แบบจำลองการเสื่อมสภาพสำหรับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้คาร์บอเนตของโลหะแอลคาไล

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== แบบจำลองการเสื่อมสภาพสำหรับการดูดซับคาร์บอนได…')
(DEACTIVATION MODEL FOR CO2 SORPTION USING ALKALI METAL CARBONATES IN FLUIDIZED BED)
 
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 10: แถว 10:
== บทคัดย่อ ==
== บทคัดย่อ ==
-
งานวิจัยนี้ทำการจำลองภาวะท่อไรเซอร์แบบมีและไม่มีการติดตั้งแผ่นปะทะแบบวงแหวนของเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนเพื่อศึกษาอุทกพลศาสตร์และการผสมที่เกิดขึ้นด้วยวิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณและใช้วิธีการออกแบบการทดลองเพื่อหาผลของปัจจัยต่างๆ ผลการจำลองพบว่าค่าพื้นที่เปิดของแผ่นปะทะค่าพื้นที่เปิดของแผ่นปะทะ และอันตรกิริยาระหว่างพื้นที่เปิดของแผ่นปะทะกับระยะห่างระหว่างแผ่นปะทะเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อค่าความแปรปรวนของค่าสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งในแนวรัศมี และระยะห่างระหว่างแผ่นปะทะ อันตรกิริยาระหว่างพื้นที่เปิดของแผ่นปะทะกับระยะห่างระหว่างแผ่นปะทะ และ อันตรกิริยาระหว่างพื้นที่เปิดของแผ่นปะทะกับจำนวนของแผ่นปะทะเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อค่าสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งเฉลี่ยรวมทั้งท่อไรเซอร์ ในส่วนของตัวแปรดำเนินการที่ส่งผลต่อค่าสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งเฉลี่ยทั้งท่อไรเซอร์ที่ติดตั้งแผ่นปะทะแบบวงแหวนในกรณีศึกษาที่ให้ค่าสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งเฉลี่ยทั้งท่อไรเซอร์สูงสุด และกรณีศึกษาที่ให้ค่าความแปรปรวนในแนวรัศมีของสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งต่ำที่สุด นั้นเป็นตัวแปรเดียวกันคือ ค่าความเร็วแก๊สที่ทางเข้า และฟลักซ์โดยมวลของของแข็ง และผลของตัวแปรดำเนินการที่มีต่อค่าความแปรปรวนในแนวรัศมีของสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งในการติดตั้งแผ่นปะทะทั้งสองกรณีพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลสองลำดับแรกเป็นตัวแปรเดียวกันคือ ค่าความเร็วแก๊สที่ทางเข้า และอันตรกิริยาของความเร็วของแก๊สที่ทางเข้า-ขนาดของอนุภาคของแข็ง-ความหนาแน่นของอนุภาคของแข็งอีกทั้งพบว่า รูปทรงของแผ่นปะทะแบบวงแหวนมีผลต่อค่าความแปรปรวนในแนวรัศมีของสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งและค่าสัดส่วนเชิงปริมาตรของของแข็งเฉลี่ยทั้งท่อไรเซอร์ จากผลการจำลองทั้งหมดจะได้รูปแบบในการใส่แผ่นปะทะแบบวงแหวนพร้อมทั้งภาวะดำเนินการที่สามารถปรับปรุงอุทกพลศาสตร์และการผสมภายในท่อไรเซอร์พร้อมทั้งแบบจำลองการถดถอยเพื่อความสะดวกในการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ออกแบบการติดตั้งแผ่นปะทะแบบวงแหวนและหาภาวะดำเนินการที่เหมาะสมในอนาคต
+
งานวิจัยนี้ ศึกษาปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และตัวแปรทางจลนพลศาสตร์จากแก๊สทิ้งหลังการเผาไหม้เชื้อเพลิงด้วยตัวดูดซับโลหะแอลคาไลคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดที่ทำจากแก้ว เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 0.025 เมตร และความสูง 0.80 เมตร แบ่งการศึกษาหลักด้วยการใช้ตัวดูดซับโพแทสเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต ออกเป็น 3 ส่วน คือ ผลของรูปแบบการไหลภายในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดจากการวัดค่าการกวัดแกว่งของความดัน แบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ เบดนิ่ง เบดแบบฟองแก๊ส เบดแบบสลักกิ้ง เบดแบบปั่นป่วน และเบดแบบฟลูอิไดเซชันความเร็วสูง ผลของอุณหภูมิการดูดซับ แบ่งได้เป็น 4 อุณหภูมิ และ ผลของปริมาณไอน้ำในแก๊สทิ้ง แบ่งได้เป็น 4 ค่า จากการทดลอง พบว่า รูปแบบการไหลแบบปั่นป่วนมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดที่ 268 และ 194 มิลลิกรัมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกรัมของโพแทสเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต ตามลำดับ โดยปริมาณการดูดซับมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิการดูดซับ 333 เคลวินและปริมาณไอน้ำในแก๊สทิ้งร้อยละ 19.5 โดยปริมาตร จากนั้น ข้อมูลตัวแปรทางจลนศาสตร์ได้ถูกคำนวณจากกราฟการดูดซับกับเวลาภายใต้ภาวะการทดลองที่กำหนด แบบจำลองต่างๆ เช่น แบบจำลองแกนกลางหดตัว แบบจำลองแบบเป็นเนื้อเดียวและแบบจำลองการเสื่อมสภาพ ได้ถูกใช้อธิบายตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ จากการทดลองพบว่า แบบจำลองการเสื่อมสภาพให้ผลการคำนวณใกล้เคียงมากที่สุดกับข้อมูลที่ได้จากการทดลองจริง ค่าคงที่ในการเกิดปฏิกิริยาการดูดซับที่รูปแบบการไหลแบบปั่นป่วนมีค่าสูงสุด ผลของอุณหภูมิการดูดซับต่อตัวแปรจลนพลศาสตร์สามารถสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบอาร์รีเนียส ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฎิกิริยาดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยโพแทสเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต มีค่า 12.31 กิโลจูลต่อโมลและ 14.67 กิโลจูลต่อโมล ผลของปริมาณไอน้ำในแก๊สทิ้งที่เพิ่มขึ้นทำให้ค่าคงที่ในการเกิดปฎิกิริยาการดูดซับลดลง ในงานวิจัยนี้ยังได้ทำการศึกษาผลของชนิดตัวดูดซับโลหะแอลคาไลต่อปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ พบว่า รูบิเดียมคาร์บอเนตให้ปริมาณการดูดซับสูงสุด เมื่อเทียบกับตัวดูดซับลิเทียมคาร์บอเนต โซเดียมคาร์บอเนตและโพแทสเซียมคาร์บอเนตที่ 306 มิลลิกรัมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกรัมของรูบิเดียมคาร์บอเนต
-
คำสำคัญ: แผ่นปะทะแบบวงแหวน อุทกพลศาสตร์ การผสม ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียน การจำลองซีเอฟดี
+
คำสำคัญ: ฟลูอิไดเซชัน จลนพลศาสตร์ คาร์บอเนต ช่วงการไหล
----
----
แถว 18: แถว 18:
'''Abstract'''
'''Abstract'''
----
----
-
In this research,the risers of circulating fluidized bed reactors with and without ring baffle were simulated to study hydrodynamics and mixing by using computational fluid dynamics simulation and to examine factor effects by usingdesign of experimental method. The results showed that baffle opening area and interaction between baffle opening area-space between baffleswere the parameters that affected standard deviation of solid volume fraction in radial direction. Space between baffles, interaction betweenbaffle opening area-space between baffles and interaction between baffle opening area-number were the parameters that affected average of solid volume fraction in the riser. The operating condition parameters that had an effect on the average of solid volume fraction in the riserfor bothring baffle configuration with lowest standard deviation of radial solid volume fraction and highest averaged solid volume fraction in system cases were inlet gas velocity and solid mass flux but the first two operating condition parameters that had an effect on the standard deviation of solid volume fraction in radial directionwere inlet gas velocity and interaction between inlet gas velocity-diameter of solid-density of solid. In addition,theshapes of ring baffle werealso found to have an effect on thestandard deviation of solid volume fraction in radial direction and average of solid volume fraction in the riser. From all simulation results, the optimum ring baffle configuration and operating condition which were improving hydrodynamics and mixing in riser was proposed. In addition, a regression model for predicting the gas-solid mixing was obtained for further using in the design stage of a circulating fluidized bed reactor.
+
In this study, the carbon dioxide (CO2) capture capacity and kinetic parameters from flue gas using alkali metal carbonate supported on alumina solid sorbents were investigated inside the glass fluidized bed reactor. The reactor had 0.025 m inner diameter and 0.80 m height. The main experiments using potassium carbonate (K2CO3) and sodium carbonate (Na2CO3) solid sorbents were divided into three parts. First, the effects of flow regime/pattern measured by pressure fluctuation in the reactor including five flow regimes/patterns, fixed bed, bubbling bed, slugging bed, turbulent bed and fast fluidization bed, were explored. Second, the effects of sorption or carbonation temperature including four sorption temperatures were evaluated. Third, the effects of water content in flue gas including four values were compared. From the results, the turbulent regime provided the highest CO2 capture capacity at 268 mg of CO2/g of K2CO3 and 194 mg of CO2/g of Na2CO3. The highest CO2 sorption capacity was obtained at sorption temperature of 333 K and water content in flue gas of 19.5 %vol. Then, the breakthrough curve was used for calculating the kinetic parameters under given conditions using several model, which were the shrinking-core model, the homogeneous model and the deactivation model in the non-catalytic heterogeneous reaction systems. It was found that the selected deactivation kinetic model fitted well with all the experimental data.  The sorption reaction rate constant was highest at turbulent fluidization flow regime. The effects of sorption temperature were described in the Arrhenius from. The activation energies of the CO2 sorption reaction using potassium carbonate and sodium carbonate solid sorbents were experimentally calculated as 12.31 kJ/mol and 14.67 kJ/mol, respectively. The increasing of water content in flue gas made the sorption reaction rate constant to decrease. In addition, the effects of alkali metal carbonate type on CO2 sorption capacity and the kinetic parameters were evaluated. The CO2 sorption capacity of rubidium carbonate was highest when comparing to lithium carbonate, sodium carbonate and potassium carbonate solid sorbents at 306 mg of CO2/g of Rb2CO3.
-
Keywords: Ring baffle, Hydrodynamics, Mixing, Circulating fluidized bed, CFD simulation
+
Keywords: Fluidization, Kinetic, Carbonate, Regime
----
----
-
[[สื่อ:PACCON2012_ENG_1.pdf|เอกสารงานวิจัย]]
+
[[สื่อ:Gun.pdf|เอกสารงานวิจัย]]

รุ่นปัจจุบันของ 09:02, 29 กรกฎาคม 2557

แบบจำลองการเสื่อมสภาพสำหรับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้คาร์บอเนตของโลหะแอลคาไลในฟลูอิไดซ์เบด

DEACTIVATION MODEL FOR CO2 SORPTION USING ALKALI METAL CARBONATES IN FLUIDIZED BED

นางสาวณัฏฐ์ภัสสร จงอาจกลาง : นิสิตปริญญาโท ประจำหลักสูตรเคมีเทคนิค ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ : อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์ : อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ศึกษาปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และตัวแปรทางจลนพลศาสตร์จากแก๊สทิ้งหลังการเผาไหม้เชื้อเพลิงด้วยตัวดูดซับโลหะแอลคาไลคาร์บอเนตบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินาในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดที่ทำจากแก้ว เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 0.025 เมตร และความสูง 0.80 เมตร แบ่งการศึกษาหลักด้วยการใช้ตัวดูดซับโพแทสเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต ออกเป็น 3 ส่วน คือ ผลของรูปแบบการไหลภายในเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดจากการวัดค่าการกวัดแกว่งของความดัน แบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ เบดนิ่ง เบดแบบฟองแก๊ส เบดแบบสลักกิ้ง เบดแบบปั่นป่วน และเบดแบบฟลูอิไดเซชันความเร็วสูง ผลของอุณหภูมิการดูดซับ แบ่งได้เป็น 4 อุณหภูมิ และ ผลของปริมาณไอน้ำในแก๊สทิ้ง แบ่งได้เป็น 4 ค่า จากการทดลอง พบว่า รูปแบบการไหลแบบปั่นป่วนมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดที่ 268 และ 194 มิลลิกรัมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกรัมของโพแทสเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต ตามลำดับ โดยปริมาณการดูดซับมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิการดูดซับ 333 เคลวินและปริมาณไอน้ำในแก๊สทิ้งร้อยละ 19.5 โดยปริมาตร จากนั้น ข้อมูลตัวแปรทางจลนศาสตร์ได้ถูกคำนวณจากกราฟการดูดซับกับเวลาภายใต้ภาวะการทดลองที่กำหนด แบบจำลองต่างๆ เช่น แบบจำลองแกนกลางหดตัว แบบจำลองแบบเป็นเนื้อเดียวและแบบจำลองการเสื่อมสภาพ ได้ถูกใช้อธิบายตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ จากการทดลองพบว่า แบบจำลองการเสื่อมสภาพให้ผลการคำนวณใกล้เคียงมากที่สุดกับข้อมูลที่ได้จากการทดลองจริง ค่าคงที่ในการเกิดปฏิกิริยาการดูดซับที่รูปแบบการไหลแบบปั่นป่วนมีค่าสูงสุด ผลของอุณหภูมิการดูดซับต่อตัวแปรจลนพลศาสตร์สามารถสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบอาร์รีเนียส ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฎิกิริยาดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยโพแทสเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต มีค่า 12.31 กิโลจูลต่อโมลและ 14.67 กิโลจูลต่อโมล ผลของปริมาณไอน้ำในแก๊สทิ้งที่เพิ่มขึ้นทำให้ค่าคงที่ในการเกิดปฎิกิริยาการดูดซับลดลง ในงานวิจัยนี้ยังได้ทำการศึกษาผลของชนิดตัวดูดซับโลหะแอลคาไลต่อปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ พบว่า รูบิเดียมคาร์บอเนตให้ปริมาณการดูดซับสูงสุด เมื่อเทียบกับตัวดูดซับลิเทียมคาร์บอเนต โซเดียมคาร์บอเนตและโพแทสเซียมคาร์บอเนตที่ 306 มิลลิกรัมของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกรัมของรูบิเดียมคาร์บอเนต

คำสำคัญ: ฟลูอิไดเซชัน จลนพลศาสตร์ คาร์บอเนต ช่วงการไหล


Abstract


In this study, the carbon dioxide (CO2) capture capacity and kinetic parameters from flue gas using alkali metal carbonate supported on alumina solid sorbents were investigated inside the glass fluidized bed reactor. The reactor had 0.025 m inner diameter and 0.80 m height. The main experiments using potassium carbonate (K2CO3) and sodium carbonate (Na2CO3) solid sorbents were divided into three parts. First, the effects of flow regime/pattern measured by pressure fluctuation in the reactor including five flow regimes/patterns, fixed bed, bubbling bed, slugging bed, turbulent bed and fast fluidization bed, were explored. Second, the effects of sorption or carbonation temperature including four sorption temperatures were evaluated. Third, the effects of water content in flue gas including four values were compared. From the results, the turbulent regime provided the highest CO2 capture capacity at 268 mg of CO2/g of K2CO3 and 194 mg of CO2/g of Na2CO3. The highest CO2 sorption capacity was obtained at sorption temperature of 333 K and water content in flue gas of 19.5 %vol. Then, the breakthrough curve was used for calculating the kinetic parameters under given conditions using several model, which were the shrinking-core model, the homogeneous model and the deactivation model in the non-catalytic heterogeneous reaction systems. It was found that the selected deactivation kinetic model fitted well with all the experimental data. The sorption reaction rate constant was highest at turbulent fluidization flow regime. The effects of sorption temperature were described in the Arrhenius from. The activation energies of the CO2 sorption reaction using potassium carbonate and sodium carbonate solid sorbents were experimentally calculated as 12.31 kJ/mol and 14.67 kJ/mol, respectively. The increasing of water content in flue gas made the sorption reaction rate constant to decrease. In addition, the effects of alkali metal carbonate type on CO2 sorption capacity and the kinetic parameters were evaluated. The CO2 sorption capacity of rubidium carbonate was highest when comparing to lithium carbonate, sodium carbonate and potassium carbonate solid sorbents at 306 mg of CO2/g of Rb2CO3.

Keywords: Fluidization, Kinetic, Carbonate, Regime


เอกสารงานวิจัย

เครื่องมือส่วนตัว