พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) == == ประวัติ == พระพรห…') |
(→ประวัติ) |
||
แถว 3: | แถว 3: | ||
== พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) == | == พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) == | ||
+ | |||
+ | [[ไฟล์:PAPayutto01.jpg]] | ||
== ประวัติ == | == ประวัติ == |
การปรับปรุง เมื่อ 14:15, 24 กันยายน 2553
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ประวัติ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๓ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุย่าง ๑๓ ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น
พ.ศ. ๒๔๙๕ ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป
พ.ศ. ๒๔๙๖ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ ๔ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า 'ปยุตฺโต' แปลว่า 'ผู้เพียรประกอบแล้ว'
พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้ วิชาชุดครู พ.ม. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖
หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นอาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๙
นอกจากสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปบรรยาย ณ University Museum แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ และที่ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้รับนิมนต์ให้เป็น visiting scholar และได้รับแต่งตั้งเป็น research fellow ณ Divinity Faculty แห่งมหาวิทยาลัย Harvard
ท่านมีธรรมกถาที่เผยแพร่นับพันรายการ และมีผลงานหนังสือที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงหลายร้อยเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สถาบันการศึกษาชั้นสูงเกือบ ๒๐ แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งเชิดชูเกียรติต่างๆ มี ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์จาก นวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) จากมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นอาทิ
สำนักของท่านในปัจจุบัน คือวัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม