รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''รอยเลื่อนมีพลัง''' == คือ รอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่…') |
ล (รอยเลื่อนในประเทศไทย ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย: ชื่อผิด) |
||
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
== '''รอยเลื่อนมีพลัง''' == | == '''รอยเลื่อนมีพลัง''' == | ||
- | คือ รอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่สามารถตรวจสอบได้ หรือมีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า ยังคงมีการเลื่อนตัวอยู่ในช่วงเวลาธรณีกาลสมัยโฮโลซีน (Holocene) หรือประมาณ 11,000 ปีมาแล้ว ซึ่งรอยเลื่อนมีพลังดังกล่าวนี้ | + | คือ รอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่สามารถตรวจสอบได้ หรือมีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า ยังคงมีการเลื่อนตัวอยู่ในช่วงเวลาธรณีกาลสมัยโฮโลซีน (Holocene) หรือประมาณ 11,000 ปีมาแล้ว ซึ่งรอยเลื่อนมีพลังดังกล่าวนี้ มีโอกาสก่อให้เกิด[[แผ่นดินไหว]]ได้อีก |
รุ่นปัจจุบันของ 07:27, 30 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
รอยเลื่อนมีพลัง
คือ รอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่สามารถตรวจสอบได้ หรือมีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่า ยังคงมีการเลื่อนตัวอยู่ในช่วงเวลาธรณีกาลสมัยโฮโลซีน (Holocene) หรือประมาณ 11,000 ปีมาแล้ว ซึ่งรอยเลื่อนมีพลังดังกล่าวนี้ มีโอกาสก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีก
ตำแหน่งรอยเลื่อนมีพลัง (Active fault) ในประเทศไทย
จัดเป็นกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญได้ 3 แนวตามทิศทางการวางตัวและการเคลื่อนที่คือ
- กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้
- กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในทิศเหนือ-ใต้โดยมีทั้งหมด 13 แห่ง ที่พาดผ่านพื้นที่ 1,406 หมู่บ้าน 308 ตำบล 107 อำเภอ 22 จังหวัด ซึ่งอาจเป็นต้นตอของการเกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต ซึ่งถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวบริเวณ 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวประมาณ 6-7 ริคเตอร์ ซึ่งจะเกิดความเสียหายต่อระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เจดีย์หักร้าว วัด โรงพยาบาลและอาคารเกิดรอยร้าว หรือได้รับความเสียหาย
รอยเลื่อนนครนายก
รอยเลื่อนนครนายก เป็นรอยเลื่อนใหม่ที่ค้นพบ ซึ่งมีความน่ากลัวมาก ทั้งนี้ จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่ารอยเลื่อนนครนายกมีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิง ที่พาดผ่าน จ.นครสวรรค์และกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวดังกล่าวมีความยาว 50-100 กิโลเมตร โดยรอยเลื่อนแม่ปิงเคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก หากรอยเลื่อนนครนายกเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาจะกระทบกับภาคกลางทั้งหมด อาทิ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อุทัยธานี และลพบุรี เป็นต้น
จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยครอบคลุม 22 จังหวัด ที่ควรเฝ้าระวังแผ่นดินไหว รวมทั้งสิ้น 106 อำเภอ 308 ตำบล และ 1,406 หมู่บ้าน ได้แก่
- เชียงใหม่ 12 อำเภอ
- เชียงราย 11 อำเภอ
- แพร่ 7 อำเภอ
- แม่ฮ่องสอน 5 อำเภอ
- กำแพงเพชร 3 อำเภอ
- ตาก 7 อำเภอ
- น่าน 6 อำเภอ
- พะเยา 1 อำเภอ
- พิษณุโลก 2 อำเภอ
- ลำปาง 5 อำเภอ
- ลำพูน 3 อำเภอ
- อุตรดิถต์ 4 อำเภอ
- กระบี่ 1 อำเภอ
- ชุมพร 4 อำเภอ
- พังงา5 อำเภอ
- ระนอง 5 อำเภอ
- สุราษฎร์ธานี 9 อำเภอ
- กาญจนบุรี 7 อำเภอ
- ประจวบคีรีขันธ์ 4 อำเภอ
- สุพรรณบุรี 1 อำเภอ
- นครพนม 3 อำเภอ
- หนองคาย 2 อำเภอ
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“รอยเลื่อนมีพลัง"ต้นตอ"แผ่นดินไหวในไทย” มติชน ฉบับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ