วัดญาณเวศกวัน

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' == วัดญาณเวศกวัน == ไฟล์:watnyanaves01.jpg')
(ที่อยู่และแผนที่การเดินทาง)
 
(การแก้ไข 10 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 3: แถว 3:
[[ไฟล์:watnyanaves01.jpg]]
[[ไฟล์:watnyanaves01.jpg]]
 +
 +
วัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับอนุญาตเป็นทางการ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ เริ่มมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาในปีเดียวกันนั้น และมีประกาศตั้งเป็นวัดในปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี[[พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)]] เป็นเจ้าอาวาสสืบมาแต่ต้นจนปัจจุบัน
 +
 +
 +
ภายในเนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๑ งาน ๘๕ ตารางวา ร่มรื่นด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ ผลิดอกออกใบอยู่ทั่วบริเวณ โอบล้อมด้วยบรรยากาศ แห่งธรรมชาติที่เกื้อกูลกันระหว่างสรรพชีวิต เป็นรมณียสถานที่ให้ความสดชื่นผ่อนคลาย สงบเย็น แก่ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาพักพิง ด้วย ความตั้งใจที่จะให้อารามแห่งนี้เป็นป่าที่เหมาะแก่การเข้ามาแสวงหาความรู้ เจริญธรรม เจริญปัญญา สมดังชื่อ "ญาณเวศกวัน" อันมี ความหมายว่า "ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้" หรือ "ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ" พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจึงมีไว้สำหรับต้นไม้มากกว่าสิ่งปลูกสร้าง เพราะธรรมชาติที่อยู่รายล้อมรอบตัวคือแหล่งการศึกษาเรียนรู้อันกว้างใหญ่ ล้ำลึก เป็นธรรมะใกล้ตัวที่ผู้มีปัญญาจะพึงค้นพบ
 +
 +
 +
อาณาเขตของวัด ทิศเหนือ ติดทางสาธารณะในหมู่บ้าน ทิศใต้ ติดที่ดินราษฎร ทิศตะวันออก ติดเขตที่พักอาศัยและพุทธมณฑล ทิศตะวันตก ติดเส้นทางสาธารณะและคลอง
 +
 +
== พระประธาน ==
 +
 +
[[ไฟล์:phraprathan01.jpg]]
 +
 +
พระประธานในอุโบสถ มีพระนามว่า พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว ทำพิธีเททองที่ โรงหล่อ พระพุทธปฏิมาพรเลิศ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑ นำเข้าประดิษฐานในอุโบสถ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๒ ปิดทองเสร็จและสมโภช เมื่อวันที่ ๑๒ และ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๒
 +
 +
 +
 +
== หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์ ==
 +
 +
[[ไฟล์:library01.jpg]]
 +
 +
บรรณสถานเพื่อการศึกษาค้นคว้า พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากมีคัมภีร์พระพุทธศาสนา ที่สำคัญ อาทิ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคัมภีร์ตัพพินิมุต ไว้เป็นหลักในการค้นคว้าอ้างอิงแล้ว ยังเป็นที่เก็บรวบรวม ผลงานประพันธ์ของ[[ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)]] ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ตลอดจนหนังสือและข้อเขียนประกอบอื่นๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อการใช้อ้างอิง สืบค้น ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
 +
 +
 +
หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่โล่งสำหรับจัดนิทรรศการชั่วคราว และใช้เป็น ห้องอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมทางศาสนา ชั้น ๒ เป็นส่วนห้องสมุดและมุมอ่านหนังสือ โดยมีทางลาดสำหรับรถเข็นเชื่อมต่อ จากทางขึ้นลงชั้นล่าง ชั้น ๓ เป็นห้อง "ญาณปยุตตธรรมนิจัย" สำหรับนิทรรศการถาวรแสดงชีวประวัติและผลงานของ[[ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)]] ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 +
 +
 +
หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์ เปิดให้บริการแก่พระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไปเพื่อการศึกษาค้นคว้า จากแหล่งข้อมูล ในรูปของสิ่งพิมพ์ แถบ/แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) ผ่านเว็บไซต์ของวัด ที่ http://www.watnyanaves.net และในอนาคตจะเปิดให้บริการยืมออกนอกสถานที่โดยการสมัครเป็นสมาชิก
 +
 +
 +
ผู้สนใจสามารถใช้บริการได้ทุกวันอังคารถึงวันอาทิตย์ เวลา ๘.๓๐-๑๑.๓๐ น. และ ๑๒.๓๐-๑๖.๓๐ น.
 +
 +
== บรรยายธรรม ปฏิบัติธรรม ==
 +
 +
[[ไฟล์:dhammatalk01.jpg]]
 +
 +
 +
'''การบรรยายธรรมธรรม'''
 +
สาธุชนผู้สนใจสามารถรับฟังการกล่าวอนุโมทนากถก่อนฉันภัตตาหารเช้าและเพลได้ที่หอฉันเป็นประจำทุกวัน เวลาประมาณ ๐๗.๓๐ น. และ ๑๐.๔๕ น.
 +
 +
 +
ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีกิจกรรมบรรยายธรรมในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ ถึง ๑๐.๔๕ น. โดยพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ และคณะพระภิกษุวัดญาณเวศกวัน
 +
 +
 +
'''การเจริญจิตตภาวนา ฟังธรรมบรรยาย และสนทนาธรรม'''
 +
 +
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์  ที่อุโบสถชั้นล่าง  ตั้งแต่เวลา ๐๙.๔๕-๑๒.๐๐ น.  นำโดย พระครูธรรมธรครรชิต คุณวโร
 +
 +
 +
== ที่อยู่และแผนที่การเดินทาง ==
 +
 +
[[ไฟล์:mapwatnyanaves.jpg]]
 +
 +
 +
วัดญาณเวศกวัน (หลังพุทธมณฑล) ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
 +
 +
 +
โทรศัพท์ ๐๒-๔๘๒-๑๕๕๒, ๐๒-๔๘๒-๗๓๖๕, และ ๐๒-๘๘๙-๔๓๙๖
 +
 +
'''การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว'''
 +
 +
 +
- จากสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ ไปตามถนนบรมราชชนนนีขาออก ตัดผ่านถนนพุทธมณฑลสาย ๒ และสาย ๓ ตามลำดับ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ผ่านพุทธมณฑลด้านขวามือ แล้วเตรียมกลับรถที่สะพานลอยคนข้ามที่ ๒ หลังจากผ่านสามแยกไฟแดงแล้ว เมื่อกลับรถแล้วชิดซ้าย เข้าซอยแรก ตรงเข้ามาประมาณ ๒ กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางบังคับ ตรงไปอีก ๒๐๐ เมตร สังเกตซอยเล็กๆ ข้ามคลองทางซ้าย มีป้ายชื่อวัดสีเขียวบอกทางที่ปากซอย จากนั้นขับต่อมาตามซอยนั้นประมาณ ๕๐ เมตรจะพบประตูทางเข้าวัดทางซ้ายมือ
 +
 +
 +
- ถ้าเป็นวันปกติ จอดรถในวัดได้ ตามที่จอดข้างทางที่ระบุไว้ ส่วนวันสำคัญที่มีผู้นำรถมามาก ควรจอดรถที่จุดจอดรถรอบวัดด้านนอก คือเมื่อถึงประตูวัดไม่ต้องเลี้ยวเข้า ให้เลยไปอีกนิด จะมีลานจอดด้านขวามือ ถัดไปมีทางแยกเลี้ยวซ้าย ผ่านประตูวัดอีกประตูหนึ่งด้านซ้าย (ประตูทางออก) จะพบลานจอดรถอีกจุดหนึ่งทางขวามือ
 +
 +
 +
'''การเดินทางด้วยรถประจำทาง'''
 +
 +
- สาย ๘๔ก คลองสาน - เพชรเกษม - บางแค - หนองแขม - พุทธมณฑล สาย ๔
 +
 +
- สาย ๑๒๔ สนามหลวง - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - ศาลายา (ต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง)
 +
 +
- ปอ. ๑๗๐ หมอชิต - วงศ์สว่าง - พระราม ๗ - จรัลสนิทวงศ์ - สายใต้ - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - พุทธมณฑล สาย๔ - อ้อมใหญ่
 +
 +
- ปอ. ๕๑๕ อนุสารีย์ชัยสมรภูมิ - สะพานกรุงธน - ตังฮั่วเส็ง - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - ศาลายา (ต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง)
 +
 +
- ปอ. ๕๓๙ อนุสารีย์ชัยสมรภูมิ - สะพานกรุงธน - ตังฮั่วเส็ง - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - พุทธมณฑล สาย๔
 +
 +
'''การเดินทางด้วยรถตู้รับจ้าง'''
 +
 +
 +
- ต้นทางหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า - ปลายทางวัดไร่ขิง - ลงที่พุทธมณฑล  วัดอยู่ข้างหลังพุทธมณฑล เข้าซอยด้านข้างพุทธมณฑลฝั่งทิศตะวันออก ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร (มีมอเตอร์ไซด์รับจ้างหน้าปากซอย)
 +
 +
 +
 +
--[[ผู้ใช้:Spiti|Spiti]] 07:49, 27 กันยายน 2553 (BST)
 +
 +
ที่มา: website ของวัดญาณเวศกวัน http://www.watnyanaves.net

รุ่นปัจจุบันของ 07:21, 27 กันยายน 2553

เนื้อหา

วัดญาณเวศกวัน

ไฟล์:watnyanaves01.jpg

วัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับอนุญาตเป็นทางการ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ เริ่มมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาในปีเดียวกันนั้น และมีประกาศตั้งเป็นวัดในปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เป็นเจ้าอาวาสสืบมาแต่ต้นจนปัจจุบัน


ภายในเนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๑ งาน ๘๕ ตารางวา ร่มรื่นด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ ผลิดอกออกใบอยู่ทั่วบริเวณ โอบล้อมด้วยบรรยากาศ แห่งธรรมชาติที่เกื้อกูลกันระหว่างสรรพชีวิต เป็นรมณียสถานที่ให้ความสดชื่นผ่อนคลาย สงบเย็น แก่ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาพักพิง ด้วย ความตั้งใจที่จะให้อารามแห่งนี้เป็นป่าที่เหมาะแก่การเข้ามาแสวงหาความรู้ เจริญธรรม เจริญปัญญา สมดังชื่อ "ญาณเวศกวัน" อันมี ความหมายว่า "ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้" หรือ "ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ" พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจึงมีไว้สำหรับต้นไม้มากกว่าสิ่งปลูกสร้าง เพราะธรรมชาติที่อยู่รายล้อมรอบตัวคือแหล่งการศึกษาเรียนรู้อันกว้างใหญ่ ล้ำลึก เป็นธรรมะใกล้ตัวที่ผู้มีปัญญาจะพึงค้นพบ


อาณาเขตของวัด ทิศเหนือ ติดทางสาธารณะในหมู่บ้าน ทิศใต้ ติดที่ดินราษฎร ทิศตะวันออก ติดเขตที่พักอาศัยและพุทธมณฑล ทิศตะวันตก ติดเส้นทางสาธารณะและคลอง

พระประธาน

ไฟล์:phraprathan01.jpg

พระประธานในอุโบสถ มีพระนามว่า พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว ทำพิธีเททองที่ โรงหล่อ พระพุทธปฏิมาพรเลิศ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑ นำเข้าประดิษฐานในอุโบสถ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๒ ปิดทองเสร็จและสมโภช เมื่อวันที่ ๑๒ และ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๒


หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์

ไฟล์:library01.jpg

บรรณสถานเพื่อการศึกษาค้นคว้า พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากมีคัมภีร์พระพุทธศาสนา ที่สำคัญ อาทิ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคัมภีร์ตัพพินิมุต ไว้เป็นหลักในการค้นคว้าอ้างอิงแล้ว ยังเป็นที่เก็บรวบรวม ผลงานประพันธ์ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ตลอดจนหนังสือและข้อเขียนประกอบอื่นๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อการใช้อ้างอิง สืบค้น ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น


หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์ เป็นอาคาร ๓ ชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่โล่งสำหรับจัดนิทรรศการชั่วคราว และใช้เป็น ห้องอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมทางศาสนา ชั้น ๒ เป็นส่วนห้องสมุดและมุมอ่านหนังสือ โดยมีทางลาดสำหรับรถเข็นเชื่อมต่อ จากทางขึ้นลงชั้นล่าง ชั้น ๓ เป็นห้อง "ญาณปยุตตธรรมนิจัย" สำหรับนิทรรศการถาวรแสดงชีวประวัติและผลงานของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์ เปิดให้บริการแก่พระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไปเพื่อการศึกษาค้นคว้า จากแหล่งข้อมูล ในรูปของสิ่งพิมพ์ แถบ/แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) ผ่านเว็บไซต์ของวัด ที่ http://www.watnyanaves.net และในอนาคตจะเปิดให้บริการยืมออกนอกสถานที่โดยการสมัครเป็นสมาชิก


ผู้สนใจสามารถใช้บริการได้ทุกวันอังคารถึงวันอาทิตย์ เวลา ๘.๓๐-๑๑.๓๐ น. และ ๑๒.๓๐-๑๖.๓๐ น.

บรรยายธรรม ปฏิบัติธรรม

ไฟล์:dhammatalk01.jpg


การบรรยายธรรมธรรม สาธุชนผู้สนใจสามารถรับฟังการกล่าวอนุโมทนากถก่อนฉันภัตตาหารเช้าและเพลได้ที่หอฉันเป็นประจำทุกวัน เวลาประมาณ ๐๗.๓๐ น. และ ๑๐.๔๕ น.


ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีกิจกรรมบรรยายธรรมในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ ถึง ๑๐.๔๕ น. โดยพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ และคณะพระภิกษุวัดญาณเวศกวัน


การเจริญจิตตภาวนา ฟังธรรมบรรยาย และสนทนาธรรม

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ที่อุโบสถชั้นล่าง ตั้งแต่เวลา ๐๙.๔๕-๑๒.๐๐ น. นำโดย พระครูธรรมธรครรชิต คุณวโร


ที่อยู่และแผนที่การเดินทาง

ไฟล์:mapwatnyanaves.jpg


วัดญาณเวศกวัน (หลังพุทธมณฑล) ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐


โทรศัพท์ ๐๒-๔๘๒-๑๕๕๒, ๐๒-๔๘๒-๗๓๖๕, และ ๐๒-๘๘๙-๔๓๙๖

การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว


- จากสถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ ไปตามถนนบรมราชชนนนีขาออก ตัดผ่านถนนพุทธมณฑลสาย ๒ และสาย ๓ ตามลำดับ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ผ่านพุทธมณฑลด้านขวามือ แล้วเตรียมกลับรถที่สะพานลอยคนข้ามที่ ๒ หลังจากผ่านสามแยกไฟแดงแล้ว เมื่อกลับรถแล้วชิดซ้าย เข้าซอยแรก ตรงเข้ามาประมาณ ๒ กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางบังคับ ตรงไปอีก ๒๐๐ เมตร สังเกตซอยเล็กๆ ข้ามคลองทางซ้าย มีป้ายชื่อวัดสีเขียวบอกทางที่ปากซอย จากนั้นขับต่อมาตามซอยนั้นประมาณ ๕๐ เมตรจะพบประตูทางเข้าวัดทางซ้ายมือ


- ถ้าเป็นวันปกติ จอดรถในวัดได้ ตามที่จอดข้างทางที่ระบุไว้ ส่วนวันสำคัญที่มีผู้นำรถมามาก ควรจอดรถที่จุดจอดรถรอบวัดด้านนอก คือเมื่อถึงประตูวัดไม่ต้องเลี้ยวเข้า ให้เลยไปอีกนิด จะมีลานจอดด้านขวามือ ถัดไปมีทางแยกเลี้ยวซ้าย ผ่านประตูวัดอีกประตูหนึ่งด้านซ้าย (ประตูทางออก) จะพบลานจอดรถอีกจุดหนึ่งทางขวามือ


การเดินทางด้วยรถประจำทาง

- สาย ๘๔ก คลองสาน - เพชรเกษม - บางแค - หนองแขม - พุทธมณฑล สาย ๔

- สาย ๑๒๔ สนามหลวง - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - ศาลายา (ต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง)

- ปอ. ๑๗๐ หมอชิต - วงศ์สว่าง - พระราม ๗ - จรัลสนิทวงศ์ - สายใต้ - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - พุทธมณฑล สาย๔ - อ้อมใหญ่

- ปอ. ๕๑๕ อนุสารีย์ชัยสมรภูมิ - สะพานกรุงธน - ตังฮั่วเส็ง - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - ศาลายา (ต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง)

- ปอ. ๕๓๙ อนุสารีย์ชัยสมรภูมิ - สะพานกรุงธน - ตังฮั่วเส็ง - ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี - พุทธมณฑล สาย๔

การเดินทางด้วยรถตู้รับจ้าง


- ต้นทางหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า - ปลายทางวัดไร่ขิง - ลงที่พุทธมณฑล วัดอยู่ข้างหลังพุทธมณฑล เข้าซอยด้านข้างพุทธมณฑลฝั่งทิศตะวันออก ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร (มีมอเตอร์ไซด์รับจ้างหน้าปากซอย)


--Spiti 07:49, 27 กันยายน 2553 (BST)

ที่มา: website ของวัดญาณเวศกวัน http://www.watnyanaves.net

เครื่องมือส่วนตัว