผัสอยู่มาจากการมองผ่านหนัง | ||
+ | |||
+ | อนึ่ง การพรางตัวมาในสารรูปสารคดีไม่เพียงเป็นคาถาเพิ่มราศีสัจนิยมใหม่แก่ Close-Up, Moment of Innocence และ The Apple หนำซ้ำยังสร้างความชอบธรรมแก่หนังเหล่านี้ในการปัดภารกิจการเล่าความเป็นไปจากทุกระนาบอย่างที่หนังแนวประเพณีนิยมจำต้องกระทำ | ||
+ | |||
+ | นอกจากการใช้บุคคลจริงมาถ่ายทอดเรื่องราวของตนเองและการผนวกผู้กำกับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหนังแล้ว อีกหนึ่งทีเด็ดทีขาดท่ามกลางความร้ายกาจเหลือคณานับของเคียรอสตามี คือการเดินสวนทางกับขนบการทำหนังตามเคล็ด เปิดเผยแต่ไม่เปิดปาก ด้วยการเล่าเรื่องเสียยกใหญ่ในเชิงนาฏกรรม แต่ก็เป็นการเล่าในแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง คนดูหมดสิทธิ์จับให้มั่นคั้นให้ตายและไม่อาจไว้เนื้อเชื่อใจเรื่องราวของหนัง เนื่องจากเนื้อสารสนเทศของหนังมีมาแต่จากแหล่งข้อมูลประเภท ซาเบียนเล่าว่า…บ้างละ ให้สัมภาษณ์ว่า… บ้างละ ให้การว่า… (ในฉากการไต่สวนอันเป็นหัวใจสำคัญของหนัง)บ้างละ สุดแท้แต่จะว่าไป เคียรอสตามีรัดเข็ดขัดการเล่าราวกับเขากำลังถ่ายทำสารคดีซี่งไม่อาจถ่ายทอดสิ่งใดนอกเหนือจากเหตุการณ์สดจริงเบื้องหน้ากล้องอยู่จริง ๆ ก็ปานนั้น ทั้งที่ตามความเป็นจริงแล้ว Close-Up คือหนังเรื่องหนึ่ง เคียรอสตามี(ในฐานะผู้กำกับหนัง)มีทางเลือกมากมายในการขุดคุ้ยเปิดโปงซาเบียน(ผู้เป็นตัวละครในหนัง) แต่เขาก็ยักท่าแข็งขืนไม่บีบคอ Close-Up ให้สำรอกข้อเท็จจริงออกมาจากปากหนังเองเสียอย่างนั้น | ||
+ | |||
+ | ลีลากั๊กไพ่ตายทั้งที่มีผลดีในแง่สร้างความราบรื่นตามขนบดราม่ารอให้เคียรอสตามีกินรวบ ทางหนึ่งไปเร้าจินตนาการอันน่าตื่นใจและคาดไม่ถึงในหมู่คนดูจากการที่ผู้กำกับเปิดช่องให้กระโจนเข้าไปร่วมประมวลผลและคาดเดาความจริงเบื้องลึก คนดูจะวาดเรื่องราวเชิงดราม่าไปตามแต่จินตนาการของแต่ละคนโดยอาศัยข้อมูลระดับพื้นผิวเหตุการณ์จากหนังเป็นวัตถุดิบ อีกโสดหนึ่งการที่ผู้กำกับกางกั้นคนดูด้วยม่านความจริงฉาบหน้า แทนที่จะเลิกม่านหนังและดุนหลังคนดูเข้ารับความตื่นใจจากความจริง ณ ใจกลางเงื่อนปม(แต่กลับวางคนดูไว้ในฐานะพยานรับฟังคำให้การ) อาจสร้างความงุ่นง่านแก่คนดูเเพราะไปไม่ถึงจุดสุดยอดของการมีประสบการณืร่วมกับซาเบียนก็จริง แต่คนดูก็รู้สึกชิดเชื้อกับเขาราวกับราวกับเข้าไปสิงสู่ในตัวเขาได้ | ||
+ | |||
+ | กลวิธีเล่าหนังแบบยืดได้หดได้ไม่ตายตัว แถมออกตัวเสร็จสรรพของเคียรอสตามีใน Close-Up เป็นคุณสมบัติที่ประพิมพ์ประพายกับสกุลงานสัจนิยมใหม่ และ Moment of Innocence ก็มีความคล้ายคลึง Close-Up ในหลายส่วน แต่ในความเหมือน หนังสองเรื่องนี้ต่างมีข้อน่าสนใจและผิดแผกกันอยู่มากเช่นเดียวกัน ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างหนังทั้งสองเรื่องต้องวัดจากอรรถรสในการรับชมหนังทั้งสองเรื่องว่าแตกต่างกันอย่างไร | ||
+ | |||
+ | การเผยสะท้อนความเป็นหนังของหนังไม่ได้โรยตัวเป็นหย่อม ๆ อยู่ตามพื้นผิวหนัง อีกทั้งก็ไม่ได้ฝังตัวอยู่ตรงใจกลางหนัง แต่จะแทรกซอนไปทั่วตัวหนัง และก้าวย่างสำเหนียกจริตในหนังแต่ละเรื่องรวมถึง Moment of Innocence และ Close-Up ไม่เคยเดินย่ำรอยซ้ำของกันและกัน | ||
+ | |||
+ | เบื้องต้น พึงสังวรว่าทั้งหมดทั้งหลายของ Moment of Innocence คือการพาคนดูตระเวณอ้อมรั้วกลบทการเล่าซึ่งโอบล้อมเนื้อในอันประกอบด้วย อุดมคติทางการเมือง จริยธรรมทางการเมืองและส่วนบุคคล สำนึกรับผิดชอบทางการเมืองและของปัจเจก และการเมืองกับคุณธรรม ในการตีความ Moment of Innocence จึงต้องคลำหาตาหนัง เพื่อแหวกเข้าสู่แก่นดังกล่าว ที่สำคัญ Moment มีความเป็นอัตสำเหนียกในเชิงประวัติศาสตร์เข้มข้นพอ ๆ กับอัตสำเหนียกต่อความเป็นหนัง | ||
+ | |||
+ | แต่ Close-Up ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดหลักเพียงหนึ่งเดียว คือการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมเพื่อเข้าถึงธาตุแท้ตัวละครเอกซึ่งก็มีอยู่เพียงตัวเดียว ชั้นเชิงการเล่าตามท่วงทีหลังสมัยใหม่(post modern)ของหนังมีการเล่นระดับลดหลั่นเพื่อดูดซับการเอ่อซึมของตัวตนจากตัวละคร เหตุฉะนี้ สูญญากาศขนาดเขื่องอันเป็นผลจากการยันระยะซาเบียนอยู่ห่าง ๆ คนดูและตัวหนังจึงไม่ทะลักท่วมตัวตนของซาเบียนและวีรกรรมของเขา การปลีกตัวเช่นนั้นยังฟ้องถึงบุคลิกภาพของซาเบียนไปในที | ||
+ | |||
+ | อีกหมัดเด็ดที่ตรงเข้าจวกต่อมครื้นเครงก็คือ การกระทบกระเทียบแดกดันกันเองระหว่างพฤติกรรมของซาเบียนกับพฤติกรรมของหนัง ด้านหนึ่งตามท้องเรื่องซาเบียนรับสมอ้างว่าตนเป็นมอเซน มัชมาลบัฟ อีกด้านหนึ่ง ตามความเป็นจริง Close –Up ก็อุปโลกขน์ตัวหนังเป็นงานสารคดี เท่ากับว่า ทั้งซาเบียนและ Close-Up กำลังพยายามสถาปนาตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็น | ||
+ | |||
+ | การคัดตัวซาเบียนมารับบทซาเบียน จึงเป็นค่ายกลจากเคียรอสตามีเพื่อชวนคนดูประลองปฏิภานในการตีค่าความเป็นซาเบียนซึ่งดำผุดดำว่ายมุดลอดทะลุไปมาระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกของ Close-Up เนื่องจากซาเบียนต้องเล่นเป็นตัวเองในหนังซึ่งตามท้องเรื่องเขาสวมบทเป็นคนอื่นอีกต่อ ดังจะเห็นในฉากหนึ่ง มีเสียงเคียรอสตามีแว่วสำทับซาเบียนว่า”คุณกำลังเล่นบทของตัวเองอยู่นะ” ซาเบียนนับเป็นความพิศดารน่าหมั่นเขี้ยวของหนังอย่างแท้จริง ลองนึกดูว่าเมื่อได้รับการชี้ชวนจากเคียรอสตามีเขาก็คงเตรียมตัวเตรียมใจเสียดิบดีในการสวมบทบาทเป็นคนอื่นเพื่อหาลำไพ่เลี้ยงตัว แต่ที่ไหนได้ เมื่อคราวต้องอยู่ในโลก Close-up เข้าจริง ๆ ซาเบียนกลับต้องเล่นเป็นตัวเอง แต่ต้องสวมตัวเองไว้ด้วยความเป็นอื่น(คือ มัขมาลบัฟ)อีกชั้น | ||
+ | |||
+ | การนำธรรมชาติความเป็นหนังมาอำซ้ำอำซ้อนอาจสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าแก่คนดูไม่ใช่น้อยก็จริง แต่ส่วนที่มาระเบิดห้วงคำนึงคนดูแตกเป็นเสี่ยง ๆ ก็คือ ผลการใคร่ครวญถึงความล้มเหลวของซาเบียนที่ลามปามเข้าเนื้อคนดูเอง เนื่องจากซาเบียนและพฤติกรรมของเขาเป็นทั้งอุทาหรณ์และหนามยอกใจคนดูในฐานที่ต่างก็สาละวนอยู่กับการขึ้นรูปครองตน และปรุงสร้างตัวเองตามอัตภาพที่วาดหวัง เพื่อเป็นการส่งสัญญาณและยืนกรานถึงการมีชีวิตอยู่จริง | ||
+ | |||
+ | ถึงจะไม่รู้แน่ว่าแท้จริงแล้วซาเบียนเป็นใครแต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่คนดูจะไม่ผูกพันกับเขา ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสน่ห์จากตัวตนอันหาความกระจ่างไม่ได้ หรือ เลื่อมใสในลวดลายการหลอมสร้างตัวตนของเขา อาการเมาหมัดของคนดูชวนให้เกิดภาพหลอนต่อเนื่องไปอีกว่า เอาเข้าจริงที่ดูเหมือนซาเบียนสารภาพความผิดไปในฉากไต่สวนคดี ก็อาจเป็นแค่การพาซื่อเล่นบทไปตามประกาศิตจากเคียรอสตามี การที่ผู้กำกับกำชับซาเบียนในฉากพิจารณาคดีในศาลและแว่วมาเข้าหูคนดูว่า”คุณกำลังเล่นบทของคุณเอง” ย่อมถือเป็นสิ่งบอกเหตุถึงความเป็นอัตสำเหนียกผ่านห้วงการรับรู้ของซาเบียนว่าตนกำลังเล่นเป็นตัวเองในหนังเรื่อง Close-Up โดยปริยาย | ||
+ | |||
+ | ความคลางแคลงต่อเจตนาของเคียรอสตามีในการกำกับ และการแสดงของซาเบียนใน Close-Up จะแล่นฉิวเข้าจับขั้วหัวใจหากได้ตามดู Close-Up / Long-Shot หนังใน คศ. 1996 ของผู้กำกับมาห์มูด โชโครลลาฮี (Mamhoud Chokrollahi) และมอสเล็ม มานซูรี(Moslem Mansouri)เพราะในงาน6 ปีให้หลัง Close-Up เรื่องนี้ คนดูจะได้เห็นซาเบียนในมาดวายร้าย ไม่เพียงแทบไม่เหลือเค้าของชายผู้ดูไร้เดียงสาน่าทำความรู้จัก พฤติกรรมของซาเบียนใน Close-Up / Long-Shot ยังไม่มีวี่แววของคนที่จะรู้จักสำนึกเสียใจต่อการกระทำของตนปรากฏให้เห็น ควรกล่าวด้วยว่า 6 ปีที่ผ่านไปกาลเวลาและสถานการณ์ได้แปรเปลี่ยนซาเบียนจากชาวบ้านธรรมดาจนเป็นคนมีชื่อเสียงพอตัวขึ้นมาอีกต่างหาก | ||
+ | |||
+ | การทิ้งทวนอัตลักษณ์อันคลุมเครือของซาเบียนไว้ในตอนท้ายของหนัง หลังผ่านเหตุการณ์ถูกจับกุมและเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี จนกระทั่งยอมสารภาพเพื่อขอรับการอภัยโทษไปแล้ว นับเป็นหลักฐานหนักแน่นพอจะมัดตัวเคียรอสตามีในข้อหาจงใจเพาะความสงสัยในตัวตนอันแท้จริงและความซื่อตรงของซาเบียนไว้ใน Close-Up | ||
+ | |||
+ | เวลาห้วงท้าย ๆ ของ Close-Up ซาเบียนจะอยู่ในสภาพล้มละลายทางตัวตน ความรู้สึกของเขาถูกเปลือย หนังในจังหวะนี้เหมือนเป็นการปรุงแต่งซาเบียนจนดูน่าเห็นใจมากกว่าที่ควร เป็นไปได้ว่าซาเบียนตัวจริงเล่นบทของตัวเองออกมาไม่สมกับการเป็นฉากจบของหนัง ตามกฎในโลกของ Close-Up ในมือเคียรอสตามี นาฎกรรมซาเบียนในบทสรุปหากผิดเพี้ยนไปจากภาพที่เคียรอสตามีตีความไว้ย่อมไม่ก่อผลดีเป็นแน่เพราะถึงอย่างไร Close-Up ก็มีพันธกิจจะต้องเล่าเรื่องในส่วนที่เป็นละครหรือปมขัดแย้งให้ลุล่วง เคียรอสตามีเองหาได้กำลังถ่ายทำสารคดี และคงยากที่จะจินตนาการถึงฉากจบเป็นอย่างอื่นแล้วจะทรงพลังถั่งโถมเหมือนอย่างที่เคียรอสตามีคิดไว้ เมื่อเห็นว่าซาเบียนทำผลงานได้ไม่ตรงกับภาพความเป็นจริงของเจ้าตัว ดังนั้นท่วงทีของ Close-Up จึงพลิกผันไปในทางตรงกันข้าม ผู้กำกับหันมาไขก๊อกความรู้สึกหนังให้พรั่งพรูออกมาตามขนบการเล่าทั่วไป หลังจากวางมาดเป็นหนังสารคดีมาแทบจะโดยตลอด เพราะความแม่นตรงแจ่มแจ้งไม่จำเป็นต้องมาพร้อมกับท่าทีเย้ยหยันปึ่งชา | ||
+ | |||
+ | ในการซึมซับพลังของ Close-Up ให้ถึงหยดสุดท้าย จำเป็นต้องจับตาไปที่การจบฉากอย่างคลุมเครือ และการผูกโยงเรื่องราวเข้ากับความเป็นจริง การปิดฉากและเบนการเล่าไปจากความเป็นจริง ทั้งหมดใช่เป็นแต่เพียงกฎเกณฑ์ที่หนังสร้างขึ้นเพื่อกำกับคนดู แต่ถือเป็นลมหายใจของหนังเลยทีเดียว การจำเพาะเจาะจงจับซาเบียนมาสวมบทเป็นตัวเอง ในแง่หนึ่งอาจเป็นทางลัดในการอธิบายความเป็นซาเบียน แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงกลับสวนทางกัน เพราะการได้ประจันหน้าและจ้องลึกเข้าไปในดวงตาของซาเบียน ยิ่งกลายเป็นการย้ำเน้นถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะทำความรู้จักและสำรวจไปถึงก้นบึ้งจิตใจ รวมไปถึงแรงจูงใจและความเชื่อของผู้ชายคนนี้ ยิ่งหนังเป่าหูคนดูนับแต่ต้นมือถึงอฐานะภาพแห่งการเป็นนักแสดงของผู้ชายคนนี้ต่อหนัง เขาจึงย่อมไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะมารับบท แต่เขาเป็นซาเบียนจริง ๆ ยิ่งทำให้ความเป็นซาเบียนขนานกลายเป็นสิ่งเลื่อนไหลกลอกกลิ้ง ปกติบทบาทของนักแสดง คือ เส้นประคอยตีตะล่อมคนดูให้เข้าถึงบุคลิกภาพตัวละคร และหล่อหลอมตัวตนตัวละครขึ้นมาในความทรงจำ อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง แต่ในการเฝ้าดูซาเบียน คนดูรู้ทั้งรู้ว่าเขามีตัวตนอยู่จริง และมีข้อเท็จจริงมากมายเก็บกักอยู่ในตัวคน ๆ นี้มากมาย แต่คนดูก็จะรู้สึกว่าเป็นซาเบียนนั่นเองที่เอาแต่หวงแหน และเก็บงำความจริงของตนไว้อย่างมิดชิดเสียจนคนดูหมดหนทางจับได้ไล่ทัน | ||
+ | |||
+ | Close-Up จึงมีความขัดแย้งในตัวเองจากการที่ด้านหนึ่งเพียงแค่อาจเป็นแค่เหตุการณ์การตีความจากการวางท่าเป็นหนังสารคดี เคียรอสตามีแหย่ให้คิดต่อไปว่าความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์อาจเป็นไปตามหรือเป็นเพียงแค่การตีความที่ว่าแท้จริงแล้ว หนังของเขาอาจเป็นสารคดีจริง ๆ ก็ได้ หรืออาจไม่มีความเป็นสารคดีแม้แต่น้อย | ||
+ | |||
+ | The Wind Will Carry Us งานใน ค.ศ. 2000 ของเคียรอสตามีอาจเถรตรงมากกว่าหนังขนมชั้นอย่าง Close-up แต่ก็เลี้ยวลดเหลื่อมซ้อนยิ่งกว่า และยังถือเป็นหนังที่ไปไกลกว่างานที่แล้ว ๆ มาของเคียรอสตามี WWCU คล้ายเป็นการจับช่วงต้นของ Close-up มาขยายความ ใน Close-Up นั้น ถึงเคียรอสตามีจะเยี่ยมยอดและท้องแข็งถึงขนาดยื้อและอำคนดูเป็นบางครั้ง แต่ในความอ้อมค้อมของลูกไม้ในแนวอัตสำเหนียก ท้ายที่สุดเรื่องราวก็ถูกบดย่อยส่งผ่านสู่คนดูอยู่ดี แต่ใน WWCU กระบวนการยื้อล่อคนดูกลับดำเนินไปไม่รู้จักจบสิ้น เนื้อเรื่องของ WWCU ผูกติดไปกับตัวละครศูนย์กลางคือ ผู้สื่อข่าวและคณะทำงานอีกสองสามรายซึ่งคนดูรู้เพียงว่ามีตัวตน แต่ไม่เคยได้เห็นตัว | ||
+ | |||
+ | สื่อมวลชนกลุ่มนี้ออกเดินทางดั้นด้นไปยังหมู่บ้านเคิร์ดเล็ก ๆ บนเทือกเขาแห่งหนึ่งในอิหร่าน พวกเขาทำทีจะไปเก็บบรรยากาศและรายงานสภาพชีวิตชาวเขาที่นั่น แต่เจตนาอันแท้จริงจดจ่ออยู่กับพิธีปลงศพซึ่งนานทีปีหนจะมีขึ้น และบัดนี้ก็ใกล้ถึงคราวที่พิธีจะถูกจัดขึ้นอีกครั้ง เพราะหญิงชราของหมู่บ้านรายหนึ่งล่วงเข้าวัยจะละสังขารได้ทุกขณะจิต ด้วยเหตุดังนี้ ผู้สื่อข่าวและคณะจึงต้องติดแหง็กอยู่ที่นั่นเพื่อนับถอยหลังรอวาระสำคัญ ลมหายใจสุดท้ายของหญิงชราไม่ได้มาถึงเร็วดังคาด ประหนึ่งเธออิดออดที่จะหลับไปตลอดกาลเพราะยังมีห่วง | ||
+ | |||
+ | เคียรอสตามีจุดชนวนความใคร่รู้ของคนดูตั้งแต่ต้นมือด้วยปมความตาย และการแสวงประโยชน์จากความตายที่จะกำลังจะมาถึง หากคิดว่าปมที่ผูกไว้ดังกล่าวเด็ดและหนักหน่วงแล้ว ในกระบวนการเล่าตามไม้ตายไม่ใยดีกับเรื่องราว เคียรอสตามียังมีลูกเล่นที่เด็ดกว่าตัวปมรออยู่อีก เพราะในกาลต่อมาเขาจัดแจงสุมมุงหนังด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านและการทำงานของผู้สื่อข่าว อันเป็นผลให้เรื่องราวในส่วนของปมคัดหลั่งสู่หนังอย่างกระปริดกระปรอยและไม่ค่อยจะสนองตอบความใคร่รู้ของคนดูที่ถูกเร้า ความเป็นไปเหล่านี้เป็นเหมือนรั้วล้อมกั้นการคลี่คลายปมที่ผูกไว้และเหตุการณ์สืบเนื่อง ณ ใจกลาง เคียรอสตามีจงใจสร้างพื้นที่ฉนวนระหว่างห้วงรับรู้ของคนดูกับเรื่องราวที่ดำเนินไป โดยฝากภาระการเป็นฉนวนนี้ไว้กับพฤติกรรมและการทำงานอันขลุกขลักของผู้สื่อข่าวและคณะทำงาน ขณะรอยมทูตมารับตัวหญิงชรา ร่วมด้วยเหตุการณ์ที่ดูเหมือนหาความเกี่ยวข้องอันใดไม่ได้กับการตายและการทำข่าวการตาย ไปจนถึงเหตุบังเอิญต่างกรรมต่างวาระที่พลัดเข้ามาในพื้นที่และเวลาของนักข่าวในระหว่างพักแรมอยู่ในหมู่บ้านเคิร์ด | ||
+ | |||
+ | Close-Up นั้นเป็นเอกในแง่การทำให้คนดูพื้นเสีย เพราะถูกพรากจากเนื้อเรื่องเชิงละคอน และต้องระเห็จไปอยู่ชายขอบของการรับรู้อยู่ไม่เว้นวาย แต่แล้วจู่ ๆ สิ่งที่อยู่นอกการรับรู้กลับทะลึ่งพรวดเข้ามาสร้างความอึ้งแก่คนดู มองในแง่นี้ นับว่า WWCU มีจุดร่วมกับ Close-Up อยู่มากเอาการ แต่ WWCU ก็มีความหนักหน่วงและกระหยิ่มใจมากกว่าด้วยเช่นกัน ใน WWCU เรื่องราวไม่ได้ถูกกีดกันจากการรับรู้ของคนดูโดยสิ้นเชิง เพราะมีความระแวงเกิดแก่คนดูอยู่ตลอดเวลาว่า เนื้อเรื่องเชิงละคอนของหนังกำลังขับเคลื่อนตัวเองอยู่ ณ เบื้องหลังภาพที่ปรากฏต่อสายตา อย่างไรก็ตาม ในการตามตะครุบตัวเรื่องคนดูก็มีอันต้องคลาดกันอยู่ร่ำไป เนื่องจากหนังมีเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านอันชวนตื่นตาทว่าไม่มีอะไรในกอไผ่มาเบนความสนใจอยู่เป็นระยะ การณ์เมื่อเป็นดังนี้แทนที่จะปรับทิศความจดจ่อให้เข้าทางปืนกับการเคลื่อนตัวของเรื่องเชิงละคอนในหนัง คนดูกลับปรับจังหวะตัวเองเข้ากับชีพจรของหมู่บ้านไปโดยละม่อม หนักข้อกว่านั้น หนังยังมีกรรมวิธีสารพัดมาตัดกำลังความแน่วแน่ในการเกาะติดความคืบหน้าของภารกิจการทำข่าวความตายของหญิงเฒ่า จนคนดูต้องยอมเลิกแล้วต่อกันและถูกกลืนไปกับกระแสรสชาติแห่งวิถีชีวิตชาวบ้าน | ||
+ | |||
+ | ย้อนคิดกลับไปถึงเหตุการณ์ตอนต้นเรื่องของ Close-Up กับปฏิบัติการสร้างความกระวนกระวายใจแก่คนดูเมื่อถูกตัดขาดจากความคืบหน้าของคดี เนื่องจากกล้องไม่ได้พาคนดูร่วมในขบวนนักข่าวกับตำรวจ แต่กลับแชเชือนอยู่กับคนขับรถเพื่อดูเขาฆ่าเวลา และเตะกระป๋อง ความบ้าบิ่นในครั้งกระโน้นของเคียรอสตามีถึงจะน่าคารวะเพียงใด แต่คนดูคงสุดจะหักห้ามความมึนตื้อไม่ให้มาเกาะกินสมองไม่ได้ การเฝ้ารออย่างมีน้ำอดน้ำทนจนกว่าหนังจะสารภาพสันดานเรื่องตัวเองออกมาอาจเป็นยุทธศาสตร์และจังหวะที่ใช้ได้ผลในการดู Close-Up แต่ใช้ไม่ได้ผลกับ WWCU เพราะในคราวนี้ถึงหนังจะเปิดพื้นที่ไว้มากแต่กลับปิดโอกาสและเวลา จนคนดูไม่ทันตั้งตัวเตรียมใจเพื่อเรียกความอดทนอดกลั้น หนังจะสืบตัวเข้ามากระหวัดเกี่ยวคนดูให้ถลำตัวเข้าปฏิสังสันทน์กับชาวบ้านในทุกอึดใจผ่านเครื่องมือนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นนาฏกรรมชีวิตผู้คนละแวกร้านน้ำชาฝุ่นโขมงประจำหมู่บ้าน การพูดคุยไปพลางซักผ้าไปพลางของหญิงชาวบ้านผู้กำลังจะได้เป็นแม่คนกับผู้สื่อข่าวกลางสนามหญ้า หรือจะเป็นการโผล่เข้าไปคลุกคลีตีโมงด้วยเจตนาอันเคลือบแคลงกับสาวชาวบ้านรายหนึ่งขณะเธอรีดนมวัวในคอกอันมืดมิด เห็น แม้แต่ภูมิทัศน์แบบไบแซนทีนของอาคารบ้านเรือนในหมู่บ้าน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่คอยเกลี้ยกล่อมบ่มความไขว้เขวของคนดูไปจากเรื่องเชิงละคร | ||
+ | |||
+ | ในฐานะสื่อชนิดหนึ่ง หนังทรงไว้ซึ่งศักยภาพในการสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้เสพด้วยเนื้อแท้ของสิ่งที่หนังมุ่งกล่าวถึง ไม่แต่เท่านี้หนังยังมีศักยภาพในการสร้างสมมติภาพเพื่อผู้เสพจะได้ลิ้มรสแห่งประสบการณ์โดยตรงได้อีกด้วย ไม่ว่าจะวัดคุณค่า WWCU ด้วยเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือทั้งสองเกณฑ์ WWCU ถือเป็นงานที่ครบเครื่อง พรักพร้อมทั้งในด้านองค์ประกอบและกรรมวิธีก็สนับสนุนความเป็นหนัง กล่าวอีกนัยหนึ่ง WWCU คือตัวอย่างงานอันเป็นการสะท้อนถึงความเป็นที่สุดเท่าที่หนังเรื่องหนึ่งพึงเผยศักยภาพของการเป็นสื่อออกมาได้ | ||
+ | |||
+ | จากปมเรื่องซึ่งออกจะหลีกเร้นจากคนดูดังที่กล่าวไป การพยายามบรรลุภารกิจของผู้สื่อข่าวในการเก็บภาพพิธีศพที่จะต้องบังเกิดขึ้นค่อนข้างแน่ ในที่ ๆ คน ๆ หนึ่งใกล้จะสิ้นอายุขัย ปมอันเป็นจุดเร้าความสนใจดังกล่าวทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของหนัง ทว่าไม่เป็นที่ปรากฏ | ||
+ | |||
+ | การเล่าซึ่งไม่ใช่การเล่าโดยตรง หากอาศัยการเรียนรู้และรับรู้ไปพร้อม ๆ กันกับตัวละครผู้สื่อข่าวซึ่งค่อย ๆ ตระหนักทีละน้อยว่าภารกิจการเก็บภาพพิธีศพไปถ่ายทอดต่อตามความมุ่งหมายแต่ต้นนั้นมีความล้มเหลวคอยท่าอยู่ พลันที่เขาถอดใจจากภารกิจในฐานะนักถ่ายทำสารคดีมืออาชีพ หรืออีกนัยหนึ่ง เขาเลิกลุ้นการมาถึงของลมหายใจสุดท้ายของหญิงชรา และตื่นจากความฝักใฝ่ที่จะเก็บภาพเหตุการณ์อันเป็นเป้าประสงค์หลัก เมื่อปราศจากม่านแห่งความเป็นอื่น ชีพจรของเขาค่อย ๆ เต้นเป็นหนึ่งเดียวกับท่วงทำนองชีวิตของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนั้น | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ความงดงามล้ำลึกของ WWCU ผลิดอกออกผลแผ่พุ่มไสวจากลูกไม้การเล่าในลักษณะที่กล่าวไป แทนที่จะจะเล่าเรื่องโดยมุ่งสำรวจเส้นทางพัฒนาการของผู้สื่อข่าวโดยเฉพาะการฝ่อยุบของความหวังหนึ่งและตูมเต่งของความหมายใหม่ เป็นหลัก แทนที่จะเปลื้องเปลือยดวงแดของผู้สื่อข่าวออกมาจนล่อนจ้อน หนังกลับคะยั้นคะยอคนดูเข้าไปใช้ชีวิตในโลกของตัวละครเอก เพื่อลิ้มรสความรู้สึกที่เขามีต่อพื้นที่ และโมงยาม หลงและตื่นไปพร้อมกับเขา ในอีกแง่หนึ่ง อย่างไรก็ดี ด้วยมาดการเล่าเช่นนี้บันดาลคนดูให้สัมผัสคลื่นความเป็นไปได้ของอารมณ์ผู้สื่อข่าวตามแต่ขอบเขตการสมมติของคนดูแต่ละคน เพราะหนังไม่ได้ขึงพืดผู้สื่อข่าวให้คนดูรู้เช่นเห็นชาติไปเสียทั้งหมด | ||
+ | |||
+ | เล่ห์กระเท่และแบบแผนอันเป็นหัวกะทิของหนังอิหร่านที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนถูกคิดค้นขึ้นและนำมาใช้เพื่อตอบสนองแนวคิดในการทำหนังสกุลอัตสำเหนียก แต่ปัจจัยที่สร้างความพิเศษแก่หนังเหล่านี้ก็คือ การวางทิศทางของหนัง การไม่ประนีประนอมกับแบบแผนการสร้างความงาม ความวิจิตรบรรจงตามขนบภาพยนตร์ ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ การวิพากษ์ข้อเท็จจริงอย่างถึงเนื้อถึงกระดูกต่อหน้าต่อตาคนดู | ||
+ | |||
+ | หนังเหล่านี้เกิดจากความสนุกเพลิดเพลินของผู้สร้าง จนเข้าขั้นจะเป็นการเล่าไม่เข้าเรื่อง คอยรังควานและยั่วเย้าคนดูจนเสียศูนย์ พร้อมกันนั้นก็ร้องท้าคนดูถลันแหกกรงขังการเป็นผู้ตั้งรับออกมาเพื่อคลุกวงในกับหนังและรื้อค้นตัวหนังให้แหลกกันไปข้างหนึ่ง จากความพิเรนท์ในการละเลงลีลา พาหนังออกป่าออกทะเลอย่างหน้าตาเฉยและหยามหยันคนดูอย่างออกหน้าออกตา | ||
+ | |||
+ | มิใยต้องกล่าวด้วยว่าความพิเรนท์ไม่เข้าท่า ไม่แยแสคนดูอย่างออกหน้าออกตา และพาคนดูออกป่าออกทะเลอย่างหน้าตาเฉยของหนังนับเป็นการร้องท้าคนดูสลัดแอกการเป็นผู้รับสารเข้ามาคลุกวงในเพื่อรื้อค้นตัวหนังให้แหลกกันไปข้าง กลลวงและลูกล่อลูกชน รวมถึงยุทธศาสตร์ที่ผู้กำกับละเลงในหนังส่งผลให้คนดูถลำเข้าประทับและปะทะกับหนังเต็มรัก และเกิดการตราตรึงและได้อรรถรสยิ่งกว่าการเป็นฝ่ายตั้งรับรอท่าการมาของคำตอบสุดท้ายของการคลายปมเชิงละคอน | ||
+ | |||
+ | ทุกแบบแผนและท่วงทำนองการเล่า และพัฒนาการของตัวละครที่คนดูคุ้นชิน ถูกระเบิดเป็นจุณด้วยด้วยลีลาที่แตกตัวออกมาจากแนวคิดแม่บทของตระกูล รวมไปถึงเส้นแบ่งระหว่างการเป็นเรื่องผูกกับสารคดีก็เลือนวับเพราะความกลิ้งกลอกของหนังเหล่านี้ ต้องรอจนโขมงควันแห่งการก่อการร้ายต่อขนบทั้งหลายแหล่จางลง ในท่ามกลางซากปรักหัวใจหรือเนื้อแท้ที่หนังต้องการบอกเล่าถึงได้เผยโฉมสู่การรับรู้ โดยแก่นของ Close-Up คือ การแจกแจงความลึกลับแห่งตัวตนและการแจกแจงความชอบธรรมแก่ตัวเองของตัวละคร ส่วน Moment of Innocence คือ ผลผลิตของความสับสน เคว้งคว้างและสำนึกเสียใจในคำนึงของผู้ปักหลักเผชิญหน้ากันอยู่ ณ ใจกลางความขัดแย้งทางการเมือง ขณะที่จุดใหญ่ใจความหลักของ WWCU คือ การไหลบ่าของอนุกรมประสบการณ์ | ||
+ | |||
+ | คมคิดทั้ง 5 ของหนัง 3 เรื่องได้บุกเบิกเส้นทางการเล่าอันรื่นรมย์ใหม่ ๆ ไว้เป็นทางหนีทีไล่จากกิจวัตรเดิม ๆ ของการเสพภาพยนตร์โดยยังคงไว้ซึ่งการรับรู้ทั้งส่วนที่เป็นสรณะและส่วนที่เป็นซากเดน ผลงานเหล่านี้จัดเป็นงานอัตสำเหนียกขนานแท้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการถ่ายทอดภาพจากการมองย้อนกลับมาพินิจศักยภาพความเป็นหนังถือเป็นเพียงกำไรติดปลายหมัดของการรังวัดความไพศาลแห่งสำนึก ความผิดแผกและความไหวละมุนในบุคลิกตัวละครและโลกที่ตัวละครในหนังเหล่านี้มีตัวตนอยู่ | ||
- จบ - | - จบ - | ||
แถว 24: | แถว 114: | ||
แปลจาก | แปลจาก | ||
- | + | Rapfogel, Jared. 2001. “A Mirror Facing A Mirror”.http://www.sensesofciema.com/contents/01/17/close_up.html | |
- | + |
รุ่นปัจจุบันของ 01:34, 24 เมษายน 2557
ลัดให้ตรงเป้า ภาพของ Close-Up คือตัวการชักใบให้เรือเสียด้วยการนำพาหนังไปสู่ทางตันในการคลายปมเรื่อง ดังจะเห็นได้จาก ในที่สุดแล้ว เรื่องของคดีถูกถอดออกจากวงสนทนาเสียดื้อ ๆ คนในรถเสไปคุยกันถึงภูมิลำเนา หน้าที่การงานของแต่ละคน และเรื่องสัพเพเหระ คุยไปคุยมาจนรถหลงออกนอกเส้นทางเข้าให้ จึงต้องหยุดรถสอบถามเส้นทางจากชาวบ้านไปเป็นระยะ เหตุการณ์ทั้งหมดกินเวลาเทียบเท่าเวลาจริงบนหน้าปัดนาฬิกา รถพาคนทั้งหมดมาถึงที่หมายคือบ้านเจ้าทุกข์จนได้ แต่การมาถึงแหล่งข้อมูลสำคัญใช่ว่าจะยังประโยชน์แก่คนดู เพราะมีแต่ตำรวจกับนักข่าวเท่านั้นที่หายเข้าไปในบ้าน กล้องไม่ได้พาคนดูติดตามเข้าไปร่วมในเหตุการณ์การสอบปากคำและทำข่าวข้างในบ้านแต่กลับทอดหุ่ยอยู่เคียงข้างคนขับรถ และดูเขาฆ่าเวลาด้วยการขับรถวนไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็เห็นเขาหยิบดอกไม้ขึ้นมาดูเล่น คนดูถูกทิ้งไว้กับคนขับรถจนกระทั่งเขาเดินไปเตะกระป๋อง และกล้องหันไปจับภาพขณะที่มันกลิ้งกระดอนอยู่กับพื้นถนนอยู่เป็นนานสองนาน
ในระยะหลายปีหลังมานี้ มีหนังจากอิหร่านทยอยออกสู่สายตาคอหนังนานาชาติมากต่อมาก มากเสียจนเสียจนกระทั่งภายในกลุ่มเดียวกันเองยังสามารถแบ่งแยกออกเป็นหลายแนว ในจำนวนนี้มีหนังบางกลุ่มมีจุดร่วมของภาษาหนังและกลบทการเล่าจนอาจใช้เป็นเกณฑ์จัดตั้งเป็นแนวทางใหม่ขึ้นมา คุณสมบัติเช่นที่ว่ามีอยู่ในการดำเนินเรื่องช่วงต้นของ Close-Up ดังที่กล่าวไป Close-Up เป็นงานลำดับที่ห้าของผู้กำกับอับบาส เคียรอสตามี(Abbas Kiarostami) แต่ถือเป็นงานชิ้นแรกที่เขาพางานคร่อมเส้นแบ่งการเป็นสารคดีกับหนังผูกเรื่อง จนกลายเป็นการบุกเบิกที่ยังคงคึกคักด้วยเพื่อนร่วมทางงานพันธุ์ทางที่ยากจะจัดเข้าตระกูลหนังใด ๆ
ตัวละครศูนย์กลางของ Close-Up และเรื่องราวที่วนเวียนอยู่รายรอบ ล้วนไม่ได้มาจากการผูกแต่ง ชายชื่อฮอสเซน ซาเบียน(Hossain Sabzian)ซึ่งรับสมอ้างเป็นมอเซ็น มักห์มาลบาฟในหนัง คือซาเบียนในชีวิตจริง อันที่จริงตัวละครใน Close-Up ต่างไม่ได้เป็นนักแสดง เขาและเธอล้วนแต่เพียงดำเนินบทบาทไปตามชีวิตที่เป็นอยู่ ไม่เว้นแม้แต่สองผู้กำกับคือ มักห์มาลบาฟและเคียรอสตามีที่กระโจนเข้ามาอยู่ในหนังตนโดยบุกเข้าไปเป็นคู่สนทนากับตัวละคร กล่าวได้ว่าวิถีชีวิตเป็นแรงจูงใจเดียวของตัวละครสมทบทั้งหลายในการทำหน้าในฉาก เช่นเดียวกับภาพจากระหว่างการดำเนินคดีซาเบียน
แนวทางของเคียรอสตามียิ่งฉายเด่นเมื่อมาถึงงานลำดับที่หกในค.ศ.1991 คือ …And Life Goes on…ผลงานชิ้นนี้กลายเป็นธงชัยแห่งยุคของหนังอิหร่าน เคียรอสตามี กับ…And Life Goes on… กลายเป็นชื่อลำดับต้นในการอ้างอิงในวงสนทนาเกี่ยวกับหนังอิหร่านรุ่นปัจจุบันก่อนตามติดมาด้วยมอเซ็น มักห์มาลบาฟ(Mohsen Makhmalbaf) กับ Moment of Innocence งานค.ศ.1996 พร้อมด้วยบุตรีคือซามิรา(Samira Makhmalbaf)กับงานค.ศ.1998 คือ The Apple และจาฟาร์ ปานาอี(Jafar Panahi)ศิษย์ก้นกุฏิเคียรอสตามีเองกับ The Mirror งานปี 1997 เนื้องานที่ยกมาล้วนเป็นผลการถลุงจากสายแร่ความคิดที่เรียกว่า แนวอัตสำเหนียก(self-consciousness) แม้นักทำหนังอิหร่านเหล่านี้ไม่อาจได้ชื่อเป็นผู้ปักธงแห่งการค้นพบเนื่องจากเขาและเธอยังเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งแนวทางอย่างฌอง ลุก โกดารด์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องตระกูลทาวิอานี(Taviani brothers)อยู่ท่วมหัว กระนั้นงานเหล่านี้ก็มีเลือดอัตสำเหนียกอยู่ในตัวเข้มพอจะเรียกรวมว่าเป็นงาน อัตสำเหนียกแห่งอิหร่าน ได้อย่างเต็มภาคภูมิ หนังอัตสำเหนียกแบบอิหร่านไม่เพียงมีวิธีถ่ายทอดอันหลักแหลม หากยังต่อยอดได้ในตัวเองชนิดหนังจบแต่ไม่หมดเรื่อง
หนังจากชาติอื่นที่พอจะอยู่ร่วมร่มธงแนวคิดเดียวกันและพอจะยกมาเทียบเคียงได้เห็นจะเป็น Vanya on 42nd Street งานค.ศ. 1994 ของผู้กำกับหลุยส์ มาลล์(Louis Malle)เมื่อดูจากการฆ่าเชื้อกลิ่นอายละคอนให้หมดไปจากกระบวนการเล่าหนังแม้จะเป็นหนังเล่าเรื่องของละคร และแย่งชิงสัดส่วนความเป็นหนังกลับคืนสู่ตัวหนังด้วยการเน้นหนักกับศักยภาพและชั้นเชิงการเล่าแบบหนังเท่านั้นจะทำได้
Vanya เข้าข่ายและฉายแววความเป็นงานอัตสำเหนียกเพราะผู้กำกับมาลล์ไม่ต้องสละทรัพยากรการเล่าไปกับการฉายภาพพัฒนาการของตัวละคร หรือ การบรรยายเพื่อลากเส้นประทิศทางและกระชับโครงเรื่องแม้แต่น้อย กล้องของมาลล์โลดแล่นไปเก็บภาพทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับละคอน ไม่ว่าจะเหตุการณ์ ณ ฉนวนคาบเกี่ยวระหว่างเวทีละครกับ พื้นที่รายรอบ รวมถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าที่นาฏกรรมแบบละคอนจะอุบัติ ตลอดจนสิ่งละอันพันละน้อยที่แวดล้อมหรือมีเส้นสายสืบเนื่องกับ(เวที)ละคอน ไล่เรื่อยไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังม่านละคอน แม้แต่ปฏิกิริยาของคนดูหน้าม่าน ในตัว Vanya จึงเป็นทั้งหนังว่าด้วยเรื่องราวในละคร และ ว่าด้วยเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับการละคร
กลวิธีของเคียรอสตามีและมักห์มาลบาฟในการเล่า Close-Up และ Moment of Innocence ไม่ต่างกับมาลล์ใน Vanya หนังสองเรื่องนี้ใช่ว่าไม่มีแก่นหรือสาระอันเป็นภารกิจในการย่อยป้อนสู่คนดู ผิดแต่เพียงในระหว่างการสื่อความผู้กำกับทั้งสองกลับสำรอกมากกว่าแค่แก่น พวกเขายักยอกทรัพยากรของหนังหลายส่วนไปจุนเจือแก่การถ่ายทอดให้คนดูรับรู้กรรมวิธีทำหนังซึ่งกำลังขย้อนแก่นหรือปม พร้อมกันไปด้วย
อุปมาดั่งพวกเขานำกล้องไปถ่ายภาพการคลี่คลายของปมซึ่งสะท้อนอยู่บนบานกระจกเงาอีกต่อหนึ่ง แทนที่จะไปจ่อเก็บจากเหตุการณ์จริงตรง ๆ เหตุดังนั้น แม้จะ'ได้เรื่อง' แต่จะมีภาพของกล้องที่ตกประทับอยู่ในบานกระจกเป็นผลพลอยได้ โดยที่ภาพของกล้องที่ว่าก็คือกรรมวิธีทำหนังนั่นเอง เท่ากับว่า หนังทั้งสองเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์สองชุดไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้แต่ละชุดเหตุการณ์ต่างมีจุดเริ่มต้นและจุดจบในตัวเองและเป็นอิสระต่อกัน การเล่าเชิงซ้อนแบบ Close-Up และ Moment of Innocence ประสบผลงดงามจนกลายเป็นหน้าเป็นตาของหนังอิหร่าน ก็เพราะเหตุการณ์สองชุดต่างยังคงความกระจ่างและบริบูรณ์ในตัวเองเอาไว้ได้
ชั้นเชิงการเล่าหนังตามคติอัตสำเหนียกของเคียรอสตามีและมักห์มาลบาฟ มาในรูปการยันผู้ชมไว้ในระยะห่างจากกระบวนการคลี่คลายปมขัดแย้งหรือเหตุการณ์อันเป็นกุญแจของหนัง กล่าวคือคนดูจะรับรู้ความเป็นไปของละคอนในหนังได้จากตำแหน่งที่ผู้กำกับกำหนดไว้ให้เท่านั้นในแง่การสื่อด้วยภาพ ดังนั้นแม้จะระแคะระคายรวมถึงสังหรณ์ใจถึงการมีอยู่ของปมปัญหาหรือเรื่องราว แต่คนดูจะไม่มีทางเห็นภาพรอบด้านของปัญหา จากจุดยืนที่หนังยุดหรือล้อมไว้
เหตุการณ์ในตอนต้นของ Close-Up เป็นไปตามเจตนาและชั้นเชิงที่กล่าว เพราะหลังจากสะกิดต่อมความอยากรู้ของคนดูด้วยเงื่อนงำของคดี เคียรอสตามีไม่ได้สานต่อความคาดหวังของคนดูด้วยการสางปมคดีอีก(จนกว่าหนังจะเข้าสู่ช่วงครึ่งหลัง) จนดูราวกับว่าผู้กำกับจงใจอมพะนำเรื่องราวดังกล่าวให้พ้นหูพ้นตาคนดู บางทีก็เหมือนจะสร้างความอึดอัดคลางแคลงจนคนดูแทบตบะแตก หรือจะอีกที การเอ้อระเหยไปกล่าวถึงอะไรต่อมิอะไรที่คนดูเห็นว่าไม่เข้าเรื่อง ก็อาจไม่มีคำอธิบายใด ๆ มากกว่าเป็นการเอ้อระเหย
หนังเริ่มเข้าเค้าหลังเคียรอสตามีวกกลับมาเล่าความสืบต่อเหตุการณ์ตอนต้นเรื่องในช่วงท้ายโดยเป็นการเล่าผ่านมุมมองของซาเบียน และคนดูเมื่อพอจะจับต้นชนปลายได้ ความคิดที่ว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าคือภาพจากสารคดีจึงหมดไปจากหัว แต่จะพอมองออกว่าส่วนที่ฟูหนาจากความคิดรวบยอดว่าด้วยอัตสำเหนียกคือทบของชั้นเหตุการณ์หลาย ๆ ชั้นซึ่งผ่านการฝานซอยเป็นแผ่นบาง ๆ อณูความเป็นไปได้แห่งเรื่องราวและผู้คนที่เคยอ้อยอิ่งลอยฟ่อง จู่ ๆ ก็เรียงตัวเป็นระเบียบเหมือนหนึ่งผู้หลงทางพบแผนที่แจกแจงเส้นทางอันเลี้ยวลดที่ผู้กำกับพาคนดูตะลอนไปพบพานเรื่องราวและผู้คนมา คนดูจะเข้าถึงและตกผลึกภายในว่าเหตุการณ์ทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรและเกิดการยอมรับโดยดุษฎีถึงความเกี่ยวพันและส่งผลกระทบต่อกันระหว่างปมขัดแย้งกับทั้งหมดทั้งหลายที่หนังนำเสนอมา หากจะมีอาการคับข้องขัดเคืองใจบังเกิดแก่คนดูรายใด ก็วินิจฉัยได้สถานเดียวว่าเป็นเพราะมีวิสัยทัศน์คับแคบกว่าผู้กำกับ แก่นแท้ของเรื่องราวหนังหาได้จำแลงมารูปสารคดี หากแต่มีพฤติการณ์ลับ ๆ ล่อ ๆ อยู่ตามริมขอบหนังและคอยตีโอบเนื้อหนังในส่วนสารคดี
ในการรับมือกับความซ่อนเงื่อนวกวนและเหลี่ยมคูที่คอยบดบังขวางทางเข้าถึงเนื้อในในหนังอย่าง Close-Up และ Moment of Innocence คนดูจำต้องทุ่มสมาธิสุดแรงเกิด จนอาจเสียศูนย์และพาลเลิกนำพากับของดี ๆ ในหนัง ชั้นเชิงที่แบ่งย่อยลงมาจากแนวคิดหลักการเล่าถึงอย่างไรก็ถือเป็นเพียงหนึ่งในคุณสมบัติของหนัง หนังอิหร่านก็เหมือนหนังทั่วไปที่ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ผนวกอยู่ในตัวด้วย
คุณสมบัติอีกประการที่โดดเด่นไม่น้อยหน้าฝีไม้ลายมือผู้กำกับคือ การเล่นหนังอย่างเข้าถึงบทบาทของตัวละคร กระทั่งดึงดูดหรือขโมยความสนใจของคนดูไปจากการแกะรอยชั้นเชิงการเล่าของผู้กำกับได้อยู่เนือง ๆ อาจกล่าวได้ว่าส่วนผสมอันกลมกลืนระหว่างละคอนในภาคการแสดงกับหนังในภาคการเล่าที่คละเคล้าสอดแทรกด้วยรายละเอียดจิปาถะสร้างความพะวักพะวงแก่คนดูในการถ่ายน้ำหนักสมาธิเพื่อเลี้ยงตัวอยู่บนสองแคมของนาวาหนัง
การประชุมขององค์ประกอบทั้งมวลในหนังแผ่คลื่นสรรพคุณเสมือนมนต์สะกดกล่อมคนดูให้ตกอยู่ในภวังค์ของการเหยียบเรือสองแคมท่ามกลางทะเลหมอกแห่งชั้นเชิง คนดูแทบไม่เอะใจว่าหมู่เรือพ่วงนี้กำลังแล่นไปข้างหน้ารวดเร็วเพียงใด ทุกเรื่องราวเหมือนจะดำเนินอยู่ในระยะเอื้อมมือถึง ทว่ากลับลางเลือนเกินกว่าจะจับต้องได้
กลเม็ดยักย้ายภูมิเรื่องและเบนเป้าความสนใจของคนดูในแบบอิหร่าน ๆ มีให้จับได้คาหนังคาเขาแม้แต่ในงานที่มีสัดส่วนความเป็นเรื่องผูกแต่งอยู่ในตัวค่อนข้างสูง เช่น Where is the Friend’s Home งานของเคียรอสตามีในปี คศ. 1987 หรือ The Silence งานจาก คศ. 1998 ของมอเซ็น มักห์มาลบาฟ และ The Circle งานปี คศ. 2000 ของปานาอี
หนังทั้งสามเรื่องต่างมีร่องรอยความพยายามปล่อยคลื่นรบกวนจิตใจให้คนดูหลงตำแหน่งในเหตุการณ์ใหญ่ของหนัง ด้วยการแทรกเหตุการณ์เฉพาะหน้ายิบย่อยเข้ามาในเส้นทางเรื่องราวหลักอยู่เป็นระยะ ผลติดตามมาคือคนดูถูกหน่วงเหนี่ยวไว้กับเหตุการณ์อายุขัยสั้น ๆ เหล่านั้น แม้การปล่อยให้มีเศษเสี้ยวเหตุการณ์เหนือความคาดหมายของคนดูหลุดเข้ามาอยู่ในหนังอาจฉีกผืนหนังออกเป็นริ้ว ๆ และสร้างความสะเปะสะปะแก่ทิศทางของหนังได้ แต่ดูเหมือนเคียรอสตามี มัขมัลบาฟ และปานาอีจะไม่อินังขังขอบแม้สักนิด ร้ายกว่านั้น ผู้กำกับเหล่านี้กลับดูจะชอบอกชอบใจเสียอีกกับการผนวกหนังด้วยอนุกรมเรื่องเล่าที่ไร้ต้นสายแต่มีปลายเหตุจำนวนมาก
ช่วงที่หนึ่งกับช่วงที่สองของ Close-Up ต่างมีลักษณะเป็นอนุกรมเรื่องเล่าที่มีจุดจบในตัวเอง ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากหยอดเบาะแสไว้เบาะ ๆ หนังก็ไม่เก็บเรื่องของซาเบียนมาเป็นอารมณ์(อยู่ระยะหนึ่ง) แต่กลับทอดสายตาไปยังกิจกรรมของคนขับรถเสียอย่างนั้น กว่าที่คนดูจะได้กลับเข้าสู่ตำแหน่งที่เห็นเหตุการณ์ในส่วนของซาเบียนได้ ก็เมื่อเคียรอสตามียินยอมพร้อมใจ ใน Moment of Innocence มักห์มาลบาฟก็เล่าหนังด้วยกลบทเดียวกัน
Moment of Innocence เป็นเรื่องราวของตัวผู้กำกับมักห์มาลบาฟเองกับอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่ง คนทั้งสองโคจรมาพบกันในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงเมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น ครั้งกระโน้นมักห์มาลบาฟซึ่งอยู่ในการชุมนุมเกิดไปแทงตำรวจนายดังกล่าวเข้าให้ขณะฝ่ายหลังเข้าระงับเหตุวุ่นวาย มาในบัดนี้ด้วย Moment of Innocence เป็นใจ ทั้งมือมีดและเป้ามีดจึงได้มาเปิดใจถึงกรณีทำร้ายร่างกายแต่หนหลัง ภาพของหนังส่วนใหญ่เป็นการการฉายภาพตัวตนและห้วงคำนึงของแต่ละฝ่าย ในฟากของตำรวจ อัตตาอวตารในวัยฉกรรจ์ของเขาเผยอตัวออกมาจากมาจากช่างตัดเสื้อผู้ทำหน้าที่กุมบังเหียนการเล่าเรื่อง นับเป็นกลบทการเล่าที่จากท่าบังคับการเล่าหลายช่วงตัว ในอีกฟากหนึ่งของหนังมักห์มาลบาฟแห่งปัจจุบันก็มีโอกาสปฏิสันฐานกับอัตตาอวตารแห่งอดีต ชีวิตเดียวกันจากต่างวาระพบว่าตนเองยังคงชมชอบการเก็บดอกไม้มาทับไว้ในหน้าหนังสือเหมือนกัน หนังยังมีการขยายภาพความรู้สึกที่มักห์มาลบาฟในครั้งกระโน้นมีต่อและคนรักในอดีต ผ่านบทเจรจาว่าด้วยความปรารถนาในชีวิตคนหนุ่มสาว อันไพเราะจับใจ
ภาพความงดงามตามสุนทรียศาสตร์ของมักห์มาลบาฟจากแต่ละฉากตอนของหนังสมานตัวเข้าด้วยกันเกิดเป็นภาพใหญ่อันหมดจด ได้ที่และไร้รอยตำหนิ สุนทรียศาสตร์ของมักห์มาลบาฟไม่ได้เกิดจากการชะลอหรือเว้นช่วงรอการเผยโฉมคำตอบสุดท้ายอย่างหนึ่งอย่างใด แต่เป็นการบานสะพรั่งของความงามทั้งหมดทั้งหลายในคราวเดียว อานุภาพความงามเมื่อมาตระหง่านอยู่เบื้องหน้าคนดูจึงมีพลังดึงดูดเกินต้านทาน ผู้รับสารจึงถูกหลอมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับหนังโดยดุษฎี
ความช่างสังเกตสังกาเฟ้นหาแง่มุมงดงามของชีวิตในแต่ละวัน หรืออุบัติการณ์ ประเภทฟ้าผ่ากลางวันแสก ๆ รวมถึงเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง เหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อจับท่วงทำนองประสบการณ์จากการขับเคลื่อนชีวิตมาพิมพ์ลายนิ้วมือ คุณสมบัติข้อนี้ชวนให้นึกถึงหนังตระกูลสัจนิยมใหม่ของอิตาลี
ความเป็นอัตสำเหนียกใน Close-Up, Moment of Innocence และ The Apple อาจผันหนังไปในทิศทางตรงกันข้ามกับงานขึ้นหิ้งของสัจนิยมใหม่อิตาลีอย่าง The Bicycle Thief และ Umberto D งานในปี 1948 และ 1952 ตามลำดับของวิตตอริโอ เดอ สิกา (Vittorio De Sica) และออกจะผ่าเหล่ากลายเป็นงาน สัจนิยมใหม่ของยุคหลังสมัยใหม่ (post modern neo-realism) เมื่อดูจากการสวมทับเรื่องราวที่เห็นและเป็นอยู่แทนการลอกคราบความเป็นจริงมาถ่ายทอด มิใยต้องกล่าวถึงการใช้บริการของผู้ประสบเหตุ หรือกำลังเผชิญชะตากรรมที่เป็นมูลแห่งเรื่องเล่าอยู่จริง ๆ มาเล่นในหนัง แทนการนำนักแสดงอาชีพมาสวมบท และประเด็นสำคัญที่พึงพิจารณาให้ถ่องแท้ได้แก่ กรรมวิธีการสร้างสภาพลับแลแก่กล้องและกระบวนทำงานเบื้องหลัง เพื่อพรางสิ่งเหล่านี้ไว้มิให้คนดูไหวตัว ผู้กำกับมีเคล็ดลับอะไรในการนำเสนอตัวเองขณะทำงานอยู่หลังกล้องเพื่อส่งสัญญาณแก่คนดูว่าพวกเขาคนทำงาน ก็อยู่ร่วมเผชิญสภาพการณ์จริงกับตัวละครตามท้องเรื่องด้วยเช่นกัน
ผู้กำกับรุ่นสัจนิยมใหม่ของอิตาลีพยายามลิดกิ่งก้านขนบดราม่าออกจากกระบวนการเล่า ด้วยหมายจะให้คนดูได้ลิ้มรสความสดใหม่ของเหตุการณ์และประสบการณ์ ด้วยการขจัดอุปสรรคจากธรรมชาติของความเป็นสื่อเล่าเรื่องไม่ให้มากางกั้นคนดูกับเหตุเบื้องหน้า เพื่อไม่ให้คนดูรู้สึกว่ากำลังถูกเล่าโดยหนัง
การเป่าขม่อมคนดูให้ลืมความรู้สึกว่ากำลังดูหนังก็เป็นเจตนาของเคียรอสตามีและแนวร่วม เฉกเช่นเดียวกับเดอสิก้า และพวกพ้อง แต่ผู้กำกับอิหร่านรุ่นหลังกลับมีวิธีคิดในการเล่าย้อนยอกกว่าผู้กำกับอิตาลีรุ่นเก่าอีกหนึ่งทบ ในการโน้มนำคนดูเข้าสู่เนื้อแท้ของหนัง แทนที่เคียรอสตามีและพวกพ้องจะกำจัดความเป็นหนังออกจากตัวหนังและการเล่า พวกเขากลับแสร้งสารภาพกับคนดูถึงความเป็นหนังให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียแต่แรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปการสารภาพหลอก ๆ อย่างแยบคายนั่นเองส่งผลให้คนดูเสียรู้และถลำลึกไปกับหนัง จนลืมไปเสียสนิทว่าประสบการณ์ที่ตนสัมผัสอยู่มาจากการมองผ่านหนัง
อนึ่ง การพรางตัวมาในสารรูปสารคดีไม่เพียงเป็นคาถาเพิ่มราศีสัจนิยมใหม่แก่ Close-Up, Moment of Innocence และ The Apple หนำซ้ำยังสร้างความชอบธรรมแก่หนังเหล่านี้ในการปัดภารกิจการเล่าความเป็นไปจากทุกระนาบอย่างที่หนังแนวประเพณีนิยมจำต้องกระทำ
นอกจากการใช้บุคคลจริงมาถ่ายทอดเรื่องราวของตนเองและการผนวกผู้กำกับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหนังแล้ว อีกหนึ่งทีเด็ดทีขาดท่ามกลางความร้ายกาจเหลือคณานับของเคียรอสตามี คือการเดินสวนทางกับขนบการทำหนังตามเคล็ด เปิดเผยแต่ไม่เปิดปาก ด้วยการเล่าเรื่องเสียยกใหญ่ในเชิงนาฏกรรม แต่ก็เป็นการเล่าในแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง คนดูหมดสิทธิ์จับให้มั่นคั้นให้ตายและไม่อาจไว้เนื้อเชื่อใจเรื่องราวของหนัง เนื่องจากเนื้อสารสนเทศของหนังมีมาแต่จากแหล่งข้อมูลประเภท ซาเบียนเล่าว่า…บ้างละ ให้สัมภาษณ์ว่า… บ้างละ ให้การว่า… (ในฉากการไต่สวนอันเป็นหัวใจสำคัญของหนัง)บ้างละ สุดแท้แต่จะว่าไป เคียรอสตามีรัดเข็ดขัดการเล่าราวกับเขากำลังถ่ายทำสารคดีซี่งไม่อาจถ่ายทอดสิ่งใดนอกเหนือจากเหตุการณ์สดจริงเบื้องหน้ากล้องอยู่จริง ๆ ก็ปานนั้น ทั้งที่ตามความเป็นจริงแล้ว Close-Up คือหนังเรื่องหนึ่ง เคียรอสตามี(ในฐานะผู้กำกับหนัง)มีทางเลือกมากมายในการขุดคุ้ยเปิดโปงซาเบียน(ผู้เป็นตัวละครในหนัง) แต่เขาก็ยักท่าแข็งขืนไม่บีบคอ Close-Up ให้สำรอกข้อเท็จจริงออกมาจากปากหนังเองเสียอย่างนั้น
ลีลากั๊กไพ่ตายทั้งที่มีผลดีในแง่สร้างความราบรื่นตามขนบดราม่ารอให้เคียรอสตามีกินรวบ ทางหนึ่งไปเร้าจินตนาการอันน่าตื่นใจและคาดไม่ถึงในหมู่คนดูจากการที่ผู้กำกับเปิดช่องให้กระโจนเข้าไปร่วมประมวลผลและคาดเดาความจริงเบื้องลึก คนดูจะวาดเรื่องราวเชิงดราม่าไปตามแต่จินตนาการของแต่ละคนโดยอาศัยข้อมูลระดับพื้นผิวเหตุการณ์จากหนังเป็นวัตถุดิบ อีกโสดหนึ่งการที่ผู้กำกับกางกั้นคนดูด้วยม่านความจริงฉาบหน้า แทนที่จะเลิกม่านหนังและดุนหลังคนดูเข้ารับความตื่นใจจากความจริง ณ ใจกลางเงื่อนปม(แต่กลับวางคนดูไว้ในฐานะพยานรับฟังคำให้การ) อาจสร้างความงุ่นง่านแก่คนดูเเพราะไปไม่ถึงจุดสุดยอดของการมีประสบการณืร่วมกับซาเบียนก็จริง แต่คนดูก็รู้สึกชิดเชื้อกับเขาราวกับราวกับเข้าไปสิงสู่ในตัวเขาได้
กลวิธีเล่าหนังแบบยืดได้หดได้ไม่ตายตัว แถมออกตัวเสร็จสรรพของเคียรอสตามีใน Close-Up เป็นคุณสมบัติที่ประพิมพ์ประพายกับสกุลงานสัจนิยมใหม่ และ Moment of Innocence ก็มีความคล้ายคลึง Close-Up ในหลายส่วน แต่ในความเหมือน หนังสองเรื่องนี้ต่างมีข้อน่าสนใจและผิดแผกกันอยู่มากเช่นเดียวกัน ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างหนังทั้งสองเรื่องต้องวัดจากอรรถรสในการรับชมหนังทั้งสองเรื่องว่าแตกต่างกันอย่างไร
การเผยสะท้อนความเป็นหนังของหนังไม่ได้โรยตัวเป็นหย่อม ๆ อยู่ตามพื้นผิวหนัง อีกทั้งก็ไม่ได้ฝังตัวอยู่ตรงใจกลางหนัง แต่จะแทรกซอนไปทั่วตัวหนัง และก้าวย่างสำเหนียกจริตในหนังแต่ละเรื่องรวมถึง Moment of Innocence และ Close-Up ไม่เคยเดินย่ำรอยซ้ำของกันและกัน
เบื้องต้น พึงสังวรว่าทั้งหมดทั้งหลายของ Moment of Innocence คือการพาคนดูตระเวณอ้อมรั้วกลบทการเล่าซึ่งโอบล้อมเนื้อในอันประกอบด้วย อุดมคติทางการเมือง จริยธรรมทางการเมืองและส่วนบุคคล สำนึกรับผิดชอบทางการเมืองและของปัจเจก และการเมืองกับคุณธรรม ในการตีความ Moment of Innocence จึงต้องคลำหาตาหนัง เพื่อแหวกเข้าสู่แก่นดังกล่าว ที่สำคัญ Moment มีความเป็นอัตสำเหนียกในเชิงประวัติศาสตร์เข้มข้นพอ ๆ กับอัตสำเหนียกต่อความเป็นหนัง
แต่ Close-Up ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดหลักเพียงหนึ่งเดียว คือการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมเพื่อเข้าถึงธาตุแท้ตัวละครเอกซึ่งก็มีอยู่เพียงตัวเดียว ชั้นเชิงการเล่าตามท่วงทีหลังสมัยใหม่(post modern)ของหนังมีการเล่นระดับลดหลั่นเพื่อดูดซับการเอ่อซึมของตัวตนจากตัวละคร เหตุฉะนี้ สูญญากาศขนาดเขื่องอันเป็นผลจากการยันระยะซาเบียนอยู่ห่าง ๆ คนดูและตัวหนังจึงไม่ทะลักท่วมตัวตนของซาเบียนและวีรกรรมของเขา การปลีกตัวเช่นนั้นยังฟ้องถึงบุคลิกภาพของซาเบียนไปในที
อีกหมัดเด็ดที่ตรงเข้าจวกต่อมครื้นเครงก็คือ การกระทบกระเทียบแดกดันกันเองระหว่างพฤติกรรมของซาเบียนกับพฤติกรรมของหนัง ด้านหนึ่งตามท้องเรื่องซาเบียนรับสมอ้างว่าตนเป็นมอเซน มัชมาลบัฟ อีกด้านหนึ่ง ตามความเป็นจริง Close –Up ก็อุปโลกขน์ตัวหนังเป็นงานสารคดี เท่ากับว่า ทั้งซาเบียนและ Close-Up กำลังพยายามสถาปนาตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็น
การคัดตัวซาเบียนมารับบทซาเบียน จึงเป็นค่ายกลจากเคียรอสตามีเพื่อชวนคนดูประลองปฏิภานในการตีค่าความเป็นซาเบียนซึ่งดำผุดดำว่ายมุดลอดทะลุไปมาระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกของ Close-Up เนื่องจากซาเบียนต้องเล่นเป็นตัวเองในหนังซึ่งตามท้องเรื่องเขาสวมบทเป็นคนอื่นอีกต่อ ดังจะเห็นในฉากหนึ่ง มีเสียงเคียรอสตามีแว่วสำทับซาเบียนว่า”คุณกำลังเล่นบทของตัวเองอยู่นะ” ซาเบียนนับเป็นความพิศดารน่าหมั่นเขี้ยวของหนังอย่างแท้จริง ลองนึกดูว่าเมื่อได้รับการชี้ชวนจากเคียรอสตามีเขาก็คงเตรียมตัวเตรียมใจเสียดิบดีในการสวมบทบาทเป็นคนอื่นเพื่อหาลำไพ่เลี้ยงตัว แต่ที่ไหนได้ เมื่อคราวต้องอยู่ในโลก Close-up เข้าจริง ๆ ซาเบียนกลับต้องเล่นเป็นตัวเอง แต่ต้องสวมตัวเองไว้ด้วยความเป็นอื่น(คือ มัขมาลบัฟ)อีกชั้น
การนำธรรมชาติความเป็นหนังมาอำซ้ำอำซ้อนอาจสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าแก่คนดูไม่ใช่น้อยก็จริง แต่ส่วนที่มาระเบิดห้วงคำนึงคนดูแตกเป็นเสี่ยง ๆ ก็คือ ผลการใคร่ครวญถึงความล้มเหลวของซาเบียนที่ลามปามเข้าเนื้อคนดูเอง เนื่องจากซาเบียนและพฤติกรรมของเขาเป็นทั้งอุทาหรณ์และหนามยอกใจคนดูในฐานที่ต่างก็สาละวนอยู่กับการขึ้นรูปครองตน และปรุงสร้างตัวเองตามอัตภาพที่วาดหวัง เพื่อเป็นการส่งสัญญาณและยืนกรานถึงการมีชีวิตอยู่จริง
ถึงจะไม่รู้แน่ว่าแท้จริงแล้วซาเบียนเป็นใครแต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่คนดูจะไม่ผูกพันกับเขา ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสน่ห์จากตัวตนอันหาความกระจ่างไม่ได้ หรือ เลื่อมใสในลวดลายการหลอมสร้างตัวตนของเขา อาการเมาหมัดของคนดูชวนให้เกิดภาพหลอนต่อเนื่องไปอีกว่า เอาเข้าจริงที่ดูเหมือนซาเบียนสารภาพความผิดไปในฉากไต่สวนคดี ก็อาจเป็นแค่การพาซื่อเล่นบทไปตามประกาศิตจากเคียรอสตามี การที่ผู้กำกับกำชับซาเบียนในฉากพิจารณาคดีในศาลและแว่วมาเข้าหูคนดูว่า”คุณกำลังเล่นบทของคุณเอง” ย่อมถือเป็นสิ่งบอกเหตุถึงความเป็นอัตสำเหนียกผ่านห้วงการรับรู้ของซาเบียนว่าตนกำลังเล่นเป็นตัวเองในหนังเรื่อง Close-Up โดยปริยาย
ความคลางแคลงต่อเจตนาของเคียรอสตามีในการกำกับ และการแสดงของซาเบียนใน Close-Up จะแล่นฉิวเข้าจับขั้วหัวใจหากได้ตามดู Close-Up / Long-Shot หนังใน คศ. 1996 ของผู้กำกับมาห์มูด โชโครลลาฮี (Mamhoud Chokrollahi) และมอสเล็ม มานซูรี(Moslem Mansouri)เพราะในงาน6 ปีให้หลัง Close-Up เรื่องนี้ คนดูจะได้เห็นซาเบียนในมาดวายร้าย ไม่เพียงแทบไม่เหลือเค้าของชายผู้ดูไร้เดียงสาน่าทำความรู้จัก พฤติกรรมของซาเบียนใน Close-Up / Long-Shot ยังไม่มีวี่แววของคนที่จะรู้จักสำนึกเสียใจต่อการกระทำของตนปรากฏให้เห็น ควรกล่าวด้วยว่า 6 ปีที่ผ่านไปกาลเวลาและสถานการณ์ได้แปรเปลี่ยนซาเบียนจากชาวบ้านธรรมดาจนเป็นคนมีชื่อเสียงพอตัวขึ้นมาอีกต่างหาก
การทิ้งทวนอัตลักษณ์อันคลุมเครือของซาเบียนไว้ในตอนท้ายของหนัง หลังผ่านเหตุการณ์ถูกจับกุมและเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี จนกระทั่งยอมสารภาพเพื่อขอรับการอภัยโทษไปแล้ว นับเป็นหลักฐานหนักแน่นพอจะมัดตัวเคียรอสตามีในข้อหาจงใจเพาะความสงสัยในตัวตนอันแท้จริงและความซื่อตรงของซาเบียนไว้ใน Close-Up
เวลาห้วงท้าย ๆ ของ Close-Up ซาเบียนจะอยู่ในสภาพล้มละลายทางตัวตน ความรู้สึกของเขาถูกเปลือย หนังในจังหวะนี้เหมือนเป็นการปรุงแต่งซาเบียนจนดูน่าเห็นใจมากกว่าที่ควร เป็นไปได้ว่าซาเบียนตัวจริงเล่นบทของตัวเองออกมาไม่สมกับการเป็นฉากจบของหนัง ตามกฎในโลกของ Close-Up ในมือเคียรอสตามี นาฎกรรมซาเบียนในบทสรุปหากผิดเพี้ยนไปจากภาพที่เคียรอสตามีตีความไว้ย่อมไม่ก่อผลดีเป็นแน่เพราะถึงอย่างไร Close-Up ก็มีพันธกิจจะต้องเล่าเรื่องในส่วนที่เป็นละครหรือปมขัดแย้งให้ลุล่วง เคียรอสตามีเองหาได้กำลังถ่ายทำสารคดี และคงยากที่จะจินตนาการถึงฉากจบเป็นอย่างอื่นแล้วจะทรงพลังถั่งโถมเหมือนอย่างที่เคียรอสตามีคิดไว้ เมื่อเห็นว่าซาเบียนทำผลงานได้ไม่ตรงกับภาพความเป็นจริงของเจ้าตัว ดังนั้นท่วงทีของ Close-Up จึงพลิกผันไปในทางตรงกันข้าม ผู้กำกับหันมาไขก๊อกความรู้สึกหนังให้พรั่งพรูออกมาตามขนบการเล่าทั่วไป หลังจากวางมาดเป็นหนังสารคดีมาแทบจะโดยตลอด เพราะความแม่นตรงแจ่มแจ้งไม่จำเป็นต้องมาพร้อมกับท่าทีเย้ยหยันปึ่งชา
ในการซึมซับพลังของ Close-Up ให้ถึงหยดสุดท้าย จำเป็นต้องจับตาไปที่การจบฉากอย่างคลุมเครือ และการผูกโยงเรื่องราวเข้ากับความเป็นจริง การปิดฉากและเบนการเล่าไปจากความเป็นจริง ทั้งหมดใช่เป็นแต่เพียงกฎเกณฑ์ที่หนังสร้างขึ้นเพื่อกำกับคนดู แต่ถือเป็นลมหายใจของหนังเลยทีเดียว การจำเพาะเจาะจงจับซาเบียนมาสวมบทเป็นตัวเอง ในแง่หนึ่งอาจเป็นทางลัดในการอธิบายความเป็นซาเบียน แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงกลับสวนทางกัน เพราะการได้ประจันหน้าและจ้องลึกเข้าไปในดวงตาของซาเบียน ยิ่งกลายเป็นการย้ำเน้นถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะทำความรู้จักและสำรวจไปถึงก้นบึ้งจิตใจ รวมไปถึงแรงจูงใจและความเชื่อของผู้ชายคนนี้ ยิ่งหนังเป่าหูคนดูนับแต่ต้นมือถึงอฐานะภาพแห่งการเป็นนักแสดงของผู้ชายคนนี้ต่อหนัง เขาจึงย่อมไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะมารับบท แต่เขาเป็นซาเบียนจริง ๆ ยิ่งทำให้ความเป็นซาเบียนขนานกลายเป็นสิ่งเลื่อนไหลกลอกกลิ้ง ปกติบทบาทของนักแสดง คือ เส้นประคอยตีตะล่อมคนดูให้เข้าถึงบุคลิกภาพตัวละคร และหล่อหลอมตัวตนตัวละครขึ้นมาในความทรงจำ อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง แต่ในการเฝ้าดูซาเบียน คนดูรู้ทั้งรู้ว่าเขามีตัวตนอยู่จริง และมีข้อเท็จจริงมากมายเก็บกักอยู่ในตัวคน ๆ นี้มากมาย แต่คนดูก็จะรู้สึกว่าเป็นซาเบียนนั่นเองที่เอาแต่หวงแหน และเก็บงำความจริงของตนไว้อย่างมิดชิดเสียจนคนดูหมดหนทางจับได้ไล่ทัน
Close-Up จึงมีความขัดแย้งในตัวเองจากการที่ด้านหนึ่งเพียงแค่อาจเป็นแค่เหตุการณ์การตีความจากการวางท่าเป็นหนังสารคดี เคียรอสตามีแหย่ให้คิดต่อไปว่าความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์อาจเป็นไปตามหรือเป็นเพียงแค่การตีความที่ว่าแท้จริงแล้ว หนังของเขาอาจเป็นสารคดีจริง ๆ ก็ได้ หรืออาจไม่มีความเป็นสารคดีแม้แต่น้อย
The Wind Will Carry Us งานใน ค.ศ. 2000 ของเคียรอสตามีอาจเถรตรงมากกว่าหนังขนมชั้นอย่าง Close-up แต่ก็เลี้ยวลดเหลื่อมซ้อนยิ่งกว่า และยังถือเป็นหนังที่ไปไกลกว่างานที่แล้ว ๆ มาของเคียรอสตามี WWCU คล้ายเป็นการจับช่วงต้นของ Close-up มาขยายความ ใน Close-Up นั้น ถึงเคียรอสตามีจะเยี่ยมยอดและท้องแข็งถึงขนาดยื้อและอำคนดูเป็นบางครั้ง แต่ในความอ้อมค้อมของลูกไม้ในแนวอัตสำเหนียก ท้ายที่สุดเรื่องราวก็ถูกบดย่อยส่งผ่านสู่คนดูอยู่ดี แต่ใน WWCU กระบวนการยื้อล่อคนดูกลับดำเนินไปไม่รู้จักจบสิ้น เนื้อเรื่องของ WWCU ผูกติดไปกับตัวละครศูนย์กลางคือ ผู้สื่อข่าวและคณะทำงานอีกสองสามรายซึ่งคนดูรู้เพียงว่ามีตัวตน แต่ไม่เคยได้เห็นตัว
สื่อมวลชนกลุ่มนี้ออกเดินทางดั้นด้นไปยังหมู่บ้านเคิร์ดเล็ก ๆ บนเทือกเขาแห่งหนึ่งในอิหร่าน พวกเขาทำทีจะไปเก็บบรรยากาศและรายงานสภาพชีวิตชาวเขาที่นั่น แต่เจตนาอันแท้จริงจดจ่ออยู่กับพิธีปลงศพซึ่งนานทีปีหนจะมีขึ้น และบัดนี้ก็ใกล้ถึงคราวที่พิธีจะถูกจัดขึ้นอีกครั้ง เพราะหญิงชราของหมู่บ้านรายหนึ่งล่วงเข้าวัยจะละสังขารได้ทุกขณะจิต ด้วยเหตุดังนี้ ผู้สื่อข่าวและคณะจึงต้องติดแหง็กอยู่ที่นั่นเพื่อนับถอยหลังรอวาระสำคัญ ลมหายใจสุดท้ายของหญิงชราไม่ได้มาถึงเร็วดังคาด ประหนึ่งเธออิดออดที่จะหลับไปตลอดกาลเพราะยังมีห่วง
เคียรอสตามีจุดชนวนความใคร่รู้ของคนดูตั้งแต่ต้นมือด้วยปมความตาย และการแสวงประโยชน์จากความตายที่จะกำลังจะมาถึง หากคิดว่าปมที่ผูกไว้ดังกล่าวเด็ดและหนักหน่วงแล้ว ในกระบวนการเล่าตามไม้ตายไม่ใยดีกับเรื่องราว เคียรอสตามียังมีลูกเล่นที่เด็ดกว่าตัวปมรออยู่อีก เพราะในกาลต่อมาเขาจัดแจงสุมมุงหนังด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านและการทำงานของผู้สื่อข่าว อันเป็นผลให้เรื่องราวในส่วนของปมคัดหลั่งสู่หนังอย่างกระปริดกระปรอยและไม่ค่อยจะสนองตอบความใคร่รู้ของคนดูที่ถูกเร้า ความเป็นไปเหล่านี้เป็นเหมือนรั้วล้อมกั้นการคลี่คลายปมที่ผูกไว้และเหตุการณ์สืบเนื่อง ณ ใจกลาง เคียรอสตามีจงใจสร้างพื้นที่ฉนวนระหว่างห้วงรับรู้ของคนดูกับเรื่องราวที่ดำเนินไป โดยฝากภาระการเป็นฉนวนนี้ไว้กับพฤติกรรมและการทำงานอันขลุกขลักของผู้สื่อข่าวและคณะทำงาน ขณะรอยมทูตมารับตัวหญิงชรา ร่วมด้วยเหตุการณ์ที่ดูเหมือนหาความเกี่ยวข้องอันใดไม่ได้กับการตายและการทำข่าวการตาย ไปจนถึงเหตุบังเอิญต่างกรรมต่างวาระที่พลัดเข้ามาในพื้นที่และเวลาของนักข่าวในระหว่างพักแรมอยู่ในหมู่บ้านเคิร์ด
Close-Up นั้นเป็นเอกในแง่การทำให้คนดูพื้นเสีย เพราะถูกพรากจากเนื้อเรื่องเชิงละคอน และต้องระเห็จไปอยู่ชายขอบของการรับรู้อยู่ไม่เว้นวาย แต่แล้วจู่ ๆ สิ่งที่อยู่นอกการรับรู้กลับทะลึ่งพรวดเข้ามาสร้างความอึ้งแก่คนดู มองในแง่นี้ นับว่า WWCU มีจุดร่วมกับ Close-Up อยู่มากเอาการ แต่ WWCU ก็มีความหนักหน่วงและกระหยิ่มใจมากกว่าด้วยเช่นกัน ใน WWCU เรื่องราวไม่ได้ถูกกีดกันจากการรับรู้ของคนดูโดยสิ้นเชิง เพราะมีความระแวงเกิดแก่คนดูอยู่ตลอดเวลาว่า เนื้อเรื่องเชิงละคอนของหนังกำลังขับเคลื่อนตัวเองอยู่ ณ เบื้องหลังภาพที่ปรากฏต่อสายตา อย่างไรก็ตาม ในการตามตะครุบตัวเรื่องคนดูก็มีอันต้องคลาดกันอยู่ร่ำไป เนื่องจากหนังมีเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านอันชวนตื่นตาทว่าไม่มีอะไรในกอไผ่มาเบนความสนใจอยู่เป็นระยะ การณ์เมื่อเป็นดังนี้แทนที่จะปรับทิศความจดจ่อให้เข้าทางปืนกับการเคลื่อนตัวของเรื่องเชิงละคอนในหนัง คนดูกลับปรับจังหวะตัวเองเข้ากับชีพจรของหมู่บ้านไปโดยละม่อม หนักข้อกว่านั้น หนังยังมีกรรมวิธีสารพัดมาตัดกำลังความแน่วแน่ในการเกาะติดความคืบหน้าของภารกิจการทำข่าวความตายของหญิงเฒ่า จนคนดูต้องยอมเลิกแล้วต่อกันและถูกกลืนไปกับกระแสรสชาติแห่งวิถีชีวิตชาวบ้าน
ย้อนคิดกลับไปถึงเหตุการณ์ตอนต้นเรื่องของ Close-Up กับปฏิบัติการสร้างความกระวนกระวายใจแก่คนดูเมื่อถูกตัดขาดจากความคืบหน้าของคดี เนื่องจากกล้องไม่ได้พาคนดูร่วมในขบวนนักข่าวกับตำรวจ แต่กลับแชเชือนอยู่กับคนขับรถเพื่อดูเขาฆ่าเวลา และเตะกระป๋อง ความบ้าบิ่นในครั้งกระโน้นของเคียรอสตามีถึงจะน่าคารวะเพียงใด แต่คนดูคงสุดจะหักห้ามความมึนตื้อไม่ให้มาเกาะกินสมองไม่ได้ การเฝ้ารออย่างมีน้ำอดน้ำทนจนกว่าหนังจะสารภาพสันดานเรื่องตัวเองออกมาอาจเป็นยุทธศาสตร์และจังหวะที่ใช้ได้ผลในการดู Close-Up แต่ใช้ไม่ได้ผลกับ WWCU เพราะในคราวนี้ถึงหนังจะเปิดพื้นที่ไว้มากแต่กลับปิดโอกาสและเวลา จนคนดูไม่ทันตั้งตัวเตรียมใจเพื่อเรียกความอดทนอดกลั้น หนังจะสืบตัวเข้ามากระหวัดเกี่ยวคนดูให้ถลำตัวเข้าปฏิสังสันทน์กับชาวบ้านในทุกอึดใจผ่านเครื่องมือนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นนาฏกรรมชีวิตผู้คนละแวกร้านน้ำชาฝุ่นโขมงประจำหมู่บ้าน การพูดคุยไปพลางซักผ้าไปพลางของหญิงชาวบ้านผู้กำลังจะได้เป็นแม่คนกับผู้สื่อข่าวกลางสนามหญ้า หรือจะเป็นการโผล่เข้าไปคลุกคลีตีโมงด้วยเจตนาอันเคลือบแคลงกับสาวชาวบ้านรายหนึ่งขณะเธอรีดนมวัวในคอกอันมืดมิด เห็น แม้แต่ภูมิทัศน์แบบไบแซนทีนของอาคารบ้านเรือนในหมู่บ้าน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่คอยเกลี้ยกล่อมบ่มความไขว้เขวของคนดูไปจากเรื่องเชิงละคร
ในฐานะสื่อชนิดหนึ่ง หนังทรงไว้ซึ่งศักยภาพในการสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้เสพด้วยเนื้อแท้ของสิ่งที่หนังมุ่งกล่าวถึง ไม่แต่เท่านี้หนังยังมีศักยภาพในการสร้างสมมติภาพเพื่อผู้เสพจะได้ลิ้มรสแห่งประสบการณ์โดยตรงได้อีกด้วย ไม่ว่าจะวัดคุณค่า WWCU ด้วยเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือทั้งสองเกณฑ์ WWCU ถือเป็นงานที่ครบเครื่อง พรักพร้อมทั้งในด้านองค์ประกอบและกรรมวิธีก็สนับสนุนความเป็นหนัง กล่าวอีกนัยหนึ่ง WWCU คือตัวอย่างงานอันเป็นการสะท้อนถึงความเป็นที่สุดเท่าที่หนังเรื่องหนึ่งพึงเผยศักยภาพของการเป็นสื่อออกมาได้
จากปมเรื่องซึ่งออกจะหลีกเร้นจากคนดูดังที่กล่าวไป การพยายามบรรลุภารกิจของผู้สื่อข่าวในการเก็บภาพพิธีศพที่จะต้องบังเกิดขึ้นค่อนข้างแน่ ในที่ ๆ คน ๆ หนึ่งใกล้จะสิ้นอายุขัย ปมอันเป็นจุดเร้าความสนใจดังกล่าวทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของหนัง ทว่าไม่เป็นที่ปรากฏ
การเล่าซึ่งไม่ใช่การเล่าโดยตรง หากอาศัยการเรียนรู้และรับรู้ไปพร้อม ๆ กันกับตัวละครผู้สื่อข่าวซึ่งค่อย ๆ ตระหนักทีละน้อยว่าภารกิจการเก็บภาพพิธีศพไปถ่ายทอดต่อตามความมุ่งหมายแต่ต้นนั้นมีความล้มเหลวคอยท่าอยู่ พลันที่เขาถอดใจจากภารกิจในฐานะนักถ่ายทำสารคดีมืออาชีพ หรืออีกนัยหนึ่ง เขาเลิกลุ้นการมาถึงของลมหายใจสุดท้ายของหญิงชรา และตื่นจากความฝักใฝ่ที่จะเก็บภาพเหตุการณ์อันเป็นเป้าประสงค์หลัก เมื่อปราศจากม่านแห่งความเป็นอื่น ชีพจรของเขาค่อย ๆ เต้นเป็นหนึ่งเดียวกับท่วงทำนองชีวิตของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนั้น
ความงดงามล้ำลึกของ WWCU ผลิดอกออกผลแผ่พุ่มไสวจากลูกไม้การเล่าในลักษณะที่กล่าวไป แทนที่จะจะเล่าเรื่องโดยมุ่งสำรวจเส้นทางพัฒนาการของผู้สื่อข่าวโดยเฉพาะการฝ่อยุบของความหวังหนึ่งและตูมเต่งของความหมายใหม่ เป็นหลัก แทนที่จะเปลื้องเปลือยดวงแดของผู้สื่อข่าวออกมาจนล่อนจ้อน หนังกลับคะยั้นคะยอคนดูเข้าไปใช้ชีวิตในโลกของตัวละครเอก เพื่อลิ้มรสความรู้สึกที่เขามีต่อพื้นที่ และโมงยาม หลงและตื่นไปพร้อมกับเขา ในอีกแง่หนึ่ง อย่างไรก็ดี ด้วยมาดการเล่าเช่นนี้บันดาลคนดูให้สัมผัสคลื่นความเป็นไปได้ของอารมณ์ผู้สื่อข่าวตามแต่ขอบเขตการสมมติของคนดูแต่ละคน เพราะหนังไม่ได้ขึงพืดผู้สื่อข่าวให้คนดูรู้เช่นเห็นชาติไปเสียทั้งหมด
เล่ห์กระเท่และแบบแผนอันเป็นหัวกะทิของหนังอิหร่านที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนถูกคิดค้นขึ้นและนำมาใช้เพื่อตอบสนองแนวคิดในการทำหนังสกุลอัตสำเหนียก แต่ปัจจัยที่สร้างความพิเศษแก่หนังเหล่านี้ก็คือ การวางทิศทางของหนัง การไม่ประนีประนอมกับแบบแผนการสร้างความงาม ความวิจิตรบรรจงตามขนบภาพยนตร์ ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ การวิพากษ์ข้อเท็จจริงอย่างถึงเนื้อถึงกระดูกต่อหน้าต่อตาคนดู
หนังเหล่านี้เกิดจากความสนุกเพลิดเพลินของผู้สร้าง จนเข้าขั้นจะเป็นการเล่าไม่เข้าเรื่อง คอยรังควานและยั่วเย้าคนดูจนเสียศูนย์ พร้อมกันนั้นก็ร้องท้าคนดูถลันแหกกรงขังการเป็นผู้ตั้งรับออกมาเพื่อคลุกวงในกับหนังและรื้อค้นตัวหนังให้แหลกกันไปข้างหนึ่ง จากความพิเรนท์ในการละเลงลีลา พาหนังออกป่าออกทะเลอย่างหน้าตาเฉยและหยามหยันคนดูอย่างออกหน้าออกตา
มิใยต้องกล่าวด้วยว่าความพิเรนท์ไม่เข้าท่า ไม่แยแสคนดูอย่างออกหน้าออกตา และพาคนดูออกป่าออกทะเลอย่างหน้าตาเฉยของหนังนับเป็นการร้องท้าคนดูสลัดแอกการเป็นผู้รับสารเข้ามาคลุกวงในเพื่อรื้อค้นตัวหนังให้แหลกกันไปข้าง กลลวงและลูกล่อลูกชน รวมถึงยุทธศาสตร์ที่ผู้กำกับละเลงในหนังส่งผลให้คนดูถลำเข้าประทับและปะทะกับหนังเต็มรัก และเกิดการตราตรึงและได้อรรถรสยิ่งกว่าการเป็นฝ่ายตั้งรับรอท่าการมาของคำตอบสุดท้ายของการคลายปมเชิงละคอน
ทุกแบบแผนและท่วงทำนองการเล่า และพัฒนาการของตัวละครที่คนดูคุ้นชิน ถูกระเบิดเป็นจุณด้วยด้วยลีลาที่แตกตัวออกมาจากแนวคิดแม่บทของตระกูล รวมไปถึงเส้นแบ่งระหว่างการเป็นเรื่องผูกกับสารคดีก็เลือนวับเพราะความกลิ้งกลอกของหนังเหล่านี้ ต้องรอจนโขมงควันแห่งการก่อการร้ายต่อขนบทั้งหลายแหล่จางลง ในท่ามกลางซากปรักหัวใจหรือเนื้อแท้ที่หนังต้องการบอกเล่าถึงได้เผยโฉมสู่การรับรู้ โดยแก่นของ Close-Up คือ การแจกแจงความลึกลับแห่งตัวตนและการแจกแจงความชอบธรรมแก่ตัวเองของตัวละคร ส่วน Moment of Innocence คือ ผลผลิตของความสับสน เคว้งคว้างและสำนึกเสียใจในคำนึงของผู้ปักหลักเผชิญหน้ากันอยู่ ณ ใจกลางความขัดแย้งทางการเมือง ขณะที่จุดใหญ่ใจความหลักของ WWCU คือ การไหลบ่าของอนุกรมประสบการณ์
คมคิดทั้ง 5 ของหนัง 3 เรื่องได้บุกเบิกเส้นทางการเล่าอันรื่นรมย์ใหม่ ๆ ไว้เป็นทางหนีทีไล่จากกิจวัตรเดิม ๆ ของการเสพภาพยนตร์โดยยังคงไว้ซึ่งการรับรู้ทั้งส่วนที่เป็นสรณะและส่วนที่เป็นซากเดน ผลงานเหล่านี้จัดเป็นงานอัตสำเหนียกขนานแท้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการถ่ายทอดภาพจากการมองย้อนกลับมาพินิจศักยภาพความเป็นหนังถือเป็นเพียงกำไรติดปลายหมัดของการรังวัดความไพศาลแห่งสำนึก ความผิดแผกและความไหวละมุนในบุคลิกตัวละครและโลกที่ตัวละครในหนังเหล่านี้มีตัวตนอยู่
- จบ -
จักริน วิภาสวัชรโยธิน
แปลจาก
Rapfogel, Jared. 2001. “A Mirror Facing A Mirror”.http://www.sensesofciema.com/contents/01/17/close_up.html