หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''โรคหัวใจห้องบนเต้นแบบสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation : AF)''' == หั…') |
|||
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 19: | แถว 19: | ||
- | [[ไฟล์:แผนภูมิข้างล่างแสดงให้เห็นถึงความชุกของโรคAF.jpg | + | [[ไฟล์:แผนภูมิข้างล่างแสดงให้เห็นถึงความชุกของโรคAF.jpg|thumb|left|แผนภูมิแสดงถึงความชุกของโรค AF ของประชากรในสหรัฐอเมริกา]] |
- | + | ||
- | + | ||
แถว 35: | แถว 33: | ||
เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มมากขึ้นตามการแพทย์และสาธารณสุขที่ก้าวหน้า แต่จำนวนแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจยังมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการพัฒนาซอฟต์แวร์มาช่วยวิเคราะห์และตรวจจับโรคหัวใจแบบ realtime ประกอบกับการใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต ในการรับส่งข้อมูลระหว่างแพทย์และผู้ป่วย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการวินิจฉัยโรค เป็นการช่วยประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและบำบัดรักษา อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ง่ายและสะดวกขึ้นอีกด้วย | เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มมากขึ้นตามการแพทย์และสาธารณสุขที่ก้าวหน้า แต่จำนวนแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจยังมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการพัฒนาซอฟต์แวร์มาช่วยวิเคราะห์และตรวจจับโรคหัวใจแบบ realtime ประกอบกับการใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต ในการรับส่งข้อมูลระหว่างแพทย์และผู้ป่วย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการวินิจฉัยโรค เป็นการช่วยประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและบำบัดรักษา อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ง่ายและสะดวกขึ้นอีกด้วย | ||
+ | |||
รุ่นปัจจุบันของ 06:47, 22 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
โรคหัวใจห้องบนเต้นแบบสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation : AF)
หัวใจของเราเต้นในอัตราปรกติ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งประมาณ 80,000 ถึง 150,000 ครั้งในหนึ่งวัน สำหรับผู้มีอายุถึง 80 ปีนั้น หัวใจได้เต้นมาแล้วเฉลี่ยประมาณ 3 พันล้านครั้ง การทำหน้าที่สูบฉีดเลือดแบบไม่หยุดหย่อนนี้ถือเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก (โดยปรกติ หัวใจของเราไม่ได้เต้นคงที่เหมือนนาฬิกาเดิน แต่จะมีความผันแปรเป็นธรรมชาติได้ตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการเต้นผิดจังหวะ) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่หัวใจจะเต้นสะดุด หรือเต้นผิดจังหวะบ้างในบางครั้ง
โรคหัวใจห้องบนเต้นแบบสั่นพริ้ว
โรคหัวใจห้องบนเต้นแบบสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation : AF) หรือ การเต้นผิดจังหวะของหัวใจแบบต่อเนื่อง เป็นโรคหัวใจที่แพร่หลายที่สุดโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ แผนภูมิข้างล่างแสดงในเห็นถึงความชุกของโรค AF ของประชากรในสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลทางสถิติที่ชัดเจน
อาการของโรค
อาการของโรค AF ส่วนใหญ่ที่พบคือ ใจสั่นและเหนื่อยหอบ แต่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่แสดงอาการใดๆ ระหว่างเกิด AF เลย ถึงแม้โรคหัวใจชนิดนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยตรง แต่มีผลแทรกซ้อนที่ทำให้เส้นเลือดในสมองอุดตัน (embolic stroke) เป็นอัมพฤกษ์และทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุเนื่องจากระหว่างเกิด AF หัวใจห้องบนไม่ได้บีบตัวตามปรกติ ทำให้มีเลือดบางส่วนไม่ได้รับการไหลเวียน จึงจับตัวกันเป็นลิ่มเลือดและหลุดไปอุดตันเส้นเลือดในอวัยวะสำคัญได้ โรค AF จึงถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงที
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยโรค AF ด้วยการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะกับ AF ชนิด paroxysmal ซึ่งมีลักษณะเป็นๆ หายๆ เนื่องจากการตรวจ EKG ทั่วไป จะวัดคลื่นหัวใจเพียงไม่กี่วินาที ซึ่งในขณะนั้นผู้ป่วย AF อาจมี EKG ที่ปรกติ (sinus rhythm) ทำให้การตรวจพบ AF มักขึ้นกับความบังเอิญ หรือมักตรวจพบภายหลังจากผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว อีกทั้งการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาและความถี่ในการเกิด AF ของผู้ป่วยในแต่ละครั้ง ต้องเริ่มจากการบันทึก EKG อย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องตรวจวัด EKG แบบพกพา (Holter monitor) หลังจากนั้นจึงใช้คอมพิวเตอร์อ่านและวิเคราะห์ EKG ที่ถูกบันทึกลงใน memory card กระบวนการดังกล่าวนอกจากจะซับซ้อนและต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางแล้ว ยังไม่สะดวกในเชิงปฏิบัติและได้ผลล่าช้าอีกด้วย
การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับโรคหัวใจห้องบนเต้นแบบสั่นพริ้ว
จากข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยโรคดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อตรวจจับโรค AF จาก EKG โดยอัตโนมัติที่มีความแม่นยำสูง อีกทั้งเป็นอัลกอริทึมที่สามารถตรวจจับ AF ได้แบบ realtime ซึ่งสามารถแจ้งเตือนผู้ป่วยในขณะเกิด AF ได้ทันทีให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หัวใจต้องทำงานหนัก และสามารถตรวจวัดระยะเวลาเกิด AF ที่ผ่านมาแล้วได้ทันที ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการบำบัดรักษาโรค AF ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ ช่วยให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มมากขึ้นตามการแพทย์และสาธารณสุขที่ก้าวหน้า แต่จำนวนแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจยังมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการพัฒนาซอฟต์แวร์มาช่วยวิเคราะห์และตรวจจับโรคหัวใจแบบ realtime ประกอบกับการใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ต ในการรับส่งข้อมูลระหว่างแพทย์และผู้ป่วย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการวินิจฉัยโรค เป็นการช่วยประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและบำบัดรักษา อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ง่ายและสะดวกขึ้นอีกด้วย
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ อ. ดร.อภิวัฒน์ เล็กอุทัย
อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ