ผู้สูงวัยกับการได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
('''ผู้สูงวัยกับการได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง''')
(PIMmedication elderly ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ผู้สูงวัยกับการได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง: เพื่อให้สอดคล)
 
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 3: แถว 3:
ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเป็นสังคมที่มีฐานประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละช่วงอายุ และมีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรสูงวัยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25 ภายในปีพ.ศ. 2573 (สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และคณะ, 2554) การเป็นสังคมผู้สูงวัยนั้นก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในหลายด้าน ประเทศไทยต้องวางแผนรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ ผลกระทบสำคัญของจำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นในระบบบริการสาธารณสุข คือ ภาระโรคและความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ต้องดูแลผู้ป่วยสูงวัยเหล่านั้น โรคที่พบในผู้ป่วยสูงวัยมักเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือ เบาหวาน และกลุ่มอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น การใช้ยาเพื่อบำบัดโรคหรือกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงวัยจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ป่วยสูงวัยเหล่านั้นมีความเสี่ยงจากการได้รับยาพร้อมกันหลายขนาน (polypharmacy) ตามระดับความรุนแรงและความซับซ้อนของโรคที่เป็น ดังนั้นการใช้ยาโดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้สูงวัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเหรียบเทียบระหว่างประโยชน์และโทษก่อนที่จะสั่งใช้ยาเหล่านั้น  
ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเป็นสังคมที่มีฐานประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละช่วงอายุ และมีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรสูงวัยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25 ภายในปีพ.ศ. 2573 (สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และคณะ, 2554) การเป็นสังคมผู้สูงวัยนั้นก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในหลายด้าน ประเทศไทยต้องวางแผนรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ ผลกระทบสำคัญของจำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นในระบบบริการสาธารณสุข คือ ภาระโรคและความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ต้องดูแลผู้ป่วยสูงวัยเหล่านั้น โรคที่พบในผู้ป่วยสูงวัยมักเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือ เบาหวาน และกลุ่มอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น การใช้ยาเพื่อบำบัดโรคหรือกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงวัยจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ป่วยสูงวัยเหล่านั้นมีความเสี่ยงจากการได้รับยาพร้อมกันหลายขนาน (polypharmacy) ตามระดับความรุนแรงและความซับซ้อนของโรคที่เป็น ดังนั้นการใช้ยาโดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้สูงวัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเหรียบเทียบระหว่างประโยชน์และโทษก่อนที่จะสั่งใช้ยาเหล่านั้น  
-
ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจความชุกของการได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้ป่วยนอกสูงวัยโดยใช้เกณฑ์การประเมินของ 2012 Beers และคณะ โดยสุ่มตรวจสอบข้อมูลในใบสั่งยาผู้ป่วยนอกย้อนกลับไปเป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555  ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จำนวน 2,128 ใบสั่งยา ซึ่งเป็นใบสั่งยาของผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและได้รับยาอย่างน้อย 1 รายการในแต่ละใส่งยา
+
ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจความชุกของการได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้ป่วยนอกสูงวัยโดยใช้เกณฑ์การประเมินของ 2012 Beers และคณะ โดยสุ่มตรวจสอบข้อมูลในใบสั่งยาผู้ป่วยนอกย้อนกลับไปเป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555  ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จำนวน 2,128 ใบสั่งยา ซึ่งเป็นใบสั่งยาของผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและได้รับยาอย่างน้อย 1 รายการในแต่ละใบสั่งยา
'''ผลการศึกษา''' พบว่าความชุกของใบสั่งยาที่มียากลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 1 รายการตาม 2012 Beers Criteria คิดเป็นร้อยละ 28 ของจำนวนใบสั่งยาทั้งหมด โดยใบสั่งยาผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการวินิจฉัยหลักว่ามีโรคหรือกลุ่มอาการทางจิตและพฤติกรรมจะมีความชุกของยากลุ่มเสี่ยงสูงสุด (100%) รองลงมา คือ ใบสั่งยาผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยหลักเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท (65 %)นอกจากนี้ผลการสำรวจความถี่ของการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงจากใบสั่งยาผู้ป่วยนอกสูงวัยในโรงพยาบาลข้างต้น ยังพบว่ายาในกลุ่มที่ใช้เพื่อการรักษาโรคในระบบประสาทส่วนกลางถูกสั่งใช้สูงถึงร้อยละ 45 โดยยาที่มีการสั่งใช้สูงที่สุดในกลุ่มนี้คือ Lorazepam  รองลงมาคือกลุ่มยาเพื่อบรรเทาอาการปวด (27%) โดยยาที่มีการสั่งใช้สูงสุดในกลุ่มนี้ คือ Diclofenac
'''ผลการศึกษา''' พบว่าความชุกของใบสั่งยาที่มียากลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 1 รายการตาม 2012 Beers Criteria คิดเป็นร้อยละ 28 ของจำนวนใบสั่งยาทั้งหมด โดยใบสั่งยาผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการวินิจฉัยหลักว่ามีโรคหรือกลุ่มอาการทางจิตและพฤติกรรมจะมีความชุกของยากลุ่มเสี่ยงสูงสุด (100%) รองลงมา คือ ใบสั่งยาผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยหลักเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท (65 %)นอกจากนี้ผลการสำรวจความถี่ของการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงจากใบสั่งยาผู้ป่วยนอกสูงวัยในโรงพยาบาลข้างต้น ยังพบว่ายาในกลุ่มที่ใช้เพื่อการรักษาโรคในระบบประสาทส่วนกลางถูกสั่งใช้สูงถึงร้อยละ 45 โดยยาที่มีการสั่งใช้สูงที่สุดในกลุ่มนี้คือ Lorazepam  รองลงมาคือกลุ่มยาเพื่อบรรเทาอาการปวด (27%) โดยยาที่มีการสั่งใช้สูงสุดในกลุ่มนี้ คือ Diclofenac

รุ่นปัจจุบันของ 08:39, 6 มิถุนายน 2557

ผู้สูงวัยกับการได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเป็นสังคมที่มีฐานประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละช่วงอายุ และมีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรสูงวัยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25 ภายในปีพ.ศ. 2573 (สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และคณะ, 2554) การเป็นสังคมผู้สูงวัยนั้นก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในหลายด้าน ประเทศไทยต้องวางแผนรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ ผลกระทบสำคัญของจำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นในระบบบริการสาธารณสุข คือ ภาระโรคและความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ต้องดูแลผู้ป่วยสูงวัยเหล่านั้น โรคที่พบในผู้ป่วยสูงวัยมักเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือ เบาหวาน และกลุ่มอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น การใช้ยาเพื่อบำบัดโรคหรือกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงวัยจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ป่วยสูงวัยเหล่านั้นมีความเสี่ยงจากการได้รับยาพร้อมกันหลายขนาน (polypharmacy) ตามระดับความรุนแรงและความซับซ้อนของโรคที่เป็น ดังนั้นการใช้ยาโดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้สูงวัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเหรียบเทียบระหว่างประโยชน์และโทษก่อนที่จะสั่งใช้ยาเหล่านั้น

ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจความชุกของการได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้ป่วยนอกสูงวัยโดยใช้เกณฑ์การประเมินของ 2012 Beers และคณะ โดยสุ่มตรวจสอบข้อมูลในใบสั่งยาผู้ป่วยนอกย้อนกลับไปเป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555 ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จำนวน 2,128 ใบสั่งยา ซึ่งเป็นใบสั่งยาของผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและได้รับยาอย่างน้อย 1 รายการในแต่ละใบสั่งยา

ผลการศึกษา พบว่าความชุกของใบสั่งยาที่มียากลุ่มเสี่ยงอย่างน้อย 1 รายการตาม 2012 Beers Criteria คิดเป็นร้อยละ 28 ของจำนวนใบสั่งยาทั้งหมด โดยใบสั่งยาผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการวินิจฉัยหลักว่ามีโรคหรือกลุ่มอาการทางจิตและพฤติกรรมจะมีความชุกของยากลุ่มเสี่ยงสูงสุด (100%) รองลงมา คือ ใบสั่งยาผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยหลักเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท (65 %)นอกจากนี้ผลการสำรวจความถี่ของการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงจากใบสั่งยาผู้ป่วยนอกสูงวัยในโรงพยาบาลข้างต้น ยังพบว่ายาในกลุ่มที่ใช้เพื่อการรักษาโรคในระบบประสาทส่วนกลางถูกสั่งใช้สูงถึงร้อยละ 45 โดยยาที่มีการสั่งใช้สูงที่สุดในกลุ่มนี้คือ Lorazepam รองลงมาคือกลุ่มยาเพื่อบรรเทาอาการปวด (27%) โดยยาที่มีการสั่งใช้สูงสุดในกลุ่มนี้ คือ Diclofenac

ข้อสรุป จากการสำรวจเบื้องต้นทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยสูงวัยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนแห่งนี้มีความเสี่ยงอย่างมากต่อการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งสั่งใช้โดยผู้สั่งใช้ยาในโรงพยาบาล ดังนั้นผู้สั่งใช้ยาจึงควรประเมินประโยชน์และโทษก่อนการสั่งใช้ยากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงนี้อย่างรอบคอบ การเลือกใช้ยาตัวอื่นซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าแทนการสั่งใช้ยากลุ่มนี้อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงวัยซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุดในการรักษาโรคด้วยยา

อ้างอิง Tanavij Pannoi, Robert Sedgwick Cahpman, and Alessio Panza. Prevalence of Potentially Inappropriate Medication (PIM) AND Factors associated with PIM in Elderly Outpatient Prescriptions at a District Hospital in the Southern Region of Thailand. Master’s Thesis, College of Public Health Sciences, Chulalongkorn University, 2013.

เครื่องมือส่วนตัว