แสงกัลปาวสาน

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
 
(การแก้ไข 2 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 1: แถว 1:
-
จากมุขตลกที่ลอยมาตามบรรยากาศในเทศกาลภาพยนตร์แห่งหนึ่งไม่กี่ปีก่อน ชายคนหนึ่งพูดกับชายอีกคนหนึ่งว่า หากหนังของแองเจโลปูลอสเริ่มฉายตอนหกโมงตามเวลาบนนาฬิกาข้อมือคุณ สามชั่วโมงผ่านไปคุณยกนาฬิกาขึ้นดูอีกครั้งจะเห็นเข็มชี้ไปที่เวลาหกโมงห้านาที ปากดีไม่เข้าเรื่องแต่ก็เป็นความจริง นึกๆไปถ้อยคำกระเซ้าดังกล่าวก็เข้าท่าพิลึกในการสะท้อนให้เห็นความพิถีพิถันและทุ่มเทยิ่งของแองเจโลปูลอส(Theo Angelopoulos)ในการเนรมิตกาลเวลาและประวัติศาสตร์ที่เคยโลดแล่นให้ยังคงแจ่มกระจ่างเกริกไกรอยู่ในหนังของเขา
+
The Tree of Life ผลงานลำดับที่ 5 ของเทอเร็นซ์ มาลิก(Terrence Malick)ที่กลับเป็นงานชิ้นแรกที่คลี่คลายเรื่องผ่านการย้อนรำลึกความหลัง ในแง่หนึ่งก็คือการหลอมจำลองและรื้อเรียงเศษเสี้ยวอันพร่าเลือนของความทรงจำเก่าเก็บบรรดามี อุบัติของแสงแรก  บทสนทนาเรื่อยเปื่อย และอากัปกริยามนุษย์และภูมิทัศน์อันละมุนละเมียด การดำดิ่งอยู่ในห้วงความทรงจำของตัวละครหลักๆในงานเหล่านั้นไม่่ว่าจะเป็นวิทท์กับเบล(Witt and Bell)ใน The Thin Red Line จอห์น  สมิธ(John  Smith)ใน The New World ไม่เพียงหันเหความสนใจออกจากปัจจุบัน หากยังจะได้ละเลียดรายละเอียดราวกับได้ไปขลุกในเหตุการณ์ด้วยตนเองทุกขั้นทุกตอน ในงานของมาลิกประสบการณ์นั้นยิบย่อยและยากจะกุมเก็บ ชวนกังขาแต่ลงตัว หลากบ่าผ่านโลกหล้าเข้มขจี จริงเพียงจริงอยู่ชั่วนาตาปี  แต่ภาพธรรมชาติอันน่าตื่นตา ในหมู่คนที่ไม่บอกบุญไม่รับกับงานของมาลิกก็ไม่ยี่หระและชายตาแล ทั้งที่นั่นคือแนวทางกำหนดพื้นเพประสบการณ์ของตัวละคร การสังฆกรรมกับโลก เพียงแต่อาจนำเสนอแค่พอหอมปากหอมคอก็ได้
-
ลำหักลำโค่นของแองเจโลปูลอสนั้นลื่นไหลไร้ที่ติในการบรรเลงเรียงร้อยฝีภาพจากเพลงกล้องยามย่างสามขุมดูลาดเลาภูมิทัศน์ ห้องหับ ที่รโหฐาน สวน หรือลอยผ่านและเวียนวนรอบกรีกมุงเจ้าของพฤติกรรมการจราจรภายในฝีภาพอันนัับเป็นการวาดระบายแบบแผนทางศิลปะอยู่แล้ว  4 ชั่วโมงของ The Travelling Players (O thaissos) ผลงานวาดระบายภูมิศาสตร์การเมืองชิ้นเอกอุจาก ค.ศ.1975 มีการตัดต่อเพียง 79 ครั้ง ประวัติศาสตร์ ความล่มสลาย ความสุขสม ปริศนาทางการเมือง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเวียนว่ายตายเกิดโดยไม่นำพาขนบการเล่าเชิงเส้น และพากันละเลงโถมทับระนาบการเล่าสดหมาดละเมียดสุดลูกหูลูกตานั้น
+
ควรกล่าวด้วยว่า โดยเหตุที่ความทรงจำโดยตัวเองคือฟันเฟืองเชิงโครงสร้าง การที่ The Tree of Life ละเลียดอยู่กับภาพระลึกความหลัง(flashback) บ่งบอกว่ามาลิกกำลังเฉไฉออกนอกเส้นทางการคลี่คลายเรื่องตามลำดับปกติในงานชิ้นก่อนๆ โดยอาจนับการเล่าถึงปฏิบัติการทางทหารแบบพายเรือวนในอ่างในงานลำดับที่สามเป็นขั้นก่อหวอด การขับเคลื่อนเรื่องราวในงานทุกเรื่องที่ผ่านมาแม้พุ่งเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า แต่ก็ชัดแจ้งเฉพาะกับการพเนจรไปตามทางหลวงในผลงานชิ้นแรก และชีวิตบนรางรถไฟในผลงานลำดับที่สอง หนังแต่ละเรื่องที่กล่าวมาบุกฝ่าภูมิกายภาพและห้วงเวลาโดยอสนีบาตมองตาจผู้รู้แจ้ง-ตามใบสั่งอันแม่นยำของจากฝีไม้ลายมือการผดุงครรภ์เสี้ยวเหตุการณ์อันลือเลื่องของมาลิก แต่ละเหตุการณ์พุพลั่กในหนังของมาลิกเหมือนนิมิต วิทท์ครุ่นคิดถึงการตายของแม่ หรือ สมิธคิดไม่ตกว่าพวกเขาได้อะไรจากราวป่า แต่ใน The Tree of Life ราวกับหนังทั้งเรื่องขลุกอยู่ในชั่วขณะจิตเหล่านั้นอย่างที่กล่าว  จากอาคารสำนักงานสูงตระหง่านท่ามกลางเงาสะท้อนเส้นขอบฟ้าที่ลากผ่านราวตึกในฮุสตัน(บางคราวก็เป็นดัลลัส) แจ็ค โอเบรียน(Jack O'Brien)รับบทโดยฌอนน์ เพนน์(Sean Penn)ในมาดที่จะพบได้เฉพาะจากชีวิตร่วมสมัยซึ่งไม่เคยมีให้เห็นมากเท่านี้มาก่อนในสารบบงานของมาลิก แจ็คหวนนึกถึงช่วงชีวิตวัยเยาว์ของตนในย่านวาโก(Waco) เท็กซัส รวมถึงพ่อแม่และพี่น้อง ณ โมงยามอันชวนเคลิ้มเนื่องจากกัปกัลป์ทำมุมพาดขวาง เทกระจาดเวลาและอวกาศปนเปเป็นเนื้อเดียวกันในชั่วอึดใจหนึ่งเที่ยวลิฟท์ หรือไม่ก็ในสวนอันวังเวงประจำสำนักงาน
-
แล้วแง่คิดที่กล่าวมาช่วยให้เรามองภาพการทำหนังของแองเจโลปูลอสชัดเจนพอหรือไม่ หรืออาจเป็นการบอกใบ้ว่าแองเจโลปูลอสมือตกและไม่เหลือสภาพสุดยอดฝีมือด้านภาพของยุโรปอีกต่อไปแล้ว หรือก็อาจเป็นไปอีกเหมือนกันว่านั่นคือการส่งสัญญาณถึงคนดูว่าในการเสพงานปริศนาคริสตชาดกแสนจับใจของแองเจโลปูลอสนั้น คนดูจำต้องสละแล้วซึ่งพฤติกรรมการรับชมสื่อบันเทิงเดิมๆ และหันมาทุ่มเทสรรพสมาธิ ความมุ่งมั่น และด้วยใจอันเปิดกว้าง
+
ตามแนวคิดว่าด้วยเวลาและการเล่าเดินทางเป็นเส้นตรง The Tree of Life ในมุมที่เพิ่งกล่าวออกจะนอกลู่นอกทาง เหมือนเป็นดินแดนใหม่ทางภาพยนตร์ที่มาลิกเพิ่งได้ลิ้มและอาจผิดกลิ่นสำหรับชาวฮอลลิวูด ในงานชิ้นก่อนยังพอมีตัวแทนจากฮอลลิวูดอย่าง Heaven's Gate และ Saving Private Ryan เป็นตัวเทียบ แต่พอมาถึง The Tree of Life กลับต้องข้ามทวีปไปวัดลำหักลำโค่นการโผละเลียดผ่านเวลาและความทรงจำที่เกาะกุมอยู่กับภูมิหลังของสรรพสิ่ง กับ The Mirror ของทาร์คอฟสกี(Andrei Tarkovsky) หรือ Je t'aime je t'aime ของเรอเนส์(Alain Resnais) และยิ่งคล้ายทาร์คอฟสกีเข้าไปอีกตรงที่มาลิกนำวาระส่วนตัวระดับก้นบึ้งมาเข้ารหัสขานเคาะออกมาเป็นหนัง ไล่ตั้งแต่ช่วงเจริญวัยในเท็กซัสภายใต้การเลี้ยงดูอันเข้มงวดของพ่อและเอ็นดูรักใคร่ของแม่ การฆ่าตัวตายของน้องชาย  อาจกล่าวได้ว่าหนังไม่อินังขังขอบกับตรรกลำดับเวลา แต่รุ่มรวยด้วยรสชาติราวได้เข้าไปขลุก เสียงแจ็คเอ่ยถามขึ้นมา ฉันเสียนายไปได้ยังไง ทอดทิ้ง... ลืมนายได้ลงคอ  ความเคว้งคว้างนำไปสู่การค้นหาจุดเริ่มต้น ความมาย และทิศทาง
-
ในบทวิจารณ์ Eternity and a Day(Mai eoniotita ke mia mera) ที่ตีพิมพ์ใน The Village Voice เมื่อค.ศ.2006 ไมเคิล  แอ็ทคินสัน(Michael Atkinson)สดุดีความปราดเปรื่องในการสร้างมิติใหม่แก่วากยสัมพันธ์ทางภาพยนตร์ของแองเจโลปูลอสว่าสูงส่งเทียบเท่าคุณูปการที่โทมัส พินชอน(Thomas  Pynchon)มีต่อโลกวรรณกรรม เป็นการผลิตงานเพื่อสำแดงอัจฉริยภาพหาใช่เพื่อเล่นสนุก
+
หรือที่จริงแล้ว เป็น สรณะแห่งเหตุผล(The Essence of Reasons) อันเป็นชื่อพากย์อังกฤษที่มาลิกสวมให้กับงานแปลในค.ศ.1969 ที่เขาตีพิมพ์ในปีถัดจากปีถึงฆาตของน้องชาย ต้นฉบับงานแปลดังกล่าวคือบทความขนาดยาวของไฮเด็กเกอร์(Martin Heidegger)ที่ออกมาไม่นานหลังการตีพิมพ์หนังสือชื่อกระฉ่อน Being and Time ผลงานปฏิวัติวงการในค.ศ.1927  มาลิกได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางปรัชญาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเป็นศิษย์ของสแตนลีย์ คาเวล(Stanley Cavellข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกนำไปจับแพะชนแกะสร้างสูตรสำเร็จที่มาแห่งความสนใจด้านจิตวิญญาณของมาลิก ทั้งที่จริงแล้วการแปลงานชิ้นนั้นของไฮเด็กเกอร์แทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีข้อถกเถียงอันปราดเปรื่องเพื่อหักล้างความเชื่อผิดๆ ดังกล่าวแทรกอยูในการอภิปรายถึงความเชื่อมโยงระหว่าง The Tree of Life กับหนังสือ Introduction to Metaphysics ของไฮเด็กเกอร์ ตลอดจน Book of Job และ Thomas a Kempis    เนื่องด้วยสภาพดั้งเดิมของความรู้และการแปรสภาพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของสัจธรรมแต่ครั้งบรรพกาลยังคงฝังแน่นในตัว The Tree of Life จึงเป็นหลักฐานคาหนังคาเขาเพื่อชำระงานของมาลิกผ่านน้ำมนต์ของไฮเด็กเกอร์ผู้ปวารณาตนแก่การทำความเข้าใจกับสำนึกของมนุษย์และตัวตนในโลก ทั้งนี้ตามการหลับหูหลับตาเชื่อของคน โลกคือพิพิธภัณฑ์ของสรรพสิ่งไม่ก็เป็นเนื้อเดียวกันทั้งผอง และการแยกแยะความจริง
-
ผู้กำกับกรีกท่านนี้ถือเป็นเสาหลักของขบวนการภาพยนตร์เอ้อระเหย อันประกอบด้วยต้นตำรับยาขมเจ้าของนามชวนครั่นคร้ามอย่างอังเดร  ทาร์คอฟสกี(Andrei  Tarkovsky) มิโคลส แยนสโช(Miklos Jansco) เบลา  ทาร์(Bela  Tarr)  ฌองทาล  อเคอร์มาน(Chantal  Akerman) และ โหวเชี่ยวเฉียน(Hou  Hsiao-Hsien) ในแผงหัวหอกของขบวนการอันมุ่งมั่นและทรนง  ในบรรดาผลงานมังสวิรัติทางวัฒนธรรม(cultural vegetable)ด้วยกันนั้น งานของแองเจโลปูลอสกินขาดในแง่ความแพร่หลาย
+
เรื่องเหล่านี้มีสัดส่วนของเนื้อหาทางปรัชญาค่อนข้างมาก สำหรับนักวิจารณ์และคนดูบางส่วนเป็นเรื่องเหนือบ่ากว่าแรงไม่ก็อวดภูมิเกินงามที่จะอนุมานว่าการเล่าผ่านหนังจะอำนวยความชัดแจ้งเกินหน้าศัพท์แสงอันศักดิ์สิทธิ์จากอรรถกถาของไฮเด็กเกอร์ หามิได้ เด็กน้อยด้อยวิชาหัด(หรือเข้ารีต)อ่านเขียนเรียนรู้ขนบก่อนนำไปสู่ความเข้าใจถึงการมีอยู่ของพระเจ้าและความเป็นมาของชีวิตฉันใด การตีคุณค่าหนังก็เป็นเหมือนกระบวนการเรียนรู้เรื่องโลกฉันนั้น คำตอบของคำถามพื้นฐานเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการอ้างอิงมาเป็นสาย กล่าวสำหรับ ไฮเด็กเกอร์แล้ว แค่แนวความคิดพื้นๆ ที่ว่า โลกคืออะไร ก็แผ่กัมมันตรังสีสมมติฐานได้หลายขนาน ไม่ว่าจะเป็นโลกคือแหล่งรวมสรรพสิ่งเท่าที่มีอยู่เดิมใช่หรือไม่ หรือโลกเป็นเพียงความเข้าใจเชิงอัตวิสัยต่อสรรพสิ่งประดามีและที่มาที่ไปหรือล้วนเป็นเจตจำนงของพระเจ้า หรือเป็นเส้นทางฟันฝ่าอุปสรรค ของคริสเตียนสายเทววิทยาด้วย เช่น บาปและมาร เพื่อเข้าถึงพระองค์ ดังในบทเทศนาที่ได้ยินระหว่างพิธีเข้ารับศิลของน้องชายของแจ็ค เบาะแสในเรื่องนี้อาจมีอยู่ในคำนำผลงานแปลของมาลิก
-
พลานุภาพทางภาพยนตร์ของแองเจโลปูลอสกล้าแกร่งสุดขีดในศตวรรษ 1990 Ulysses' Gaze(To vlemma tou Odyssea) ได้รับรางวัลขวัญใจกรรมการงานประกวดเทศกาลภาพยนตร์คานส์ประจำค.ศ.1995 โดยที่สาธารณชนต่างพากันเสียดายที่เจ้าของรางวัลปาล์มทองคำในปีนั้นตกเป็นของ Underground งานบอกเล่าความเสื่อมโทรมทางภูมิศาสตร์และศิลธรรมในคาบสมุทรบอลข่านโดยผู้กำกับอีเมียร์ คัสตูริกา(Emir  Kusturica)
+
"พูดถึงโลกทีไร ไม่พ้นไฮเด็กเกอร์ต้องแถมพกด้วยการตีความครอบจักรวาลหรือจุดยืนของเราต่อการพิจารณาสรรพสิ่งในโลกซึ่งมักลงเอยด้วยภาพอันหลากหลายจากเจ้าของความเห็นทั้งปวง แต่กลับไม่ค่อยมีการพูดถึง"จุดยืน"(a point of view)อย่างเป็นกิจลักษณะ ทั้งที่จุดประสงค์ที่แท้จริงของไฮเด็กเกอร์ในการกล่าวถึงแนวคิดนี้ไม่มีทางเป็นอื่นไปได้แน่ การอภิปรายในเรื่องการตีความที่พอทำยาได้ก็มีไม่มากเท่าที่ควร หากไร้ซึ่งการตีความ เราก็ไม่อาจเข้าใจโลกได้อย่างถ่องแท้ เป็นกบในกะลา ไม่ก็เห็นเหมือนกันไปหมด"
-
แต่สามปีให้หลังแองเจโลปูลอสก็คว้าปาล์มทองคำจาก Eternity and a Day จนได้ จากเรื่องราวหลากรสชาติอันเป็นเหมือนหนังสือไว้อาลัยผ่านเหตุการณ์ช่วงท้ายแห่งชีวิตที่เจียนแตกดับเพราะโรคภัยของกวี(รับบทโดย Bruno  Ganz)ผู้ออกเดินทางไปทั่วดินแดนกรีซและบรรลุสัจธรรมหลังจากได้พบกับลูกกำพร้าชาวอัลเบเนียน
+
พ่อของแจ็คบัญชาให้ผู้เป็นลูกชายหาคำนิยามของวัตถุวิสัย(objective) และอัตวิสัย(subjective) แต่ความหมายของโลกในคำนึงของไฮเด็กเกอร์อยู่พ้น ไม่ก็ก้ำกึ่งระหว่างภาวะทั้งสอง โลกไม่อาจมีคุณค่าโดยลำพัง(โลกของใครคนใดคนหนึ่ง) ทั้งก็มิใช่ก้อนวัตถุ(โลกของสรรพสิ่ง)เปล่าปลี้
-
แองเจโลปูลอสได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้กำกับประพันธกรแห่งประพันธกร ความข้อนี้เป็นที่ประจักษ์อยู่ในผลงาน 13 เรื่องของเขาไม่ว่าจะเพ่งเล็งตรงไหน ตลอดจนลีลาอันเจนจบผ่าเผยแต่เปี่ยมความรู้สึก แปรปรวนคลุ้มคลั่งแต่ยังมีส่วนละเมียด โผงผางแต่คุ้นเคย ไร้เดียงสาแต่ลึกล้ำ จริงแต่เหลื่อมจริง ล้วนตราตรึง แม้เจ้าตัวจะยืนยันหนักแน่นว่าไม่เคยดูหนังของตนเองซ้ำอีกภายหลังเสร็จขั้นตอนการผลิต แต่เขากลับจำทุกอย่างเกี่ยวกับหนังของตัวเองได้แม่นราวกับสลักอยู่ในห้วงความทรงจำ ต่อคำถามถึงความเป็นมาของฝีภาพแรกในผลงานชิ้นแรก คือ Reconstruction  งานไว้อาลัยให้ความเสื่อมถอยของวัฒนธรรมกรีกผ่านบทบาทเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น(หนังเรื่องนี้อาจนับเป็นแฝดคนละฝากับมหากาพย์ชีวิตผู้อพยพ America, America งานแนวหักหาญความรู้สึกคนดูโดยอีเลีย คาซาน(Elia Kazan)ในค.ศ.1963 ) ในฝีภาพยาวนั้นจะเห็นรถโดยสารประจำทางไต่ระดับไปตามถนนโคลนติดแนวชายเขาของหมู่บ้าน ผู้โดยสารพอลงจากรถไปก็ต้องยักแย่ยักยันขึ้นเขาต่อไปอีก ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเจ้าตัวผู้กำกับจะตระหนักหรือไม่ว่าฝีภาพแรกดังกล่าวคือการปฏิวัติวงการทั้งในแง่วิธีคิดและวิธีถ่ายทอด เขาเพียงปรารภว่า "จากครั้งเริ่มจับกล้องที่เธอระแวงไปหมดว่าจะผิดผี นอกครู ดังนั้น โดยส่วนตัวแล้วมองว่า เธอไม่ได้เป็นคนเลือกวิธี แต่เธอเป็นฝ่ายถูกเลือก"
+
โลกมีคุณค่าความหมายขึ้นมาก็ต่อเมื่อคนเอาตัวเองเข้าสังฆกรรมหรือไม่ก็ในทางตรงกันข้าม สรรพสิ่งรายรอบอุบัติและหยัดยืนจากสำนึกของคน และก็เป็นโดยตัวของจุดยืนเองที่ปรุงแต่งความมีอยู่จริงของเราๆ เราจึงมีคุณค่าความหมายอยู่ในโลก ธรรมชาติมีตัวตนขึ้นมาจากประสบการณ์ของมนุษย์ต่อธรรมชาติและในหนังของมาลิกรูปทรงอันหลากหลายของธรรมชาติไม่ได้มีไว้แค่คอยอวดโฉม แสดงมิตรภาพต่อนิเวศน์ อาหารตาที่เราอาจเรียกว่า ดาวยั่วนางไม้(tree porn) หากแต่ยืนหยัดเป็นอนุสรณ์ประจานพื้นเพของเราภายใต้ข่ายขัดทอของอัตวิสัย - วัตถุวิสัยแห่งการทำความเข้าใจ คือโลก  ในแง่นี้โลกจึงเป็นสื่อเชื่อมโยงจุดยืนของเราเข้ากับโลกดังที่สแตนลีย์  คาเวลสดุดีความแน่วแน่ของมาลิกในการปรุงแต่งคุณค่า Days in Heaven ตามแนวคิดไฮเด็กเกอร์ไว้ในหน้าคำนำของหนังสือ The World Viewed  กล่าวสำหรับคาเวลหนังไม่ใช่แค่สื่อบันทึกสรรพสิ่งไปตามมีตามเกิด แต่เป็นองค์ประกอบที่มีส่วนได้เสียในการนำเสนอตัวเองออกมาเป็นภาพ เป็นปัจจัยชี้เป็นชี้ตายในการกำหนดรูปโฉม ด้วยเหตุดังนี้ การนำเสนอสิ่งใดตามขนบหนังในงานของมาลิกจึงเป็นพิธีการสำคัญยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าธรรมชาติไม่ได้เป็นแค่สัมพันธภาพทนโท่ของการดื่มด่ำความงามไร้มลทิน หากยังเป็นการผดุงไว้ซึ่งและหลักฐานของสัมพันธภาพฉันท์วัตถุวิสัย/อัตวิสัยอันผิดปกติวิสัยของเราที่มีต่อโลก โลกเป็นไปตามครรลอง ตามคำกล่าวของไฮเด็กเกอร์และทั้งเราและวัตถุทั้งหลายโลกอันเป็นที่ประจักษ์ต่างร่วมหัวจมท้ายในวิถี คาเวลกล่าวว่าภาพวัตถุที่ทาบหราอยู่บนจอย่อมเข้าตัวทั้งหมด เสนอหน้าอ้างอิงตัวเอง สะท้อนภาพดั้งเดิมทางกายภาพของตัวมันเอง
-
ในส่วนของฝีภาพแรกใน Reconstruction นั้น ผมจำได้ว่าตากล้องก็ถามผมว่าจะให้เปิดหน้ากล้องเก็บภาพนานแค่ไหน" และเล่าต่อไปว่า "พอกล้องเดิน ผมก็หลับตา ฟังเสียงจากอากัปกิริยาของนักแสดง เสียงลมหายใจ เสียงฝีเท้าพวกเขาลอยเข้าหูผม พอทุกอย่างได้ที่ ผมก็สั่ง 'หยุด' เป็นอันเสร็จ ผมไม่เคยกะเกณฑ์ว่าฝีภาพพวกนั้นควรกินเวลานานเพียงใด จึงไม่มีฝีภาพใดเยิ่นเย้อ เป็นเรื่องของสัญชาตญาณมากกว่าการเลือกเฟ้น แต่ละฝีภาพมีอายุขัยของตัวเอง ยาวได้เท่าที่ความจำเป็นจะนำพา  ผมผูกฝีภาพโดยคำนึงว่าจะได้ดังตาเห็นหรือไม่ จากนั้นค่อยมาชั่งใจว่าจะเข้าไปปรับแต่งภูมิทัศน์ให้ลงรอยกับภาพที่วาดฝันไว้แต่แรกหรือไม่"
+
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า The Tree of Life มีจุดเริ่มต้นจากสายสะดือทอดเชื่อมแจ็คกับโลกขาดสะบั้นลง จากนั้นหนังก็ย้อนรอยความเป็นมาของแจ็คโดยว่ากันตั้งแต่โคตรเหง้า  "หาฉันให้เจอ"น้องชายเขาออกปาก ที่คือปัจจัยเจ้ากี้เจ้าการส่งแจ็คไปทัศนะศึกษาไม่ใช่แค่อดีตของผู้เป็นแม่ "นายพูดกับฉันผ่านแม่" แจ็คเปรย และ และการหลอมจำลองอันดับแรกก็คือวัยเด็กของผู้เป็นแม่และย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งแต่ครั้งบรรพกาล การก่อเกิดของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน การระเบิดใหญ่(the Big Bang) กำเนิดของโลก การขยับตัวของโมเลกุลแรก การยกพลขึ้นบกของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก่อนวิวัฒนาการเป็นสรรพชีวิตที่ซับซ้อน เหล่านี้เป็นตัวตายตัวแทนของกระบวนการสรรค์สร้างโลกแห่งธรรม โลกแห่งสำนึก และการรู้จักตนเอง นี่ไม่ใช่โลกของพระเจ้า แม้จารึกจินตนาการเรื่องนี้จะทิ้งรอยฝังลึกอยู่ในชีวิตของแจ็ค(หรืออาจจะเป็นมาลิก)
-
ดูไปแล้วแองเจโลปูลอสคล้ายจะเป็นนายวงมโหรีมากกว่าผู้กำกับตามความเข้าใจทั่วไป เขาปฏิเสธข้อสังเกตนี้และว่า "ผมว่าผมคล้ายนักแปลมากกว่า" เขาเปรยก็แปลเสียง แปลความรู้สึกและกาลเวลาซึ่งเดินทางจากห้วงไกลลิบมาถึงผม และผมก็ได้แต่ซึมซับไว้
+
The Tree of Life กินขอบเขตกว้างไกลแต่กระนั้นก็ยังกันพื้นที่ไว้ให้ปรัชญาหอกข้างแคร่ เป็นต้นว่า ความศรัทธาไม่ลืมหูลืมตาตลอดจนการบำเพ็ญทุกรกิริยาตามขนบคริสตจักรของบุพการี  โลกหยาบช้านอกวิมานในอากาศอย่างที่เราๆ ต้องฟันฝ่า โลกที่ขับเคลื่อนไปตามคติ"ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ด้วยกล"อย่างที่พ่อของแจ็คเคยเตือน เป็นโลกของคนร้อยพ่อพันแม่แก่งแย่งชิงดี ภายใต้การจัดสรรอันไม่เป็นธรรม ชื่อหนังเรื่องที่แล้วๆมาของมาลิกคือเบาะแสของมุมมองต่อโลก ระเบียบอันหยุมหยิมของโลก ดังจะเห็นได้จากศัพท์แสงศักดิ์สิทธิ์อย่าง ปฐพี(land)  สวรรค์(heaven)  พรมแดน(line) โลก(world)  แต่ละคำล้วนแฝงความหมายของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ต้องฝ่าผจญ รังวัดพิกัด เวียนว่ายตายเกิด กระทั่งอาจอ้างสิทธิ์ครอบครอง  หนังเหล่านั้นมุ่งหน้าไปตามเส้นทางการเป็นปฏิปักษ์กับอุดมคติ: กฏหมาย และศิลธรรมประจำชนชั้น รัฐ หรือจักรวรรดินิยม ในคลื่นระลอกที่สองของช่วงชีวิตการทำงานกำกับหนัง มาลิกสนใจกับความเหลื่อมล้ำระหว่างสองอารยธรรม  "ไม่มีการหันรีหันขวาง" จะมีก็แต่การรุกรานในนามการค้าและการสำรวจ หรือตามสำนวนของฌอน  เพนน์ในเรื่องที่ว่า สินทรัพย์เป็นของบาดใจ
-
ชีวิตตัวละครที่ไม่เคยลงหลักปักฐาน การเดินทางและการต่อกรกับภูมิทัศน์ รวมถึงการรอนแรมตามทางสัญจรไม่ว่าจะเพราะถูกทิ้งขว้างกลางคันหรือพเนจรโดยไร้จุดหมายถือเป็นหัวใจสำคัญในหนังของแองเจโลปูลอส ดังมีให้เห็นในรูปความทุกข์ตรมของมาร์แซลโล มาสโตรยานนี(Marcello  Mastroianni)ในห้วงคำนึงถึงการพลัดพรากจากเด็ก ๆ ระหว่างตระเวณขนส่งผึ้งไปทั่วประเทศให้ทันฤดูเพาะพันธุ์จากหนังในค.ศ.1986 เรื่อง The Beekeeper(O melissokomos)  หรือปฏิบัติการใจดีสู้เสือของพี่ชายน้องสาววัยประถมกับการแกะรอยตามหาพ่อผู้ลึกลับในงานจากค.ศ.1988 เรื่อง Landscape in the Mist(Topoi stin omichi)
+
ช่วงกลางของหนังเต็มไปด้วยเขตแดน เส้นแบ่งของพื้นที่และความหมายทางวัตถุธรรมของการมีตัวตนในโลกของต้นไม้ บ้าน บ้านบนต้นไม้ สนาม กล่าวสำหรับแจ็คและพรรคพวก สนามหลังบ้านและก้นตรอกและในป่าละเมาะข้างชุมชน สถานที่วิ่งเล่นทั้งหลายคือยุทธภูมิที่ต้องพิชิต แค่เพียงเหล่ตาแลหรือหลงเข้าไปก็เท่ากับล่วงล้ำ บรรยากาศสุขสบายของบ้านและครอบครัวในหนังเรื่องนี้มีแนวปักปันตายตัวและตรรกแห่งพื้นที่และการจัดระเบียบ ความเหล่านี้หนักแน่นคมชัดจากวิชาชีพที่แจ็คเอาดีเมื่อเติบโต แจ็คเป็นสถาปนิกและเราก็จะได้ประจักษ์ในปรีชาญาณทางภูมิศาสตร์ของเขาดุจเดียวกับแผนผังการคิดค้นของผู้เป็นพ่อกับความพยายามจัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักการ ในงานของมาลิก ภูมิศาสตร์กลายเป็นเวทีแก่งแย่งแข่งขันอันอลหม่าน จุลชีพทรงเกลียวสว่านกรูเข้าจู่โจมมวลสารทรงกลมที่เลี้ยงตัวอย่างสงบเสงี่ยม โครงสร้างกล้าแกร่งของตัวเมืองฮุสตัน(อาจจะเป็นดัลลัส)พุ่งยอดขึ้นเสียดหมู่เมฆ(หรืออาจแค่สะท้อนภาพ)บนท้องฟ้า
-
"ที่ๆผมรู้สึกถึงความเป็นบ้านคือที่นั่งข้างคนขับ"ผู้กำกับยอมรับ "ผมไม่ได้ขับรถเอง แต่ผมได้ชื่อว่าสัมผัสภูมิทัศน์ทุกเช้า หนังของผมเป็นผลการแปรธาตุมุมมองต่อโลกจากการเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่า  หมู่บ้านใน Reconstruction น่ะรึ เป็นไปดังคำทำนายถึงความพินาศบ้าบอรึเปล่าล่ะ ผมเพิ่งเจอกับผู้กำกับหญิงคนหนึ่งและเราไปสำรวจหมู่บ้านทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรีซอันเป็นฉากหลังของ Reconstruction ด้วยกัน ครั้งกระโน้นผู้คนพากันละทิ้งถิ่นฐานไปทำงานในเยอรมันนี กลับไปเยี่ยมครั้งนี้ แทบไม่เหลือเค้าเดิม ธุรกิจรุกเข้ายึดพื้นที่ สภาพดั้งเดิมของแถบถิ่นและผู้คนเหมือนถ้อยรจนาในกวีนิพนธ์ ไม่มีให้เห็นอีกต่อไป"
+
ภารกิจของเหล่าตัวละครในการจัดระบบเพื่อกำราบสภาพอินังตุงนังในงานของมาลิกอาจดำเนินการผ่านทั้งในรูปกิจกรรมทางศิลปะ ธรรมชาติของห้องใต้หลังคาโดยตัวมันเองเป็นได้ทั้งกรุ โลงศพ กักกันในแบบเดียวกับบ้านของครอบครัวโอเบรียน) ไม่เป็นที่ประจักษ์ว่าจมใต้บาดาลหรือลอยไปสู่สวรรค์ เราอาจเป็นอิสระจากจากกฏและโครงสร้าง กรอบการดำรงชีวิต ด้วยคุณูปการจากความประณีตและเฉียบคมของศิลปะ เราเห็นพ่อของแจ็คโปรดปรานการได้อิ่มเอมกับดนตรี(บราห์ม) แต่การเป็นนักดนตรีอันเป็นความใฝ่ฝันก็มีอันป่นปี้เพราะเงื่อนไขของโลกแห่งความเป็นจริงไม่เป็นใจ  บรรยากาศอันกักขฬะด้วยความเป็นจริงเหลือทนของโลกหวนมาปกคลุม รสนิยมเลิศล้ำทางดนตรีของเขาตกทอดมาสู่บุตรชายอย่างไม่ต้องสงสัยถึงที่มาของบทอวสานอันหดหู่  โครงสร้างตามแบบแผนทางศิลปะเป็นเครื่องจองจำให้คนหมกมุ่นกับการไปให้ถึงความไพเราะสมบูรณ์แบบของดนตรี หรือไม่ก็โยนบาปให้ความรักฐานชักนำให้ร่วมหัวจมท้ายไปกับโลก โดยไม่มัวยึดมั่นถือมั่น ดังคำของแม่แจ็คที่ว่า "ชีวิตเป็นทางผ่าน"
-
ค่ายกลสัญลักษณ์(Systems of symbols)
+
กล่าวสำหรับมาลิกหนังคือการแสดงความความรักและการทนุถนอม เป็นหนทางตีสนิทกับโลกและยินยอมให้โลกหลากผ่านเข้าสู่ตะแกรงร่อนความรู้สึกนึกคิดของเรา  หนังของมาลิกชวนให้เราขบคิดไปหลายเรื่อง แต่หนึ่งในนั้นหนังมาลิกไม่ได้แค่ขับเคลื่อนตัวเอง หากยังปลุกชีวิตชีวาแก่ทุกกลไกในอุตสาหกรรมฮอลลิวูด ไม่ว่าจะเป็นวงการดารา ผู้กำกับศิลป์และมือจัดแสงตัวฉกาจ กระบวนการลำดับภาพและเก็บรายละเอียดหลังการถ่ายทำเป็นงานมหกรรมที่กินเวลาและเม็ดเงินมหาศาล  คือ ชุดรถไฟจำลองที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เด็กคนหนึ่งเคยมี ตามสรรพคุณของออร์สัน  เวลส์ ทั้งหมดทั้งหลายเพียงเพื่อความถึงรสและใกล้เคียงของจริงในการถ่ายทอดประสบการณ์  หนังของมาลิกเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของบรรดามือเทคนิกพิเศษชื่อก้องวงการหนัง ไล่ตั้งแต่ดักลาส  ทรัมบูล(Douglas  Trumbull) กับการเนรมิตเหตุการณ์ระเบิดใหญ่(Big Bang)ผ่านภาพวาด  ภาพสีำน้ำและเพลงกล้องคมพริ้ว  แดน  กลาส(Dan  Glass)มาบัญชางานสร้างภาพดิจิตอลโดยบรรดามือพระกาฬพร้อมเทคโนโลยีล่าสุดจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและนาซารับประกันความตื่นตาเทียบเท่าใน Speed Racer  ปีเตอร์และคริส  พาร์กส์ (Peter and Chris  Parks)มาระบายภาพไหวระริกและภาพถ่ายขนาดจิ๋ว
-
แองเจโลปูลอสคือหนึ่งในผู้รับช่วงภารกิจถ่ายทอดพงศาวดารศตวรรษที่ 20 ของกรีก เขาไม่เคยใช้การบอกเล่าโทนโท่ๆ หากจับเล็กผสมน้อยภาพและเสียง แปลงเก็บอย่างแยบคายไว้ในค่่ายกลสัญลักษณ์ การสร้าง The Travelling Players ในยุคกลุ่มทหารขวาจัดเถลิงอำนาจการปกครองนั้น แองเจโลปูลอสจำต้องงัดกลเม็ดสารพัดมาใช้  "คงเพราะหวาดกลัวการแทรกแซง  กลัวว่าการแสดงออกทางศิลปะจะถูกบิดเบือน" เขาแจกแจง  "บรรดาผู้กำกับจำต้องพลิกแพลงรูปแบบการทำงานขนานใหญ่เพื่อรับมือการคุกคามจากมาตรการระงับการฉาย(censorshipนึกย้อนจากตอนนี้ผมยังจำได้แม่นว่า The Travelling Players นั้นเป็นสมยานามที่เหมาะเจาะอย่างยิ่งกับคนกอง ช่างประจำกองและนักแสดงในเรื่องเขม่นกับตำรวจก็เลยต้องไปนอนคุกสงบสติอารมณ์ และที่สำคัญกว่านั้นคือบทบาทของผู้กำกับกับการคอยดูลาดเลาว่ามีสารวัตรทหารป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้สถานที่ถ่ายทำหรือไม่"
+
แต่จุดอ้างอิงแต่อ้อนแต่ออกขนานแท้ นอกจาก Book of Job แล้ว ก็น่าจะเป็นแง่คิดจาก Opus 161 ผลงานจากค.ศ.1965 ของโธมัส วิลเฟร็ด(Thomas  Wilfred) องคาพยพแห่งสีสันเกิดมาเพื่อร่ายดนตรีเป็นภาพ  มาลิกสมาทานคมคิดมาแปรรูปไว้ดาษดื่นในผลงานของเขา กระพริบแห่งแสงแรก ประกายสวรรค์ประทานของสีสุกสกาว แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นจำหลักของจุดเริ่มแห่งจินตภาพและไขปริศนาการเป็นมนุษย์ ภาพแรกอันปรากฏแก่สายตายามลืมตาดูโลก
-
ผลพวงอีกประการจากความกลัวอำนาจมืดคือ การถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์ แต่ยังไม่เป็นล่ำเป็นสันใน The Travelling Players  เนื่องจากถ่ายทำอีกครึ่งที่เหลือหลังระบอบเผด็จการ พอเผด็จการลงจากอำนาจเราก็ถ่ายส่วนที่เคยเข้าข่ายจะถูกหั่นทิ้งหรือมีลักษณะต้องห้าม  หนังตัวแสบของจริงตามแนวทางการเล่าเข้าสัญลักษณ์ต้องยกให้งานชิ้นก่อนหน้าจากค.ศ.1972 อย่าง  Days of 36(I mere tou 36)  กับเหตุน้ำผึ้งหยดเดียวจากการที่สายลับของทางการและมือสังหารหนึ่งในนักโทษใช้ปืนจี้จับนักการเมืองอนุรักษ์นิยมเป็นตัวประกันนำไปสู่การปิดล้อมเรือนจำ
 
-
"หนังเรื่องนี้พาดพิงถึงเผด็จการเมตาซัสในค.ศ.1936 และถ่ายทำในยุคเผด็จการทศวรรษ 1970" เขาอธิบาย "หนังเรื่องนี้คือจุดเปลี่ยนวิธีเล่าของผม ผมแปลงทุกอย่างอยู่ในรูปการบอกใบ้และการเปรียบเปรย คนดูบางส่วนจับไต๋ได้และเริ่มสืบสาวราวเรื่องตั้งแต่หนังออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเอเธนส์ ปกติจะมีแต่ตำรวจที่จ้องจับผิด  แต่หนนี้ไม่ใช่  ผมยังจำได้ว่ามีผู้หญิงมามอบช่อดอกไม้แก่ผมและปุจฉาว่า "ทุกอย่างที่เห็นบนจอนั้น เป็นอย่างที่ฉันเข้าใจใช่ไหม ผมวิสัชนาว่า ใช่ หนังจบแต่เรายังไม่อาจสลัดหนังออกจากจิตใจถึงขนาดจะสนทนาก็ต้องขานรหัสและอนุมานกันทีเดียว"
+
จักริน วิภาสวัชรโยธิน
-
 
+
แปลจาก
-
ภาพอันตื่นตาจากงานของแองเจโลปูลอสที่สร้างความตะลึงแก่คนดูนั้นที่จริงแล้วล้วนแล้วแต่มาจากการจัดฉาก การได้เห็นอนุสาวรีย์ขนาดยักษ์ของเลนินล่องไปตามลำน้ำใน Ulysses' Gaze นั้นนับเป็นบุญตาไม่แพ้อรรถรสจากการรับชมงานจากจอมขมังเวทย์ทางภาพยนตร์อย่างสปีลเบิร์กหรือลูคัส  ไม่แต่เท่านั้น งานอลังการประณีตเช่นว่ายังเปรียบดังเครื่องสักการะปรมาจารย์หนังเงียบอย่างลังก์(Fritz  Lang) กริฟฟิธ(D. W. Griffith) กระทั่ง ฟอน ชโตรฮาม(Erich  von Stroheim)(ให้บังเอิญ ว่าแองเจโลปูลอสก็สารภาพว่าถูกใจเป็นนักหนากับ The Artist ผลงานแสดงกตเวทิตาธรรมเป็นต่อหนังเงียบ ฝีมือ ไมเคิล  ฮาซานาวิเซียส(Michel  Hazanavicious)  "เหมือนความทรงจำของผมโดนตีขนดหาง" เขากล่าว "ผมรู้แน่แก่ใจว่า ต้องมีผลงานหนังเป็นของตนเอง หลังจากได้ชมหนังเงียบจากบรมครูเป็นครั้งแรก"
+
Goldsmith, Leo. 2011. 'The Tree of Life'. http://www.notcoming.com/reviews/treeoflife
-
 
+
-
ทุกวันนี้แค่นึกก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ว่าจะต้องขวนขวายหาเงินมหาศาลเพียงใดมาส่งกำลังบำรุงมหึมาแห่งงานสร้างอัศจรรย์บรรเลงเพลงกล้อง ยิ่งเมื่อสภาพเศรษฐกิจกรีซอยู่ในขั้นเจียนล้มละลายด้วยแล้ว แต่แองเจโลปูลอสยืนกรานว่าเขาไม่มีทางใจอ่อนยอมให้เทคโนโลยีสร้างภาพมาข้องแวะกับงานทั้งไม่ว่าก่อน หลัง หรือระหว่างผลิตงาน  "หากผมมีภาระต้องเล่าภาพทำนองเดียวกับที่เคยถ่ายไว้ใน Ulysses' Gaze อีกในงานชิ้นใหม่ หัวเด็ดตีนขาดผมก็จะยังทำงานด้วยวิธีเดิม" เขาประกาศ "หนังผมไม่ได้มีไว้ลองผิดลองถูกส่งเดช  แต่ละขั้นแต่ละตอนของของกระบวนงานเป็นประสบการณ์อันทรงค่า พันธกิจของผมคือการมอบชีวิตแก่ภาพ"
+
-
 
+
-
ไม่ต้องพูดถึงงานสามมิติ เอาไงต่อดี เขาหัวเราะ "ผมไม่ยุ่งกับเรื่องพรรค์นี้ให้เสียมืออยู่แล้ว แนวทางการทำงานอย่างว่าไปกันไม่ได้กับแนวคิดหลักของผมต่อภาพยนตร์"
+
-
 
+
-
วงจรอันรื่นรมย์(Cycle of reprocessing)
+
-
 
+
-
ผู้กำกับสายเลือดใหม่หลายคนยึดกระบวนการขึ้นรูปงานภาพของแองเจโลปูลอสเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรทางความคิด ดังที่ผู้กำกับนูรี  บิเย  ซีลัน(Nuri  Bilge  Ceylan) และมิเกลันเจโล  ฟรามมาร์ติโน(Michelangelo  Frammartino)ต่างอัญเชิญคาถาทางภาพของแองเจโลปูลอสไปเสริมสิริมงคล ผ่านงานอย่าง Once upon a Time in Anatolia และ  Le quattro volte  ของตนตามลำดับ  เจ้าตัวเองรู้สึกเช่นไรที่เห็นงานหนังที่มีลวดลายตนเองไปปรากฏอยู่ "ก็ต้องมีการรับอิทธิพลจากรุ่นก่อนสู่รุ่นหลังเป็นธรรมดา"เขาแบะท่า "วัฏจักรของการจรรโลงซ้ำ คือการส่งต่อความคิดผ่านการกาลเวลา  หากมีเห็นฝีภาพยาวหรือลูกเล่นตามตำรับของผมในหนังเรื่องอื่น ผมก็คงนึกย้อนไปว่าครั้งหนึ่งผมก็เคยซึมซับอิทธิพลจากบุรพผู้กำกับมาโดยไม่รู้ตัว และบรมครูเหล่านั้นก็คงมีปฏิิิกิริยาดุจเดียวกันเมื่อได้ยลงานของผม
+
-
 
+
-
วงการภาพยนตร์กรีกในปัจจุบันอยู่ในช่วงขาขึ้นสวนทางกับความง่อนแง่นของเศรษฐฏิจชาติ มีผู้กำกับรุ่นใหม่ฉายแววเด่นมากหน้าหลายตา เป็นต้นว่า ยอร์กอส  ลานธิมอส(Yorgos  Lanthimos) เจ้าของผลงาน Dogtooth และ อธินา ราเชล ซางการี(Athina  Rachel  Tsangari) ผู้กำกับ Attenberg งานของเขาเหล่านี้สร้างความประหลาดใจ(และว้าวุ่นใจเป็นบางครั้ง)แก่ผู้ชมทั่วโลกมาแล้ว "น่าสนใจยิ่ง"แองเจโลปูลอสชื่นชม "วงการหนังกรีกไม่สิ้นคนดี  เด็กพวกนี้มีของจะปล่อย พวกเขาคิดค้นภาษาขึ้นมาใหม่ ซึ่งต่างจากกรีกคลื่นลูกใหม่แห่งคริสตทศวรรษ 70  น่ายินดีที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกรีกยังคงรุ่มรวยด้วยนฤมิตกรรม"
+
-
 
+
-
ขณะที่วีรกรรมของผู้กำกับเด็กกรีกรุ่นหลังสร้างความฮึกเหิมแก่เขา แต่พอต้องพูดถึงสถานการณ์การเมืองในภายภาคหน้าของกรีกเขากลับไม่ค่อยมีแก่ใจ จากบทสัมภาษณ์ต่างกรรมต่าง วาระแองเจโลปูลอสยกให้งานจากค.ศ.1991 ของเขา คือ  The Suspended Step of the Stork(To meteoro vima tou pelargou) ในเรื่องความจัดจ้านด้วยเนื้อหาการเมือง ครั้งหนึ่งเขาเคยเชื่อมั่นว่าการเมืองเป็นเรื่องของศรัทธา แต่เท่าที่เห็นอยู่็เป็นแค่การทำมาหากิน "ข้อสังเกตุดังกล่าวของผมยังใช้การได้" การยกประชาชนมาอ้างกลายเป็นความเชี่ยวชาญมากกว่าเป็นเพราะอุดมการณ์" ไหนๆก็มีแต่ข่าวเศรษฐกิจชาติตกต่ำสะพัดไปทั่ว แล้วเจ้าตัวคิดเห็นอย่างไร หนังของเขามีบทบาทในการพลิกฟื้นศรัทธาทางการเมืองในทางใด
+
-
 
+
-
"มี แต่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา"  เขายอมรับ "ตอนผมทำ ไม่มีใครเห็นดีเห็นงาม ลางแห่งมรสุมเบื้องหน้าแต่หนหลัง เป็นจริงแล้วในบัดนี้ ผมมาจากยุคคิดอ่านจะเปลี่ยนโลก แต่พอถึงค.ศ.2000 ความฝันนั้นก็เป็นอันจบสิ้น"
+
-
 
+
-
งานชิ้นถัดมา The Other Sea อันเป็นบทสรุปของงานไตรภาค อาศัยสภาพการณ์ทางการเมืองปัจจุบันของกรีซและยุโรปเป็นท้องเรื่อง  หนังเรื่องแรกของไตรภาคอันได้แก่ Weeping Meadow(To livadi pou dakryzei)จากค.ศ. 2004 นั้นกล่าวถึงการก่อสร้างและบูรณะหมู่บ้านริมน้ำในค.ศ.1919  งานลำดับที่สอง คือ The Dust of Time ใช้กลยุทธการเล่าเลียนแบบตั้งเต โดยมีตัวเดินเรื่องเป็นผู้กำกับภาพยนตร์(รับบทโดยวิลเล็ม  ดาโฟ - - Willem  Dafoe) ผู้ต้องปลุกปล้ำกับประวัติศาสตร์ของครอบครัวระหว่างพลิกแผ่นดินยุโรปค้นหาลูกสาว หนังทั้งสองเรื่องมีอดีตเป็นฉากหลัง  ส่วน The Other Sea จะผูกอยู่กับปัจจุบันและอนาคต
+
-
 
+
-
"ความฝันจบไปแล้วพร้อมกับอวสานของ The Dust of Time" แอลเจโลปูลอสอธิบาย "หนังเรื่องใหม่เป็นกล่าวถึงสภาพทุพภิกขภัยความฝัน ผมมองว่าปัญหาของปัจจุบันไม่ได้แค่วิกฤติการเงินแต่เป็นการขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ  หนังเรื่องใหม่จะว่าด้วยสภาพอับจนหนทาง  ยามนี้บ้านเมืองเราเปรียบไปเหมือนถูกกักอยู่ในห้องที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเจอเข้ากับสิ่งใดเมื่อถึงคราวที่ประตูห้องเปิดออก"
+
-
 
+
-
 
+
-
เก็บความจาก
+
-
 
+
-
David Jenkins.February 2012. 'Theo Angelopoulos: the sweep of history'.www.bfi.org.uk/sightandsound/feature/49816
+
-
 
+
-
ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ [http://enyxynematryx.wordpress.com/2012/04/08/angelopoulos-th/ http://enyxynematryx.wordpress.com/2012/04/08/angelopoulos-th/]
+

รุ่นปัจจุบันของ 07:57, 4 มกราคม 2557

The Tree of Life ผลงานลำดับที่ 5 ของเทอเร็นซ์ มาลิก(Terrence Malick)ที่กลับเป็นงานชิ้นแรกที่คลี่คลายเรื่องผ่านการย้อนรำลึกความหลัง ในแง่หนึ่งก็คือการหลอมจำลองและรื้อเรียงเศษเสี้ยวอันพร่าเลือนของความทรงจำเก่าเก็บบรรดามี อุบัติของแสงแรก บทสนทนาเรื่อยเปื่อย และอากัปกริยามนุษย์และภูมิทัศน์อันละมุนละเมียด การดำดิ่งอยู่ในห้วงความทรงจำของตัวละครหลักๆในงานเหล่านั้นไม่่ว่าจะเป็นวิทท์กับเบล(Witt and Bell)ใน The Thin Red Line จอห์น สมิธ(John Smith)ใน The New World ไม่เพียงหันเหความสนใจออกจากปัจจุบัน หากยังจะได้ละเลียดรายละเอียดราวกับได้ไปขลุกในเหตุการณ์ด้วยตนเองทุกขั้นทุกตอน ในงานของมาลิกประสบการณ์นั้นยิบย่อยและยากจะกุมเก็บ ชวนกังขาแต่ลงตัว หลากบ่าผ่านโลกหล้าเข้มขจี จริงเพียงจริงอยู่ชั่วนาตาปี แต่ภาพธรรมชาติอันน่าตื่นตา ในหมู่คนที่ไม่บอกบุญไม่รับกับงานของมาลิกก็ไม่ยี่หระและชายตาแล ทั้งที่นั่นคือแนวทางกำหนดพื้นเพประสบการณ์ของตัวละคร การสังฆกรรมกับโลก เพียงแต่อาจนำเสนอแค่พอหอมปากหอมคอก็ได้

ควรกล่าวด้วยว่า โดยเหตุที่ความทรงจำโดยตัวเองคือฟันเฟืองเชิงโครงสร้าง การที่ The Tree of Life ละเลียดอยู่กับภาพระลึกความหลัง(flashback) บ่งบอกว่ามาลิกกำลังเฉไฉออกนอกเส้นทางการคลี่คลายเรื่องตามลำดับปกติในงานชิ้นก่อนๆ โดยอาจนับการเล่าถึงปฏิบัติการทางทหารแบบพายเรือวนในอ่างในงานลำดับที่สามเป็นขั้นก่อหวอด การขับเคลื่อนเรื่องราวในงานทุกเรื่องที่ผ่านมาแม้พุ่งเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า แต่ก็ชัดแจ้งเฉพาะกับการพเนจรไปตามทางหลวงในผลงานชิ้นแรก และชีวิตบนรางรถไฟในผลงานลำดับที่สอง หนังแต่ละเรื่องที่กล่าวมาบุกฝ่าภูมิกายภาพและห้วงเวลาโดยอสนีบาตมองตาจผู้รู้แจ้ง-ตามใบสั่งอันแม่นยำของจากฝีไม้ลายมือการผดุงครรภ์เสี้ยวเหตุการณ์อันลือเลื่องของมาลิก แต่ละเหตุการณ์พุพลั่กในหนังของมาลิกเหมือนนิมิต วิทท์ครุ่นคิดถึงการตายของแม่ หรือ สมิธคิดไม่ตกว่าพวกเขาได้อะไรจากราวป่า แต่ใน The Tree of Life ราวกับหนังทั้งเรื่องขลุกอยู่ในชั่วขณะจิตเหล่านั้นอย่างที่กล่าว จากอาคารสำนักงานสูงตระหง่านท่ามกลางเงาสะท้อนเส้นขอบฟ้าที่ลากผ่านราวตึกในฮุสตัน(บางคราวก็เป็นดัลลัส) แจ็ค โอเบรียน(Jack O'Brien)รับบทโดยฌอนน์ เพนน์(Sean Penn)ในมาดที่จะพบได้เฉพาะจากชีวิตร่วมสมัยซึ่งไม่เคยมีให้เห็นมากเท่านี้มาก่อนในสารบบงานของมาลิก แจ็คหวนนึกถึงช่วงชีวิตวัยเยาว์ของตนในย่านวาโก(Waco) เท็กซัส รวมถึงพ่อแม่และพี่น้อง ณ โมงยามอันชวนเคลิ้มเนื่องจากกัปกัลป์ทำมุมพาดขวาง เทกระจาดเวลาและอวกาศปนเปเป็นเนื้อเดียวกันในชั่วอึดใจหนึ่งเที่ยวลิฟท์ หรือไม่ก็ในสวนอันวังเวงประจำสำนักงาน

ตามแนวคิดว่าด้วยเวลาและการเล่าเดินทางเป็นเส้นตรง The Tree of Life ในมุมที่เพิ่งกล่าวออกจะนอกลู่นอกทาง เหมือนเป็นดินแดนใหม่ทางภาพยนตร์ที่มาลิกเพิ่งได้ลิ้มและอาจผิดกลิ่นสำหรับชาวฮอลลิวูด ในงานชิ้นก่อนยังพอมีตัวแทนจากฮอลลิวูดอย่าง Heaven's Gate และ Saving Private Ryan เป็นตัวเทียบ แต่พอมาถึง The Tree of Life กลับต้องข้ามทวีปไปวัดลำหักลำโค่นการโผละเลียดผ่านเวลาและความทรงจำที่เกาะกุมอยู่กับภูมิหลังของสรรพสิ่ง กับ The Mirror ของทาร์คอฟสกี(Andrei Tarkovsky) หรือ Je t'aime je t'aime ของเรอเนส์(Alain Resnais) และยิ่งคล้ายทาร์คอฟสกีเข้าไปอีกตรงที่มาลิกนำวาระส่วนตัวระดับก้นบึ้งมาเข้ารหัสขานเคาะออกมาเป็นหนัง ไล่ตั้งแต่ช่วงเจริญวัยในเท็กซัสภายใต้การเลี้ยงดูอันเข้มงวดของพ่อและเอ็นดูรักใคร่ของแม่ การฆ่าตัวตายของน้องชาย อาจกล่าวได้ว่าหนังไม่อินังขังขอบกับตรรกลำดับเวลา แต่รุ่มรวยด้วยรสชาติราวได้เข้าไปขลุก เสียงแจ็คเอ่ยถามขึ้นมา ฉันเสียนายไปได้ยังไง ทอดทิ้ง... ลืมนายได้ลงคอ ความเคว้งคว้างนำไปสู่การค้นหาจุดเริ่มต้น ความมาย และทิศทาง

หรือที่จริงแล้ว เป็น สรณะแห่งเหตุผล(The Essence of Reasons) อันเป็นชื่อพากย์อังกฤษที่มาลิกสวมให้กับงานแปลในค.ศ.1969 ที่เขาตีพิมพ์ในปีถัดจากปีถึงฆาตของน้องชาย ต้นฉบับงานแปลดังกล่าวคือบทความขนาดยาวของไฮเด็กเกอร์(Martin Heidegger)ที่ออกมาไม่นานหลังการตีพิมพ์หนังสือชื่อกระฉ่อน Being and Time ผลงานปฏิวัติวงการในค.ศ.1927 มาลิกได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางปรัชญาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเป็นศิษย์ของสแตนลีย์ คาเวล(Stanley Cavell) ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกนำไปจับแพะชนแกะสร้างสูตรสำเร็จที่มาแห่งความสนใจด้านจิตวิญญาณของมาลิก ทั้งที่จริงแล้วการแปลงานชิ้นนั้นของไฮเด็กเกอร์แทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีข้อถกเถียงอันปราดเปรื่องเพื่อหักล้างความเชื่อผิดๆ ดังกล่าวแทรกอยูในการอภิปรายถึงความเชื่อมโยงระหว่าง The Tree of Life กับหนังสือ Introduction to Metaphysics ของไฮเด็กเกอร์ ตลอดจน Book of Job และ Thomas a Kempis เนื่องด้วยสภาพดั้งเดิมของความรู้และการแปรสภาพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของสัจธรรมแต่ครั้งบรรพกาลยังคงฝังแน่นในตัว The Tree of Life จึงเป็นหลักฐานคาหนังคาเขาเพื่อชำระงานของมาลิกผ่านน้ำมนต์ของไฮเด็กเกอร์ผู้ปวารณาตนแก่การทำความเข้าใจกับสำนึกของมนุษย์และตัวตนในโลก ทั้งนี้ตามการหลับหูหลับตาเชื่อของคน โลกคือพิพิธภัณฑ์ของสรรพสิ่งไม่ก็เป็นเนื้อเดียวกันทั้งผอง และการแยกแยะความจริง

เรื่องเหล่านี้มีสัดส่วนของเนื้อหาทางปรัชญาค่อนข้างมาก สำหรับนักวิจารณ์และคนดูบางส่วนเป็นเรื่องเหนือบ่ากว่าแรงไม่ก็อวดภูมิเกินงามที่จะอนุมานว่าการเล่าผ่านหนังจะอำนวยความชัดแจ้งเกินหน้าศัพท์แสงอันศักดิ์สิทธิ์จากอรรถกถาของไฮเด็กเกอร์ หามิได้ เด็กน้อยด้อยวิชาหัด(หรือเข้ารีต)อ่านเขียนเรียนรู้ขนบก่อนนำไปสู่ความเข้าใจถึงการมีอยู่ของพระเจ้าและความเป็นมาของชีวิตฉันใด การตีคุณค่าหนังก็เป็นเหมือนกระบวนการเรียนรู้เรื่องโลกฉันนั้น คำตอบของคำถามพื้นฐานเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการอ้างอิงมาเป็นสาย กล่าวสำหรับ ไฮเด็กเกอร์แล้ว แค่แนวความคิดพื้นๆ ที่ว่า โลกคืออะไร ก็แผ่กัมมันตรังสีสมมติฐานได้หลายขนาน ไม่ว่าจะเป็นโลกคือแหล่งรวมสรรพสิ่งเท่าที่มีอยู่เดิมใช่หรือไม่ หรือโลกเป็นเพียงความเข้าใจเชิงอัตวิสัยต่อสรรพสิ่งประดามีและที่มาที่ไปหรือล้วนเป็นเจตจำนงของพระเจ้า หรือเป็นเส้นทางฟันฝ่าอุปสรรค ของคริสเตียนสายเทววิทยาด้วย เช่น บาปและมาร เพื่อเข้าถึงพระองค์ ดังในบทเทศนาที่ได้ยินระหว่างพิธีเข้ารับศิลของน้องชายของแจ็ค เบาะแสในเรื่องนี้อาจมีอยู่ในคำนำผลงานแปลของมาลิก

"พูดถึงโลกทีไร ไม่พ้นไฮเด็กเกอร์ต้องแถมพกด้วยการตีความครอบจักรวาลหรือจุดยืนของเราต่อการพิจารณาสรรพสิ่งในโลกซึ่งมักลงเอยด้วยภาพอันหลากหลายจากเจ้าของความเห็นทั้งปวง แต่กลับไม่ค่อยมีการพูดถึง"จุดยืน"(a point of view)อย่างเป็นกิจลักษณะ ทั้งที่จุดประสงค์ที่แท้จริงของไฮเด็กเกอร์ในการกล่าวถึงแนวคิดนี้ไม่มีทางเป็นอื่นไปได้แน่ การอภิปรายในเรื่องการตีความที่พอทำยาได้ก็มีไม่มากเท่าที่ควร หากไร้ซึ่งการตีความ เราก็ไม่อาจเข้าใจโลกได้อย่างถ่องแท้ เป็นกบในกะลา ไม่ก็เห็นเหมือนกันไปหมด"

พ่อของแจ็คบัญชาให้ผู้เป็นลูกชายหาคำนิยามของวัตถุวิสัย(objective) และอัตวิสัย(subjective) แต่ความหมายของโลกในคำนึงของไฮเด็กเกอร์อยู่พ้น ไม่ก็ก้ำกึ่งระหว่างภาวะทั้งสอง โลกไม่อาจมีคุณค่าโดยลำพัง(โลกของใครคนใดคนหนึ่ง) ทั้งก็มิใช่ก้อนวัตถุ(โลกของสรรพสิ่ง)เปล่าปลี้

โลกมีคุณค่าความหมายขึ้นมาก็ต่อเมื่อคนเอาตัวเองเข้าสังฆกรรมหรือไม่ก็ในทางตรงกันข้าม สรรพสิ่งรายรอบอุบัติและหยัดยืนจากสำนึกของคน และก็เป็นโดยตัวของจุดยืนเองที่ปรุงแต่งความมีอยู่จริงของเราๆ เราจึงมีคุณค่าความหมายอยู่ในโลก ธรรมชาติมีตัวตนขึ้นมาจากประสบการณ์ของมนุษย์ต่อธรรมชาติและในหนังของมาลิกรูปทรงอันหลากหลายของธรรมชาติไม่ได้มีไว้แค่คอยอวดโฉม แสดงมิตรภาพต่อนิเวศน์ อาหารตาที่เราอาจเรียกว่า ดาวยั่วนางไม้(tree porn) หากแต่ยืนหยัดเป็นอนุสรณ์ประจานพื้นเพของเราภายใต้ข่ายขัดทอของอัตวิสัย - วัตถุวิสัยแห่งการทำความเข้าใจ คือโลก ในแง่นี้โลกจึงเป็นสื่อเชื่อมโยงจุดยืนของเราเข้ากับโลกดังที่สแตนลีย์ คาเวลสดุดีความแน่วแน่ของมาลิกในการปรุงแต่งคุณค่า Days in Heaven ตามแนวคิดไฮเด็กเกอร์ไว้ในหน้าคำนำของหนังสือ The World Viewed กล่าวสำหรับคาเวลหนังไม่ใช่แค่สื่อบันทึกสรรพสิ่งไปตามมีตามเกิด แต่เป็นองค์ประกอบที่มีส่วนได้เสียในการนำเสนอตัวเองออกมาเป็นภาพ เป็นปัจจัยชี้เป็นชี้ตายในการกำหนดรูปโฉม ด้วยเหตุดังนี้ การนำเสนอสิ่งใดตามขนบหนังในงานของมาลิกจึงเป็นพิธีการสำคัญยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าธรรมชาติไม่ได้เป็นแค่สัมพันธภาพทนโท่ของการดื่มด่ำความงามไร้มลทิน หากยังเป็นการผดุงไว้ซึ่งและหลักฐานของสัมพันธภาพฉันท์วัตถุวิสัย/อัตวิสัยอันผิดปกติวิสัยของเราที่มีต่อโลก โลกเป็นไปตามครรลอง ตามคำกล่าวของไฮเด็กเกอร์และทั้งเราและวัตถุทั้งหลายโลกอันเป็นที่ประจักษ์ต่างร่วมหัวจมท้ายในวิถี คาเวลกล่าวว่าภาพวัตถุที่ทาบหราอยู่บนจอย่อมเข้าตัวทั้งหมด เสนอหน้าอ้างอิงตัวเอง สะท้อนภาพดั้งเดิมทางกายภาพของตัวมันเอง

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า The Tree of Life มีจุดเริ่มต้นจากสายสะดือทอดเชื่อมแจ็คกับโลกขาดสะบั้นลง จากนั้นหนังก็ย้อนรอยความเป็นมาของแจ็คโดยว่ากันตั้งแต่โคตรเหง้า "หาฉันให้เจอ"น้องชายเขาออกปาก ที่คือปัจจัยเจ้ากี้เจ้าการส่งแจ็คไปทัศนะศึกษาไม่ใช่แค่อดีตของผู้เป็นแม่ "นายพูดกับฉันผ่านแม่" แจ็คเปรย และ และการหลอมจำลองอันดับแรกก็คือวัยเด็กของผู้เป็นแม่และย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งแต่ครั้งบรรพกาล การก่อเกิดของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน การระเบิดใหญ่(the Big Bang) กำเนิดของโลก การขยับตัวของโมเลกุลแรก การยกพลขึ้นบกของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก่อนวิวัฒนาการเป็นสรรพชีวิตที่ซับซ้อน เหล่านี้เป็นตัวตายตัวแทนของกระบวนการสรรค์สร้างโลกแห่งธรรม โลกแห่งสำนึก และการรู้จักตนเอง นี่ไม่ใช่โลกของพระเจ้า แม้จารึกจินตนาการเรื่องนี้จะทิ้งรอยฝังลึกอยู่ในชีวิตของแจ็ค(หรืออาจจะเป็นมาลิก)

The Tree of Life กินขอบเขตกว้างไกลแต่กระนั้นก็ยังกันพื้นที่ไว้ให้ปรัชญาหอกข้างแคร่ เป็นต้นว่า ความศรัทธาไม่ลืมหูลืมตาตลอดจนการบำเพ็ญทุกรกิริยาตามขนบคริสตจักรของบุพการี โลกหยาบช้านอกวิมานในอากาศอย่างที่เราๆ ต้องฟันฝ่า โลกที่ขับเคลื่อนไปตามคติ"ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ด้วยกล"อย่างที่พ่อของแจ็คเคยเตือน เป็นโลกของคนร้อยพ่อพันแม่แก่งแย่งชิงดี ภายใต้การจัดสรรอันไม่เป็นธรรม ชื่อหนังเรื่องที่แล้วๆมาของมาลิกคือเบาะแสของมุมมองต่อโลก ระเบียบอันหยุมหยิมของโลก ดังจะเห็นได้จากศัพท์แสงศักดิ์สิทธิ์อย่าง ปฐพี(land) สวรรค์(heaven) พรมแดน(line) โลก(world) แต่ละคำล้วนแฝงความหมายของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ต้องฝ่าผจญ รังวัดพิกัด เวียนว่ายตายเกิด กระทั่งอาจอ้างสิทธิ์ครอบครอง หนังเหล่านั้นมุ่งหน้าไปตามเส้นทางการเป็นปฏิปักษ์กับอุดมคติ: กฏหมาย และศิลธรรมประจำชนชั้น รัฐ หรือจักรวรรดินิยม ในคลื่นระลอกที่สองของช่วงชีวิตการทำงานกำกับหนัง มาลิกสนใจกับความเหลื่อมล้ำระหว่างสองอารยธรรม "ไม่มีการหันรีหันขวาง" จะมีก็แต่การรุกรานในนามการค้าและการสำรวจ หรือตามสำนวนของฌอน เพนน์ในเรื่องที่ว่า สินทรัพย์เป็นของบาดใจ

ช่วงกลางของหนังเต็มไปด้วยเขตแดน เส้นแบ่งของพื้นที่และความหมายทางวัตถุธรรมของการมีตัวตนในโลกของต้นไม้ บ้าน บ้านบนต้นไม้ สนาม กล่าวสำหรับแจ็คและพรรคพวก สนามหลังบ้านและก้นตรอกและในป่าละเมาะข้างชุมชน สถานที่วิ่งเล่นทั้งหลายคือยุทธภูมิที่ต้องพิชิต แค่เพียงเหล่ตาแลหรือหลงเข้าไปก็เท่ากับล่วงล้ำ บรรยากาศสุขสบายของบ้านและครอบครัวในหนังเรื่องนี้มีแนวปักปันตายตัวและตรรกแห่งพื้นที่และการจัดระเบียบ ความเหล่านี้หนักแน่นคมชัดจากวิชาชีพที่แจ็คเอาดีเมื่อเติบโต แจ็คเป็นสถาปนิกและเราก็จะได้ประจักษ์ในปรีชาญาณทางภูมิศาสตร์ของเขาดุจเดียวกับแผนผังการคิดค้นของผู้เป็นพ่อกับความพยายามจัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักการ ในงานของมาลิก ภูมิศาสตร์กลายเป็นเวทีแก่งแย่งแข่งขันอันอลหม่าน จุลชีพทรงเกลียวสว่านกรูเข้าจู่โจมมวลสารทรงกลมที่เลี้ยงตัวอย่างสงบเสงี่ยม โครงสร้างกล้าแกร่งของตัวเมืองฮุสตัน(อาจจะเป็นดัลลัส)พุ่งยอดขึ้นเสียดหมู่เมฆ(หรืออาจแค่สะท้อนภาพ)บนท้องฟ้า

ภารกิจของเหล่าตัวละครในการจัดระบบเพื่อกำราบสภาพอินังตุงนังในงานของมาลิกอาจดำเนินการผ่านทั้งในรูปกิจกรรมทางศิลปะ ธรรมชาติของห้องใต้หลังคาโดยตัวมันเองเป็นได้ทั้งกรุ โลงศพ กักกันในแบบเดียวกับบ้านของครอบครัวโอเบรียน) ไม่เป็นที่ประจักษ์ว่าจมใต้บาดาลหรือลอยไปสู่สวรรค์ เราอาจเป็นอิสระจากจากกฏและโครงสร้าง กรอบการดำรงชีวิต ด้วยคุณูปการจากความประณีตและเฉียบคมของศิลปะ เราเห็นพ่อของแจ็คโปรดปรานการได้อิ่มเอมกับดนตรี(บราห์ม) แต่การเป็นนักดนตรีอันเป็นความใฝ่ฝันก็มีอันป่นปี้เพราะเงื่อนไขของโลกแห่งความเป็นจริงไม่เป็นใจ บรรยากาศอันกักขฬะด้วยความเป็นจริงเหลือทนของโลกหวนมาปกคลุม รสนิยมเลิศล้ำทางดนตรีของเขาตกทอดมาสู่บุตรชายอย่างไม่ต้องสงสัยถึงที่มาของบทอวสานอันหดหู่ โครงสร้างตามแบบแผนทางศิลปะเป็นเครื่องจองจำให้คนหมกมุ่นกับการไปให้ถึงความไพเราะสมบูรณ์แบบของดนตรี หรือไม่ก็โยนบาปให้ความรักฐานชักนำให้ร่วมหัวจมท้ายไปกับโลก โดยไม่มัวยึดมั่นถือมั่น ดังคำของแม่แจ็คที่ว่า "ชีวิตเป็นทางผ่าน"

กล่าวสำหรับมาลิกหนังคือการแสดงความความรักและการทนุถนอม เป็นหนทางตีสนิทกับโลกและยินยอมให้โลกหลากผ่านเข้าสู่ตะแกรงร่อนความรู้สึกนึกคิดของเรา หนังของมาลิกชวนให้เราขบคิดไปหลายเรื่อง แต่หนึ่งในนั้นหนังมาลิกไม่ได้แค่ขับเคลื่อนตัวเอง หากยังปลุกชีวิตชีวาแก่ทุกกลไกในอุตสาหกรรมฮอลลิวูด ไม่ว่าจะเป็นวงการดารา ผู้กำกับศิลป์และมือจัดแสงตัวฉกาจ กระบวนการลำดับภาพและเก็บรายละเอียดหลังการถ่ายทำเป็นงานมหกรรมที่กินเวลาและเม็ดเงินมหาศาล คือ ชุดรถไฟจำลองที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เด็กคนหนึ่งเคยมี ตามสรรพคุณของออร์สัน เวลส์ ทั้งหมดทั้งหลายเพียงเพื่อความถึงรสและใกล้เคียงของจริงในการถ่ายทอดประสบการณ์ หนังของมาลิกเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของบรรดามือเทคนิกพิเศษชื่อก้องวงการหนัง ไล่ตั้งแต่ดักลาส ทรัมบูล(Douglas Trumbull) กับการเนรมิตเหตุการณ์ระเบิดใหญ่(Big Bang)ผ่านภาพวาด ภาพสีำน้ำและเพลงกล้องคมพริ้ว แดน กลาส(Dan Glass)มาบัญชางานสร้างภาพดิจิตอลโดยบรรดามือพระกาฬพร้อมเทคโนโลยีล่าสุดจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียและนาซารับประกันความตื่นตาเทียบเท่าใน Speed Racer ปีเตอร์และคริส พาร์กส์ (Peter and Chris Parks)มาระบายภาพไหวระริกและภาพถ่ายขนาดจิ๋ว

แต่จุดอ้างอิงแต่อ้อนแต่ออกขนานแท้ นอกจาก Book of Job แล้ว ก็น่าจะเป็นแง่คิดจาก Opus 161 ผลงานจากค.ศ.1965 ของโธมัส วิลเฟร็ด(Thomas Wilfred) องคาพยพแห่งสีสันเกิดมาเพื่อร่ายดนตรีเป็นภาพ มาลิกสมาทานคมคิดมาแปรรูปไว้ดาษดื่นในผลงานของเขา กระพริบแห่งแสงแรก ประกายสวรรค์ประทานของสีสุกสกาว แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นจำหลักของจุดเริ่มแห่งจินตภาพและไขปริศนาการเป็นมนุษย์ ภาพแรกอันปรากฏแก่สายตายามลืมตาดูโลก


จักริน วิภาสวัชรโยธิน แปลจาก Goldsmith, Leo. 2011. 'The Tree of Life'. http://www.notcoming.com/reviews/treeoflife

เครื่องมือส่วนตัว