อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
 
แถว 5: แถว 5:
-
ผลการวิจัยแสดงว่า  ตำรารัตนปรีกษาภาษาสันสกฤตเป็นที่มาของตำรานพรัตน์ของไทย  เนื่องจากเนื้อหาสาระของการพิจารณาอัญมณีทั้ง 5 ประการตรงกัน  และใจความสำคัญของสาระในแต่ละข้อก็คล้ายกันด้วย  กล่าวคือ  การกำเนิดอัญมณีอ้างตำนานการต่อสู้ระหว่างทวยเทพกับอสูร รวมถึงอำนาจของเทพเจ้าที่ดลบันดาลให้เกิดอัญมณีในโลก  เพื่อทำให้อัญมณีมีความศักดิ์สิทธิ์  แหล่งกำเนิดของอัญมณีโดยมากเป็นแหล่งธรรมชาติในดินแดนชมพูทวีป คุณสมบัติของอัญมณีพิจารณาจากสี รัศมี รูปทรง และตำหนิ  อานุภาพของอัญมณีให้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้ครอบครอง อัญมณีที่มีคุณสมบัติดีเลิศจะให้คุณในด้านการเป็นเครื่องรางของขลัง การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนการเสริมสิริมงคลและอำนาจ  หากอัญมณีมีตำหนิหรือ ปราศจากคุณสมบัติแล้ว  ก็จะส่งผลให้ผู้ครอบครองประสบภัยพิบัติ มีโรคภัยเบียดเบียน อาจเสื่อมถอยอำนาจและยศศักดิ์ได้  ส่วนราคาอัญมณีกำหนดตามน้ำหนัก หน่วยราคาใช้หน่วยเมล็ดพืช  นอกจากนี้ ตำรารัตนปรีกษาและตำรานพรัตน์ยังระบุถึงอัญมณีสำคัญตรงกันเก้าชนิด คือ เพชร ไข่มุก ทับทิม มรกต ไพลิน ไพฑูรย์ บุษราคัม โกเมน และประพาฬ  อย่างไรก็ตาม  ตำรารัตนปรีกษาและตำรานพรัตน์ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ไม่ตรงกัน ตัวอย่างเช่น ชื่อเมืองหรือดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณี การพรรณนาอานุภาพของอัญมณี  ซึ่งตำรารัตนปรีกษาเน้นการคุ้มครองป้องกันภัยและการเสริมสิริมงคล  ในขณะที่ตำรานพรัตน์เน้นการเสริมอำนาจ ชัยชนะในการสงคราม และความเป็นสิริมงคลสำหรับผู้สวมเป็นสำคัญ  เพราะผู้แต่งประพันธ์ขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  และใช้เป็นฉบับหลวง
+
ผลการวิจัยแสดงว่า  ตำรารัตนปรีกษาภาษาสันสกฤตเป็นที่มาของตำรานพรัตน์ของไทย  เนื่องจากเนื้อหาสาระของการพิจารณาอัญมณีทั้ง 5 ประการตรงกัน  และใจความสำคัญของสาระในแต่ละข้อก็คล้ายกันด้วย  กล่าวคือ  ''การกำเนิดอัญมณี'' อ้างตำนานการต่อสู้ระหว่างทวยเทพกับอสูร รวมถึงอำนาจของเทพเจ้าที่ดลบันดาลให้เกิดอัญมณีในโลก  เพื่อทำให้อัญมณีมีความศักดิ์สิทธิ์  ''แหล่งกำเนิดของอัญมณี'' โดยมากเป็นแหล่งธรรมชาติในดินแดนชมพูทวีป ''คุณสมบัติของอัญมณี'' พิจารณาจากสี รัศมี รูปทรง และตำหนิ  ''อานุภาพของอัญมณี'' ให้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้ครอบครอง อัญมณีที่มีคุณสมบัติดีเลิศจะให้คุณในด้านการเป็นเครื่องรางของขลัง การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนการเสริมสิริมงคลและอำนาจ  หากอัญมณีมีตำหนิหรือ ปราศจากคุณสมบัติแล้ว  ก็จะส่งผลให้ผู้ครอบครองประสบภัยพิบัติ มีโรคภัยเบียดเบียน อาจเสื่อมถอยอำนาจและยศศักดิ์ได้  ส่วน ''ราคาอัญมณี'' กำหนดตามน้ำหนัก หน่วยราคาใช้หน่วยเมล็ดพืช  นอกจากนี้ ตำรารัตนปรีกษาและตำรานพรัตน์ยังระบุถึงอัญมณีสำคัญตรงกันเก้าชนิด คือ เพชร ไข่มุก ทับทิม มรกต ไพลิน ไพฑูรย์ บุษราคัม โกเมน และประพาฬ  อย่างไรก็ตาม  ตำรารัตนปรีกษาและตำรานพรัตน์ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ไม่ตรงกัน ตัวอย่างเช่น ชื่อเมืองหรือดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณี การพรรณนาอานุภาพของอัญมณี  ซึ่งตำรารัตนปรีกษาเน้นการคุ้มครองป้องกันภัยและการเสริมสิริมงคล  ในขณะที่ตำรานพรัตน์เน้นการเสริมอำนาจ ชัยชนะในการสงคราม และความเป็นสิริมงคลสำหรับผู้สวมเป็นสำคัญ  เพราะผู้แต่งประพันธ์ขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  และใช้เป็นฉบับหลวง

รุ่นปัจจุบันของ 10:13, 23 สิงหาคม 2557

อัญมณีวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการพิจารณา ตรวจสอบ และประเมินค่าอัญมณี แม้จะเป็นวิชาการที่เพิ่งเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่แท้จริงแล้วอัญมณีวิทยานี้มีในอินเดียมาตั้งแต่สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ความรู้เกี่ยวกับอัญมณีในวรรณคดีสันสกฤตมีชื่อเรียกว่า “รัตนปรีกษา” เป็นศิลปศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งพระราชา เจ้าพนักงานพระคลัง และพ่อค้า ควรเรียนรู้ รัตนปรีกษาได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมากมาย ทั้งในรูปแบบตำราเดี่ยวและเรื่องแทรกในวรรณคดี ตำรารัตนปรีกษาที่เลือกมาศึกษามีสองฉบับ ได้แก่ รัตนปรีกษาฉบับของพุทธภัฏฏะ และรัตนปรีกษาธยายะซึ่งเป็นเรื่องแทรกในครุฑปุราณะ รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะเป็นตำราอัญมณีที่เชื่อกันว่าเก่าแก่ที่สุด ผู้แต่งเป็นชาวพุทธชื่อ “พุทธภัฏฏะ” แม้จะเป็นเพียงฉบับย่อของตำรารัตนศาสตร์ดั้งเดิมซึ่งยังหาไม่พบในปัจจุบัน แต่ก็มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนรัตนปรีกษาธยายะในครุฑปุราณะเป็นตำรารัตนปรีกษาที่คัดลอกมาจากรัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะโดยตรง ทว่าได้ปรับเปลี่ยนต้นฉบับให้สอดคล้องกับประเพณีฮินดู โดยตัดข้อความที่สื่อถึงความเชื่อทางพุทธศาสนาทิ้งไป และใช้ถ้อยคำที่สื่อถึงความเชื่อในเทพเจ้าของลัทธิฮินดูแทนที่ เนื้อหาสาระของตำรารัตนปรีกษาทั้งสอง คือ การพิจารณาอัญมณีในประเด็นสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การกำเนิด แหล่งกำเนิด คุณสมบัติ อานุภาพ และราคาอัญมณี อัญมณีที่นำมาพิจารณามีทั้งสิ้น 14 ชนิด ได้แก่ เพชร ไข่มุก ทับทิม มรกต เศษะ ไพลิน ไพฑูรย์ บุษราคัม กรรเกตนะ พลอยภีษมะ โกเมน หินสีเลือด หินเขี้ยวหนุมาน และประพาฬ


ในวรรณคดีไทยก็มีวรรณคดีประเภทหนึ่งที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับอัญมณีเช่นกัน เรียกว่า "ตำรานพรัตน์" ตำรานพรัตน์ที่สำคัญ ได้แก่ ลิลิตตำรานพรัตน์ของหลวงนรินทราภรณ์ ตำรานพรัตน์ฉบับร้อยแก้วซึ่งพระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ บุนนาค) และคณะ เป็นผู้เรียบเรียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และตำรารัตนสาตร์จบบริบูรรณ์ซึ่งเป็นเอกสารโบราณ ไม่ปรากฏนามผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เนื้อหาสาระว่าด้วยการพิจารณาอัญมณีในประเด็นสำคัญห้าประการเช่นเดียวกับในตำรารัตนปรีกษา ส่วนจำนวนอัญมณีที่นำมาพิจารณานั้นต่างกัน อัญมณีที่ปรากฏในตำรานพรัตน์มี 12 ชนิด ได้แก่ เพชร ไข่มุก ทับทิม มรกต นากสวาดิ ครุทธิการ ไพลิน ไพฑูรย์ บุษราคัม เพทาย โกเมน และประพาฬ


ผลการวิจัยแสดงว่า ตำรารัตนปรีกษาภาษาสันสกฤตเป็นที่มาของตำรานพรัตน์ของไทย เนื่องจากเนื้อหาสาระของการพิจารณาอัญมณีทั้ง 5 ประการตรงกัน และใจความสำคัญของสาระในแต่ละข้อก็คล้ายกันด้วย กล่าวคือ การกำเนิดอัญมณี อ้างตำนานการต่อสู้ระหว่างทวยเทพกับอสูร รวมถึงอำนาจของเทพเจ้าที่ดลบันดาลให้เกิดอัญมณีในโลก เพื่อทำให้อัญมณีมีความศักดิ์สิทธิ์ แหล่งกำเนิดของอัญมณี โดยมากเป็นแหล่งธรรมชาติในดินแดนชมพูทวีป คุณสมบัติของอัญมณี พิจารณาจากสี รัศมี รูปทรง และตำหนิ อานุภาพของอัญมณี ให้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้ครอบครอง อัญมณีที่มีคุณสมบัติดีเลิศจะให้คุณในด้านการเป็นเครื่องรางของขลัง การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนการเสริมสิริมงคลและอำนาจ หากอัญมณีมีตำหนิหรือ ปราศจากคุณสมบัติแล้ว ก็จะส่งผลให้ผู้ครอบครองประสบภัยพิบัติ มีโรคภัยเบียดเบียน อาจเสื่อมถอยอำนาจและยศศักดิ์ได้ ส่วน ราคาอัญมณี กำหนดตามน้ำหนัก หน่วยราคาใช้หน่วยเมล็ดพืช นอกจากนี้ ตำรารัตนปรีกษาและตำรานพรัตน์ยังระบุถึงอัญมณีสำคัญตรงกันเก้าชนิด คือ เพชร ไข่มุก ทับทิม มรกต ไพลิน ไพฑูรย์ บุษราคัม โกเมน และประพาฬ อย่างไรก็ตาม ตำรารัตนปรีกษาและตำรานพรัตน์ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ไม่ตรงกัน ตัวอย่างเช่น ชื่อเมืองหรือดินแดนที่เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณี การพรรณนาอานุภาพของอัญมณี ซึ่งตำรารัตนปรีกษาเน้นการคุ้มครองป้องกันภัยและการเสริมสิริมงคล ในขณะที่ตำรานพรัตน์เน้นการเสริมอำนาจ ชัยชนะในการสงคราม และความเป็นสิริมงคลสำหรับผู้สวมเป็นสำคัญ เพราะผู้แต่งประพันธ์ขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และใช้เป็นฉบับหลวง

เครื่องมือส่วนตัว