แสงกัลปาวสาน
จาก ChulaPedia
ล |
|||
(การแก้ไข 7 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | + | The Tree of Life ผลงานลำดับที่ 5 ของเทอเร็นซ์ มาลิก(Terrence Malick)ที่กลับเป็นงานชิ้นแรกที่คลี่คลายเรื่องผ่านการย้อนรำลึกความหลัง ในแง่หนึ่งก็คือการหลอมจำลองและรื้อเรียงเศษเสี้ยวอันพร่าเลือนของความทรงจำเก่าเก็บบรรดามี อุบัติของแสงแรก บทสนทนาเรื่อยเปื่อย และอากัปกริยามนุษย์และภูมิทัศน์อันละมุนละเมียด การดำดิ่งอยู่ในห้วงความทรงจำของตัวละครหลักๆในงานเหล่านั้นไม่่ว่าจะเป็นวิทท์กับเบล(Witt and Bell)ใน The Thin Red Line จอห์น สมิธ(John Smith)ใน The New World ไม่เพียงหันเหความสนใจออกจากปัจจุบัน หากยังจะได้ละเลียดรายละเอียดราวกับได้ไปขลุกในเหตุการณ์ด้วยตนเองทุกขั้นทุกตอน ในงานของมาลิกประสบการณ์นั้นยิบย่อยและยากจะกุมเก็บ ชวนกังขาแต่ลงตัว หลากบ่าผ่านโลกหล้าเข้มขจี จริงเพียงจริงอยู่ชั่วนาตาปี แต่ภาพธรรมชาติอันน่าตื่นตา ในหมู่คนที่ไม่บอกบุญไม่รับกับงานของมาลิกก็ไม่ยี่หระและชายตาแล ทั้งที่นั่นคือแนวทางกำหนดพื้นเพประสบการณ์ของตัวละคร การสังฆกรรมกับโลก เพียงแต่อาจนำเสนอแค่พอหอมปากหอมคอก็ได้ | |
- | + | ควรกล่าวด้วยว่า โดยเหตุที่ความทรงจำโดยตัวเองคือฟันเฟืองเชิงโครงสร้าง การที่ The Tree of Life ละเลียดอยู่กับภาพระลึกความหลัง(flashback) บ่งบอกว่ามาลิกกำลังเฉไฉออกนอกเส้นทางการคลี่คลายเรื่องตามลำดับปกติในงานชิ้นก่อนๆ โดยอาจนับการเล่าถึงปฏิบัติการทางทหารแบบพายเรือวนในอ่างในงานลำดับที่สามเป็นขั้นก่อหวอด การขับเคลื่อนเรื่องราวในงานทุกเรื่องที่ผ่านมาแม้พุ่งเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า แต่ก็ชัดแจ้งเฉพาะกับการพเนจรไปตามทางหลวงในผลงานชิ้นแรก และชีวิตบนรางรถไฟในผลงานลำดับที่สอง หนังแต่ละเรื่องที่กล่าวมาบุกฝ่าภูมิกายภาพและห้วงเวลาโดยอสนีบาตมองตาจผู้รู้แจ้ง-ตามใบสั่งอันแม่นยำของจากฝีไม้ลายมือการผดุงครรภ์เสี้ยวเหตุการณ์อันลือเลื่องของมาลิก แต่ละเหตุการณ์พุพลั่กในหนังของมาลิกเหมือนนิมิต วิทท์ครุ่นคิดถึงการตายของแม่ หรือ สมิธคิดไม่ตกว่าพวกเขาได้อะไรจากราวป่า แต่ใน The Tree of Life ราวกับหนังทั้งเรื่องขลุกอยู่ในชั่วขณะจิตเหล่านั้นอย่างที่กล่าว จากอาคารสำนักงานสูงตระหง่านท่ามกลางเงาสะท้อนเส้นขอบฟ้าที่ลากผ่านราวตึกในฮุสตัน(บางคราวก็เป็นดัลลัส) แจ็ค โอเบรียน(Jack O'Brien)รับบทโดยฌอนน์ เพนน์(Sean Penn)ในมาดที่จะพบได้เฉพาะจากชีวิตร่วมสมัยซึ่งไม่เคยมีให้เห็นมากเท่านี้มาก่อนในสารบบงานของมาลิก แจ็คหวนนึกถึงช่วงชีวิตวัยเยาว์ของตนในย่านวาโก(Waco) เท็กซัส รวมถึงพ่อแม่และพี่น้อง ณ โมงยามอันชวนเคลิ้มเนื่องจากกัปกัลป์ทำมุมพาดขวาง เทกระจาดเวลาและอวกาศปนเปเป็นเนื้อเดียวกันในชั่วอึดใจหนึ่งเที่ยวลิฟท์ หรือไม่ก็ในสวนอันวังเวงประจำสำนักงาน | |
- | + | ตามแนวคิดว่าด้วยเวลาและการเล่าเดินทางเป็นเส้นตรง The Tree of Life ในมุมที่เพิ่งกล่าวออกจะนอกลู่นอกทาง เหมือนเป็นดินแดนใหม่ทางภาพยนตร์ที่มาลิกเพิ่งได้ลิ้มและอาจผิดกลิ่นสำหรับชาวฮอลลิวูด ในงานชิ้นก่อนยังพอมีตัวแทนจากฮอลลิวูดอย่าง Heaven's Gate และ Saving Private Ryan เป็นตัวเทียบ แต่พอมาถึง The Tree of Life กลับต้องข้ามทวีปไปวัดลำหักลำโค่นการโผละเลียดผ่านเวลาและความทรงจำที่เกาะกุมอยู่กับภูมิหลังของสรรพสิ่ง กับ The Mirror ของทาร์คอฟสกี(Andrei Tarkovsky) หรือ Je t'aime je t'aime ของเรอเนส์(Alain Resnais) และยิ่งคล้ายทาร์คอฟสกีเข้าไปอีกตรงที่มาลิกนำวาระส่วนตัวระดับก้นบึ้งมาเข้ารหัสขานเคาะออกมาเป็นหนัง ไล่ตั้งแต่ช่วงเจริญวัยในเท็กซัสภายใต้การเลี้ยงดูอันเข้มงวดของพ่อและเอ็นดูรักใคร่ของแม่ การฆ่าตัวตายของน้องชาย อาจกล่าวได้ว่าหนังไม่อินังขังขอบกับตรรกลำดับเวลา แต่รุ่มรวยด้วยรสชาติราวได้เข้าไปขลุก เสียงแจ็คเอ่ยถามขึ้นมา ฉันเสียนายไปได้ยังไง ทอดทิ้ง... ลืมนายได้ลงคอ ความเคว้งคว้างนำไปสู่การค้นหาจุดเริ่มต้น ความมาย และทิศทาง | |
- | + | หรือที่จริงแล้ว เป็น สรณะแห่งเหตุผล(The Essence of Reasons) อันเป็นชื่อพากย์อังกฤษที่มาลิกสวมให้กับงานแปลในค.ศ.1969 ที่เขาตีพิมพ์ในปีถัดจากปีถึงฆาตของน้องชาย ต้นฉบับงานแปลดังกล่าวคือบทความขนาดยาวของไฮเด็กเกอร์(Martin Heidegger)ที่ออกมาไม่นานหลังการตีพิมพ์หนังสือชื่อกระฉ่อน Being and Time ผลงานปฏิวัติวงการในค.ศ.1927 มาลิกได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางปรัชญาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเป็นศิษย์ของสแตนลีย์ คาเวล(Stanley Cavell) ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกนำไปจับแพะชนแกะสร้างสูตรสำเร็จที่มาแห่งความสนใจด้านจิตวิญญาณของมาลิก ทั้งที่จริงแล้วการแปลงานชิ้นนั้นของไฮเด็กเกอร์แทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีข้อถกเถียงอันปราดเปรื่องเพื่อหักล้างความเชื่อผิดๆ ดังกล่าวแทรกอยูในการอภิปรายถึงความเชื่อมโยงระหว่าง The Tree of Life กับหนังสือ Introduction to Metaphysics ของไฮเด็กเกอร์ ตลอดจน Book of Job และ Thomas a Kempis เนื่องด้วยสภาพดั้งเดิมของความรู้และการแปรสภาพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของสัจธรรมแต่ครั้งบรรพกาลยังคงฝังแน่นในตัว The Tree of Life จึงเป็นหลักฐานคาหนังคาเขาเพื่อชำระงานของมาลิกผ่านน้ำมนต์ของไฮเด็กเกอร์ผู้ปวารณาตนแก่การทำความเข้าใจกับสำนึกของมนุษย์และตัวตนในโลก ทั้งนี้ตามการหลับหูหลับตาเชื่อของคน โลกคือพิพิธภัณฑ์ของสรรพสิ่งไม่ก็เป็นเนื้อเดียวกันทั้งผอง และการแยกแยะความจริง | |
- | + | เรื่องเหล่านี้มีสัดส่วนของเนื้อหาทางปรัชญาค่อนข้างมาก สำหรับนักวิจารณ์และคนดูบางส่วนเป็นเรื่องเหนือบ่ากว่าแรงไม่ก็อวดภูมิเกินงามที่จะอนุมานว่าการเล่าผ่านหนังจะอำนวยความชัดแจ้งเกินหน้าศัพท์แสงอันศักดิ์สิทธิ์จากอรรถกถาของไฮเด็กเกอร์ หามิได้ เด็กน้อยด้อยวิชาหัด(หรือเข้ารีต)อ่านเขียนเรียนรู้ขนบก่อนนำไปสู่ความเข้าใจถึงการมีอยู่ของพระเจ้าและความเป็นมาของชีวิตฉันใด การตีคุณค่าหนังก็เป็นเหมือนกระบวนการเรียนรู้เรื่องโลกฉันนั้น คำตอบของคำถามพื้นฐานเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการอ้างอิงมาเป็นสาย กล่าวสำหรับ ไฮเด็กเกอร์แล้ว แค่แนวความคิดพื้นๆ ที่ว่า โลกคืออะไร ก็แผ่กัมมันตรังสีสมมติฐานได้หลายขนาน ไม่ว่าจะเป็นโลกคือแหล่งรวมสรรพสิ่งเท่าที่มีอยู่เดิมใช่หรือไม่ หรือโลกเป็นเพียงความเข้าใจเชิงอัตวิสัยต่อสรรพสิ่งประดามีและที่มาที่ไปหรือล้วนเป็นเจตจำนงของพระเจ้า หรือเป็นเส้นทางฟันฝ่าอุปสรรค ของคริสเตียนสายเทววิทยาด้วย เช่น บาปและมาร เพื่อเข้าถึงพระองค์ ดังในบทเทศนาที่ได้ยินระหว่างพิธีเข้ารับศิลของน้องชายของแจ็ค เบาะแสในเรื่องนี้อาจมีอยู่ในคำนำผลงานแปลของมาลิก | |
- | + | "พูดถึงโลกทีไร ไม่พ้นไฮเด็กเกอร์ต้องแถมพกด้วยการตีความครอบจักรวาลหรือจุดยืนของเราต่อการพิจารณาสรรพสิ่งในโลกซึ่งมักลงเอยด้วยภาพอันหลากหลายจากเจ้าของความเห็นทั้งปวง แต่กลับไม่ค่อยมีการพูดถึง"จุดยืน"(a point of view)อย่างเป็นกิจลักษณะ ทั้งที่จุดประสงค์ที่แท้จริงของไฮเด็กเกอร์ในการกล่าวถึงแนวคิดนี้ไม่มีทางเป็นอื่นไปได้แน่ การอภิปรายในเรื่องการตีความที่พอทำยาได้ก็มีไม่มากเท่าที่ควร หากไร้ซึ่งการตีความ เราก็ไม่อาจเข้าใจโลกได้อย่างถ่องแท้ เป็นกบในกะลา ไม่ก็เห็นเหมือนกันไปหมด" | |
- | + | พ่อของแจ็คบัญชาให้ผู้เป็นลูกชายหาคำนิยามของวัตถุวิสัย(objective) และอัตวิสัย(subjective) แต่ความหมายของโลกในคำนึงของไฮเด็กเกอร์อยู่พ้น ไม่ก็ก้ำกึ่งระหว่างภาวะทั้งสอง โลกไม่อาจมีคุณค่าโดยลำพัง(โลกของใครคนใดคนหนึ่ง) ทั้งก็มิใช่ก้อนวัตถุ(โลกของสรรพสิ่ง)เปล่าปลี้ | |
- | + | โลกมีคุณค่าความหมายขึ้นมาก็ต่อเมื่อคนเอาตัวเองเข้าสังฆกรรมหรือไม่ก็ในทางตรงกันข้าม สรรพสิ่งรายรอบอุบัติและหยัดยืนจากสำนึกของคน และก็เป็นโดยตัวของจุดยืนเองที่ปรุงแต่งความมีอยู่จริงของเราๆ เราจึงมีคุณค่าความหมายอยู่ในโลก ธรรมชาติมีตัวตนขึ้นมาจากประสบการณ์ของมนุษย์ต่อธรรมชาติและในหนังของมาลิกรูปทรงอันหลากหลายของธรรมชาติไม่ได้มีไว้แค่คอยอวดโฉม แสดงมิตรภาพต่อนิเวศน์ อาหารตาที่เราอาจเรียกว่า ดาวยั่วนางไม้(tree porn) หากแต่ยืนหยัดเป็นอนุสรณ์ประจานพื้นเพของเราภายใต้ข่ายขัดทอของอัตวิสัย - วัตถุวิสัยแห่งการทำความเข้าใจ คือโลก ในแง่นี้โลกจึงเป็นสื่อเชื่อมโยงจุดยืนของเราเข้ากับโลกดังที่สแตนลีย์ คาเวลสดุดีความแน่วแน่ของมาลิกในการปรุงแต่งคุณค่า Days in Heaven ตามแนวคิดไฮเด็กเกอร์ไว้ในหน้าคำนำของหนังสือ The World Viewed กล่าวสำหรับคาเวลหนังไม่ใช่แค่สื่อบันทึกสรรพสิ่งไปตามมีตามเกิด แต่เป็นองค์ประกอบที่มีส่วนได้เสียในการนำเสนอตัวเองออกมาเป็นภาพ เป็นปัจจัยชี้เป็นชี้ตายในการกำหนดรูปโฉม ด้วยเหตุดังนี้ การนำเสนอสิ่งใดตามขนบหนังในงานของมาลิกจึงเป็นพิธีการสำคัญยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าธรรมชาติไม่ได้เป็นแค่สัมพันธภาพทนโท่ของการดื่มด่ำความงามไร้มลทิน หากยังเป็นการผดุงไว้ซึ่งและหลักฐานของสัมพันธภาพฉันท์วัตถุวิสัย/อัตวิสัยอันผิดปกติวิสัยของเราที่มีต่อโลก โลกเป็นไปตามครรลอง ตามคำกล่าวของไฮเด็กเกอร์และทั้งเราและวัตถุทั้งหลายโลกอันเป็นที่ประจักษ์ต่างร่วมหัวจมท้ายในวิถี คาเวลกล่าวว่าภาพวัตถุที่ทาบหราอยู่บนจอย่อมเข้าตัวทั้งหมด เสนอหน้าอ้างอิงตัวเอง สะท้อนภาพดั้งเดิมทางกายภาพของตัวมันเอง | |
+ | |||
+ | ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า The Tree of Life มีจุดเริ่มต้นจากสายสะดือทอดเชื่อมแจ็คกับโลกขาดสะบั้นลง จากนั้นหนังก็ย้อนรอยความเป็นมาของแจ็คโดยว่ากันตั้งแต่โคตรเหง้า "หาฉันให้เจอ"น้องชายเขาออกปาก ที่คือปัจจัยเจ้ากี้เจ้าการส่งแจ็คไปทัศนะศึกษาไม่ใช่แค่อดีตของผู้เป็นแม่ "นายพูดกับฉันผ่านแม่" แจ็คเปรย และ และการหลอมจำลองอันดับแรกก็คือวัยเด็กของผู้เป็นแม่และย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งแต่ครั้งบรรพกาล การก่อเกิดของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน การระเบิดใหญ่(the Big Bang) กำเนิดของโลก การขยับตัวของโมเลกุลแรก การยกพลขึ้นบกของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก่อนวิวัฒนาการเป็นสรรพชีวิตที่ซับซ้อน เหล่านี้เป็นตัวตายตัวแทนของกระบวนการสรรค์สร้างโลกแห่งธรรม โลกแห่งสำนึก และการรู้จักตนเอง นี่ไม่ใช่โลกของพระเจ้า แม้จารึกจินตนาการเรื่องนี้จะทิ้งรอยฝังลึกอยู่ในชีวิตของแจ็ค(หรืออาจจะเป็นมาลิก) | ||
+ | |||
+ | The Tree of Life กินขอบเขตกว้างไกลแต่กระนั้นก็ยังกันพื้นที่ไว้ให้ปรัชญาหอกข้างแคร่ เป็นต้นว่า ความศรัทธาไม่ลืมหูลืมตาตลอดจนการบำเพ็ญทุกรกิริยาตามขนบคริสตจักรของบุพการี โลกหยาบช้านอกวิมานในอากาศอย่างที่เราๆ ต้องฟันฝ่า โลกที่ขับเคลื่อนไปตามคติ"ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ด้วยกล"อย่างที่พ่อของแจ็คเคยเตือน เป็นโลกของคนร้อยพ่อพันแม่แก่งแย่งชิงดี ภายใต้การจัดสรรอันไม่เป็นธรรม ชื่อหนังเรื่องที่แล้วๆมาของมาลิกคือเบาะแสของมุมมองต่อโลก ระเบียบอันหยุมหยิมของโลก ดังจะเห็นได้จากศัพท์แสงศักดิ์สิทธิ์อย่าง ปฐพี(land) สวรรค์(heaven) พรมแดน(line) โลก(world) แต่ละคำล้วนแฝงความหมายของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ต้องฝ่าผจญ รังวัดพิกัด เวียนว่ายตายเกิด กระทั่งอาจอ้างสิทธิ์ครอบครอง หนังเหล่านั้นมุ่งหน้าไปตามเส้นทางการเป็นปฏิปักษ์กับอุดมคติ: กฏหมาย และศิลธรรมประจำชนชั้น รัฐ หรือจักรวรรดินิยม ในคลื่นระลอกที่สองของช่วงชีวิตการทำงานกำกับหนัง มาลิกสนใจกับความเหลื่อมล้ำระหว่างสองอารยธรรม "ไม่มีการหันรีหันขวาง" จะมีก็แต่การรุกรานในนามการค้าและการสำรวจ หรือตามสำนวนของฌอน เพนน์ในเรื่องที่ว่า สินทรัพย์เป็นของบาดใจ | ||
+ | |||
+ | ช่วงกลางของหนังเต็มไปด้วยเขตแดน เส้นแบ่งของพื้นที่และความหมายทางวัตถุธรรมของการมีตัวตนในโลกของต้นไม้ บ้าน บ้านบนต้นไม้ สนาม กล่าวสำหรับแจ็คและพรรคพวก สนามหลังบ้านและก้นตรอกและในป่าละเมาะข้างชุมชน สถานที่วิ่งเล่นทั้งหลายคือยุทธภูมิที่ต้องพิชิต แค่เพียงเหล่ตาแลหรือหลงเข้าไปก็เท่ากับล่วงล้ำ บรรยากาศสุขสบายของบ้านและครอบครัวในหนังเรื่องนี้มีแนวปักปันตายตัวและตรรกแห่งพื้นที่และการจัดระเบียบ ความเหล่านี้หนักแน่นคมชัดจากวิชาชีพที่แจ็คเอาดีเมื่อเติบโต แจ็คเป็นสถาปนิกและเราก็จะได้ประจักษ์ในปรีชาญาณทางภูมิศาสตร์ของเขาดุจเดียวกับแผนผังการคิดค้นของผู้เป็นพ่อกับความพยายามจัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักการ ในงานของมาลิก ภูมิศาสตร์กลายเป็นเวทีแก่งแย่งแข่งขันอันอลหม่าน จุลชีพทรงเกลียวสว่านกรูเข้าจู่โจมมวลสารทรงกลมที่เลี้ยงตัวอย่างสงบเสงี่ยม โครงสร้างกล้าแกร่งของตัวเมืองฮุสตัน(อาจจะเป็นดัลลัส)พุ่งยอดขึ้นเสียดหมู่เมฆ(หรืออาจแค่สะท้อนภาพ)บนท้องฟ้า | ||
+ | |||
+ | ภารกิจของเหล่าตัวละครในการจัดระบบเพื่อกำราบสภาพอินังตุงนังในงานของมาลิกอาจดำเนินการผ่านทั้งในรูปกิจกรรมทางศิลปะ ธรรมชาติของห้องใต้หลังคาโดยตัวมันเองเป็นได้ทั้งกรุ โลงศพ กักกันในแบบเดียวกับบ้านของครอบครัวโอเบรียน) ไม่เป็นที่ประจักษ์ว่าจมใต้บาดาลหรือลอยไปสู่สวรรค์ เราอาจเป็นอิสระจากจากกฏและโครงสร้าง กรอบการดำรงชีวิต ด้วยคุณูปการจากความประณีตและเฉียบคมของศิลปะ เราเห็นพ่อของแจ็คโปรดปรานการได้อิ่มเอมกับดนตรี(บราห์ม) แต่การเป็นนักดนตรีอันเป็นความใฝ่ฝันก็มีอันป่นปี้เพราะเงื่อนไขของโลกแห่งความเป็นจริงไม่เป็นใจ บรรยากาศอันกักขฬะด้วยความเป็นจริงเหลือทนของโลกหวนมาปกคลุม รสนิยมเลิศล้ำทางดนตรีของเขาตกทอดมาสู่บุตรชายอย่างไม่ต้องสงสัยถึงที่มาของบทอวสานอันหดหู่ โครงสร้างตามแบบแผนทางศิลปะเป็นเครื่องจองจำให้คนหมกมุ่นกับการไปให้ถึงความไพเราะสมบูรณ์แบบของดนตรี หรือไม่ก็โยนบาปให้ความรักฐานชักนำให้ร่วมหัวจมท้ายไปกับโลก โดยไม่มัวยึดมั่นถือมั่น ดังคำของแม่แจ็คที่ว่า "ชีวิตเป็นทางผ่าน" | ||
+ | |||
+ | กล่าวสำหรับมาลิกหนังคือการแสดงความความรักและการทนุถนอม เป็นหนทางตีสนิทกับโลกและยินยอมให้โลกหลากผ่านเข้าสู่ตะแกรงร่อนความรู้สึกนึกคิดของเรา หนังของมาลิกชวนให้เราขบคิดไปหลายเรื่อง แต่หนึ่งในนั้นหนังมาลิกไม่ได้แค่ขับเคลื่อนตัวเอง หากยังปลุกชีวิตชีวาแก่ทุกกลไกในอุตสาหกรรมฮอลลิวูด ไม่ว่าจะเป็นวงการดารา ผู้กำกับศิลป์และมือจัดแสงตัวฉกาจ กระบวนการลำดับภาพและเก็บรายละเอียดหลังการถ่ายทำเป็นงานมหกรรมที่กินเวลาและเม็ดเงินมหาศาล คือ ชุดรถไฟจำลองที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เด็กคนหนึ่งเคยมี ตามสรรพคุณของออร์สัน เวลส์ ทั้งหมดทั้งหลายเพียงเพื่อความถึงรสและใกล้เคียงของจริงในการถ่ายทอดประสบการณ์ หนังของมาลิกเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของบรรดามือเทคนิกพิเศษชื่อก้องวงการหนัง ไล่ตั้งแต่ดักลาส ทรัมบูล(Douglas Trumbull) กับการเนรมิตเหตุการณ์ระเบิดใหญ่(Big Bang)ผ่านภาพวาด ภาพสีำน้ำและเพลงกล้องคมพริ้ว แดน กลาส(Dan Glass)มาบัญชางานสร้างภาพดิจิตอลโดยบรรดามือพระกาฬพร้อมเทคโนโลยีล่าสุดจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและนาซารับประกันความตื่นตาเทียบเท่าใน Speed Racer ปีเตอร์และคริส พาร์กส์ (Peter and Chris Parks)มาระบายภาพไหวระริกและภาพถ่ายขนาดจิ๋ว | ||
+ | |||
+ | แต่จุดอ้างอิงแต่อ้อนแต่ออกขนานแท้ นอกจาก Book of Job แล้ว ก็น่าจะเป็นแง่คิดจาก Opus 161 ผลงานจากค.ศ.1965 ของโธมัส วิลเฟร็ด(Thomas Wilfred) องคาพยพแห่งสีสันเกิดมาเพื่อร่ายดนตรีเป็นภาพ มาลิกสมาทานคมคิดมาแปรรูปไว้ดาษดื่นในผลงานของเขา กระพริบแห่งแสงแรก ประกายสวรรค์ประทานของสีสุกสกาว แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นจำหลักของจุดเริ่มแห่งจินตภาพและไขปริศนาการเป็นมนุษย์ ภาพแรกอันปรากฏแก่สายตายามลืมตาดูโลก | ||
+ | |||
+ | |||
+ | จักริน วิภาสวัชรโยธิน | ||
+ | แปลจาก | ||
+ | Goldsmith, Leo. 2011. 'The Tree of Life'. http://www.notcoming.com/reviews/treeoflife |
รุ่นปัจจุบันของ 07:57, 4 มกราคม 2557
The Tree of Life ผลงานลำดับที่ 5 ของเทอเร็นซ์ มาลิก(Terrence Malick)ที่กลับเป็นงานชิ้นแรกที่คลี่คลายเรื่องผ่านการย้อนรำลึกความหลัง ในแง่หนึ่งก็คือการหลอมจำลองและรื้อเรียงเศษเสี้ยวอันพร่าเลือนของความทรงจำเก่าเก็บบรรดามี อุบัติของแสงแรก บทสนทนาเรื่อยเปื่อย และอากัปกริยามนุษย์และภูมิทัศน์อันละมุนละเมียด การดำดิ่งอยู่ในห้วงความทรงจำของตัวละครหลักๆในงานเหล่านั้นไม่่ว่าจะเป็นวิทท์กับเบล(Witt and Bell)ใน The Thin Red Line จอห์น สมิธ(John Smith)ใน The New World ไม่เพียงหันเหความสนใจออกจากปัจจุบัน หากยังจะได้ละเลียดรายละเอียดราวกับได้ไปขลุกในเหตุการณ์ด้วยตนเองทุกขั้นทุกตอน ในงานของมาลิกประสบการณ์นั้นยิบย่อยและยากจะกุมเก็บ ชวนกังขาแต่ลงตัว หลากบ่าผ่านโลกหล้าเข้มขจี จริงเพียงจริงอยู่ชั่วนาตาปี แต่ภาพธรรมชาติอันน่าตื่นตา ในหมู่คนที่ไม่บอกบุญไม่รับกับงานของมาลิกก็ไม่ยี่หระและชายตาแล ทั้งที่นั่นคือแนวทางกำหนดพื้นเพประสบการณ์ของตัวละคร การสังฆกรรมกับโลก เพียงแต่อาจนำเสนอแค่พอหอมปากหอมคอก็ได้
ควรกล่าวด้วยว่า โดยเหตุที่ความทรงจำโดยตัวเองคือฟันเฟืองเชิงโครงสร้าง การที่ The Tree of Life ละเลียดอยู่กับภาพระลึกความหลัง(flashback) บ่งบอกว่ามาลิกกำลังเฉไฉออกนอกเส้นทางการคลี่คลายเรื่องตามลำดับปกติในงานชิ้นก่อนๆ โดยอาจนับการเล่าถึงปฏิบัติการทางทหารแบบพายเรือวนในอ่างในงานลำดับที่สามเป็นขั้นก่อหวอด การขับเคลื่อนเรื่องราวในงานทุกเรื่องที่ผ่านมาแม้พุ่งเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า แต่ก็ชัดแจ้งเฉพาะกับการพเนจรไปตามทางหลวงในผลงานชิ้นแรก และชีวิตบนรางรถไฟในผลงานลำดับที่สอง หนังแต่ละเรื่องที่กล่าวมาบุกฝ่าภูมิกายภาพและห้วงเวลาโดยอสนีบาตมองตาจผู้รู้แจ้ง-ตามใบสั่งอันแม่นยำของจากฝีไม้ลายมือการผดุงครรภ์เสี้ยวเหตุการณ์อันลือเลื่องของมาลิก แต่ละเหตุการณ์พุพลั่กในหนังของมาลิกเหมือนนิมิต วิทท์ครุ่นคิดถึงการตายของแม่ หรือ สมิธคิดไม่ตกว่าพวกเขาได้อะไรจากราวป่า แต่ใน The Tree of Life ราวกับหนังทั้งเรื่องขลุกอยู่ในชั่วขณะจิตเหล่านั้นอย่างที่กล่าว จากอาคารสำนักงานสูงตระหง่านท่ามกลางเงาสะท้อนเส้นขอบฟ้าที่ลากผ่านราวตึกในฮุสตัน(บางคราวก็เป็นดัลลัส) แจ็ค โอเบรียน(Jack O'Brien)รับบทโดยฌอนน์ เพนน์(Sean Penn)ในมาดที่จะพบได้เฉพาะจากชีวิตร่วมสมัยซึ่งไม่เคยมีให้เห็นมากเท่านี้มาก่อนในสารบบงานของมาลิก แจ็คหวนนึกถึงช่วงชีวิตวัยเยาว์ของตนในย่านวาโก(Waco) เท็กซัส รวมถึงพ่อแม่และพี่น้อง ณ โมงยามอันชวนเคลิ้มเนื่องจากกัปกัลป์ทำมุมพาดขวาง เทกระจาดเวลาและอวกาศปนเปเป็นเนื้อเดียวกันในชั่วอึดใจหนึ่งเที่ยวลิฟท์ หรือไม่ก็ในสวนอันวังเวงประจำสำนักงาน
ตามแนวคิดว่าด้วยเวลาและการเล่าเดินทางเป็นเส้นตรง The Tree of Life ในมุมที่เพิ่งกล่าวออกจะนอกลู่นอกทาง เหมือนเป็นดินแดนใหม่ทางภาพยนตร์ที่มาลิกเพิ่งได้ลิ้มและอาจผิดกลิ่นสำหรับชาวฮอลลิวูด ในงานชิ้นก่อนยังพอมีตัวแทนจากฮอลลิวูดอย่าง Heaven's Gate และ Saving Private Ryan เป็นตัวเทียบ แต่พอมาถึง The Tree of Life กลับต้องข้ามทวีปไปวัดลำหักลำโค่นการโผละเลียดผ่านเวลาและความทรงจำที่เกาะกุมอยู่กับภูมิหลังของสรรพสิ่ง กับ The Mirror ของทาร์คอฟสกี(Andrei Tarkovsky) หรือ Je t'aime je t'aime ของเรอเนส์(Alain Resnais) และยิ่งคล้ายทาร์คอฟสกีเข้าไปอีกตรงที่มาลิกนำวาระส่วนตัวระดับก้นบึ้งมาเข้ารหัสขานเคาะออกมาเป็นหนัง ไล่ตั้งแต่ช่วงเจริญวัยในเท็กซัสภายใต้การเลี้ยงดูอันเข้มงวดของพ่อและเอ็นดูรักใคร่ของแม่ การฆ่าตัวตายของน้องชาย อาจกล่าวได้ว่าหนังไม่อินังขังขอบกับตรรกลำดับเวลา แต่รุ่มรวยด้วยรสชาติราวได้เข้าไปขลุก เสียงแจ็คเอ่ยถามขึ้นมา ฉันเสียนายไปได้ยังไง ทอดทิ้ง... ลืมนายได้ลงคอ ความเคว้งคว้างนำไปสู่การค้นหาจุดเริ่มต้น ความมาย และทิศทาง
หรือที่จริงแล้ว เป็น สรณะแห่งเหตุผล(The Essence of Reasons) อันเป็นชื่อพากย์อังกฤษที่มาลิกสวมให้กับงานแปลในค.ศ.1969 ที่เขาตีพิมพ์ในปีถัดจากปีถึงฆาตของน้องชาย ต้นฉบับงานแปลดังกล่าวคือบทความขนาดยาวของไฮเด็กเกอร์(Martin Heidegger)ที่ออกมาไม่นานหลังการตีพิมพ์หนังสือชื่อกระฉ่อน Being and Time ผลงานปฏิวัติวงการในค.ศ.1927 มาลิกได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางปรัชญาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเป็นศิษย์ของสแตนลีย์ คาเวล(Stanley Cavell) ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกนำไปจับแพะชนแกะสร้างสูตรสำเร็จที่มาแห่งความสนใจด้านจิตวิญญาณของมาลิก ทั้งที่จริงแล้วการแปลงานชิ้นนั้นของไฮเด็กเกอร์แทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีข้อถกเถียงอันปราดเปรื่องเพื่อหักล้างความเชื่อผิดๆ ดังกล่าวแทรกอยูในการอภิปรายถึงความเชื่อมโยงระหว่าง The Tree of Life กับหนังสือ Introduction to Metaphysics ของไฮเด็กเกอร์ ตลอดจน Book of Job และ Thomas a Kempis เนื่องด้วยสภาพดั้งเดิมของความรู้และการแปรสภาพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของสัจธรรมแต่ครั้งบรรพกาลยังคงฝังแน่นในตัว The Tree of Life จึงเป็นหลักฐานคาหนังคาเขาเพื่อชำระงานของมาลิกผ่านน้ำมนต์ของไฮเด็กเกอร์ผู้ปวารณาตนแก่การทำความเข้าใจกับสำนึกของมนุษย์และตัวตนในโลก ทั้งนี้ตามการหลับหูหลับตาเชื่อของคน โลกคือพิพิธภัณฑ์ของสรรพสิ่งไม่ก็เป็นเนื้อเดียวกันทั้งผอง และการแยกแยะความจริง
เรื่องเหล่านี้มีสัดส่วนของเนื้อหาทางปรัชญาค่อนข้างมาก สำหรับนักวิจารณ์และคนดูบางส่วนเป็นเรื่องเหนือบ่ากว่าแรงไม่ก็อวดภูมิเกินงามที่จะอนุมานว่าการเล่าผ่านหนังจะอำนวยความชัดแจ้งเกินหน้าศัพท์แสงอันศักดิ์สิทธิ์จากอรรถกถาของไฮเด็กเกอร์ หามิได้ เด็กน้อยด้อยวิชาหัด(หรือเข้ารีต)อ่านเขียนเรียนรู้ขนบก่อนนำไปสู่ความเข้าใจถึงการมีอยู่ของพระเจ้าและความเป็นมาของชีวิตฉันใด การตีคุณค่าหนังก็เป็นเหมือนกระบวนการเรียนรู้เรื่องโลกฉันนั้น คำตอบของคำถามพื้นฐานเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการอ้างอิงมาเป็นสาย กล่าวสำหรับ ไฮเด็กเกอร์แล้ว แค่แนวความคิดพื้นๆ ที่ว่า โลกคืออะไร ก็แผ่กัมมันตรังสีสมมติฐานได้หลายขนาน ไม่ว่าจะเป็นโลกคือแหล่งรวมสรรพสิ่งเท่าที่มีอยู่เดิมใช่หรือไม่ หรือโลกเป็นเพียงความเข้าใจเชิงอัตวิสัยต่อสรรพสิ่งประดามีและที่มาที่ไปหรือล้วนเป็นเจตจำนงของพระเจ้า หรือเป็นเส้นทางฟันฝ่าอุปสรรค ของคริสเตียนสายเทววิทยาด้วย เช่น บาปและมาร เพื่อเข้าถึงพระองค์ ดังในบทเทศนาที่ได้ยินระหว่างพิธีเข้ารับศิลของน้องชายของแจ็ค เบาะแสในเรื่องนี้อาจมีอยู่ในคำนำผลงานแปลของมาลิก
"พูดถึงโลกทีไร ไม่พ้นไฮเด็กเกอร์ต้องแถมพกด้วยการตีความครอบจักรวาลหรือจุดยืนของเราต่อการพิจารณาสรรพสิ่งในโลกซึ่งมักลงเอยด้วยภาพอันหลากหลายจากเจ้าของความเห็นทั้งปวง แต่กลับไม่ค่อยมีการพูดถึง"จุดยืน"(a point of view)อย่างเป็นกิจลักษณะ ทั้งที่จุดประสงค์ที่แท้จริงของไฮเด็กเกอร์ในการกล่าวถึงแนวคิดนี้ไม่มีทางเป็นอื่นไปได้แน่ การอภิปรายในเรื่องการตีความที่พอทำยาได้ก็มีไม่มากเท่าที่ควร หากไร้ซึ่งการตีความ เราก็ไม่อาจเข้าใจโลกได้อย่างถ่องแท้ เป็นกบในกะลา ไม่ก็เห็นเหมือนกันไปหมด"
พ่อของแจ็คบัญชาให้ผู้เป็นลูกชายหาคำนิยามของวัตถุวิสัย(objective) และอัตวิสัย(subjective) แต่ความหมายของโลกในคำนึงของไฮเด็กเกอร์อยู่พ้น ไม่ก็ก้ำกึ่งระหว่างภาวะทั้งสอง โลกไม่อาจมีคุณค่าโดยลำพัง(โลกของใครคนใดคนหนึ่ง) ทั้งก็มิใช่ก้อนวัตถุ(โลกของสรรพสิ่ง)เปล่าปลี้
โลกมีคุณค่าความหมายขึ้นมาก็ต่อเมื่อคนเอาตัวเองเข้าสังฆกรรมหรือไม่ก็ในทางตรงกันข้าม สรรพสิ่งรายรอบอุบัติและหยัดยืนจากสำนึกของคน และก็เป็นโดยตัวของจุดยืนเองที่ปรุงแต่งความมีอยู่จริงของเราๆ เราจึงมีคุณค่าความหมายอยู่ในโลก ธรรมชาติมีตัวตนขึ้นมาจากประสบการณ์ของมนุษย์ต่อธรรมชาติและในหนังของมาลิกรูปทรงอันหลากหลายของธรรมชาติไม่ได้มีไว้แค่คอยอวดโฉม แสดงมิตรภาพต่อนิเวศน์ อาหารตาที่เราอาจเรียกว่า ดาวยั่วนางไม้(tree porn) หากแต่ยืนหยัดเป็นอนุสรณ์ประจานพื้นเพของเราภายใต้ข่ายขัดทอของอัตวิสัย - วัตถุวิสัยแห่งการทำความเข้าใจ คือโลก ในแง่นี้โลกจึงเป็นสื่อเชื่อมโยงจุดยืนของเราเข้ากับโลกดังที่สแตนลีย์ คาเวลสดุดีความแน่วแน่ของมาลิกในการปรุงแต่งคุณค่า Days in Heaven ตามแนวคิดไฮเด็กเกอร์ไว้ในหน้าคำนำของหนังสือ The World Viewed กล่าวสำหรับคาเวลหนังไม่ใช่แค่สื่อบันทึกสรรพสิ่งไปตามมีตามเกิด แต่เป็นองค์ประกอบที่มีส่วนได้เสียในการนำเสนอตัวเองออกมาเป็นภาพ เป็นปัจจัยชี้เป็นชี้ตายในการกำหนดรูปโฉม ด้วยเหตุดังนี้ การนำเสนอสิ่งใดตามขนบหนังในงานของมาลิกจึงเป็นพิธีการสำคัญยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าธรรมชาติไม่ได้เป็นแค่สัมพันธภาพทนโท่ของการดื่มด่ำความงามไร้มลทิน หากยังเป็นการผดุงไว้ซึ่งและหลักฐานของสัมพันธภาพฉันท์วัตถุวิสัย/อัตวิสัยอันผิดปกติวิสัยของเราที่มีต่อโลก โลกเป็นไปตามครรลอง ตามคำกล่าวของไฮเด็กเกอร์และทั้งเราและวัตถุทั้งหลายโลกอันเป็นที่ประจักษ์ต่างร่วมหัวจมท้ายในวิถี คาเวลกล่าวว่าภาพวัตถุที่ทาบหราอยู่บนจอย่อมเข้าตัวทั้งหมด เสนอหน้าอ้างอิงตัวเอง สะท้อนภาพดั้งเดิมทางกายภาพของตัวมันเอง
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า The Tree of Life มีจุดเริ่มต้นจากสายสะดือทอดเชื่อมแจ็คกับโลกขาดสะบั้นลง จากนั้นหนังก็ย้อนรอยความเป็นมาของแจ็คโดยว่ากันตั้งแต่โคตรเหง้า "หาฉันให้เจอ"น้องชายเขาออกปาก ที่คือปัจจัยเจ้ากี้เจ้าการส่งแจ็คไปทัศนะศึกษาไม่ใช่แค่อดีตของผู้เป็นแม่ "นายพูดกับฉันผ่านแม่" แจ็คเปรย และ และการหลอมจำลองอันดับแรกก็คือวัยเด็กของผู้เป็นแม่และย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งแต่ครั้งบรรพกาล การก่อเกิดของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน การระเบิดใหญ่(the Big Bang) กำเนิดของโลก การขยับตัวของโมเลกุลแรก การยกพลขึ้นบกของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก่อนวิวัฒนาการเป็นสรรพชีวิตที่ซับซ้อน เหล่านี้เป็นตัวตายตัวแทนของกระบวนการสรรค์สร้างโลกแห่งธรรม โลกแห่งสำนึก และการรู้จักตนเอง นี่ไม่ใช่โลกของพระเจ้า แม้จารึกจินตนาการเรื่องนี้จะทิ้งรอยฝังลึกอยู่ในชีวิตของแจ็ค(หรืออาจจะเป็นมาลิก)
The Tree of Life กินขอบเขตกว้างไกลแต่กระนั้นก็ยังกันพื้นที่ไว้ให้ปรัชญาหอกข้างแคร่ เป็นต้นว่า ความศรัทธาไม่ลืมหูลืมตาตลอดจนการบำเพ็ญทุกรกิริยาตามขนบคริสตจักรของบุพการี โลกหยาบช้านอกวิมานในอากาศอย่างที่เราๆ ต้องฟันฝ่า โลกที่ขับเคลื่อนไปตามคติ"ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ด้วยกล"อย่างที่พ่อของแจ็คเคยเตือน เป็นโลกของคนร้อยพ่อพันแม่แก่งแย่งชิงดี ภายใต้การจัดสรรอันไม่เป็นธรรม ชื่อหนังเรื่องที่แล้วๆมาของมาลิกคือเบาะแสของมุมมองต่อโลก ระเบียบอันหยุมหยิมของโลก ดังจะเห็นได้จากศัพท์แสงศักดิ์สิทธิ์อย่าง ปฐพี(land) สวรรค์(heaven) พรมแดน(line) โลก(world) แต่ละคำล้วนแฝงความหมายของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ต้องฝ่าผจญ รังวัดพิกัด เวียนว่ายตายเกิด กระทั่งอาจอ้างสิทธิ์ครอบครอง หนังเหล่านั้นมุ่งหน้าไปตามเส้นทางการเป็นปฏิปักษ์กับอุดมคติ: กฏหมาย และศิลธรรมประจำชนชั้น รัฐ หรือจักรวรรดินิยม ในคลื่นระลอกที่สองของช่วงชีวิตการทำงานกำกับหนัง มาลิกสนใจกับความเหลื่อมล้ำระหว่างสองอารยธรรม "ไม่มีการหันรีหันขวาง" จะมีก็แต่การรุกรานในนามการค้าและการสำรวจ หรือตามสำนวนของฌอน เพนน์ในเรื่องที่ว่า สินทรัพย์เป็นของบาดใจ
ช่วงกลางของหนังเต็มไปด้วยเขตแดน เส้นแบ่งของพื้นที่และความหมายทางวัตถุธรรมของการมีตัวตนในโลกของต้นไม้ บ้าน บ้านบนต้นไม้ สนาม กล่าวสำหรับแจ็คและพรรคพวก สนามหลังบ้านและก้นตรอกและในป่าละเมาะข้างชุมชน สถานที่วิ่งเล่นทั้งหลายคือยุทธภูมิที่ต้องพิชิต แค่เพียงเหล่ตาแลหรือหลงเข้าไปก็เท่ากับล่วงล้ำ บรรยากาศสุขสบายของบ้านและครอบครัวในหนังเรื่องนี้มีแนวปักปันตายตัวและตรรกแห่งพื้นที่และการจัดระเบียบ ความเหล่านี้หนักแน่นคมชัดจากวิชาชีพที่แจ็คเอาดีเมื่อเติบโต แจ็คเป็นสถาปนิกและเราก็จะได้ประจักษ์ในปรีชาญาณทางภูมิศาสตร์ของเขาดุจเดียวกับแผนผังการคิดค้นของผู้เป็นพ่อกับความพยายามจัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักการ ในงานของมาลิก ภูมิศาสตร์กลายเป็นเวทีแก่งแย่งแข่งขันอันอลหม่าน จุลชีพทรงเกลียวสว่านกรูเข้าจู่โจมมวลสารทรงกลมที่เลี้ยงตัวอย่างสงบเสงี่ยม โครงสร้างกล้าแกร่งของตัวเมืองฮุสตัน(อาจจะเป็นดัลลัส)พุ่งยอดขึ้นเสียดหมู่เมฆ(หรืออาจแค่สะท้อนภาพ)บนท้องฟ้า
ภารกิจของเหล่าตัวละครในการจัดระบบเพื่อกำราบสภาพอินังตุงนังในงานของมาลิกอาจดำเนินการผ่านทั้งในรูปกิจกรรมทางศิลปะ ธรรมชาติของห้องใต้หลังคาโดยตัวมันเองเป็นได้ทั้งกรุ โลงศพ กักกันในแบบเดียวกับบ้านของครอบครัวโอเบรียน) ไม่เป็นที่ประจักษ์ว่าจมใต้บาดาลหรือลอยไปสู่สวรรค์ เราอาจเป็นอิสระจากจากกฏและโครงสร้าง กรอบการดำรงชีวิต ด้วยคุณูปการจากความประณีตและเฉียบคมของศิลปะ เราเห็นพ่อของแจ็คโปรดปรานการได้อิ่มเอมกับดนตรี(บราห์ม) แต่การเป็นนักดนตรีอันเป็นความใฝ่ฝันก็มีอันป่นปี้เพราะเงื่อนไขของโลกแห่งความเป็นจริงไม่เป็นใจ บรรยากาศอันกักขฬะด้วยความเป็นจริงเหลือทนของโลกหวนมาปกคลุม รสนิยมเลิศล้ำทางดนตรีของเขาตกทอดมาสู่บุตรชายอย่างไม่ต้องสงสัยถึงที่มาของบทอวสานอันหดหู่ โครงสร้างตามแบบแผนทางศิลปะเป็นเครื่องจองจำให้คนหมกมุ่นกับการไปให้ถึงความไพเราะสมบูรณ์แบบของดนตรี หรือไม่ก็โยนบาปให้ความรักฐานชักนำให้ร่วมหัวจมท้ายไปกับโลก โดยไม่มัวยึดมั่นถือมั่น ดังคำของแม่แจ็คที่ว่า "ชีวิตเป็นทางผ่าน"
กล่าวสำหรับมาลิกหนังคือการแสดงความความรักและการทนุถนอม เป็นหนทางตีสนิทกับโลกและยินยอมให้โลกหลากผ่านเข้าสู่ตะแกรงร่อนความรู้สึกนึกคิดของเรา หนังของมาลิกชวนให้เราขบคิดไปหลายเรื่อง แต่หนึ่งในนั้นหนังมาลิกไม่ได้แค่ขับเคลื่อนตัวเอง หากยังปลุกชีวิตชีวาแก่ทุกกลไกในอุตสาหกรรมฮอลลิวูด ไม่ว่าจะเป็นวงการดารา ผู้กำกับศิลป์และมือจัดแสงตัวฉกาจ กระบวนการลำดับภาพและเก็บรายละเอียดหลังการถ่ายทำเป็นงานมหกรรมที่กินเวลาและเม็ดเงินมหาศาล คือ ชุดรถไฟจำลองที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เด็กคนหนึ่งเคยมี ตามสรรพคุณของออร์สัน เวลส์ ทั้งหมดทั้งหลายเพียงเพื่อความถึงรสและใกล้เคียงของจริงในการถ่ายทอดประสบการณ์ หนังของมาลิกเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของบรรดามือเทคนิกพิเศษชื่อก้องวงการหนัง ไล่ตั้งแต่ดักลาส ทรัมบูล(Douglas Trumbull) กับการเนรมิตเหตุการณ์ระเบิดใหญ่(Big Bang)ผ่านภาพวาด ภาพสีำน้ำและเพลงกล้องคมพริ้ว แดน กลาส(Dan Glass)มาบัญชางานสร้างภาพดิจิตอลโดยบรรดามือพระกาฬพร้อมเทคโนโลยีล่าสุดจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและนาซารับประกันความตื่นตาเทียบเท่าใน Speed Racer ปีเตอร์และคริส พาร์กส์ (Peter and Chris Parks)มาระบายภาพไหวระริกและภาพถ่ายขนาดจิ๋ว
แต่จุดอ้างอิงแต่อ้อนแต่ออกขนานแท้ นอกจาก Book of Job แล้ว ก็น่าจะเป็นแง่คิดจาก Opus 161 ผลงานจากค.ศ.1965 ของโธมัส วิลเฟร็ด(Thomas Wilfred) องคาพยพแห่งสีสันเกิดมาเพื่อร่ายดนตรีเป็นภาพ มาลิกสมาทานคมคิดมาแปรรูปไว้ดาษดื่นในผลงานของเขา กระพริบแห่งแสงแรก ประกายสวรรค์ประทานของสีสุกสกาว แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นจำหลักของจุดเริ่มแห่งจินตภาพและไขปริศนาการเป็นมนุษย์ ภาพแรกอันปรากฏแก่สายตายามลืมตาดูโลก
จักริน วิภาสวัชรโยธิน
แปลจาก
Goldsmith, Leo. 2011. 'The Tree of Life'. http://www.notcoming.com/reviews/treeoflife