ทางเดินลาดขึ้น
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''ทางเดินลาดขึ้น Curb Ramp''' == == '''การออกแบบ และสร้างทาง…') |
|||
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 4: | แถว 4: | ||
== '''การออกแบบ และสร้างทางเดินลาด (Curb Ramp)''' == | == '''การออกแบบ และสร้างทางเดินลาด (Curb Ramp)''' == | ||
- | ทางเดินลาดเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างทางเดินเท้าและถนน สำหรับผู้ใช้บริการทางเดินเท้ารวมถึงรถเข็นคนพิการ (Wheelchairs) และรถเข็นสัมภาระ ตามปกติแล้วจะพบการออกแบบทางลาดบริเวณทางแยกที่จอดรถบนถนน (On-street Parking) หรือทางข้าม (Midblock Crossings) เป็นต้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสร้างทางลาดนั้นก็เพื่อช่วยให้ผู้สัญจรทางสามารถเดินเปลี่ยนระดับด้วยความปลอดภัย และทำให้ผู้พิการหรือผู้เข็นสัมภาระสามารถใช้เพื่ออำนวยความสะดวกได้ องค์ประกอบของทางลาดตามมาตรฐานของ FHWA | + | ทางเดินลาดเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างทางเดินเท้าและถนน สำหรับผู้ใช้บริการทางเดินเท้ารวมถึงรถเข็นคนพิการ (Wheelchairs) และรถเข็นสัมภาระ ตามปกติแล้วจะพบการออกแบบทางลาดบริเวณทางแยกที่จอดรถบนถนน (On-street Parking) หรือทางข้าม (Midblock Crossings) เป็นต้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสร้างทางลาดนั้นก็เพื่อช่วยให้ผู้สัญจรทางสามารถเดินเปลี่ยนระดับด้วยความปลอดภัย และทำให้ผู้พิการหรือผู้เข็นสัมภาระสามารถใช้เพื่ออำนวยความสะดวกได้ องค์ประกอบของทางลาดตามมาตรฐานของ FHWA และ ADA |
[[ไฟล์:ทางลาดที่ไม่ได้มาตรฐานการออกแบบ.jpg]] | [[ไฟล์:ทางลาดที่ไม่ได้มาตรฐานการออกแบบ.jpg]] | ||
แถว 24: | แถว 24: | ||
[[ไฟล์:องค์ประกอบของทางเดินลาด (Curb ramp).jpg]] | [[ไฟล์:องค์ประกอบของทางเดินลาด (Curb ramp).jpg]] | ||
- | ทางเดินลาดในปัจจุบันมีการออกแบบในหลายรูปแบบตามตำแหน่งและการใช้งาน ประเภทของทางเดินลาด ลักษณะทางกายภาพ และข้อได้เปรียบเสียเปรียบตามมาตรฐาน FHWA | + | ทางเดินลาดในปัจจุบันมีการออกแบบในหลายรูปแบบตามตำแหน่งและการใช้งาน ประเภทของทางเดินลาด ลักษณะทางกายภาพ และข้อได้เปรียบเสียเปรียบตามมาตรฐาน FHWA ดังนี้ |
[[ไฟล์:ประเภทของทางเดินลาด ลักษณะทางกายภาพ ข้อดี ข้อเสีย.jpg]] | [[ไฟล์:ประเภทของทางเดินลาด ลักษณะทางกายภาพ ข้อดี ข้อเสีย.jpg]] | ||
แถว 45: | แถว 45: | ||
โดยสรุปแล้วพบว่าการใช้ประโยชน์ของทางลาดในคณะยังไม่ชัดเจน เนื่องจากการออกแบบไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เดินเท้าส่วนใหญ่จึงใช้ประโยชน์ในการขนสินค้าด้วยรถเข็นขึ้นอาคาร เสียมากกว่า ทำให้ทางเดินลาดส่วนใหญ่มีลักษณะชั่วคราวและไม่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับปริมาณการสัญจรและการเดินทางในพื้นที่ โดยจะมุ่งเน้นการสร้างทางลาดสำหรับรถในรูปแบบทางยกขึ้นมากกว่าเพื่อเป็นการสยบจราจร (Traffic Calming) ปัญหาที่เกิดขึ้น อาจเนื่องมาจากพื้นที่ผิวจราจรในคณะฯ ค่อนข้างแคบทำให้การวางตำแหน่งทางเดินลาดหรือการออกแบบให้ได้มาตรฐานนั้นทำได้ยาก นอกจากนี้ ทางคณะฯ แต่เดิมก็ยังไม่ได้มีการวางแผนการเดินทางภายในสำหรับผู้เดินเท้าอย่างเป็นระบบเมื่อปริมาณผู้ใช้เพิ่มขึ้นจึงไม่ได้รับความสะดวกและทำให้ผู้เดินเท้าต้องลงไปใช้พื้นที่ถนนในทางเดินมากกว่า ทางคณะฯ ควรทำการศึกษาความต้องการใช้ทางเดินเท้าของนิสิตและบุคลากรเพื่อจะได้จัดวางตำแหน่งเส้นทางและออกแบบทางเดินลาดให้มีความเหมาะสมกับปริมาณและความจำเป็น ในการใช้งาน โดยอาจจะสร้างทางเดินลาดเพิ่มเติมในจุดที่ควรสร้างหรือปรับปรุงซ่อมแซมทางลาดที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐาน เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการรองรับนิสิตและบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นในอนาคต | โดยสรุปแล้วพบว่าการใช้ประโยชน์ของทางลาดในคณะยังไม่ชัดเจน เนื่องจากการออกแบบไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เดินเท้าส่วนใหญ่จึงใช้ประโยชน์ในการขนสินค้าด้วยรถเข็นขึ้นอาคาร เสียมากกว่า ทำให้ทางเดินลาดส่วนใหญ่มีลักษณะชั่วคราวและไม่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับปริมาณการสัญจรและการเดินทางในพื้นที่ โดยจะมุ่งเน้นการสร้างทางลาดสำหรับรถในรูปแบบทางยกขึ้นมากกว่าเพื่อเป็นการสยบจราจร (Traffic Calming) ปัญหาที่เกิดขึ้น อาจเนื่องมาจากพื้นที่ผิวจราจรในคณะฯ ค่อนข้างแคบทำให้การวางตำแหน่งทางเดินลาดหรือการออกแบบให้ได้มาตรฐานนั้นทำได้ยาก นอกจากนี้ ทางคณะฯ แต่เดิมก็ยังไม่ได้มีการวางแผนการเดินทางภายในสำหรับผู้เดินเท้าอย่างเป็นระบบเมื่อปริมาณผู้ใช้เพิ่มขึ้นจึงไม่ได้รับความสะดวกและทำให้ผู้เดินเท้าต้องลงไปใช้พื้นที่ถนนในทางเดินมากกว่า ทางคณะฯ ควรทำการศึกษาความต้องการใช้ทางเดินเท้าของนิสิตและบุคลากรเพื่อจะได้จัดวางตำแหน่งเส้นทางและออกแบบทางเดินลาดให้มีความเหมาะสมกับปริมาณและความจำเป็น ในการใช้งาน โดยอาจจะสร้างทางเดินลาดเพิ่มเติมในจุดที่ควรสร้างหรือปรับปรุงซ่อมแซมทางลาดที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐาน เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการรองรับนิสิตและบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นในอนาคต | ||
- | + | ||
- | [ | + | |
- | [ | + | == อ้างอิง == |
+ | |||
+ | '''''ที่มาข้อมูล''''' | ||
+ | |||
+ | [http://www.fhwa.dot.gov/environment/sldewalk2/sidewalks207.htm Federal Highway Administration (FHWA)] | ||
+ | |||
+ | [http://www.ada.gov/pcatoolkit/chap6toolkit.htm Americans with Disabilities Act] | ||
รุ่นปัจจุบันของ 04:20, 22 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
ทางเดินลาดขึ้น Curb Ramp
การออกแบบ และสร้างทางเดินลาด (Curb Ramp)
ทางเดินลาดเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างทางเดินเท้าและถนน สำหรับผู้ใช้บริการทางเดินเท้ารวมถึงรถเข็นคนพิการ (Wheelchairs) และรถเข็นสัมภาระ ตามปกติแล้วจะพบการออกแบบทางลาดบริเวณทางแยกที่จอดรถบนถนน (On-street Parking) หรือทางข้าม (Midblock Crossings) เป็นต้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสร้างทางลาดนั้นก็เพื่อช่วยให้ผู้สัญจรทางสามารถเดินเปลี่ยนระดับด้วยความปลอดภัย และทำให้ผู้พิการหรือผู้เข็นสัมภาระสามารถใช้เพื่ออำนวยความสะดวกได้ องค์ประกอบของทางลาดตามมาตรฐานของ FHWA และ ADA
ภาพทางลาดที่ไม่ได้มาตรฐานการออกแบบ
องค์ประกอบ ทางเดินลาด
1. Ramp คือ พื้นเปลี่ยนระดับสำหรับผู้ใช้รถเข็นล้อเลื่อนเดินทางขึ้นลงจากทางเดินเท้า
2. Flare เป็นพื้นปรับระดับของทางเดินลาดกับทางเดินเท้าให้มีระดับต่อเนื่องกันซึ่งอาจจะสร้างให้เป็นผิวขรุขระกว่าเพื่อเป็นการเตือนผู้ใช้ทางเดินเท้า
3. Approach และ Landing คือส่วนของทางเดินเท้าที่ทำพื้นให้ขรุขระเพื่อเตือนผู้ใช้ทางเดินเท้าให้ระมัดระวัง
4. Gutter เป็นทางระบายน้ำที่คั่นอยู่ระหว่างผิวการจราจรกับทางเดินเท้า
ทางเดินลาดในปัจจุบันมีการออกแบบในหลายรูปแบบตามตำแหน่งและการใช้งาน ประเภทของทางเดินลาด ลักษณะทางกายภาพ และข้อได้เปรียบเสียเปรียบตามมาตรฐาน FHWA ดังนี้
ทางเดินลาดภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จากการสำรวจทางเดินลาดในบริเวณคณะวิศวกรรมศาสตร์ พบว่ามีทางลาดทั้งหมด 12 จุด ที่ทางเดินลาด มีลักษณะไม่กระจายตำแหน่งอย่างสม่ำเสมอ ทางเดินลาดที่สร้างนั้นก็ไม่ได้มาตรฐาน โดยส่วนใหญ่สร้างเพื่อการใช้งานแบบง่าย ๆ เพื่อเชื่อมต่อทางเดินและถนนในคณะฯ นอกจากนี้พบทางลาดบางส่วนมีขนาดเล็กไม่เพียงพอที่จะให้บริการผู้ใช้รถเข็นได้ และมีหลายจุดที่มีการชำรุดแตกร้าว หรือบางแห่งทำไว้แต่ไม่พบการใช้งานหรือมีผู้ใช้น้อย บางจุดที่มีทางเดินเท้าก็ไม่มีทางลาดลงให้ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทางเท้า ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. ทางเดินลาดไม่ได้มาตรฐาน ในการสร้างทางลาดนั้นควรมีการยึดตามมาตรฐานตามแต่ละประเภทเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน แต่จากการสำรวจพบว่าทางลาดภายในคณะฯ เป็นทางลาดที่ไม่มีมาตรฐานและทำขึ้นเองแบบง่าย ๆ ด้านซ้ายจะเป็นทางลาดที่ทำด้วยเหล็กเพื่อให้จักรยานยนต์ขึ้นลงและในเวลาฝนตกอาจเกิดการลื่นไถลได้ และบางทางลาดขนาดเล็กความกว้างไม่เพียงพอไม่สามารถใช้งานได้จริง
2. ตำแหน่งทางเดินลาดไม่เหมาะสม เนื่องจากการสร้างทางเดินลาดในคณะฯ ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเดินทางบางที่มีผู้ใช้ทางมากแต่ก็ไม่มีการสร้างทางเดินลาดให้ หรือทางเดินลาดบางแห่งก็อยู่ในบริเวณที่ไม่มีผู้ใช้งาน ด้านซ้ายเป็นทางลาดที่อยู่ตำแหน่งที่ไม่มีการใช้งานนั่นหมายถึงไม่มีการวางแผนเส้นทางการเดินเท้ามาก่อน และรูปด้านขวาเป็น ทางลาดที่ตำแหน่งหลังตึกอาคารเรียนที่มีผู้ใช้ค่อนข้างน้อย
3. ทางเดินลาดมีความชำรุด ทางเดินลาดในคณะฯ ที่มีความเสียหายหรือชำรุดจากการทรุดตัวของดินทำให้เกิดการแตกร้าว จึงไม่สามารถใช้งานได้ หรือหากมีการใช้งานก็จะเป็นอันตราย นอกจากนี้ยังไม่มีการแจ้งเตือนการชำรุดของทางเดินลาดอีกด้วย
สรุปประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข
โดยสรุปแล้วพบว่าการใช้ประโยชน์ของทางลาดในคณะยังไม่ชัดเจน เนื่องจากการออกแบบไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เดินเท้าส่วนใหญ่จึงใช้ประโยชน์ในการขนสินค้าด้วยรถเข็นขึ้นอาคาร เสียมากกว่า ทำให้ทางเดินลาดส่วนใหญ่มีลักษณะชั่วคราวและไม่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับปริมาณการสัญจรและการเดินทางในพื้นที่ โดยจะมุ่งเน้นการสร้างทางลาดสำหรับรถในรูปแบบทางยกขึ้นมากกว่าเพื่อเป็นการสยบจราจร (Traffic Calming) ปัญหาที่เกิดขึ้น อาจเนื่องมาจากพื้นที่ผิวจราจรในคณะฯ ค่อนข้างแคบทำให้การวางตำแหน่งทางเดินลาดหรือการออกแบบให้ได้มาตรฐานนั้นทำได้ยาก นอกจากนี้ ทางคณะฯ แต่เดิมก็ยังไม่ได้มีการวางแผนการเดินทางภายในสำหรับผู้เดินเท้าอย่างเป็นระบบเมื่อปริมาณผู้ใช้เพิ่มขึ้นจึงไม่ได้รับความสะดวกและทำให้ผู้เดินเท้าต้องลงไปใช้พื้นที่ถนนในทางเดินมากกว่า ทางคณะฯ ควรทำการศึกษาความต้องการใช้ทางเดินเท้าของนิสิตและบุคลากรเพื่อจะได้จัดวางตำแหน่งเส้นทางและออกแบบทางเดินลาดให้มีความเหมาะสมกับปริมาณและความจำเป็น ในการใช้งาน โดยอาจจะสร้างทางเดินลาดเพิ่มเติมในจุดที่ควรสร้างหรือปรับปรุงซ่อมแซมทางลาดที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐาน เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการรองรับนิสิตและบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นในอนาคต
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล
Federal Highway Administration (FHWA)
Americans with Disabilities Act
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ อ. ดร.จิตติชัย รุจนกนกนาฏ, นายพัชรายุทธ์ จันทน์หอม, นายพีรสันต์ รัตนสุวรรณ
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ