การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''บทคัดย่อ''' == การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ…')
 
(การแก้ไข 4 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 1: แถว 1:
 +
'''*บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555*'''
 +
 +
== '''บทคัดย่อ''' ==
== '''บทคัดย่อ''' ==
-
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล ตลอดจนปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลัง
+
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล
-
สถาบัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
+
ตลอดจนปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
-
        ผลการวิจัยพบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้าน
+
 
-
เทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด นอกจากนั้น คลังสถาบันทุกแห่งมีฝ่าย /งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการ
+
 
-
คลังสถาบัน ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย และ บุคคลทั่วไป คลังสถาบันทุกแห่งมีการประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และ การจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด คลังสถาบันส่วนใหญ่ประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน
+
ผลการวิจัยพบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดสรร
-
โดยประเมินผลจากทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบปัญหาในระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร
+
งบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านเทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด นอกจากนั้น คลังสถาบันทุกแห่งมีฝ่าย /งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์
 +
บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการคลังสถาบัน ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย และ บุคคลทั่วไป คลังสถาบันทุกแห่งมีการประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรม
 +
ปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และ การจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด คลังสถาบันส่วนใหญ่ประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันโดยประเมินผลจากทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน
 +
พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบปัญหาในระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร
== '''บทนำ''' ==
== '''บทนำ''' ==
-
    มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาทางวิชาการขั้นสูงของประเทศ มีพันธกิจและภารกิจในการจัดเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานสำคัญหน่วยงานหนึ่งที่จะทำหน้าที่ในการส่งเสริมการดำเนินงานตามพันธกิจและภารกิจของสถาบันต้นสังกัด และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและการวิจัยให้กับมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย 2544: 2) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลเพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมและภูมิปัญญาไทย เพื่อการยกระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้ของบุคคลให้กลายเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน (สุวิมล ธนะผลเลิศ 2551: 1) นอกจากนี้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยยังมีความสำคัญและมีบทบาทในการเป็นแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ในสถาบันที่จะต้องมีการพัฒนาให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตแหล่งหนึ่งของบุคลากรภายในสถาบัน และบุคคลทั่วไป (สุริทอง ศรีสะอาด 2544: 9-11
+
คลังสถาบัน (Institutional repository) คือ คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันซึ่งเป็นบริการที่มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบ คลังสถาบันทำหน้าที่ให้บริการกับสมาชิกในการจัดการและเผยแพร่ผลงานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิต
-
    ในปัจจุบันได้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบต่อทุกองค์กรทุกภาคส่วน ส่งผลให้องค์กรที่ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย ทั้งยังต้องเผชิญกับภาวการณ์ทะลักของสารสนเทศ (Information explosion) อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จากการที่ผลการค้นคว้าวิจัย การค้นพบหลักการ ทฤษฎี และความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมากขึ้น ทำให้นักวิชาการเกิดความตื่นตัวและผลิตสารสนเทศออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บสารสนเทศ การค้นคืนสารสนเทศได้ช้า หรือไม่พบสารสนเทศที่ต้องการ ในขณะที่ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้เปลี่ยนไป กล่าวคือมีความต้องการสารสนเทศที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ดังนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัยจึงได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในกระบวนการจัดเก็บ ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ เพราะวิธีการดำเนินงานของห้องสมุดแบบเดิมอาจไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ดีเท่าที่ควร ในขณะที่การปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินงานให้มีความทันสมัย  รวดเร็ว จะช่วยให้สามารถจัดการกับสารสนเทศทางวิชาการจำนวนมากได้ รวมทั้งยังสอดคล้องกับพันธกิจและภารกิจ วัตถุประสงค์ของการศึกษา รูปแบบและวิธีจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนไป เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (นฤมล กิจไพศาลรัตนา 2552: 1) การปรับเปลี่ยนและพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดนี้ ยังครอบคลุมทั้งเรื่องรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บ วิธีการปฏิบัติงานของบุคลากร กระบวนการดำเนินงานในฝ่ายงานต่าง ๆ การพัฒนารูปแบบของการให้บริการ รวมทั้งการจัดการและให้บริการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
+
ของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ (Lynch 2003: 328) โดยเปิดให้สมาชิกสามารถนำส่งผลงานได้ด้วยตนเอง (Self-archive) บนพื้นที่ที่จัดไว้ (Crow 2002) จะเห็นได้ว่าคลังสถาบันเป็นแนวคิดใหม่ในการรวบรวม จัดการ เผยแพร่  
-
        คลังสถาบัน (Institutional repository) คือ คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันซึ่งเป็นบริการที่มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบ คลังสถาบันทำหน้าที่ให้บริการกับสมาชิกในการจัดการและเผยแพร่ผลงานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ (Lynch 2003: 328) โดยเปิดให้สมาชิกสามารถนำส่งผลงานได้ด้วยตนเอง (Self-archive) บนพื้นที่ที่จัดไว้ (Crow 2002) จะเห็นได้ว่าคลังสถาบันเป็นแนวคิดใหม่ในการรวบรวม จัดการ เผยแพร่ และสงวนรักษาผลงานทางวิชาการที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกในประชาคม คลังสถาบันแต่ละแห่งจะนำเสนอบริการที่ประกอบด้วย การเสนอเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล การจัดการ การเข้าถึง การเผยแพร่ และการสงวนรักษาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามแต่การวางนโยบายการดำเนินงานของห้องสมุดแต่ละแห่ง สำหรับผลงานที่มีการจัดเก็บและเผยแพร่ในคลังสถาบันนั้น นอกจากจะเป็นผลงานที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ (Post-prints) แล้ว ยังหมายรวมถึงผลงานที่กำลังดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ (Pre-prints) และผลงานที่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือตีพิมพ์เผยแพร่ในวงจำกัด (Grey literature) อีกด้วย ซึ่งผลงานเหล่านั้นยากที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบได้
+
และสงวนรักษาผลงานทางวิชาการที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกในประชาคม คลังสถาบันแต่ละแห่งจะนำเสนอบริการที่ประกอบด้วย การเสนอเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล การจัดการ การเข้าถึง การเผยแพร่ และการสงวนรักษาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามแต่การวางนโยบายการดำเนินงาน
-
        การดำเนินงานคลังสถาบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1990 สำหรับคลังสถาบันแรกที่เป็นที่รู้จักจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999 ในลักษณะของคลังข้อมูลสาขาวิชา (Subject-based repository) โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันที่ชื่อ Paul Ginsparg จาก Los Alamos National Laboratory รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา คลังสถาบันดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ arXiv และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ Cornell University คลังข้อมูลสาขาวิชานี้เป็นความพยายามในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อการขยายช่องทางการเข้าถึงผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น จากความสำเร็จของการสร้าง arXiv จึงได้มีการสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ EPrint เป็นพื้นฐานในการสร้าง และในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น โปรแกรม DSpace ที่พัฒนาขึ้นโดย Massachusetts Institute of Technology ร่วมกับกลุ่มวิจัยของบริษัท Hewlett Packard โปรแกรม Fedora ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักวิจัยจาก Cornell University และ Virginia University เป็นต้น (Jones, Andrew, and MacColl 2006: 6-8)
+
ของห้องสมุดแต่ละแห่ง สำหรับผลงานที่มีการจัดเก็บและเผยแพร่ในคลังสถาบันนั้น นอกจากจะเป็นผลงานที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ (Post-prints) แล้ว ยังหมายรวมถึงผลงานที่กำลังดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ (Pre-prints) และผลงานที่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือตีพิมพ์เผยแพร่
-
    ลักษณะของคลังสถาบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1) จัดเก็บผลงานที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกภายในสถาบัน 2) จัดเก็บผลงานไว้โดยไม่มีการลบทิ้งหรือถอดถอน และจะมีการดำเนินการเพื่อทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จัดเก็บไว้ได้ตลอดเวลา 3) รวบรวมผลงานทางวิชาการไว้หลากหลายประเภท และหลากหลายรูปแบบ 4) สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงสารสนเทศแบบเสรี (Prosser 2003: 168)
+
ในวงจำกัด (Grey literature) อีกด้วย ซึ่งผลงานเหล่านั้นยากที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบได้
-
    ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายแห่งได้มีการจัดตั้งและพัฒนาคลังสถาบันขึ้น เนื่องจากได้มองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดตั้งและดำเนินงานคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ ดังนี้
+
 
 +
 
 +
การดำเนินงานคลังสถาบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1990 สำหรับคลังสถาบันแรกที่เป็นที่รู้จักจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999 ในลักษณะของคลังข้อมูลสาขาวิชา (Subject-based repository) โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันที่ชื่อ Paul Ginsparg จาก Los Alamos  
 +
National Laboratory รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา คลังสถาบันดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ arXiv และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ Cornell University คลังข้อมูลสาขาวิชานี้เป็นความพยายามในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อการขยายช่องทางการเข้าถึง
 +
ผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น จากความสำเร็จของการสร้าง arXiv จึงได้มีการสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ EPrint เป็นพื้นฐานในการสร้าง และในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น  
 +
โปรแกรม DSpace ที่พัฒนาขึ้นโดย Massachusetts Institute of Technology ร่วมกับกลุ่มวิจัยของบริษัท Hewlett Packard โปรแกรม Fedora ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักวิจัยจาก Cornell University และ Virginia University เป็นต้น  
 +
(Jones, Andrew, and MacColl 2006: 6-8)
 +
 
 +
 
 +
ลักษณะของคลังสถาบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1) จัดเก็บผลงานที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกภายในสถาบัน 2) จัดเก็บผลงานไว้โดยไม่มีการลบทิ้งหรือถอดถอน และจะมีการดำเนินการเพื่อทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จัดเก็บไว้ได้ตลอดเวลา 3) รวบรวมผลงานทางวิชาการไว้
 +
หลากหลายประเภท และหลากหลายรูปแบบ 4) สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงสารสนเทศแบบเสรี (Prosser 2003: 168)
 +
 
 +
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายแห่งได้มีการจัดตั้งและพัฒนาคลังสถาบันขึ้น เนื่องจากได้มองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดตั้งและดำเนินงานคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ ดังนี้
 +
 
1) ด้านการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในรูปดิจิทัลได้อย่างสะดวก สามารถจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในหลายรูปแบบ รวมทั้งการทำเมทาเดทาให้แก่ทรัพยากรสารสนเทศที่เอื้อต่อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นระบบ
1) ด้านการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในรูปดิจิทัลได้อย่างสะดวก สามารถจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในหลายรูปแบบ รวมทั้งการทำเมทาเดทาให้แก่ทรัพยากรสารสนเทศที่เอื้อต่อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นระบบ
 +
2) ด้านการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดการการสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาหรือผลงานทางวิชาการที่เป็นของประชาคมมหาวิทยาลัยในรูปดิจิทัล เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศคงอยู่ได้ในระยะยาว (Prosser 2003: 169)
2) ด้านการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดการการสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาหรือผลงานทางวิชาการที่เป็นของประชาคมมหาวิทยาลัยในรูปดิจิทัล เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศคงอยู่ได้ในระยะยาว (Prosser 2003: 169)
 +
3) ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันเป็นวิธีการที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้เพื่อรองรับการสื่อสารและการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้จำนวนมากที่ได้สะสมไว้ และเปิดให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเสรี
3) ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันเป็นวิธีการที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้เพื่อรองรับการสื่อสารและการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้จำนวนมากที่ได้สะสมไว้ และเปิดให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเสรี
-
        นอกจากนี้ คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนมหาวิทยาลัยในด้านการเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ การเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่สถาบัน และการจัดการความรู้ (Yeates 2003: 97-98)
+
 
-
    จากความสำคัญและประโยชน์ของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทำให้เกิดการตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของประเทศไทย จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยของผู้วิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดตั้งและจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยแต่ละสถาบันมีชื่อเรียกคลังสถาบันที่แตกต่างกันออกไป แต่จำนวนของคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้นยังมีไม่มาก ในการจัดการคลังสถาบัน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อีกทั้งอาจต้องเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย และสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่นที่สนใจในการพัฒนาคลังสถาบัน
+
นอกจากนี้ คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนมหาวิทยาลัยในด้านการเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ การเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่สถาบัน และการจัดการความรู้ (Yeates 2003: 97-98)
 +
 
 +
 
 +
จากความสำคัญและประโยชน์ของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทำให้เกิดการตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของประเทศไทย จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
 +
ในประเทศไทยของผู้วิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดตั้งและจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยแต่ละสถาบันมีชื่อเรียกคลังสถาบันที่แตกต่างกันออกไป แต่จำนวนของคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้นยังมีไม่มาก ในการจัดการคลังสถาบัน
 +
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อีกทั้งอาจต้องเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย และสำหรับห้องสมุด
 +
มหาวิทยาลัยอื่นที่สนใจในการพัฒนาคลังสถาบัน
== '''วัตถุประสงค์การวิจัย''' ==
== '''วัตถุประสงค์การวิจัย''' ==
เพื่อศึกษา
เพื่อศึกษา
 +
1. การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล
1. การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล
 +
2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน
2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน
แถว 30: แถว 59:
== '''สมมติฐานการวิจัย''' ==
== '''สมมติฐานการวิจัย''' ==
1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีคลังสถาบันเพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ และใช้โปรแกรมดีสเปซ
1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีคลังสถาบันเพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ และใช้โปรแกรมดีสเปซ
 +
2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการคลังสถาบัน และ เจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน
2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการคลังสถาบัน และ เจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน
 +
 +
 +
== '''ขอบเขตและประชากรที่ใช้ในการวิจัย''' ==
 +
การวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการคลังสถาบัน จากการสำรวจโดยการตรวจสอบจากเว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่ง และการใช้เครื่องมือช่วยค้น (Search engine) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 และทำการสำรวจอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 2555
 +
พบว่ามีห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการและดำเนินงานคลังสถาบันจำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง จำแนกเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 9 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 2 แห่ง ประชากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งดำรงตำแหน่ง
 +
ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าห้องสมุดของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานคลังสถาบัน หรือ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 11 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 11 คน
 +
 +
 +
== '''สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล''' ==
 +
จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ปรากฎว่า ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์จำนวนมากที่สุด 6 คน เป็นผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าห้องสมุด และห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด 4 แห่งเท่ากัน เริ่มให้บริการคลังสถาบันเมื่อปี พ.ศ. 2551
 +
และ ปี พ.ศ.2552 สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เริ่มให้บริการเป็นแห่งแรก คือ เริ่มให้บริการคลังสถาบันเมื่อปี พ.ศ.2549 คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 +
 +
 +
ผลการวิจัยจำแนกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ได้ดังนี้
 +
 +
'''''1. การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านวัตถุประสงค์ นโยบายการจัดการคลังสถาบัน งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล'''''
 +
 +
 +
'''1.1 วัตถุประสงค์ของคลังสถาบัน'''
 +
 +
จากการศึกษาวัตถุประสงค์ของคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่งเท่ากัน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย
 +
ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ในส่วนที่ว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีคลังสถาบันเพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ลักษณะที่บ่งบอกถึงการเป็นคลังสถาบันอย่างชัดเจนประการหนึ่งคือ การจัดเก็บผลงานที่สร้างขึ้นโดยประชาคม
 +
มหาวิทยาลัย และเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในคลังสถาบันได้แบบเสรี (Johnson 2002; Prosser 2003: 168) ห้องสมุดจึงนำลักษณะดังกล่าวมาระบุไว้ในวัตถุประสงค์หลักของการจัดการคลังสถาบัน
 +
 +
 +
'''1.2 นโยบายการจัดการคลังสถาบัน'''
 +
 +
''1.2.1 การกำหนดนโยบายเรื่องคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาการกำหนดนโยบายเรื่องคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีการกำหนดนโยบายเรื่องคลังสถาบัน เนื่องจาก การกำหนดนโยบาย จะทำให้เกิดความชัดเจนทั้งในการจัดการ และการพัฒนา เช่น การกำหนดโครงสร้างสำหรับการทำงาน
 +
ของบุคลากร การกำหนดประเภทและรูปแบบทรัพยากรสารสนเทศที่จะจัดเก็บและให้บริการ และการกำหนดเงื่อนไขและขอบเขตของการให้บริการ (Nabe 2010: 48)
 +
 +
''1.2.2 นโยบายในการจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษานโยบายในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง มีการกำหนดนโยบายด้านทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจากในการให้บริการคลังสถาบัน ควรจะมีทรัพยากรสารสนเทศจัดเก็บไว้หลากหลายประเภทตามความเหมาะสม
 +
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงช่วยในการรับประกันคุณภาพของทรัพยากรที่จัดเก็บ และช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือให้แก่มหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้ (Nabe 2010: 51-52) นอกจากนี้ แนวโน้มของคลังสถาบันต่อไปจะเป็นที่สนใจมากขึ้น ความต้องการในการนำทรัพยากร
 +
สารสนเทศเข้ามาจัดเก็บในคลังสถาบันก็จะมีมากขึ้น (Bankier and Smith 2011)
 +
 +
 +
'''1.3 งบประมาณ'''
 +
 +
''1.3.1 การจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ''
 +
จากการศึกษาการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่งเท่ากัน มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านเทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร เนื่องจาก
 +
เทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินงาน โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพในการให้บริการ และมีความจุมากพอที่จะรองรับทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมากที่จะนำมาจัดเก็บ และให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
 +
(Jain, Bentley, and Oladiran [n.d.]) ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์อาจไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ใช้งานส่วนใหญ่ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการปฏิบัติภาระงานเป็นประจำ หรือมีใช้ในภาระงานปกติอยู่แล้ว โดยอาจนำงบประมาณในส่วนนี้ไปใช้
 +
ในการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานแทน เนื่องจากความรู้ความสามารถของบุคลากรในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องอาจยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open sources software) ยังช่วยให้ใช้
 +
งบประมาณในจำนวนที่น้อยลง หรืออาจไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเลย
 +
 +
''1.3.2 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมากที่สุด''
 +
จากการศึกษางบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมากที่สุดสำหรับการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 7 แห่ง มีการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดในด้านเทคโนโลยีที่ใช้ เนื่องจาก ในการจัดการคลังสถาบันที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิดสำหรับ
 +
ระบบจัดการคลังสถาบัน ควรจะต้องจัดหาเทคโนโลยีประเภทฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพให้สามารถรองรับและมีความพร้อมต่อการนำส่งหรือนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ หากมีทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมาก ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
 +
รวมถึงอุปกรณ์สำรองข้อมูลเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย (Nabe 2010: 20)
 +
 +
''1.3.3 แหล่งงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาแหล่งงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด เนื่องจาก มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดการคลังสถาบัน (Nabe 2010: 23;
 +
วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ กุลธิดา ท้วมสุข 2554: 56) งบประมาณที่ใช้จึงเป็นงบประมาณที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสรรให้โดยตรง
 +
 +
''1.3.4 จำนวนงบประมาณที่ได้รับสำหรับการจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาจำนวนงบประมาณที่ได้รับสำหรับการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 9 แห่ง ไม่สามารถระบุจำนวนงบประมาณได้ เนื่องจาก งบประมาณที่ใช้ในการจัดการคลังสถาบันส่วนใหญ่รวมอยู่ในงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับ
 +
สำหรับการดำเนินงานทั้งหมด ทำให้ยากต่อการคำนวณงบประมาณที่จะใช้ (สายพิณ วิไลรัตน์, สัมภาษณ์) นอกจากนี้ บางมหาวิทยาลัยมีการใช้งบประมาณเพียงในระยะเริ่มต้นโครงการเท่านั้น แต่ยังไม่มีการใช้งบประมาณเพิ่มเติม (ธิติ วัชรสินธพชัย, สัมภาษณ์)
 +
 +
 +
'''1.4 บุคลากรที่รับผิดชอบ'''
 +
 +
''1.4.1 จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาจำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด 4 แห่ง มีบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน 6-10 คน
 +
 +
''1.4.2 ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาฝ่าย/งานที่สังกัด และขอบเขตงานที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีฝ่าย/งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจาก การมอบหมายให้ฝ่าย/งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยตนเอง สามารถช่วย
 +
ประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ไปกับการจ้างบุคลากรเพิ่มเติม หรือช่างเทคนิคพิเศษในกรณีที่มีการนำซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์มาใช้ในการจัดการคลังสถาบัน (Nabe, 2010: 20)
 +
 +
''1.4.3 คุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันที่ต้องการ''
 +
จากการศึกษาคุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยต้องการ พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่งเท่ากัน ต้องการบุคลากรที่สามารถติดต่อประสานงานและดำเนินการร่วมกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสถาบัน
 +
และ ต้องการบุคลากรที่สามารถลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลโดยใช้มาตรฐานเมทาเดทา เนื่องจาก คุณสมบัติทั้งสองด้านเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต่อการจัดการคลังสถาบันที่จะทำให้การจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันเป็นไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น (Robinson 2009)
 +
สำหรับคุณสมบัติในการติดต่อประสานงานและดำเนินการร่วมกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสถาบัน จะช่วยให้การจัดการเป็นไปอย่างคล่องตัว ส่วนคุณสมบัติการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลโดยใช้มาตรฐานเมทาเดทา จะช่วยให้การลงรายการเมทาเดทาสำหรับทรัพยากร
 +
สารสนเทศมีความถูกต้อง (Nabe 2010: 25)
 +
 +
''1.4.4 การพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาการพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง พัฒนาบุคลากรโดยการส่งบุคลากรเข้าร่วมการอบรม / สัมมนาที่จัดขึ้นภายนอกมหาวิทยาลัย เนื่องจาก การจัดการอบรม / สัมมนา
 +
ภายในมหาวิทยาลัยยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีการส่งบุคลากรออกไปภายนอก ซึ่งหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยที่จัดการฝึกอบรม / สัมมนา อาจเป็นหน่วยงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีประสบการณ์ในการจัดการคลังสถาบันมากพอสมควรแล้ว (วิยะดา ศิริมาณนท์, สัมภาษณ์)
 +
 +
 +
'''1.5 ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน'''
 +
 +
''1.5.1 ประเภทและรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาประเภทและรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและให้บริการในคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้งหมด 11 แห่ง จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
 +
ในส่วนที่ว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ในคลังสถาบัน เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับจากประชาคมมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด คือ วิทยานิพนธ์ เพราะ นิสิตนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด
 +
ของบัณฑิตวิทยาลัยที่ต้องส่งผลงานทางวิชาการให้แก่บัณฑิตวิทยาลัยก่อน จึงจะสามารถจบการศึกษาได้โดยสมบูรณ์ ส่วนผลงานวิชาการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับ ได้แก่ บทความวิชาการ บทความวิจัย รายงานวิจัย อาจมีจำนวนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิทยานิพนธ์ เนื่องจากเจ้าของผลงานบางท่าน
 +
ไม่ต้องการให้ผลงานของตนถูกนำไปเผยแพร่แบบเสรี รวมไปถึงปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ของผลงาน ที่อาจกลายเป็นของสำนักพิมพ์ เมื่อเกิดกรณีของการนำผลงานดังกล่าวไปตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว เป็นต้น (พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา, สัมภาษณ์) นอกจากนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวยังเป็นไปในทำนองเดียวกันกับ
 +
ผลการวิจัยของ Lynch and Lippincott (2005) ที่พบว่า ประเภทของทรัพยากรที่ถูกจัดเก็บในคลังสถาบันมีความหลากหลาย ทั้งวิทยานิพนธ์ สื่อมัลติมีเดีย ชุดการเรียนการสอน รวมไปถึงรายงานการประชุม / สัมมนา และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ Melero et al (2009)
 +
ที่พบว่า วิทยานิพนธ์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่จัดเก็บมากที่สุด
 +
 +
เมื่อพิจารณารูปแบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด จัดเก็บหนังสือ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ โครงงานนักศึกษา การศึกษาอิสระ บทความวิชาการ บทความวิจัย รายงานการวิจัย ชุดการเรียนการสอน รายงานการประชุม / สัมมนา
 +
การบรรยาย คู่มือแนวปฏิบัติที่ดี วารสารอิเล็กทรอนิกส์ กฤตภาค วีดิทัศน์ จดหมายเหตุสถาบัน ภาพถ่ายทางสถาปัตยกรรม รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เอกสารการประกันคุณภาพโดย สกอ. และเอกสารประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ในรูปข้อมูลทางบรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็ม
 +
 +
''1.5.2 รูปแบบแฟ้มข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษารูปแบบแฟ้มข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในรูปของไฟล์เอกสาร เนื่องจาก ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บส่วนใหญ่เป็นผลงานทางวิชาการ ซึ่งจะมีเนื้อหาที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษานี้
 +
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ กุลธิดา ท้วมสุข (2554: 57-58) ที่พบว่า รูปแบบเอกสารที่ถูกจัดเก็บมากที่สุด คือ เอกสารที่อยู่ในรูปข้อความ เช่นเดียวกับผลการศึกษาของ Sawant (2011: 167-168) ที่พบว่า ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบันส่วนใหญ่
 +
จัดเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ข้อความ
 +
 +
''1.5.3 วิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ''
 +
จากการศึกษาวิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีวิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศโดยการให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเป็นผู้ติดต่อขอรับทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง เนื่องจาก ในบางครั้งการให้เจ้าของผลงานนำผลงานมามอบให้แก่
 +
ห้องสมุดหรือเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองอาจทำให้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศจำนวนน้อย เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องดำเนินการติดต่อขอรับทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเองจากกลุ่มต่าง ๆ เช่น เจ้าของผลงาน คณะ ภาควิชา สถาบัน หรือหน่วยงานอื่นภายในมหาวิทยาลัย และอาจทำข้อตกลง หรือข้อกำหนด
 +
ในการรวบรวมและส่งมอบผลงานให้แก่ห้องสมุดในคราวต่อไป และยังช่วยให้เจ้าของผลงานรู้สึกสะดวกสบาย และต้องการนำผลงานของตนมาจัดเก็บและเผยแพร่ต่อไปอีก (วิยะดา ศิริมาณนท์, สัมภาษณ์)
 +
 +
''1.5.4 การนำส่ง / นำเข้าผลงาน''
 +
จากการศึกษาการนำส่ง / นำเข้าผลงานสู่คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีวิธีการนำส่ง / นำเข้าผลงานโดยเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเป็นผู้นำเข้าผลงานที่ได้รับจากคณะ ภาควิชา สถาบัน หรือหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เนื่องจาก เจ้าของผลงาน
 +
ไม่มีเวลาในการนำส่งผลงานเข้าสู่ระบบด้วยตนเอง (Nabe 2010: 25) นอกจากนี้ ผลงานที่นำมาจัดเก็บ จะเป็นผลงานที่ได้รับช่วงต่อมาจากหน่วยงานซึ่งเป็นตัวกลางในการรวบรวม จัดเก็บ และนำส่งผลงานดังกล่าวให้แก่ห้องสมุด ตามข้อตกลง หรือข้อกำหนดที่ได้ทำร่วมกันไว้ ทำให้หน้าที่ในการ
 +
นำส่ง / นำเข้าผลงานในสถาบันเป็นของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์, สัมภาษณ์)
 +
 +
''1.5.5 มาตรฐานเมทาเดทาที่ใช้ในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล''
 +
จากการศึกษามาตรฐานเมทาเดทาที่ใช้ในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้มาตรฐาน Dublin Core Metadata ในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เนื่องจาก มาตรฐาน Dublin Core Metadata
 +
เป็นมาตรฐานที่เข้าใจง่าย และไม่ซับซ้อนในการลงรายการ (Dublin Core Metadata Initiative 2012) ผลการศึกษานี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Melero et al (2009) ที่ศึกษาสถานภาพคลังสถาบันในสถาบันการศึกษาของประเทศสเปน และพบว่า มีการใช้มาตรฐาน
 +
Dublin Core Metadata ในการลงรายการถึง 66% จากจำนวนห้องสมุดที่ตอบแบบสัมภาษณ์จำนวน 38 แห่ง
 +
 +
''1.5.6 ผู้รับผิดชอบในการจัดทำเมทาเดทาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล''
 +
จากการศึกษาผู้รับผิดชอบในการจัดทำเมทาเดทาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีบรรณารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำเมทาเดทาทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจาก การที่บรรณารักษ์เป็นผู้ลงรายการให้ จะทำให้เจ้าของผลงานรู้สึก
 +
สะดวก และไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทำความเข้าใจมาตรฐานเมทาเดทาที่ใช้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้มีความต้องการที่จะนำผลงานมาจัดเก็บและเผยแพร่ในคลังสถาบันต่อไปอีก อีกทั้งการลงรายการเมทาเดทายังเป็นคุณสมบัติที่บรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศจำเป็นจะต้องมี
 +
(Robinson 2009) และโดยปกติ บรรณารักษ์ห้องสมุดจะเป็นผู้รับผิดชอบการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ อยู่แล้ว
 +
 +
''1.5.7 รูปแบบการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล''
 +
จากการศึกษารูปแบบการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบทั้งข้อมูลทางบรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็ม เนื่องจาก ต้องการตอบสนองความต้องการใช้งานของผู้ใช้ที่มีความแตกต่างกัน
 +
ออกไป ผู้ใช้บางกลุ่มอาจต้องการข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศเพียงบางส่วน ผู้ใช้บางกลุ่มอาจต้องการข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด รวมไปถึงเอกสารหรือเนื้อหาทั้งหมด  (เจษฎา โมกขกุล, สัมภาษณ์) ดังนั้น การเผยแพร่ข้อมูลในทุกรูปแบบ จะสามารถตอบสนองความต้องการ
 +
และช่วยสร้างความพึงพอใจในการใช้งานให้แก่ผู้ใช้ทุกกลุ่มได้
 +
 +
''1.5.8 การควบคุมการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ดูแลระบบ''
 +
จากการศึกษาการควบคุมการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ดูแลระบบคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีการควบคุมการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ดูแลระบบ เนื่องจาก การควบคุมการเข้าถึงของระบบ สามารถป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพยากรสารสนเทศ
 +
ที่จัดเก็บ และระบบคลังสถาบัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการให้บริการ
 +
 +
''1.5.9 การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง และระดับการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ใช้''
 +
จากการศึกษาการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง และระดับการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ใช้คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 6 แห่ง ไม่มีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง เนื่องจาก มีความต้องการให้คลังสถาบันในหน่วยงานของตนเป็นคลังสถาบันแบบเปิดเสรีที่ผู้ใช้
 +
สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี โดยมีอุปสรรคในการเข้าถึงน้อยที่สุด (Johnson 2002) นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษา รวมถึงสมาชิกในสถาบันต่างก็ต้องการจัดเก็บผลงานของตน แล้วเผยแพร่ผลงานออกไปทั้งภายในและภายนอกสถาบันมากขึ้น (McCord 2003) ในขณะที่สถาบันเองก็ต้องการเผยแพร่
 +
ผลงานของสมาชิกให้เป็นที่รู้จักเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงศักยภาพของสถาบันให้เป็นที่แพร่หลาย และช่วยในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สถาบันด้วย (Jain, Bentley, and Oladiran [n.d.])
 +
 +
''1.5.10 การแสดงกรรมสิทธิ์บนทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและเผยแพร่''
 +
จากการศึกษาการแสดงกรรมสิทธิ์บนทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและเผยแพร่บนคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง มีการแสดงกรรมสิทธิ์บนทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจาก ในปัจจุบันข้อมูลต่าง ๆ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง จึงง่ายต่อการลอกเลียนแบบ
 +
และทำข้อมูลซ้ำเพื่อประโยชน์ในทางอื่น ซึ่งถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของผลงาน ดังนั้นจึงมีการทำภาพพิมพ์ลายน้ำดิจิทัล (Digital watermarking) ลงในทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เพื่อใช้ในการแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของในตัวข้อมูลหรือทรัพยากรสารสนเทศ
 +
เหล่านั้น (ธำรงรัตน์ อมรรักษา และ วัชร พิชยนันท์ 2546: 55)
 +
 +
''1.5.11 การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่จัดเก็บและให้บริการ''
 +
จากการศึกษาการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่จัดเก็บและให้บริการบนคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง มีการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจาก การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลนั้น การสงวนรักษามีความสำคัญ
 +
และจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสงวนรักษาจะทำให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นจะสามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปในระยะยาว (Digital Preservation Coalition 2008)
 +
 +
 +
'''1.6 เทคโนโลยีที่ใช้'''
 +
 +
''1.6.1 ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) และ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
 +
เป็นคอมพิวเตอร์ที่บุคลากรใช้ปฏิบัติงานประจำอยู่แล้ว ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย มีความสำคัญต่อการจัดการคลังสถาบันในแง่ของการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสำรองข้อมูล รวมถึงการให้บริการในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย
 +
 +
''1.6.2 ซอฟต์แวร์ระบบจัดการคลังสถาบันที่ใช้''
 +
จากการศึกษาซอฟต์แวร์ระบบจัดการคลังสถาบันที่ใช้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการคลังสถาบัน ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ในส่วนที่ว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมดีสเปซ
 +
ในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจาก โปรแกรมดีสเปซถูกออกแบบมาสำหรับการสร้างคลังข้อมูลดิจิทัล เพื่อจัดเก็บ สงวนรักษา และเผยแพร่ผลงานในระยะยาว (McCord 2003) ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของ Lynch and Lippincott (2005); Melero et al (2009) และ Sawant
 +
(2011: 166) ที่พบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมดีสเปซในการจัดการระบบคลังสถาบัน เนื่องจากมีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (Interface) ที่มีลักษณะใช้งานง่าย และยังสามารถรองรับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ
 +
 +
''1.6.3 แผนในการพัฒนาระบบจัดการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาแผนในการพัฒนาระบบจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 7 แห่ง มีแผนในการพัฒนาระบบจัดการคลังสถาบัน เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไป ระบบจัดการคลังสถาบันรุ่นใหม่จะถูกพัฒนา และเพิ่มเติมคุณลักษณะ หรือฟังก์ชั่น
 +
การทำงานใหม่เพิ่มขึ้น หรืออาจมีซอฟต์แวร์ใหม่ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันมากขึ้น ห้องสมุดจึงอาจต้องการทดลองใช้และเปิดให้บริการควบคู่กันไป เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบัน และระบบที่สร้างขึ้นจากระบบหรือซอฟต์แวร์ใหม่
 +
 +
''1.6.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล''
 +
จากการศึกษาซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการแปลงทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในรูปดิจิทัล โดยโปรแกรมที่ใช้มากที่สุด คือ โปรแกรมอะโดบี้ อะโครแบท (Adobe Acrobat)
 +
เนื่องจาก ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับในบางครั้งอาจได้รับมาในรูปของสิ่งพิมพ์ จึงจำเป็นต้องมีการแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลที่เหมาะสมก่อนการจัดเก็บทุกครั้ง (Robinson 2009)
 +
 +
 +
'''1.7 การให้บริการ'''
 +
 +
''1.7.1 กลุ่มผู้ใช้ที่ห้องสมุดให้บริการคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษากลุ่มผู้ใช้ที่ห้องสมุดให้บริการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย (นิสิต / นักศึกษา / คณาจารย์ / นักวิชาการ ภายในมหาวิทยาลัย) และ บุคคลทั่วไป (บุคคลภายนอก) เนื่องจาก ต้องการสนับสนุนให้เกิด
 +
การเข้าถึงสารสนเทศแบบเสรี (Open access) กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บอยู่ในคลังสถาบันได้ แม้จะไม่ใช่สมาชิกของสถาบันก็ตาม (Prosser 2003: 168) ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการเป็นคลังสถาบัน นอกจากนี้ทางสถาบันเอง
 +
ก็มีความต้องการที่จะเผยแพร่ผลงานของสมาชิกให้เป็นที่รู้จักไปในวงกว้าง และต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือของสถาบันให้มากขึ้นไปพร้อมๆกัน (Jain, Bentley, and Oladiran [n.d.])
 +
 +
''1.7.2 การให้บริการที่นอกเหนือจากการให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย''
 +
จากการศึกษาการให้บริการที่นอกเหนือจากการให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 8 แห่ง ให้บริการให้คำแนะนำการใช้ระบบ เนื่องจาก ในประเทศไทย การให้บริการคลังสถาบันเป็นบริการที่ค่อนข้างใหม่ ผู้ใช้อาจยังไม่คุ้นเคยกับการ
 +
ใช้งานระบบ หรือไม่ทราบว่าจะใช้งานอย่างไร ควรเริ่มจากตรงไหน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาจำนวนผู้ใช้บริการมีจำนวนน้อย ดังนั้น การให้บริการให้คำแนะนำการใช้ระบบ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคลังสถาบันในระดับเบื้องต้นเป็นอย่างน้อยได้ และไม่เกิดความลังเลที่จะเข้ามาใช้คลังสถาบันในครั้งต่อไป
 +
 +
''1.7.3 วิธีการให้บริการ''
 +
จากการศึกษาวิธีการให้บริการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
 +
 +
 +
'''1.8 วิธีการประชาสัมพันธ์'''
 +
 +
จากการศึกษาวิธีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีการประชาสัมพันธ์ และเมื่อพิจารณาวิธีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบันพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมากที่สุด 10 แห่ง ประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรมปฐมนิเทศ
 +
นิสิต / นักศึกษาใหม่ และ ประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด เนื่องจาก หากไม่มีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบันให้เป็นที่รู้จัก อาจส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายใช้งานคลังสถาบันน้อยลง และไม่คุ้มค่าต่อการจัดการ การให้บริการ และการใช้งบประมาณในการลงทุน (Nabe 2010: 24)
 +
นอกจากนี้ วิธีการประชาสัมพันธ์โดยการแจ้งให้ทราบในกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด ต่างก็เป็นวิธีการที่ทางห้องสมุดได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ (จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์, สัมภาษณ์)
 +
 +
 +
'''1.9 การประเมินผล'''
 +
 +
''1.9.1 การประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษาการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 8 แห่ง มีการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน เนื่องจาก เมื่อได้เริ่มให้บริการคลังสถาบัน อาจมีความต้องการทราบผลการจัดการและการดำเนินการว่าเป็นไป
 +
ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ หรือมีปัญหาใดเกิดขึ้นจากการให้บริการคลังสถาบันดังกล่าวบ้าง อีกทั้งผลการประเมินที่ได้รับยังถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจากจะทำให้เห็นว่าการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันนั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนโยบาย
 +
ที่วางไว้หรือไม่
 +
 +
''1.9.2 กลุ่มที่ใช้ในการประเมินผลและวิธีการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน''
 +
จากการศึกษากลุ่มที่ใช้ในการประเมินผลและวิธีการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 8 แห่ง พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่ง มีการประเมินผลจากผู้ใช้บริการ และ มีการประเมินผลจากผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจาก ในการประเมินการจัดการและ
 +
การดำเนินงานคลังสถาบันให้มีความรอบด้านและครอบคลุม จำเป็นจะต้องประเมินผลทั้งจากผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการคลังสถาบัน เช่น ส่วนต่อประสาน (Interface) ของคลังสถาบัน วิธีการให้บริการคลังสถาบัน ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บใน
 +
คลังสถาบัน ข้อเสนอแนะหรือสิ่งที่ต้องการให้มีเพิ่มเติมในการให้บริการคลังสถาบัน เป็นต้น และการประเมินผลผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน การรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น และนำผลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการและให้บริการ
 +
คลังสถาบันต่อไป (เจษฎา โมกขกุล, และ พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา, สัมภาษณ์)
 +
 +
''1.9.3 การนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้''
 +
จากการศึกษาการนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 8 แห่ง พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 4 แห่ง นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงวิธีการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการจัดการและการดำเนินงาน
 +
คลังสถาบัน ดังจะเห็นได้จากปีที่มีการให้บริการคลังสถาบัน ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เริ่มให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2551-2552
 +
 +
 +
'''''2. ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย'''''
 +
 +
จากการศึกษาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยโดยรวม พบว่า ประสบปัญหา 2 ระดับ คือ ระดับปานกลาง และระดับน้อย สำหรับปัญหาที่ประสบในระดับปานกลางมี 5 ปัญหา โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัญหาด้านบุคลากร (3.02)* เนื่องจาก สภาพการจัดการคลังสถาบัน
 +
ในปัจจุบัน ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ทำให้การจัดการและดำเนินงานคลังสถาบันอาจมีปัญหาบ้าง (แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์, สัมภาษณ์)
 +
 +
สำหรับรายละเอียดของปัญหาในการดำเนินงานคลังสถาบันในแต่ละด้านมีดังนี้
 +
 +
'''2.1 ปัญหาด้านนโยบาย'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านนโยบายรวม 4 ปัญหา พบว่า ประสบปัญหา 3 ระดับ คือ ระดับปานกลาง ระดับน้อย และระดับน้อยที่สุด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไม่มีการกำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้ขาดแนวทางในการดำเนินงาน
 +
(3.00) เนื่องจาก นโยบายคลังสถาบันส่วนใหญ่มักปรากฏอยู่ในรูปของภาระงาน ภารกิจ หรือข้อตกลง เป็นต้น (สุดใจ ธนไพศาล, สัมภาษณ์) จึงอาจทำให้บุคลากรขาดแนวทางในการทำงาน หรือไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไร
 +
 +
 +
'''2.2 ปัญหาด้านงบประมาณ'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านงบประมาณรวม 3 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ (2.86) เนื่องจาก งบประมาณที่ได้รับในการจัดการคลังสถาบันเป็นงบประมาณ
 +
ที่รวมอยู่ในส่วนหนึ่งของงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับ ซึ่งอาจเพียงพอต่อการจัดการคลังสถาบันในด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่ครอบคลุมกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคลังสถาบันทั้งหมด และจะทำให้การจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันไม่มีความต่อเนื่อง (จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์, สัมภาษณ์)
 +
 +
 +
'''2.3 ปัญหาด้านบุคลากร'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านบุคลากรรวม 7 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน (3.36) ส่วนปัญหาขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการ
 +
คลังสถาบัน พบว่าเป็นปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในระดับปานกลาง (3.14) ผลการศึกษาจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 ในส่วนที่ว่า ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการคลังสถาบัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ
 +
ก่อนการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย จะมีการกำหนดโครงสร้างการบริหาร การวางตัวบุคลากรที่จะมารับผิดชอบ พร้อมทั้งกำหนดภาระงานของแต่ละฝ่าย/งานมาก่อน ทำให้มีบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว
 +
 +
 +
'''2.4 ปัญหาด้านทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบันรวม 13 ปัญหา พบว่า ประสบปัญหา 2 ระดับ ได้แก่ ระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไม่สามารถติดตามและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ครบถ้วน (3.40)
 +
และจากการศึกษาที่พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับเจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน เป็นปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในระดับปานกลาง (3.11) ผลการศึกษาจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 ที่ว่า ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ
 +
เจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ผลงานที่จัดเก็บในคลังสถาบันส่วนใหญ่คือ วิทยานิพนธ์ และในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยส่วนใหญ่ จะมีการกำหนด หรือระบุให้นิสิต นักศึกษา ที่กำลังจะจบการศึกษา ต้องส่งผลงานทางวิชาการ
 +
ของตนเองซึ่งก็คือวิทยานิพนธ์ ให้แก่บัณฑิตศึกษา และทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับทางบัณฑิตศึกษาจะดำเนินการหารือและทำข้อตกลงในการนำผลงานทางวิชาการดังกล่าวมาเผยแพร่ในคลังสถาบันต่อไป (พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา, สัมภาษณ์)
 +
 +
 +
'''2.5 ปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ใช้'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านเทคโนโลยีที่ใช้รวม 4 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับน้อยทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพต่ำกว่าความต้องการ (2.50) เนื่องจาก ในการใช้ซอฟต์แวร์ระบบ
 +
จัดการคลังสถาบันแบบรหัสเปิด ควรจะต้องมีฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่มีความพร้อมต่อการนำส่งหรือนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ (Nabe 2010; 20) ดังนั้นในการจัดการคลังสถาบัน จึงควรจัดให้มีฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับภาระงานที่เกี่ยวข้อง
 +
รวมถึงปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำมาจัดเก็บซึ่งอาจมีจำนวนมาก เพื่อให้การจัดการและให้บริการคลังสถาบันเป็นไปอย่างราบรื่น หรือเกิดปัญหาน้อยที่สุด
 +
 +
 +
'''2.6 ปัญหาด้านการให้บริการ'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านการให้บริการรวม 3 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับน้อยทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บริการที่เปิดให้แก่ผู้ใช้มีจำนวนน้อย (2.43) เนื่องจาก ห้องสมุดได้จัดให้มีบริการที่หลากหลายไว้เพื่อรองรับความ
 +
ต้องการแก่ผู้ใช้อยู่แล้ว
 +
 +
 +
'''2.7 ปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านการประชาสัมพันธ์รวม 4 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิธีการประชาสัมพันธ์ที่ใช้ไม่เป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้ใช้ (3.20) เนื่องจาก วิธีการที่ใช้มีความล้าสมัย ไม่สะดุดตา
 +
หรือไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ จึงอาจปรับวิธีการประชาสัมพันธ์ให้สามารถดึงดูดใจผู้ใช้ รวมถึงสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้ทุกกลุ่ม โดยในปัจจุบันสามารถเลือกใช้เครือข่ายสังคม (Social network) เป็นสื่อหลักในการประชาสัมพันธ์ได้ เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้คนมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการออนไลน์
 +
ผ่านอินเทอร์เน็ต และเว็บเครือข่ายทางสังคม เช่น Facebook, Twitter มากขึ้น (กานดา รุณนะพงศา; วิทย์ ครุธคำ; และ อนัตต์ เจ่าสกุล, [ม.ป.ป.])
 +
 +
 +
'''2.8 ปัญหาด้านการประเมินผล'''
 +
 +
เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านการประเมินผลรวม 3 ปัญหา พบว่า ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิธีที่ใช้ในการประเมินผลไม่เหมาะกับสิ่งที่ต้องการประเมิน และ เมื่อสิ้นสุดการประเมินผลแล้ว ไม่มีการนำผลที่ได้ไปใช้ต่อ
 +
(2.83 เท่ากัน) จะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบวิธีการประเมินผล รวมถึงการให้ความสำคัญกับการนำผลไปใช้ในการพัฒนา จึงอาจพัฒนาการออกแบบวิธีการประเมินผลให้มีความเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมิน เพื่อให้ได้ผลตรงตามประเด็นที่วางไว้
 +
 +
 +
 +
== '''ข้อเสนอแนะในการวิจัย''' ==
 +
 +
จากผลการวิจัยและข้อเสนอแนะของผู้ให้สัมภาษณ์ในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยเห็นว่าสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขการจัดการคลังสถาบันได้ดังนี้
 +
 +
1. ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญแก่คลังสถาบัน หรือสนับสนุนให้มีคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมากขึ้น เนื่องจากคลังสถาบันมีประโยชน์ต่อบุคลากรในประชาคมแทบจะทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นต่อเจ้าของผลงาน ต่อห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่กับมหาวิทยาลัยเอง
 +
 +
2. ห้องสมุดควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบัน โดยการใช้สื่อสังคม เช่น Facebook, Twitter หรือ Blog ของห้องสมุด เนื่องจากปัจจุบันสื่อสังคมทั้งหลายมีอิทธิพล น่าดึงดูดใจ และสามารถส่งผ่านข้อมูล ข่าวสาร หรือข่าวประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น
 +
และยังช่วยในการประหยัดงบประมาณในส่วนนี้ด้วย
 +
 +
3. ห้องสมุดควรให้ความสำคัญต่อการประเมินผลคลังสถาบันในทุกด้าน และควรประเมินผลจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เนื่องจากผลที่ได้จากการประเมินจะสามารถนำไปใช้ในการจัดการ และการพัฒนาแก้ไข เพื่อการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรพัฒนาการออกแบบเครื่องมือหรือวิธีที่จะใช้ประเมินผล
 +
ให้มีความเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมิน เพื่อให้ผลของประเด็นที่ต้องการประเมินมีความถูกต้องและชัดเจน
 +
 +
 +
 +
== '''รายการอ้างอิงภาษาไทย''' ==
 +
 +
กานดา รุณนะพงศา; วิทย์ ครุธคำ; และ อนัตต์ เจ่าสกุล. "การใช้เว็บเครือข่ายสังคมเพื่อเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://tar.thailis.or.th/bitstream/123456789/25/1/CIT2010_04.pdf [ม.ป.ป.]
 +
สืบค้น 10 มกราคม 2556.
 +
 +
จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์. บรรณารักษ์งานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สัมภาษณ์, 2 พฤศจิกายน 2555.
 +
 +
เจษฎา โมกขกุล. ผู้อำนวยการ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สัมภาษณ์, 11 ธันวาคม 2555.
 +
 +
แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์. ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สัมภาษณ์, 4 ธันวาคม 2555.
 +
 +
ธำรงรัตน์ อมรรักษา และ วัชร พิชยนันท์. "ภาพพิมพ์ลายน้ำดิจิตอล: วิธีการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิทางปัญญาสำหรับรูปภาพ." วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 13, 2 (เมษายน - มิถุนายน 2546): 54-63.
 +
 +
ธิติ วัชรสินธพชัย. หัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยชินวัตร. สัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2555.
 +
 +
พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา. ผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2555.
 +
 +
วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ กุลธิดา ท้วมสุข. "การวิเคราะห์เปรียบเทียบคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยไทยและต่างประเทศ." วารสารสารสนเทศศาสตร์. 29, 3(กันยายน - ธันวาคม 2554): 53-63.
 +
 +
วิยะดา ศิริมาณนท์. หัวหน้างานจัดการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สัมภาษณ์, 22 พฤศจิกายน 2555.
 +
 +
สายพิณ วิไลรัตน์. ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. สัมภาษณ์, 12 ธันวาคม 2555.
 +
 +
สุดใจ ธนไพศาล. ผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สัมภาษณ์, 12 พฤศจิกายน 2555.
 +
 +
 +
 +
== '''รายการอ้างอิงภาษาอังกฤษ''' ==
 +
 +
Bankier, Jean-Gabriel and Smith, Courtney. "Repository collection policies: Is a liberal and inclusive policy helpful or harmful." [Online]. Available: http://works.bepress.com/courtney_a_smith/7 2011
 +
Retrieved February 14, 2013.
 +
 +
Crow, Raym. “The case for institutional repositories: SPARC position paper.” [Online]. Available: http://scholarship.utm.edu/20/1/SPARC_102.pdf 2002. Retrieved July 6, 2011.
 +
 +
Digital Preservation Coalition. "Preservation management of digital materials: The handbook." [Online]. Available: http://www.dpconline.org/component/docman/doc_download/299-digital-preservation-handbook 2008
 +
Retrieved May 14, 2012.
 +
 +
Dublin Core Metadata Initiative. "Dublin Core Metadata element set, version 1.1." [Online]. Available: http://dublincore.org/documents/dces 2012 Retrieved August 15, 2012.
 +
 +
Jain, P.; Bentley, G.; and Oladiran, MT. "The role of institutional repository in digital scholarly communications." [Online]. Available: http://www.ais.up.ac.za/digi/docs/jain_paper.pdf [n.d.]
 +
Retrieved November 23, 2012.
 +
 +
Johnson, Richard K. "Institutional repositories: Partnering with faculty to enhance scholarly communication." [Online]. D-Lib Magazine. 11, 8(2002) Available:
 +
http://dlib.org/dlib/november02/johnson/11johnson.html 2002 Retrieved June 12, 2012.
 +
 +
Jones, Richard; Andrew, Theo; and MacColl, John. The institutional repository. Oxford: Chandos, 2006.
 +
 +
Lynch, Clifford. “Institutional repositories: Essential infrastructure for scholarship in the digital age.” Library & the Academy. 3, 2(2003): 327-336.
 +
 +
Lynch, Clifford and Lippincott, Joan K. "Institutional reposiroty deployment in the United States as of early 2005." [Online]. D-Lib Magazine. 11, 9(2005) Available:
 +
http://www.dlib.org/dlib/september05/lynch/09lynch.html 2005 Retrieved November 30, 2012.
 +
 +
McCord, Alan. "Institutional repositories: Enhancing teaching, learning, and research." [Online]. Available: http://www.educause.edu/ir/library/pdf/DEC0303.pdf 2003 Retrieved December 5, 2012.
 +
 +
Melero, Remedios et al. "The situation of open access institutional repositories in Spain: 2009 report." [Online]. Information Research. 14, 4 Available: http://informationr.net/ir/14-4/paper415.html 2009
 +
Retrieved January 12, 2013.
 +
 +
Nabe, Jonathan A. Starting, strengthening, and managing institutional repositories: a how-to-do-it manual. New York: Neal-Schuman Publishers, 2010.
 +
 +
Prosser, David. “Institutional repositories and open access: The future of scholarly communication.” Information Services & Use. 23, 2-3(2003): 167-170.
 +
 +
Robinson, Mary. "Institutional repositories: Staff and skill set." [Online]. Available: http://www.sherpa.ac.uk/documents/Staff_and_Skills_Set_2009.pdf 2009 Retrieved June 6, 2012.
 +
 +
Sawant, Sarika. "IR system and features: Study of Indian scenario." Library Hi-Tech. 29, 1(2011): 161-172.
 +
 +
Yeates, Robin. “Institutional repositories.” VINE: The journal of information and knowledge management systems. 33, 2(2003): 96-100.

รุ่นปัจจุบันของ 05:17, 15 พฤษภาคม 2557

*บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555*


เนื้อหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล ตลอดจนปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการจัดสรร งบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านเทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด นอกจากนั้น คลังสถาบันทุกแห่งมีฝ่าย /งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการคลังสถาบัน ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย และ บุคคลทั่วไป คลังสถาบันทุกแห่งมีการประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรม ปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และ การจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด คลังสถาบันส่วนใหญ่ประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันโดยประเมินผลจากทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน สำหรับปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบปัญหาในระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร


บทนำ

คลังสถาบัน (Institutional repository) คือ คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันซึ่งเป็นบริการที่มหาวิทยาลัยมอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบ คลังสถาบันทำหน้าที่ให้บริการกับสมาชิกในการจัดการและเผยแพร่ผลงานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิต ของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ (Lynch 2003: 328) โดยเปิดให้สมาชิกสามารถนำส่งผลงานได้ด้วยตนเอง (Self-archive) บนพื้นที่ที่จัดไว้ (Crow 2002) จะเห็นได้ว่าคลังสถาบันเป็นแนวคิดใหม่ในการรวบรวม จัดการ เผยแพร่ และสงวนรักษาผลงานทางวิชาการที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกในประชาคม คลังสถาบันแต่ละแห่งจะนำเสนอบริการที่ประกอบด้วย การเสนอเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล การจัดการ การเข้าถึง การเผยแพร่ และการสงวนรักษาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามแต่การวางนโยบายการดำเนินงาน ของห้องสมุดแต่ละแห่ง สำหรับผลงานที่มีการจัดเก็บและเผยแพร่ในคลังสถาบันนั้น นอกจากจะเป็นผลงานที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ (Post-prints) แล้ว ยังหมายรวมถึงผลงานที่กำลังดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ (Pre-prints) และผลงานที่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือตีพิมพ์เผยแพร่ ในวงจำกัด (Grey literature) อีกด้วย ซึ่งผลงานเหล่านั้นยากที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบได้


การดำเนินงานคลังสถาบันเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1990 สำหรับคลังสถาบันแรกที่เป็นที่รู้จักจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999 ในลักษณะของคลังข้อมูลสาขาวิชา (Subject-based repository) โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันที่ชื่อ Paul Ginsparg จาก Los Alamos National Laboratory รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา คลังสถาบันดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ arXiv และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ Cornell University คลังข้อมูลสาขาวิชานี้เป็นความพยายามในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อการขยายช่องทางการเข้าถึง ผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น จากความสำเร็จของการสร้าง arXiv จึงได้มีการสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ EPrint เป็นพื้นฐานในการสร้าง และในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างคลังสถาบันเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น โปรแกรม DSpace ที่พัฒนาขึ้นโดย Massachusetts Institute of Technology ร่วมกับกลุ่มวิจัยของบริษัท Hewlett Packard โปรแกรม Fedora ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักวิจัยจาก Cornell University และ Virginia University เป็นต้น (Jones, Andrew, and MacColl 2006: 6-8)


ลักษณะของคลังสถาบันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1) จัดเก็บผลงานที่สร้างขึ้นโดยสมาชิกภายในสถาบัน 2) จัดเก็บผลงานไว้โดยไม่มีการลบทิ้งหรือถอดถอน และจะมีการดำเนินการเพื่อทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จัดเก็บไว้ได้ตลอดเวลา 3) รวบรวมผลงานทางวิชาการไว้ หลากหลายประเภท และหลากหลายรูปแบบ 4) สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงสารสนเทศแบบเสรี (Prosser 2003: 168)

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายแห่งได้มีการจัดตั้งและพัฒนาคลังสถาบันขึ้น เนื่องจากได้มองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดตั้งและดำเนินงานคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1) ด้านการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในรูปดิจิทัลได้อย่างสะดวก สามารถจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในหลายรูปแบบ รวมทั้งการทำเมทาเดทาให้แก่ทรัพยากรสารสนเทศที่เอื้อต่อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นระบบ

2) ด้านการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันช่วยในการจัดการการสงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาหรือผลงานทางวิชาการที่เป็นของประชาคมมหาวิทยาลัยในรูปดิจิทัล เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศคงอยู่ได้ในระยะยาว (Prosser 2003: 169)

3) ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ คลังสถาบันเป็นวิธีการที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้เพื่อรองรับการสื่อสารและการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้จำนวนมากที่ได้สะสมไว้ และเปิดให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเสรี

นอกจากนี้ คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนมหาวิทยาลัยในด้านการเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ การเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่สถาบัน และการจัดการความรู้ (Yeates 2003: 97-98)


จากความสำคัญและประโยชน์ของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทำให้เกิดการตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการมีคลังสถาบันภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของประเทศไทย จากการสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศไทยของผู้วิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดตั้งและจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยแต่ละสถาบันมีชื่อเรียกคลังสถาบันที่แตกต่างกันออกไป แต่จำนวนของคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้นยังมีไม่มาก ในการจัดการคลังสถาบัน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อีกทั้งอาจต้องเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย และสำหรับห้องสมุด มหาวิทยาลัยอื่นที่สนใจในการพัฒนาคลังสถาบัน


วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อศึกษา

1. การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้าน วัตถุประสงค์ นโยบาย งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล

2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบัน


สมมติฐานการวิจัย

1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีคลังสถาบันเพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ และใช้โปรแกรมดีสเปซ

2. ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการคลังสถาบัน และ เจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน


ขอบเขตและประชากรที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการคลังสถาบัน จากการสำรวจโดยการตรวจสอบจากเว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่ง และการใช้เครื่องมือช่วยค้น (Search engine) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 และทำการสำรวจอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 2555 พบว่ามีห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการและดำเนินงานคลังสถาบันจำนวนทั้งสิ้น 11 แห่ง จำแนกเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 9 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 2 แห่ง ประชากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าห้องสมุดของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานคลังสถาบัน หรือ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 11 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 11 คน


สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล

จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ปรากฎว่า ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์จำนวนมากที่สุด 6 คน เป็นผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าห้องสมุด และห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด 4 แห่งเท่ากัน เริ่มให้บริการคลังสถาบันเมื่อปี พ.ศ. 2551 และ ปี พ.ศ.2552 สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เริ่มให้บริการเป็นแห่งแรก คือ เริ่มให้บริการคลังสถาบันเมื่อปี พ.ศ.2549 คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผลการวิจัยจำแนกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ได้ดังนี้

1. การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านวัตถุประสงค์ นโยบายการจัดการคลังสถาบัน งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน เทคโนโลยีที่ใช้ การให้บริการ วิธีการประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล


1.1 วัตถุประสงค์ของคลังสถาบัน

จากการศึกษาวัตถุประสงค์ของคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่งเท่ากัน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย และ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ในส่วนที่ว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีคลังสถาบันเพื่อจัดเก็บและให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ลักษณะที่บ่งบอกถึงการเป็นคลังสถาบันอย่างชัดเจนประการหนึ่งคือ การจัดเก็บผลงานที่สร้างขึ้นโดยประชาคม มหาวิทยาลัย และเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในคลังสถาบันได้แบบเสรี (Johnson 2002; Prosser 2003: 168) ห้องสมุดจึงนำลักษณะดังกล่าวมาระบุไว้ในวัตถุประสงค์หลักของการจัดการคลังสถาบัน


1.2 นโยบายการจัดการคลังสถาบัน

1.2.1 การกำหนดนโยบายเรื่องคลังสถาบัน จากการศึกษาการกำหนดนโยบายเรื่องคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีการกำหนดนโยบายเรื่องคลังสถาบัน เนื่องจาก การกำหนดนโยบาย จะทำให้เกิดความชัดเจนทั้งในการจัดการ และการพัฒนา เช่น การกำหนดโครงสร้างสำหรับการทำงาน ของบุคลากร การกำหนดประเภทและรูปแบบทรัพยากรสารสนเทศที่จะจัดเก็บและให้บริการ และการกำหนดเงื่อนไขและขอบเขตของการให้บริการ (Nabe 2010: 48)

1.2.2 นโยบายในการจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษานโยบายในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง มีการกำหนดนโยบายด้านทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจากในการให้บริการคลังสถาบัน ควรจะมีทรัพยากรสารสนเทศจัดเก็บไว้หลากหลายประเภทตามความเหมาะสม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงช่วยในการรับประกันคุณภาพของทรัพยากรที่จัดเก็บ และช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือให้แก่มหาวิทยาลัยต้นสังกัดได้ (Nabe 2010: 51-52) นอกจากนี้ แนวโน้มของคลังสถาบันต่อไปจะเป็นที่สนใจมากขึ้น ความต้องการในการนำทรัพยากร สารสนเทศเข้ามาจัดเก็บในคลังสถาบันก็จะมีมากขึ้น (Bankier and Smith 2011)


1.3 งบประมาณ

1.3.1 การจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ จากการศึกษาการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านต่าง ๆ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่งเท่ากัน มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบันในด้านเทคโนโลยี และ ด้านการพัฒนาบุคลากร เนื่องจาก เทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินงาน โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพในการให้บริการ และมีความจุมากพอที่จะรองรับทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมากที่จะนำมาจัดเก็บ และให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต (Jain, Bentley, and Oladiran [n.d.]) ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์อาจไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ใช้งานส่วนใหญ่ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการปฏิบัติภาระงานเป็นประจำ หรือมีใช้ในภาระงานปกติอยู่แล้ว โดยอาจนำงบประมาณในส่วนนี้ไปใช้ ในการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานแทน เนื่องจากความรู้ความสามารถของบุคลากรในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องอาจยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open sources software) ยังช่วยให้ใช้ งบประมาณในจำนวนที่น้อยลง หรืออาจไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเลย

1.3.2 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมากที่สุด จากการศึกษางบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมากที่สุดสำหรับการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 7 แห่ง มีการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดในด้านเทคโนโลยีที่ใช้ เนื่องจาก ในการจัดการคลังสถาบันที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์รหัสเปิดสำหรับ ระบบจัดการคลังสถาบัน ควรจะต้องจัดหาเทคโนโลยีประเภทฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพให้สามารถรองรับและมีความพร้อมต่อการนำส่งหรือนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ หากมีทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมาก ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย รวมถึงอุปกรณ์สำรองข้อมูลเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย (Nabe 2010: 20)

1.3.3 แหล่งงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษาแหล่งงบประมาณสำหรับการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด เนื่องจาก มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดการคลังสถาบัน (Nabe 2010: 23; วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ กุลธิดา ท้วมสุข 2554: 56) งบประมาณที่ใช้จึงเป็นงบประมาณที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสรรให้โดยตรง

1.3.4 จำนวนงบประมาณที่ได้รับสำหรับการจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษาจำนวนงบประมาณที่ได้รับสำหรับการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 9 แห่ง ไม่สามารถระบุจำนวนงบประมาณได้ เนื่องจาก งบประมาณที่ใช้ในการจัดการคลังสถาบันส่วนใหญ่รวมอยู่ในงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับ สำหรับการดำเนินงานทั้งหมด ทำให้ยากต่อการคำนวณงบประมาณที่จะใช้ (สายพิณ วิไลรัตน์, สัมภาษณ์) นอกจากนี้ บางมหาวิทยาลัยมีการใช้งบประมาณเพียงในระยะเริ่มต้นโครงการเท่านั้น แต่ยังไม่มีการใช้งบประมาณเพิ่มเติม (ธิติ วัชรสินธพชัย, สัมภาษณ์)


1.4 บุคลากรที่รับผิดชอบ

1.4.1 จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษาจำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด 4 แห่ง มีบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน 6-10 คน

1.4.2 ฝ่าย/งานที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษาฝ่าย/งานที่สังกัด และขอบเขตงานที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีฝ่าย/งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจาก การมอบหมายให้ฝ่าย/งานภายในเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยตนเอง สามารถช่วย ประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ไปกับการจ้างบุคลากรเพิ่มเติม หรือช่างเทคนิคพิเศษในกรณีที่มีการนำซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์มาใช้ในการจัดการคลังสถาบัน (Nabe, 2010: 20)

1.4.3 คุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันที่ต้องการ จากการศึกษาคุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยต้องการ พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่งเท่ากัน ต้องการบุคลากรที่สามารถติดต่อประสานงานและดำเนินการร่วมกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสถาบัน และ ต้องการบุคลากรที่สามารถลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลโดยใช้มาตรฐานเมทาเดทา เนื่องจาก คุณสมบัติทั้งสองด้านเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต่อการจัดการคลังสถาบันที่จะทำให้การจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันเป็นไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น (Robinson 2009) สำหรับคุณสมบัติในการติดต่อประสานงานและดำเนินการร่วมกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสถาบัน จะช่วยให้การจัดการเป็นไปอย่างคล่องตัว ส่วนคุณสมบัติการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลโดยใช้มาตรฐานเมทาเดทา จะช่วยให้การลงรายการเมทาเดทาสำหรับทรัพยากร สารสนเทศมีความถูกต้อง (Nabe 2010: 25)

1.4.4 การพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษาการพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง พัฒนาบุคลากรโดยการส่งบุคลากรเข้าร่วมการอบรม / สัมมนาที่จัดขึ้นภายนอกมหาวิทยาลัย เนื่องจาก การจัดการอบรม / สัมมนา ภายในมหาวิทยาลัยยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีการส่งบุคลากรออกไปภายนอก ซึ่งหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยที่จัดการฝึกอบรม / สัมมนา อาจเป็นหน่วยงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีประสบการณ์ในการจัดการคลังสถาบันมากพอสมควรแล้ว (วิยะดา ศิริมาณนท์, สัมภาษณ์)


1.5 ทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน

1.5.1 ประเภทและรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบัน จากการศึกษาประเภทและรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและให้บริการในคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้งหมด 11 แห่ง จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย และรายงานการวิจัย ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ในส่วนที่ว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวิทยานิพนธ์ในคลังสถาบัน เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับจากประชาคมมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด คือ วิทยานิพนธ์ เพราะ นิสิตนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ของบัณฑิตวิทยาลัยที่ต้องส่งผลงานทางวิชาการให้แก่บัณฑิตวิทยาลัยก่อน จึงจะสามารถจบการศึกษาได้โดยสมบูรณ์ ส่วนผลงานวิชาการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับ ได้แก่ บทความวิชาการ บทความวิจัย รายงานวิจัย อาจมีจำนวนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิทยานิพนธ์ เนื่องจากเจ้าของผลงานบางท่าน ไม่ต้องการให้ผลงานของตนถูกนำไปเผยแพร่แบบเสรี รวมไปถึงปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ของผลงาน ที่อาจกลายเป็นของสำนักพิมพ์ เมื่อเกิดกรณีของการนำผลงานดังกล่าวไปตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว เป็นต้น (พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา, สัมภาษณ์) นอกจากนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวยังเป็นไปในทำนองเดียวกันกับ ผลการวิจัยของ Lynch and Lippincott (2005) ที่พบว่า ประเภทของทรัพยากรที่ถูกจัดเก็บในคลังสถาบันมีความหลากหลาย ทั้งวิทยานิพนธ์ สื่อมัลติมีเดีย ชุดการเรียนการสอน รวมไปถึงรายงานการประชุม / สัมมนา และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ Melero et al (2009) ที่พบว่า วิทยานิพนธ์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่จัดเก็บมากที่สุด

เมื่อพิจารณารูปแบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด จัดเก็บหนังสือ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ โครงงานนักศึกษา การศึกษาอิสระ บทความวิชาการ บทความวิจัย รายงานการวิจัย ชุดการเรียนการสอน รายงานการประชุม / สัมมนา การบรรยาย คู่มือแนวปฏิบัติที่ดี วารสารอิเล็กทรอนิกส์ กฤตภาค วีดิทัศน์ จดหมายเหตุสถาบัน ภาพถ่ายทางสถาปัตยกรรม รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เอกสารการประกันคุณภาพโดย สกอ. และเอกสารประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ในรูปข้อมูลทางบรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็ม

1.5.2 รูปแบบแฟ้มข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบัน จากการศึกษารูปแบบแฟ้มข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในรูปของไฟล์เอกสาร เนื่องจาก ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บส่วนใหญ่เป็นผลงานทางวิชาการ ซึ่งจะมีเนื้อหาที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษานี้ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ กุลธิดา ท้วมสุข (2554: 57-58) ที่พบว่า รูปแบบเอกสารที่ถูกจัดเก็บมากที่สุด คือ เอกสารที่อยู่ในรูปข้อความ เช่นเดียวกับผลการศึกษาของ Sawant (2011: 167-168) ที่พบว่า ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บในคลังสถาบันส่วนใหญ่ จัดเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ข้อความ

1.5.3 วิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จากการศึกษาวิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีวิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศโดยการให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเป็นผู้ติดต่อขอรับทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง เนื่องจาก ในบางครั้งการให้เจ้าของผลงานนำผลงานมามอบให้แก่ ห้องสมุดหรือเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองอาจทำให้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศจำนวนน้อย เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องดำเนินการติดต่อขอรับทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเองจากกลุ่มต่าง ๆ เช่น เจ้าของผลงาน คณะ ภาควิชา สถาบัน หรือหน่วยงานอื่นภายในมหาวิทยาลัย และอาจทำข้อตกลง หรือข้อกำหนด ในการรวบรวมและส่งมอบผลงานให้แก่ห้องสมุดในคราวต่อไป และยังช่วยให้เจ้าของผลงานรู้สึกสะดวกสบาย และต้องการนำผลงานของตนมาจัดเก็บและเผยแพร่ต่อไปอีก (วิยะดา ศิริมาณนท์, สัมภาษณ์)

1.5.4 การนำส่ง / นำเข้าผลงาน จากการศึกษาการนำส่ง / นำเข้าผลงานสู่คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีวิธีการนำส่ง / นำเข้าผลงานโดยเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเป็นผู้นำเข้าผลงานที่ได้รับจากคณะ ภาควิชา สถาบัน หรือหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เนื่องจาก เจ้าของผลงาน ไม่มีเวลาในการนำส่งผลงานเข้าสู่ระบบด้วยตนเอง (Nabe 2010: 25) นอกจากนี้ ผลงานที่นำมาจัดเก็บ จะเป็นผลงานที่ได้รับช่วงต่อมาจากหน่วยงานซึ่งเป็นตัวกลางในการรวบรวม จัดเก็บ และนำส่งผลงานดังกล่าวให้แก่ห้องสมุด ตามข้อตกลง หรือข้อกำหนดที่ได้ทำร่วมกันไว้ ทำให้หน้าที่ในการ นำส่ง / นำเข้าผลงานในสถาบันเป็นของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์, สัมภาษณ์)

1.5.5 มาตรฐานเมทาเดทาที่ใช้ในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล จากการศึกษามาตรฐานเมทาเดทาที่ใช้ในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้มาตรฐาน Dublin Core Metadata ในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เนื่องจาก มาตรฐาน Dublin Core Metadata เป็นมาตรฐานที่เข้าใจง่าย และไม่ซับซ้อนในการลงรายการ (Dublin Core Metadata Initiative 2012) ผลการศึกษานี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Melero et al (2009) ที่ศึกษาสถานภาพคลังสถาบันในสถาบันการศึกษาของประเทศสเปน และพบว่า มีการใช้มาตรฐาน Dublin Core Metadata ในการลงรายการถึง 66% จากจำนวนห้องสมุดที่ตอบแบบสัมภาษณ์จำนวน 38 แห่ง

1.5.6 ผู้รับผิดชอบในการจัดทำเมทาเดทาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล จากการศึกษาผู้รับผิดชอบในการจัดทำเมทาเดทาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีบรรณารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำเมทาเดทาทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจาก การที่บรรณารักษ์เป็นผู้ลงรายการให้ จะทำให้เจ้าของผลงานรู้สึก สะดวก และไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทำความเข้าใจมาตรฐานเมทาเดทาที่ใช้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้มีความต้องการที่จะนำผลงานมาจัดเก็บและเผยแพร่ในคลังสถาบันต่อไปอีก อีกทั้งการลงรายการเมทาเดทายังเป็นคุณสมบัติที่บรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศจำเป็นจะต้องมี (Robinson 2009) และโดยปกติ บรรณารักษ์ห้องสมุดจะเป็นผู้รับผิดชอบการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ อยู่แล้ว

1.5.7 รูปแบบการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล จากการศึกษารูปแบบการเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบทั้งข้อมูลทางบรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็ม เนื่องจาก ต้องการตอบสนองความต้องการใช้งานของผู้ใช้ที่มีความแตกต่างกัน ออกไป ผู้ใช้บางกลุ่มอาจต้องการข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศเพียงบางส่วน ผู้ใช้บางกลุ่มอาจต้องการข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด รวมไปถึงเอกสารหรือเนื้อหาทั้งหมด (เจษฎา โมกขกุล, สัมภาษณ์) ดังนั้น การเผยแพร่ข้อมูลในทุกรูปแบบ จะสามารถตอบสนองความต้องการ และช่วยสร้างความพึงพอใจในการใช้งานให้แก่ผู้ใช้ทุกกลุ่มได้

1.5.8 การควบคุมการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ดูแลระบบ จากการศึกษาการควบคุมการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ดูแลระบบคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีการควบคุมการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ดูแลระบบ เนื่องจาก การควบคุมการเข้าถึงของระบบ สามารถป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพยากรสารสนเทศ ที่จัดเก็บ และระบบคลังสถาบัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการให้บริการ

1.5.9 การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง และระดับการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ใช้ จากการศึกษาการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง และระดับการเข้าถึงคลังสถาบันของผู้ใช้คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 6 แห่ง ไม่มีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง เนื่องจาก มีความต้องการให้คลังสถาบันในหน่วยงานของตนเป็นคลังสถาบันแบบเปิดเสรีที่ผู้ใช้ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี โดยมีอุปสรรคในการเข้าถึงน้อยที่สุด (Johnson 2002) นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษา รวมถึงสมาชิกในสถาบันต่างก็ต้องการจัดเก็บผลงานของตน แล้วเผยแพร่ผลงานออกไปทั้งภายในและภายนอกสถาบันมากขึ้น (McCord 2003) ในขณะที่สถาบันเองก็ต้องการเผยแพร่ ผลงานของสมาชิกให้เป็นที่รู้จักเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงศักยภาพของสถาบันให้เป็นที่แพร่หลาย และช่วยในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สถาบันด้วย (Jain, Bentley, and Oladiran [n.d.])

1.5.10 การแสดงกรรมสิทธิ์บนทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและเผยแพร่ จากการศึกษาการแสดงกรรมสิทธิ์บนทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและเผยแพร่บนคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง มีการแสดงกรรมสิทธิ์บนทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจาก ในปัจจุบันข้อมูลต่าง ๆ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง จึงง่ายต่อการลอกเลียนแบบ และทำข้อมูลซ้ำเพื่อประโยชน์ในทางอื่น ซึ่งถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของผลงาน ดังนั้นจึงมีการทำภาพพิมพ์ลายน้ำดิจิทัล (Digital watermarking) ลงในทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล เพื่อใช้ในการแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของในตัวข้อมูลหรือทรัพยากรสารสนเทศ เหล่านั้น (ธำรงรัตน์ อมรรักษา และ วัชร พิชยนันท์ 2546: 55)

1.5.11 การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่จัดเก็บและให้บริการ จากการศึกษาการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่จัดเก็บและให้บริการบนคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง มีการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ เนื่องจาก การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลนั้น การสงวนรักษามีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสงวนรักษาจะทำให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นจะสามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปในระยะยาว (Digital Preservation Coalition 2008)


1.6 เทคโนโลยีที่ใช้

1.6.1 ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษาฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) และ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นคอมพิวเตอร์ที่บุคลากรใช้ปฏิบัติงานประจำอยู่แล้ว ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย มีความสำคัญต่อการจัดการคลังสถาบันในแง่ของการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสำรองข้อมูล รวมถึงการให้บริการในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย

1.6.2 ซอฟต์แวร์ระบบจัดการคลังสถาบันที่ใช้ จากการศึกษาซอฟต์แวร์ระบบจัดการคลังสถาบันที่ใช้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้โปรแกรมดีสเปซ (DSpace) ในการจัดการคลังสถาบัน ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ในส่วนที่ว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมดีสเปซ ในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจาก โปรแกรมดีสเปซถูกออกแบบมาสำหรับการสร้างคลังข้อมูลดิจิทัล เพื่อจัดเก็บ สงวนรักษา และเผยแพร่ผลงานในระยะยาว (McCord 2003) ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของ Lynch and Lippincott (2005); Melero et al (2009) และ Sawant (2011: 166) ที่พบว่า คลังสถาบันส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมดีสเปซในการจัดการระบบคลังสถาบัน เนื่องจากมีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (Interface) ที่มีลักษณะใช้งานง่าย และยังสามารถรองรับทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ

1.6.3 แผนในการพัฒนาระบบจัดการคลังสถาบัน จากการศึกษาแผนในการพัฒนาระบบจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 7 แห่ง มีแผนในการพัฒนาระบบจัดการคลังสถาบัน เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไป ระบบจัดการคลังสถาบันรุ่นใหม่จะถูกพัฒนา และเพิ่มเติมคุณลักษณะ หรือฟังก์ชั่น การทำงานใหม่เพิ่มขึ้น หรืออาจมีซอฟต์แวร์ใหม่ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันมากขึ้น ห้องสมุดจึงอาจต้องการทดลองใช้และเปิดให้บริการควบคู่กันไป เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบัน และระบบที่สร้างขึ้นจากระบบหรือซอฟต์แวร์ใหม่

1.6.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล จากการศึกษาซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการแปลงทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในรูปดิจิทัล โดยโปรแกรมที่ใช้มากที่สุด คือ โปรแกรมอะโดบี้ อะโครแบท (Adobe Acrobat) เนื่องจาก ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับในบางครั้งอาจได้รับมาในรูปของสิ่งพิมพ์ จึงจำเป็นต้องมีการแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลที่เหมาะสมก่อนการจัดเก็บทุกครั้ง (Robinson 2009)


1.7 การให้บริการ

1.7.1 กลุ่มผู้ใช้ที่ห้องสมุดให้บริการคลังสถาบัน จากการศึกษากลุ่มผู้ใช้ที่ห้องสมุดให้บริการคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง ให้บริการผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม คือ ประชาคมมหาวิทยาลัย (นิสิต / นักศึกษา / คณาจารย์ / นักวิชาการ ภายในมหาวิทยาลัย) และ บุคคลทั่วไป (บุคคลภายนอก) เนื่องจาก ต้องการสนับสนุนให้เกิด การเข้าถึงสารสนเทศแบบเสรี (Open access) กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บอยู่ในคลังสถาบันได้ แม้จะไม่ใช่สมาชิกของสถาบันก็ตาม (Prosser 2003: 168) ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการเป็นคลังสถาบัน นอกจากนี้ทางสถาบันเอง ก็มีความต้องการที่จะเผยแพร่ผลงานของสมาชิกให้เป็นที่รู้จักไปในวงกว้าง และต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือของสถาบันให้มากขึ้นไปพร้อมๆกัน (Jain, Bentley, and Oladiran [n.d.])

1.7.2 การให้บริการที่นอกเหนือจากการให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย จากการศึกษาการให้บริการที่นอกเหนือจากการให้บริการผลงานทางวิชาการของประชาคมมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 8 แห่ง ให้บริการให้คำแนะนำการใช้ระบบ เนื่องจาก ในประเทศไทย การให้บริการคลังสถาบันเป็นบริการที่ค่อนข้างใหม่ ผู้ใช้อาจยังไม่คุ้นเคยกับการ ใช้งานระบบ หรือไม่ทราบว่าจะใช้งานอย่างไร ควรเริ่มจากตรงไหน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาจำนวนผู้ใช้บริการมีจำนวนน้อย ดังนั้น การให้บริการให้คำแนะนำการใช้ระบบ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคลังสถาบันในระดับเบื้องต้นเป็นอย่างน้อยได้ และไม่เกิดความลังเลที่จะเข้ามาใช้คลังสถาบันในครั้งต่อไป

1.7.3 วิธีการให้บริการ จากการศึกษาวิธีการให้บริการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด จำนวน 10 แห่ง ให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต


1.8 วิธีการประชาสัมพันธ์

จากการศึกษาวิธีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มีการประชาสัมพันธ์ และเมื่อพิจารณาวิธีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบันพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมากที่สุด 10 แห่ง ประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการแจ้งให้ทราบในกิจกรรมปฐมนิเทศ นิสิต / นักศึกษาใหม่ และ ประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด เนื่องจาก หากไม่มีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบันให้เป็นที่รู้จัก อาจส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายใช้งานคลังสถาบันน้อยลง และไม่คุ้มค่าต่อการจัดการ การให้บริการ และการใช้งบประมาณในการลงทุน (Nabe 2010: 24) นอกจากนี้ วิธีการประชาสัมพันธ์โดยการแจ้งให้ทราบในกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิต / นักศึกษาใหม่ และการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการจัดทำประกาศบนเว็บไซต์ห้องสมุด ต่างก็เป็นวิธีการที่ทางห้องสมุดได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ (จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์, สัมภาษณ์)


1.9 การประเมินผล

1.9.1 การประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน จากการศึกษาการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จำนวน 8 แห่ง มีการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน เนื่องจาก เมื่อได้เริ่มให้บริการคลังสถาบัน อาจมีความต้องการทราบผลการจัดการและการดำเนินการว่าเป็นไป ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ หรือมีปัญหาใดเกิดขึ้นจากการให้บริการคลังสถาบันดังกล่าวบ้าง อีกทั้งผลการประเมินที่ได้รับยังถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้รับผิดชอบในการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจากจะทำให้เห็นว่าการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันนั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนโยบาย ที่วางไว้หรือไม่

1.9.2 กลุ่มที่ใช้ในการประเมินผลและวิธีการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบัน จากการศึกษากลุ่มที่ใช้ในการประเมินผลและวิธีการประเมินผลการจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 8 แห่ง พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่ง มีการประเมินผลจากผู้ใช้บริการ และ มีการประเมินผลจากผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจาก ในการประเมินการจัดการและ การดำเนินงานคลังสถาบันให้มีความรอบด้านและครอบคลุม จำเป็นจะต้องประเมินผลทั้งจากผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการคลังสถาบัน เช่น ส่วนต่อประสาน (Interface) ของคลังสถาบัน วิธีการให้บริการคลังสถาบัน ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บใน คลังสถาบัน ข้อเสนอแนะหรือสิ่งที่ต้องการให้มีเพิ่มเติมในการให้บริการคลังสถาบัน เป็นต้น และการประเมินผลผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน การรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น และนำผลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการและให้บริการ คลังสถาบันต่อไป (เจษฎา โมกขกุล, และ พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา, สัมภาษณ์)

1.9.3 การนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ จากการศึกษาการนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 8 แห่ง พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 4 แห่ง นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงวิธีการจัดการคลังสถาบัน เนื่องจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่งยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการจัดการและการดำเนินงาน คลังสถาบัน ดังจะเห็นได้จากปีที่มีการให้บริการคลังสถาบัน ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เริ่มให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2551-2552


2. ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย

จากการศึกษาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยโดยรวม พบว่า ประสบปัญหา 2 ระดับ คือ ระดับปานกลาง และระดับน้อย สำหรับปัญหาที่ประสบในระดับปานกลางมี 5 ปัญหา โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัญหาด้านบุคลากร (3.02)* เนื่องจาก สภาพการจัดการคลังสถาบัน ในปัจจุบัน ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ทำให้การจัดการและดำเนินงานคลังสถาบันอาจมีปัญหาบ้าง (แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์, สัมภาษณ์)

สำหรับรายละเอียดของปัญหาในการดำเนินงานคลังสถาบันในแต่ละด้านมีดังนี้

2.1 ปัญหาด้านนโยบาย

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านนโยบายรวม 4 ปัญหา พบว่า ประสบปัญหา 3 ระดับ คือ ระดับปานกลาง ระดับน้อย และระดับน้อยที่สุด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไม่มีการกำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้ขาดแนวทางในการดำเนินงาน (3.00) เนื่องจาก นโยบายคลังสถาบันส่วนใหญ่มักปรากฏอยู่ในรูปของภาระงาน ภารกิจ หรือข้อตกลง เป็นต้น (สุดใจ ธนไพศาล, สัมภาษณ์) จึงอาจทำให้บุคลากรขาดแนวทางในการทำงาน หรือไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไร


2.2 ปัญหาด้านงบประมาณ

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านงบประมาณรวม 3 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ (2.86) เนื่องจาก งบประมาณที่ได้รับในการจัดการคลังสถาบันเป็นงบประมาณ ที่รวมอยู่ในส่วนหนึ่งของงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับ ซึ่งอาจเพียงพอต่อการจัดการคลังสถาบันในด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่ครอบคลุมกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคลังสถาบันทั้งหมด และจะทำให้การจัดการและการดำเนินงานคลังสถาบันไม่มีความต่อเนื่อง (จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์, สัมภาษณ์)


2.3 ปัญหาด้านบุคลากร

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านบุคลากรรวม 7 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน (3.36) ส่วนปัญหาขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการ คลังสถาบัน พบว่าเป็นปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในระดับปานกลาง (3.14) ผลการศึกษาจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 ในส่วนที่ว่า ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการคลังสถาบัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ก่อนการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย จะมีการกำหนดโครงสร้างการบริหาร การวางตัวบุคลากรที่จะมารับผิดชอบ พร้อมทั้งกำหนดภาระงานของแต่ละฝ่าย/งานมาก่อน ทำให้มีบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว


2.4 ปัญหาด้านทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบัน

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านทรัพยากรสารสนเทศในคลังสถาบันรวม 13 ปัญหา พบว่า ประสบปัญหา 2 ระดับ ได้แก่ ระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไม่สามารถติดตามและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ครบถ้วน (3.40) และจากการศึกษาที่พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับเจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน เป็นปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในระดับปานกลาง (3.11) ผลการศึกษาจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 ที่ว่า ปัญหาที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยประสบในการจัดการคลังสถาบันในระดับมาก คือ เจ้าของผลงานไม่ให้ความร่วมมือในการส่งผลงาน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ผลงานที่จัดเก็บในคลังสถาบันส่วนใหญ่คือ วิทยานิพนธ์ และในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยส่วนใหญ่ จะมีการกำหนด หรือระบุให้นิสิต นักศึกษา ที่กำลังจะจบการศึกษา ต้องส่งผลงานทางวิชาการ ของตนเองซึ่งก็คือวิทยานิพนธ์ ให้แก่บัณฑิตศึกษา และทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับทางบัณฑิตศึกษาจะดำเนินการหารือและทำข้อตกลงในการนำผลงานทางวิชาการดังกล่าวมาเผยแพร่ในคลังสถาบันต่อไป (พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา, สัมภาษณ์)


2.5 ปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ใช้

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านเทคโนโลยีที่ใช้รวม 4 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับน้อยทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพต่ำกว่าความต้องการ (2.50) เนื่องจาก ในการใช้ซอฟต์แวร์ระบบ จัดการคลังสถาบันแบบรหัสเปิด ควรจะต้องมีฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่มีความพร้อมต่อการนำส่งหรือนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ (Nabe 2010; 20) ดังนั้นในการจัดการคลังสถาบัน จึงควรจัดให้มีฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับภาระงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำมาจัดเก็บซึ่งอาจมีจำนวนมาก เพื่อให้การจัดการและให้บริการคลังสถาบันเป็นไปอย่างราบรื่น หรือเกิดปัญหาน้อยที่สุด


2.6 ปัญหาด้านการให้บริการ

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านการให้บริการรวม 3 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับน้อยทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บริการที่เปิดให้แก่ผู้ใช้มีจำนวนน้อย (2.43) เนื่องจาก ห้องสมุดได้จัดให้มีบริการที่หลากหลายไว้เพื่อรองรับความ ต้องการแก่ผู้ใช้อยู่แล้ว


2.7 ปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านการประชาสัมพันธ์รวม 4 ปัญหา พบว่า ปัญหาที่ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิธีการประชาสัมพันธ์ที่ใช้ไม่เป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้ใช้ (3.20) เนื่องจาก วิธีการที่ใช้มีความล้าสมัย ไม่สะดุดตา หรือไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ จึงอาจปรับวิธีการประชาสัมพันธ์ให้สามารถดึงดูดใจผู้ใช้ รวมถึงสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้ทุกกลุ่ม โดยในปัจจุบันสามารถเลือกใช้เครือข่ายสังคม (Social network) เป็นสื่อหลักในการประชาสัมพันธ์ได้ เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้คนมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการออนไลน์ ผ่านอินเทอร์เน็ต และเว็บเครือข่ายทางสังคม เช่น Facebook, Twitter มากขึ้น (กานดา รุณนะพงศา; วิทย์ ครุธคำ; และ อนัตต์ เจ่าสกุล, [ม.ป.ป.])


2.8 ปัญหาด้านการประเมินผล

เมื่อพิจารณาปัญหาในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านการประเมินผลรวม 3 ปัญหา พบว่า ประสบอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิธีที่ใช้ในการประเมินผลไม่เหมาะกับสิ่งที่ต้องการประเมิน และ เมื่อสิ้นสุดการประเมินผลแล้ว ไม่มีการนำผลที่ได้ไปใช้ต่อ (2.83 เท่ากัน) จะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบวิธีการประเมินผล รวมถึงการให้ความสำคัญกับการนำผลไปใช้ในการพัฒนา จึงอาจพัฒนาการออกแบบวิธีการประเมินผลให้มีความเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมิน เพื่อให้ได้ผลตรงตามประเด็นที่วางไว้


ข้อเสนอแนะในการวิจัย

จากผลการวิจัยและข้อเสนอแนะของผู้ให้สัมภาษณ์ในการจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยเห็นว่าสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขการจัดการคลังสถาบันได้ดังนี้

1. ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญแก่คลังสถาบัน หรือสนับสนุนให้มีคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมากขึ้น เนื่องจากคลังสถาบันมีประโยชน์ต่อบุคลากรในประชาคมแทบจะทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นต่อเจ้าของผลงาน ต่อห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่กับมหาวิทยาลัยเอง

2. ห้องสมุดควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์คลังสถาบัน โดยการใช้สื่อสังคม เช่น Facebook, Twitter หรือ Blog ของห้องสมุด เนื่องจากปัจจุบันสื่อสังคมทั้งหลายมีอิทธิพล น่าดึงดูดใจ และสามารถส่งผ่านข้อมูล ข่าวสาร หรือข่าวประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น และยังช่วยในการประหยัดงบประมาณในส่วนนี้ด้วย

3. ห้องสมุดควรให้ความสำคัญต่อการประเมินผลคลังสถาบันในทุกด้าน และควรประเมินผลจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เนื่องจากผลที่ได้จากการประเมินจะสามารถนำไปใช้ในการจัดการ และการพัฒนาแก้ไข เพื่อการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรพัฒนาการออกแบบเครื่องมือหรือวิธีที่จะใช้ประเมินผล ให้มีความเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมิน เพื่อให้ผลของประเด็นที่ต้องการประเมินมีความถูกต้องและชัดเจน


รายการอ้างอิงภาษาไทย

กานดา รุณนะพงศา; วิทย์ ครุธคำ; และ อนัตต์ เจ่าสกุล. "การใช้เว็บเครือข่ายสังคมเพื่อเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://tar.thailis.or.th/bitstream/123456789/25/1/CIT2010_04.pdf [ม.ป.ป.] สืบค้น 10 มกราคม 2556.

จันทร์เพ็ญ จุ้ยจงรักษ์. บรรณารักษ์งานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สัมภาษณ์, 2 พฤศจิกายน 2555.

เจษฎา โมกขกุล. ผู้อำนวยการ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สัมภาษณ์, 11 ธันวาคม 2555.

แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์. ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สัมภาษณ์, 4 ธันวาคม 2555.

ธำรงรัตน์ อมรรักษา และ วัชร พิชยนันท์. "ภาพพิมพ์ลายน้ำดิจิตอล: วิธีการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิทางปัญญาสำหรับรูปภาพ." วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 13, 2 (เมษายน - มิถุนายน 2546): 54-63.

ธิติ วัชรสินธพชัย. หัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยชินวัตร. สัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2555.

พงษ์พิชญ์ ต่วนภูษา. ผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2555.

วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ กุลธิดา ท้วมสุข. "การวิเคราะห์เปรียบเทียบคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยไทยและต่างประเทศ." วารสารสารสนเทศศาสตร์. 29, 3(กันยายน - ธันวาคม 2554): 53-63.

วิยะดา ศิริมาณนท์. หัวหน้างานจัดการทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สัมภาษณ์, 22 พฤศจิกายน 2555.

สายพิณ วิไลรัตน์. ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. สัมภาษณ์, 12 ธันวาคม 2555.

สุดใจ ธนไพศาล. ผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สัมภาษณ์, 12 พฤศจิกายน 2555.


รายการอ้างอิงภาษาอังกฤษ

Bankier, Jean-Gabriel and Smith, Courtney. "Repository collection policies: Is a liberal and inclusive policy helpful or harmful." [Online]. Available: http://works.bepress.com/courtney_a_smith/7 2011 Retrieved February 14, 2013.

Crow, Raym. “The case for institutional repositories: SPARC position paper.” [Online]. Available: http://scholarship.utm.edu/20/1/SPARC_102.pdf 2002. Retrieved July 6, 2011.

Digital Preservation Coalition. "Preservation management of digital materials: The handbook." [Online]. Available: http://www.dpconline.org/component/docman/doc_download/299-digital-preservation-handbook 2008 Retrieved May 14, 2012.

Dublin Core Metadata Initiative. "Dublin Core Metadata element set, version 1.1." [Online]. Available: http://dublincore.org/documents/dces 2012 Retrieved August 15, 2012.

Jain, P.; Bentley, G.; and Oladiran, MT. "The role of institutional repository in digital scholarly communications." [Online]. Available: http://www.ais.up.ac.za/digi/docs/jain_paper.pdf [n.d.] Retrieved November 23, 2012.

Johnson, Richard K. "Institutional repositories: Partnering with faculty to enhance scholarly communication." [Online]. D-Lib Magazine. 11, 8(2002) Available: http://dlib.org/dlib/november02/johnson/11johnson.html 2002 Retrieved June 12, 2012.

Jones, Richard; Andrew, Theo; and MacColl, John. The institutional repository. Oxford: Chandos, 2006.

Lynch, Clifford. “Institutional repositories: Essential infrastructure for scholarship in the digital age.” Library & the Academy. 3, 2(2003): 327-336.

Lynch, Clifford and Lippincott, Joan K. "Institutional reposiroty deployment in the United States as of early 2005." [Online]. D-Lib Magazine. 11, 9(2005) Available: http://www.dlib.org/dlib/september05/lynch/09lynch.html 2005 Retrieved November 30, 2012.

McCord, Alan. "Institutional repositories: Enhancing teaching, learning, and research." [Online]. Available: http://www.educause.edu/ir/library/pdf/DEC0303.pdf 2003 Retrieved December 5, 2012.

Melero, Remedios et al. "The situation of open access institutional repositories in Spain: 2009 report." [Online]. Information Research. 14, 4 Available: http://informationr.net/ir/14-4/paper415.html 2009 Retrieved January 12, 2013.

Nabe, Jonathan A. Starting, strengthening, and managing institutional repositories: a how-to-do-it manual. New York: Neal-Schuman Publishers, 2010.

Prosser, David. “Institutional repositories and open access: The future of scholarly communication.” Information Services & Use. 23, 2-3(2003): 167-170.

Robinson, Mary. "Institutional repositories: Staff and skill set." [Online]. Available: http://www.sherpa.ac.uk/documents/Staff_and_Skills_Set_2009.pdf 2009 Retrieved June 6, 2012.

Sawant, Sarika. "IR system and features: Study of Indian scenario." Library Hi-Tech. 29, 1(2011): 161-172.

Yeates, Robin. “Institutional repositories.” VINE: The journal of information and knowledge management systems. 33, 2(2003): 96-100.

เครื่องมือส่วนตัว