พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
จาก ChulaPedia
ล (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)) |
(→ประวัติ) |
||
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 9: | แถว 9: | ||
== ประวัติ == | == ประวัติ == | ||
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี | พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี | ||
+ | |||
เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี | เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี | ||
+ | |||
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี | พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี | ||
+ | |||
พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๓ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ | พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๓ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ | ||
+ | |||
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุย่าง ๑๓ ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น | บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุย่าง ๑๓ ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น | ||
+ | |||
พ.ศ. ๒๔๙๕ ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป | พ.ศ. ๒๔๙๕ ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป | ||
+ | |||
พ.ศ. ๒๔๙๖ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ ๔ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า 'ปยุตฺโต' แปลว่า 'ผู้เพียรประกอบแล้ว' | พ.ศ. ๒๔๙๖ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ ๔ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า 'ปยุตฺโต' แปลว่า 'ผู้เพียรประกอบแล้ว' | ||
+ | |||
พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้ วิชาชุดครู พ.ม. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ | พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้ วิชาชุดครู พ.ม. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ | ||
+ | |||
หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นอาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ | หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นอาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ | ||
+ | |||
นอกจากสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปบรรยาย ณ University Museum แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ และที่ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้รับนิมนต์ให้เป็น visiting scholar และได้รับแต่งตั้งเป็น research fellow ณ Divinity Faculty แห่งมหาวิทยาลัย Harvard | นอกจากสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปบรรยาย ณ University Museum แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ และที่ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้รับนิมนต์ให้เป็น visiting scholar และได้รับแต่งตั้งเป็น research fellow ณ Divinity Faculty แห่งมหาวิทยาลัย Harvard | ||
+ | |||
ท่านมีธรรมกถาที่เผยแพร่นับพันรายการ และมีผลงานหนังสือที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงหลายร้อยเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สถาบันการศึกษาชั้นสูงเกือบ ๒๐ แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งเชิดชูเกียรติต่างๆ มี ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์จาก นวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) จากมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นอาทิ | ท่านมีธรรมกถาที่เผยแพร่นับพันรายการ และมีผลงานหนังสือที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงหลายร้อยเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สถาบันการศึกษาชั้นสูงเกือบ ๒๐ แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งเชิดชูเกียรติต่างๆ มี ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์จาก นวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) จากมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นอาทิ | ||
- | |||
+ | สำนักของท่านในปัจจุบัน คือ[[วัดญาณเวศกวัน]] ตั้งอยู่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม | ||
== สมณศักดิ์ == | == สมณศักดิ์ == |
รุ่นปัจจุบันของ 07:08, 27 กันยายน 2553
เนื้อหา |
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากหนังสือ กาลานุกรม: พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก และข้อมูลจาก website ของวัดญาณเวศกวัน (http://www.watnyanaves.net)
ประวัติ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๓ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุย่าง ๑๓ ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น
พ.ศ. ๒๔๙๕ ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป
พ.ศ. ๒๔๙๖ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ ๔ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า 'ปยุตฺโต' แปลว่า 'ผู้เพียรประกอบแล้ว'
พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้ วิชาชุดครู พ.ม. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖
หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นอาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๙
นอกจากสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปบรรยาย ณ University Museum แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ และที่ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้รับนิมนต์ให้เป็น visiting scholar และได้รับแต่งตั้งเป็น research fellow ณ Divinity Faculty แห่งมหาวิทยาลัย Harvard
ท่านมีธรรมกถาที่เผยแพร่นับพันรายการ และมีผลงานหนังสือที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงหลายร้อยเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สถาบันการศึกษาชั้นสูงเกือบ ๒๐ แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งเชิดชูเกียรติต่างๆ มี ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์จาก นวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) จากมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นอาทิ
สำนักของท่านในปัจจุบัน คือวัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
งานเผยแผ่พุทธธรรม
พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ สอนในแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๐๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขณะเดียวกัน ก็เป็นอาจารย์สอนในชั้นปริญญาตรี พุทธศาสตร์บัณฑิต ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างนั้น บางปี บรรยายที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และในโครงการศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับอาราธนาไปบรรยายวิชาพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทยที่ University Museum, University of Pennsylvania
พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๑ ได้รับอาราธนาไปบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนา ที่ Swarthmore College, Pennsylvania
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับอาราธนาเป็น Visiting Scholar ที่ Center for the Study of World Religions และบรรยาย วิชาการทางพุทธศาสนา สำหรับ Divinity Faculty และ Arts Faculty ที่ Harvard University
พ.ศ. ๒๕๓๗-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ประกาศเกียรติคุณ
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๑
การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๖
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘
วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑
ศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๔๔
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาวิชาการบริหารองค์กร จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. ๒๕๔๕
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา จาก มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๕๒
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๕๒
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๕๒
ประกาศเกียรติคุณและรางวัล
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมชั้นที่ ๑ ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิ ธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล 'มหิดลวรานุสรณ์'
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับโล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ ๒๐ ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ 'สังข์เงิน' สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็น 'ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม'
พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ถวายตำแหน่ง "ตรีปิฎอาจารย์" หมายถึงอาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ถวายรางวัล TFF Award สาขาสังคมศาสตร์และ มานุษยวิทยาสำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือ 'การพัฒนาที่ยั่งยืน'
พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัล 'สาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล' จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็น 'ศาสตราจารย์พิเศษ' ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ถวายตำแหน่ง 'เมธาจารย์' (Most Eminent Scholar) ในฐานะนักปราชญ์ ทางพระพุทธศาสนาสายเถรวาท
พ.ศ. ๒๕๔๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็น 'ราชบัณฑิต (พิเศษ)'
พ.ศ. ๒๕๕๒ โล่วัชรเกียรติคุณ จาก คณะกรรมการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๒ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จาก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
--Spiti 15:25, 24 กันยายน 2553 (BST)