พื้นเพเปลี่ยนผัน ผู้คนซมซาน ในงานของเจี่ยฉางเค่อ ภาค 1
จาก ChulaPedia
(ทำหน้าว่าง) |
|||
(การแก้ไข 2 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
+ | การจัดสรรพื้นที่แก่สภาพธรรมชาติและผลงานมนุษย์กับการเปลี่ยนกระบวนเล่าใน Still Life และงานอื่นๆ ของเจียฉางเค่อ | ||
+ | เขื่อนสามผา(the Three Gorges Dam)บนทางไหลของแม่น้ำแยงซีซึ่งตามมหากาพย์แผนการดำเนินงานก่อสร้างจะต้องใช้เวลาตลอดทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 นั้น นำมาซึ่งความขัดแย้งขั้นรุนแรงระหว่างนักสิ่งแวดล้อม รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน และประชาชนหลายล้านคนในพื้นที่น้ำท่วมถึงเหนือเขื่อนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ อาณาบริเวณและความเป็นไปอันจะมีเขื่อนสามผาขึ้นมาแทนที่ตระหง่านง้ำคือฉากหลังของ Still Life งานจากค.ศ.2006 ของเจี่ยฉางเค่อ หนังติดสอยห้อยตามความเป็นไปอันยอกย้อนของคนสองคู่จากคนละฟากกำแพงเศรษฐกิจแห่งการเปล่ี่ยนผ่านสู่ชาติอุตสาหกรรมเต็มตัวของจีน ชีวิตตัวละครที่ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์และทำลายล้างจากโครงการสร้างเขื่อน หนังยังยืมมือภาวะน้ำท่วมใหญ่ที่จะมาถึงอยู่รอมร่อทดสอบความซับซ้อนของสังคมเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับพินิจพิเคราะห์ขีดจำกัดของมนุษย์ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากการเปลี่ยนสัดส่วนการถือครองพื้นที่ระหว่างธรรมชาติกับผลงานมนุษย์ | ||
+ | |||
+ | หลังจากพลัดพรากกันไปสิบหกปี สองฝ่ายกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง พร้อมกับฝีภาพยาวเฉียบฉมัง หานซานหมิง และมิสซียังขัดๆเขินๆกันอยู่สองคนทอดหุ่ยอยู่บนตึกที่อยูในระหว่างทุบทิ้งผนังด้านหนึ่งทะลุเป็นโพรงใหญ่ พิกัดในกรอบภาพของคนคู่นี้ค่อนมาทางขวา มิสซียืนอยู่เบื้องซ้ายของฝ่ายชายซึ่งอยู่ในท่ากึ่งนั่งยองกึ่งคุกเข่า ค่อนไปทางซ้ายของพวกเขาคือ ทิวทัศน์ตัวเมืองเบื้องนอกที่ลอดผ่านช่องโหว่ของโพรงกำแพง มิสซีย่อตัวลงหน้าซานหมิงยื่นของกินให้เขา ฝ่ายชายสูบบุหรี่เรื่อยเปื่อย เสียงจากประกาศิตผู้เล่าในฝีภาพยาวที่กินเวลาร่วมนาทีนี้มีเพียงเสียแตรรถจากระยะไกลๆ และเสียงกิจกรรมต่างๆที่ลงกับตัวอาคาร แล้วตึกหลังเบ้อเริ่มที่เห็นไกลออกไปจากโพรงก็ทรุดตัวลง พ่นฝุ่นและเศษซากของชั้นที่พังพาบออกมา ตัวละครทั้งสองลุกขึ้นยืน หันไปยังต้นเสียงความวินาศที่สร้างความเลื่อนลั่นแก่ตัวเมือง ซานหมิงค่อยยื่นมือไปแตะแขนของมิสซีจากด้านหลัง | ||
+ | |||
+ | เทียบในปริบทใหญ่ของหนัง ฝีภาพนี้ถ่ายทอดถึงความล่มสลายของปัจจัยแปลกปลอมที่อาจรวมความถึงแรงงาน การอพยพ การค้ามนุษย์และความพินาศด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลจากแนวทางการจัดระเบียบการใช้พื้นที่อันเดิมสิ้นอายุขัยลงเพราะการมาของเขื่อนสามผา บ้านเดิมของมิสซีนั้นจมบาดาลไปแล้วเพราะระดับน้ำที่สูงขี้นเรื่อยๆ เคราะห์ซ้ำเธอยังตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ เพราะซานหมิงได้เธอมาด้วยการซื้อตัว ซานหมิงถึงจะยังตัดใจไม่ได้ ก็คงได้แต่หอบหิ้วเมียแปลกหน้าซมซานกลับไปทำงานในเหมืองที่บ้านเกิดหาเงินไถ่ถอนภรรยา ความทุกข์ยากแค้นของตัวละครเป็นเหมือนโรคประจำถิ่นทางเศรษฐกิจ พวกเขาถูกบีบด้วยเงื่อนไขจากสภาพแวดล้อมให้ต้องย้ายถิ่นและส่งผลกระทบต่อพื้นที่เมืองเผิ่งจีและภาวะเศรษฐกิจในยุคอุตสาหกรรมของจีน | ||
+ | |||
+ | เจี่ยรวบยอดแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาชำระความรวดเดียวใน Still Life เจี่ยตั้งปณิธานตั้งแต่แรกเข้าสู่เส้นทางกำกับหนังที่จะตีแผ่ผลพวงของการโตวันโตคืนทางเศรษฐกิจของจีน ความหลงใหลได้ปลื้มกับโลกาภิวัตน์ และวิบากกรรมของมนุษย์จากการชำเราสิ่งแวดล้อม ร่องรอยความล้มเหลวของมนุษย์ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม-เศรษฐกิจในสังคมปัจจุบันที่ตกเป็นลูกไล่ของพลังของการเล่นพรรคเล่นพวก มีรัฐหนุนหลัง โยงใยทั่วโลก และขูดรีดข่มเหงผ่านโครงสร้างเศรษฐกิจ เหล่านี้ไม่เคยรอดพ้นสายตาจับผิดของเจี่ย เหนือสิ่งอื่นใด หนังของเจี่ยเป็นเครื่องมือวิพากษ์การนำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงการแบ่งสรรพื้นที่ีระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ตามความเชื่อมักง่าย โดยผลักดันขีดจำกัดของการเล่าและงานสารคดีออก ไปเพื่อเผยให้้เห็นช่องโหว่ขุมข่ายความคิดในการทำความเข้าใจภาพรวมการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศขนานใหญ่ | ||
+ | |||
+ | งานเขียนชิ้นนี้มุ่งตีความผลงานของเจี่ยฉางเค่อเพื่อหาหลักฐานการใช้หนังเป็นเครื่องมือบรรยายความเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนการถือครองพื้นที่ เจี่ยในฐานะผู้กำกับย่อมสร้างงานภายใต้อิทธิพลที่แทรกซึมอยู่ในตัวเขา ภูมิลำเนาของเขามีบทบาทในฐานะตัวบทเชิงขุมข่ายความคิดแรกๆ ในชีวิตการกำกับหนัง เจี่ยยังเจนจัดในการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลทั้งแบบก้าวล้ำและตามอัตภาพเพื่อสร้างสรรค์และเรียกความสนใจสู่ตัวงานของเขา การทำความเข้าใจกับ เป็นไปเพื่อใช้เป็นความคิดพื้นฐานในการตีความ Still Life งานยุคปี ค.ศ.2006 จะอาศัยการทำความเข้าใจงานยุคต้น ใน 3 มุมมอง ได้แก่ ความนับเนื่องของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่รับรู้ร่วมกันในหมู่ผู้พลัดที่นาคาที่อยู่ วิกฤติของการให้ความสำคัญที่สะท้อนผ่านกระบวนการเลือกแสดงความหวนไห้อาลัยของเจี่ย และท่วงทีของหนังในการทลายศูนย์อำนาจในการตีค่าความหมายของคำว่าบ้านและพลัดที่นาคาที่อยู่ ในส่วนบทสรุปจะนำ Dong ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแฝดในภาคสารคดีของ Still Life เข้ามาเปรียบเทียบเพื่อแจกแจงกระบวนการสลายเส้นแบ่งระหว่างการเล่าหนังกับสารคดี งานของเจี่ยชี้ให้เห็นข้อจำกัดของการลำดับเหตุผลเพื่อให้ภาพรวมความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์และร่วมหัวจมท้ายกับท่วงทีการสาธยายการใช้พื้นท่ี่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับผลงานมนุษย์ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ภูมิลำเนา ส่วนผสมผลงานธรรมชาติกับมนุษยกรรม และ เทคโนโลยี | ||
+ | |||
+ | เจี่ยคือหนึ่งในลูกหลานจีนรุ่นใหม่ที่เป็นแนวรับแรงปะทะแรกๆ จากคลื่นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมชนิดพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินในแผ่นดินใหญ่ เขาสร้างงานด้วยอานิสงส์และการต่อรองกับหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นมาตรการกีดกันจากรัฐและความนับถือจากวงการภาพยนตร์นานาชาติ/ในจีน เจี่ยเกิดเมื่อ ค.ศ.1970 ที่เมืองเฝิ่นหยาง มณฑลชานสี บ้านเกืดเมืองนอนมีอิทธิพลสูงยิ่งในการเล่าเรื่องในงานหลายต่อหลายชิ้นของเขา แม้เฝิ่นหยางจะไม่ได้มีวัตถุดิบมากมาย แต่เขาก็กลับไปหาบ้านเสมอ ความเชื่อของเจี่ยที่ว่าคติในเรื่องบ้านมีส่วนสำคัญในเชิงเป็นเบ้าหลอมความเข้าใจต่อโลกของคนทั้งในแง่ความรู้สึกและเหตุผล สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์ต่างกรรมต่างวาระ | ||
+ | |||
+ | การเรียกขานงานความยาวมาตรฐาน 3 ชิ้นแรกที่ผลิตนอกระบบรวมๆกันว่าไตรภาคบ้านเกิด(The Hometown Trilogy) ก็มาจากเหตุผลดังกล่าว การเล่า The Pickpocket (Xiao Wu)งานความยาวมาตรฐานชิ้นแรกของเจี่ยจากค.ศ.1997 โดยถ่ายจากสถานที่จริง กลายเป็นบัญญัติขุมข่ายความคิดครอบงำงานชั้นหลังๆ เรื่อยมา เดิมทีเจี่ยตั้งใจให้บันทึกการเดินทางกลับไปเยือนบ้านเกิดในรูปหนังชิ้นดังกล่าวมีความยาวเพียง 30 นาทีแต่ที่บานปลายกลายเป็นงานขนาดยาวโดยฉับพลันก็เพราะเฝิ่นหยางเปลี่ยนไปผิดหูผิดตานับแต่เจี่ยจากไปเรียนภาพยนตร์ที่ปักกิ่ง จนอดไม่ได้ที่จะต้องจารึกความเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการครองพื้นที่ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ในชั่วระยะเวลาอันสั้น | ||
+ | |||
+ | ทันทีที่สิ้นสุดขั้นตอนการขึ้นชื่อเรื่องและแนะนำหนัง หนังบรรยายท้องที่เหตุการณ์และการกลับสู่ภูมิลำเนาของตัวละครหลักผ่าน 4 ฝีภาพ ฝีภาพแรกเป็นภาพการจุดไม้ขีดไฟจากระยะใกล้ ฝีภาพถัดมาเปลวจากก้านไม้ขีดไฟเดินทางไปเผาไหม้ปลายมวนบุหรี่ที่ชายคนหนึ่งคาบอยู่ บนกล่องไม้ขีดปรากฏอักขระจีนคำว่า Shan Xi บ่งบอกว่าเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในจังหวัดบ้านเกิดของเจีย ฝีภาพถัดมาเป็นภาพระยะไกลเผยให้เห็นชายเจ้าของบุหรี่ยืนอยู่ข้างถนน ในฝีภาพที่ 4 จากกล้องในทิศย้อนศรจับภาพจากด้านหลังของเสี่ยว วู(Xiao Wu) เผยให้เห็นว่าตัวละครหลักผู้นี้ยืนรอรถประจำทางอยู่ เบ็ดเสร็จแล้วเจี่ยใช้เวลาเพียง 20 วินาทีหลังสิ้นสุดการเปิดเรื่อง ในการทั้งจัดแจงฉากหลังและนำพาตัวละครหลักของก็กลับสู่ภูมิลำเนา จากนี้ไปเสี่ยว วูจะได้ลิ้มรสชาติของความยุ่งยากจากการคืนถิ่น เป็นการเดินทางอันระหกระเหินบิดเบี่ยงของลิ่มคลื่นความลำบากใจเมื่อครั้งเจี่ยกลับมาบ้านที่เฝิ่นหยางหลังไปเรียนที่ปักกิ่งอยู่หลายปี เจี่ยถ่ายทำ Pickpocket แล้วเสร็จใน 21 วัน เขาผลิตงานชิ้นนี้ในระบบ 16 ม.ม. ภาพหนังมีทั้งมาจากกล้องมือถือ ฝีภาพยาว(long take) และฝีภาพไล่สำรวจ(tracking shot)เพื่อถ่ายทอดความเสื่อมโทรมของสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น(ดังปรากฏอักขระตัว ไค ตามตึกที่ถูกหมายหัวรอวันถูกทุบ) | ||
+ | |||
+ | งานด้านเสียงของฝีภาพโดดเด่นด้วยสรรพสำเนียงอึกทึกตามประสาเมืองทั้งน่ารำคาญและคุกคามความรู้สึก ฝีภาพตามสำรวจความยาวหนึ่งนาทีถัดมาจะเป็นภาพขณะเสี่ยว วูนั่งซ้อนท้ายจักรยานเตร็ดเตร่ แม้ศูนย์เล็งของภาพจะอยู่ที่ชายสองคนบนรถจักรยาน แต่ตลอดรายทางที่พวกเขาปั่นไปถึงจะมีภาพซากปรักหักพังของกำแพง ร้านรวง ผู้คน ลานจอดจักรยาน ป้ายบอกทาง องค์ประกอบความเป็นเมืองสารพัดผันผ่านเข้ามา โดยถ่ายทอดสารรูปของสิ่งเหล่านี้ออกมาเสมอจริง คนบนรถจักรยานต้องตะเบ็งเสียงคุยกันแข่งกับเสียงแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์จากลำโพง ภาพและเสียงของเมืองคอยบดบังความสำคัญของตัวละครทั้งสองโดยตลอด | ||
+ | |||
+ | อีกฉากหนึ่ง เจี่ยเล่นงานตัวละครหลักของเขาอีกขนาน คราวนี้ยืมมือสถาปัตยกรรมภายใน ต้นสายปลายเหตุของฉากนี้มาจากเพื่อนในเมืองเอาด้วย เสี่ยว วู จึงเข้าไปเที่ยวร้านคาราโอเกะตามลำพัง เหมย เหมย สาวเชียร์เพลงเข้ามาตีสนิทและชวนเขาร้องเพลงด้วยกัน เสี่ยว วู ประหม่า บ่ายเบี่ยง อ้างว่าตัวเองร้องเพลงไม่เอาไหน เสี่ยว วูเก็บเนื้อเพลงท่อนของฝ่ายชายดังกล่าวมาขับขานในห้องอาบน้ำตามลำพังในฝีภาพความยาวสองนาทีถัดมา พอเสี่ยว วูเริ่มร้อง กล้องก็ค่อยเชิดหน้าขึ้นเก็บภาพจนหัวของเสี่ยว วู หลุดลงไปจากกรอบภาพ มีแต่ผนังห้องอาบน้ำส่วนที่อยู่สูงขึ้นไป 30 วินาทีสุดท้ายของฉากคือการขับกล่อมเพดานโรงอาบน้ำด้วยบทเพลงกังวานก้องจากเสียงร้องของจากชายหนุ่ม | ||
+ | |||
+ | ในงานชิ้นที่สองของเจี่ย คือ Platform (Zhantai)ซึ่งออกฉายในปีค.ศ.2000 นั้นห้าวหาญยิ่งกว่า Pickpocket กับการเจาะลึกรายละเอียดสภาพความเปลี่ยนแปลงในเฝิ่นหยางช่วงทศวรรษ 1970 ถึง 1990 หนังไล่เรียงพัฒนาเล่าความเป็นไปในยุคสมัยดังกล่าวผ่านมุมมองตัวละครหลัก 4 ตัวที่มีชีวิตโลดแล่นคาบเกี่ยวกับในคณะการแสดง เริ่มต้นจากการแสดงชุดสดุดีประธานเหมาและจบลงด้วยการแปรสภาพเป็นวงรวมดาวขาร็อคขาแด๊นซ์เลื่องชื่อแห่งเสิ่นเจิ้น ชีวิตของตัวละครเคลื่อนคล้อยไปตามสภาพความผันแปรทางสังคม-การเมือง และเศรษฐกิจที่แผ่มาถึงถิ่นฐานบ้านเกิด ดังจะเห็นได้จากการรณรงค์นโยบายมีลูกคนเดียว และทั้งเมืองมีไฟฟ้าใช้ หนังทิ้งทวนด้วยคำถามที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านำพาสิ่งใดมาสู่ปัจเจกและวัฒนธรรม หรือแม้แต่ในระดับจิตสำนึก ฉากสุดท้าย เหมือนจะไม่เข้าข้างการค้นหาคำตอบ | ||
+ | |||
+ | |||
+ | หนังส่งท้ายด้วยฝีภาพยาวขนาดสองนาทีบรรยายสภาพบ้านเรือน และชีวิตคู่ของตัวละครหลักสองคนที่ปลงใจออกเรือนจนมีลูกด้วยกัน ฝ่ายหญิงหัวไม่ได้วางหางไม่ได้เว้น กล่อมกระเตงลูกน้อยไปพลางติดไฟต้มน้ำไปด้วย ขณะที่ฝ่ายชายนั่งเต๊ะจุ้ย ซังกะตายกับมวนบุหรี่ที่กวัดไหวในมือ บ้านเซ็งแซ่โกรกกรากด้วยเสียงจากเตา แม่พล่ามกับลูก เสียงเด็กจากอาณาบริเวณบ้านนอกรัศมีการเล่าแทรกเข้าผสมโรง ก่อนจะถูกกลบโดยเสียงประกอบย้ำดุกร้าวจะแผดดังขึ้นเรื่อยๆ แม้ภาพจะเลือนดับไปแล้ว เสียงอึงคนึงดังกล่าวยังพันตูกับเสียงจากท้องเรื่องต่อไปอีกราว 10 วินาทีถึงจะราข้อ Platform จบลงไปพร้อมศรัทธาที่สูญสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับภาพตัวแทนชีวิตหนุ่มสาวที่แก่แดดแก่ลมไปถนัดใจด้วยน้ำมือยุคปฏิรูปแบบฉับพลัน | ||
+ | |||
+ | ความรุดหน้าของเทคโนโลยีและสังคมส่งผลกระทบต่อเจี่ย ฉาง เค่อ เช่นเดียวกับตัวละครในงานของเขา ผิดแต่เพียงเจ่ียรู้จักใช้เงื่อนไขเหล่านั้นเพื่อประโยชน์ในทางการผลิตและเผยแพร่ผลงาน |<เจี่ยได้ชื่อว่าเป็นคนทำหนังอิสระรุ่นใหม่ที่สมาทานการปฏิวัติดิจิทัลมาเป็นขุมกำลังหลักแห่งความสำเร็จและการบุกเบิกคิดค้น/>| | ||
+ | เจี่ยระบุถึงคุณูปการใน 3 ลักษณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีต่อกระบวนการผลิตและสถานะของผู้กำกับรุ่นใหม่ในจีน ตลอดลำหักลำโค่นของคนดูชาวจีนไว้ในบทความ Trois Revolution ของกาเยส์ ดู ซีนีมาดังนี้ | ||
+ | • กล้องดิจิทัลเพิ่มความสะดวกแก่ผู้กำกับรุ่นใหม่เป็นอันมากในการถ่ายทำ และขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอด | ||
+ | • ความแพร่หลายของสื่อ DVD ในจีน(โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลักลอบผลิต) กลายเป็นสายพานยักษ์ลำเลียงผลงานของผู้กำกับรุ่นใหม่สู่ตลาด ขณะเดียวกันก็เพิ่มรสนิยมและเขี้ยวเล็บการดูหนังของคอหนังชาวจีน | ||
+ | • อินเทอร์เน็ตเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนรักหนังรวมตัวกันวิพากษ์วิจารณ์ | ||
+ | |||
+ | วิวัฒนาการทางภาพยนตร์ทั้งสามภาคีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีคุณูปการใหญ่หลวงต่อการเติบโตแบบก้าวกระโดดของคนทำหนังรุ่นใหม่ในจีน แม้จะยอมรับว่ายังมีข้อจำกัดในการทำงาน แต่การถ่ายทำด้วยกล้องดิจิทัลก็นำมาซึ่งเสรีภาพในการทำงาน ทั้งยังบุกเบิกเส้นทางสุนทรียะ ผลงานลำดับสามของเจี่ยในไตรภาคบ้านเกิดของเจี่ยออกฉายในค.ศ.2002 ในชื่อ Unknown Pleasure(Ren Xiao Yao) ผลิตในระะบบดิจิทัลล้วนๆ เพื่อถ่ายทอดการผจญภัยของสองเพื่อนรักคือ ปิน ปิน(Bin Bin)และ เสี่ยวไจ๋(Xiao Ji) กับพฤติกรรมขวางโลกตามถนนรนแคมไปวันๆ ในจังหวัดต้าถง(Datong) สองคนนี้เป็นผลผลิตจากนโยบายเปิดประเทศของเติ้ง(เสี่ยว ผิง - -Deng X P) ไม่เคยรับรู้อดีตสมัยเหมา(เจ๋อ ตง - - Mao Ze Tong) สองคนโตมาในครอบครัวเดี่ยว ไม่ทำงานทำการ ข่าวความคืบหน้าสถานการณ์อุบัติเหตุเครื่องบินขับไล่ของจีนชนกับเครื่องบินสอดแนมของสหรัฐในน่านฟ้านอกชายฝั่งไหหนานในค.ศ.2001 แทรกเข้ามาในหนังเป็นระยะ สุดท้ายเมื่อชีวิตไม่เป็นดังฝันและได้ฉากเปิดเรื่อง Pulp Fiction มาจุดประกาย สองหนุ่มตกลงใจปล้นธนาคาร ตามแผนปินปินจะบุกเข้าไปพร้อมระเบิดปลอม ส่วนเสี่ยวไจ๋จะติดเครื่องมอเตอร์ไซค์รอท่าอยู่ด้านนอก แต่แผนก็ล่มไม่เป็นท่า ปินปินถูกจับ เสี่ยวไจ๋หนีไปได้แต่มอเตอร์ไซค์ก็ไปตายอยู่บนทางด่วน | ||
+ | |||
+ | ยุคเปลี่ยนผ่าน ณ ทศวรรษ 1980 ของจีนแผ่นดินใหญ่บันดาลทั้งความสับสนและหวนไห้อาลัยแก่เจี่ย งานของเจี่ยยังนับเป็นสำนึกต่ออิทธิพลของโลกานุวัตน์ในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ หลักแหล่งของเจี่ยอันคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างภูธรกับสากลเป็นชัยภูมิชั้นเยี่ยมในการสังเกตการณ์อิทธิพลของโลกานุวัตน์ต่อผู้คนในท้องถิ่น งานขนาดยาวมาตรฐานลำดับที่สี่ของเจี่ยคือ The World ออกฉายในค.ศ.2004 ตามประชดประชันทุกอณูภาวะโลกานุวัตน์ หนังใช้สวนสนุกแนวเมืองจำลองแห่งหนึ่งในปักกิ่งเป็นฉากหลัง เช่นเดียวกับงานก่อนๆหน้า เจี่ยเล่าเรื่องราวโดยคำนึงถึงภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมเป็นสำคัญ เนื้อเรื่องของ The World เหมือนจะเป็นเบี้ยล่างของโวหารภาพ สวนสนุกเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างจำลองสถานที่สำคัญๆ ของโลก ไม่วาจะเป็นหอไอเฟล หอเอนเมืองปิซา เต๋าตัวเอกทำงานเป็นนักแสดงนาฏลีลาประจำสวนสนุก ไต้เฉิงทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของสวนสนุก ไต้เฉิงอพยพมาจากชานสีเช่นเดียวกับพนักงานสวนสนุกรายอื่นๆ แต่การถ่ายเทประชากรด้วยเหตุผลของการหาเลี้ยงชีพไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศ แต่ขยายขอบข่ายไปสู่ระดับนานาชาติ เพราะสวนสนุกก็มีลูกจ้างหน้าใหม่ที่เป็นรัสเซียชื่ออันนาอยู่ในคณะแสดงนาฏลีลาด้วย สองสาวเลยกลายมาเป็นเพื่อนกัน อันนาออกจากงานไปตามหาญาติ และตอนหลังก็ต้องไปเป็นโสเภณี ความเป็นไปในโลกแห่งนี้สำเนามาจากสภาพความเป็นจริงของโลกยุคโลกานุวัตน์ | ||
+ | |||
+ | กว่าจะก้าวผ่านไตรภาคบ้านเกิดมาสู่ The World เส้นทางการเป็นผู้กำกับของเจี่ยผ่านหน้าไพ่ความเป็นไปได้อันหลากหลาย เช่นเดียวกับผู้กำกับรุ่นที่หกรายอื่นๆ ที่สร้างงานโดยไม่รับการอุปถัมภ์จากระบบโรงถ่ายของรัฐ และไปสร้างชื่อผ่านการนำผลงานไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ แต่กับ The World เจี่ยเดินเรื่องผ่านสำนักภาพยนตร์ ต่อข้อสงสัยต่อเบื้องหลังความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ิ เจี่ยตอบว่า "ผมไม่ได้เปลี่ยน แต่สภาพแวดล้อมของคนทำหนังชาวจีนต่างหากที่เปลี่ยน ตั้งแต่ปีที่แล้ว(ค.ศ.2003)แล้วละ กลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่พูดคุยกับสำนักภาพยนตร์มากขึ้น ต่อรองเพื่อเพิ่มเสรีภาพ และสร้างบรรยากาศการสร้างงานที่ผ่อนคลาย มาในปีนี้ทางสำนักฯจึงออกนโยบายใหม่ๆ มาหลายเรื่อง" เจี่ยกล่าวต่อโดยยกตัวอย่างนโยบายการตรวจพิจารณาผลงาน "จากเดิมหนังทุกเรื่องต้องผ่านความเห็นชอบโดยจากสำนักภาพยนตร์ แต่จากนั้นเป็นต้นมาก็มีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการระดับมลฑลเพื่อให้ความเห็นชอบการนำหนังออกฉาย จากที่มุ่งอยู่กับบ้านเกิด พอเปลี่ยนจากการทำงานอิสระไปสู่การเห็นชอบโดยรัฐ เจี่ยก็ปรับสัดส่วนขุมข่ายการเพ่งเล็งไปสู่โลกทั้งใบ ดูจะกลับตาลปัตรเอาการ มีอย่างที่ไหน ในการเล่าความเป็นไปในพื้นเพตนเองแท้ๆ เขาต้องหลบเลี่ยงหูตารัฐบาล แต่พอเป็นพื้นที่นอกอธิปไตยกลับผ่ามาขอไฟเขียวจากรัฐ | ||
+ | |||
+ | จักริน วิภาสวัชรโยธิน | ||
+ | แปลจาก | ||
+ | |||
+ | Dalle, E. 'Narrating changes in topography: Still Life and the cinema of Jia Zhangke'. http://www.ejumpcut.org/archive/jc53.2011/dalleStillLife/index.html |
รุ่นปัจจุบันของ 08:24, 4 มกราคม 2557
การจัดสรรพื้นที่แก่สภาพธรรมชาติและผลงานมนุษย์กับการเปลี่ยนกระบวนเล่าใน Still Life และงานอื่นๆ ของเจียฉางเค่อ
เขื่อนสามผา(the Three Gorges Dam)บนทางไหลของแม่น้ำแยงซีซึ่งตามมหากาพย์แผนการดำเนินงานก่อสร้างจะต้องใช้เวลาตลอดทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 นั้น นำมาซึ่งความขัดแย้งขั้นรุนแรงระหว่างนักสิ่งแวดล้อม รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน และประชาชนหลายล้านคนในพื้นที่น้ำท่วมถึงเหนือเขื่อนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ อาณาบริเวณและความเป็นไปอันจะมีเขื่อนสามผาขึ้นมาแทนที่ตระหง่านง้ำคือฉากหลังของ Still Life งานจากค.ศ.2006 ของเจี่ยฉางเค่อ หนังติดสอยห้อยตามความเป็นไปอันยอกย้อนของคนสองคู่จากคนละฟากกำแพงเศรษฐกิจแห่งการเปล่ี่ยนผ่านสู่ชาติอุตสาหกรรมเต็มตัวของจีน ชีวิตตัวละครที่ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์และทำลายล้างจากโครงการสร้างเขื่อน หนังยังยืมมือภาวะน้ำท่วมใหญ่ที่จะมาถึงอยู่รอมร่อทดสอบความซับซ้อนของสังคมเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับพินิจพิเคราะห์ขีดจำกัดของมนุษย์ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากการเปลี่ยนสัดส่วนการถือครองพื้นที่ระหว่างธรรมชาติกับผลงานมนุษย์
หลังจากพลัดพรากกันไปสิบหกปี สองฝ่ายกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง พร้อมกับฝีภาพยาวเฉียบฉมัง หานซานหมิง และมิสซียังขัดๆเขินๆกันอยู่สองคนทอดหุ่ยอยู่บนตึกที่อยูในระหว่างทุบทิ้งผนังด้านหนึ่งทะลุเป็นโพรงใหญ่ พิกัดในกรอบภาพของคนคู่นี้ค่อนมาทางขวา มิสซียืนอยู่เบื้องซ้ายของฝ่ายชายซึ่งอยู่ในท่ากึ่งนั่งยองกึ่งคุกเข่า ค่อนไปทางซ้ายของพวกเขาคือ ทิวทัศน์ตัวเมืองเบื้องนอกที่ลอดผ่านช่องโหว่ของโพรงกำแพง มิสซีย่อตัวลงหน้าซานหมิงยื่นของกินให้เขา ฝ่ายชายสูบบุหรี่เรื่อยเปื่อย เสียงจากประกาศิตผู้เล่าในฝีภาพยาวที่กินเวลาร่วมนาทีนี้มีเพียงเสียแตรรถจากระยะไกลๆ และเสียงกิจกรรมต่างๆที่ลงกับตัวอาคาร แล้วตึกหลังเบ้อเริ่มที่เห็นไกลออกไปจากโพรงก็ทรุดตัวลง พ่นฝุ่นและเศษซากของชั้นที่พังพาบออกมา ตัวละครทั้งสองลุกขึ้นยืน หันไปยังต้นเสียงความวินาศที่สร้างความเลื่อนลั่นแก่ตัวเมือง ซานหมิงค่อยยื่นมือไปแตะแขนของมิสซีจากด้านหลัง
เทียบในปริบทใหญ่ของหนัง ฝีภาพนี้ถ่ายทอดถึงความล่มสลายของปัจจัยแปลกปลอมที่อาจรวมความถึงแรงงาน การอพยพ การค้ามนุษย์และความพินาศด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลจากแนวทางการจัดระเบียบการใช้พื้นที่อันเดิมสิ้นอายุขัยลงเพราะการมาของเขื่อนสามผา บ้านเดิมของมิสซีนั้นจมบาดาลไปแล้วเพราะระดับน้ำที่สูงขี้นเรื่อยๆ เคราะห์ซ้ำเธอยังตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ เพราะซานหมิงได้เธอมาด้วยการซื้อตัว ซานหมิงถึงจะยังตัดใจไม่ได้ ก็คงได้แต่หอบหิ้วเมียแปลกหน้าซมซานกลับไปทำงานในเหมืองที่บ้านเกิดหาเงินไถ่ถอนภรรยา ความทุกข์ยากแค้นของตัวละครเป็นเหมือนโรคประจำถิ่นทางเศรษฐกิจ พวกเขาถูกบีบด้วยเงื่อนไขจากสภาพแวดล้อมให้ต้องย้ายถิ่นและส่งผลกระทบต่อพื้นที่เมืองเผิ่งจีและภาวะเศรษฐกิจในยุคอุตสาหกรรมของจีน
เจี่ยรวบยอดแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาชำระความรวดเดียวใน Still Life เจี่ยตั้งปณิธานตั้งแต่แรกเข้าสู่เส้นทางกำกับหนังที่จะตีแผ่ผลพวงของการโตวันโตคืนทางเศรษฐกิจของจีน ความหลงใหลได้ปลื้มกับโลกาภิวัตน์ และวิบากกรรมของมนุษย์จากการชำเราสิ่งแวดล้อม ร่องรอยความล้มเหลวของมนุษย์ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม-เศรษฐกิจในสังคมปัจจุบันที่ตกเป็นลูกไล่ของพลังของการเล่นพรรคเล่นพวก มีรัฐหนุนหลัง โยงใยทั่วโลก และขูดรีดข่มเหงผ่านโครงสร้างเศรษฐกิจ เหล่านี้ไม่เคยรอดพ้นสายตาจับผิดของเจี่ย เหนือสิ่งอื่นใด หนังของเจี่ยเป็นเครื่องมือวิพากษ์การนำเสนอภาพความเปลี่ยนแปลงการแบ่งสรรพื้นที่ีระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ตามความเชื่อมักง่าย โดยผลักดันขีดจำกัดของการเล่าและงานสารคดีออก ไปเพื่อเผยให้้เห็นช่องโหว่ขุมข่ายความคิดในการทำความเข้าใจภาพรวมการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศขนานใหญ่
งานเขียนชิ้นนี้มุ่งตีความผลงานของเจี่ยฉางเค่อเพื่อหาหลักฐานการใช้หนังเป็นเครื่องมือบรรยายความเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนการถือครองพื้นที่ เจี่ยในฐานะผู้กำกับย่อมสร้างงานภายใต้อิทธิพลที่แทรกซึมอยู่ในตัวเขา ภูมิลำเนาของเขามีบทบาทในฐานะตัวบทเชิงขุมข่ายความคิดแรกๆ ในชีวิตการกำกับหนัง เจี่ยยังเจนจัดในการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลทั้งแบบก้าวล้ำและตามอัตภาพเพื่อสร้างสรรค์และเรียกความสนใจสู่ตัวงานของเขา การทำความเข้าใจกับ เป็นไปเพื่อใช้เป็นความคิดพื้นฐานในการตีความ Still Life งานยุคปี ค.ศ.2006 จะอาศัยการทำความเข้าใจงานยุคต้น ใน 3 มุมมอง ได้แก่ ความนับเนื่องของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่รับรู้ร่วมกันในหมู่ผู้พลัดที่นาคาที่อยู่ วิกฤติของการให้ความสำคัญที่สะท้อนผ่านกระบวนการเลือกแสดงความหวนไห้อาลัยของเจี่ย และท่วงทีของหนังในการทลายศูนย์อำนาจในการตีค่าความหมายของคำว่าบ้านและพลัดที่นาคาที่อยู่ ในส่วนบทสรุปจะนำ Dong ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแฝดในภาคสารคดีของ Still Life เข้ามาเปรียบเทียบเพื่อแจกแจงกระบวนการสลายเส้นแบ่งระหว่างการเล่าหนังกับสารคดี งานของเจี่ยชี้ให้เห็นข้อจำกัดของการลำดับเหตุผลเพื่อให้ภาพรวมความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์และร่วมหัวจมท้ายกับท่วงทีการสาธยายการใช้พื้นท่ี่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับผลงานมนุษย์
ภูมิลำเนา ส่วนผสมผลงานธรรมชาติกับมนุษยกรรม และ เทคโนโลยี
เจี่ยคือหนึ่งในลูกหลานจีนรุ่นใหม่ที่เป็นแนวรับแรงปะทะแรกๆ จากคลื่นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมชนิดพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินในแผ่นดินใหญ่ เขาสร้างงานด้วยอานิสงส์และการต่อรองกับหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นมาตรการกีดกันจากรัฐและความนับถือจากวงการภาพยนตร์นานาชาติ/ในจีน เจี่ยเกิดเมื่อ ค.ศ.1970 ที่เมืองเฝิ่นหยาง มณฑลชานสี บ้านเกืดเมืองนอนมีอิทธิพลสูงยิ่งในการเล่าเรื่องในงานหลายต่อหลายชิ้นของเขา แม้เฝิ่นหยางจะไม่ได้มีวัตถุดิบมากมาย แต่เขาก็กลับไปหาบ้านเสมอ ความเชื่อของเจี่ยที่ว่าคติในเรื่องบ้านมีส่วนสำคัญในเชิงเป็นเบ้าหลอมความเข้าใจต่อโลกของคนทั้งในแง่ความรู้สึกและเหตุผล สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์ต่างกรรมต่างวาระ
การเรียกขานงานความยาวมาตรฐาน 3 ชิ้นแรกที่ผลิตนอกระบบรวมๆกันว่าไตรภาคบ้านเกิด(The Hometown Trilogy) ก็มาจากเหตุผลดังกล่าว การเล่า The Pickpocket (Xiao Wu)งานความยาวมาตรฐานชิ้นแรกของเจี่ยจากค.ศ.1997 โดยถ่ายจากสถานที่จริง กลายเป็นบัญญัติขุมข่ายความคิดครอบงำงานชั้นหลังๆ เรื่อยมา เดิมทีเจี่ยตั้งใจให้บันทึกการเดินทางกลับไปเยือนบ้านเกิดในรูปหนังชิ้นดังกล่าวมีความยาวเพียง 30 นาทีแต่ที่บานปลายกลายเป็นงานขนาดยาวโดยฉับพลันก็เพราะเฝิ่นหยางเปลี่ยนไปผิดหูผิดตานับแต่เจี่ยจากไปเรียนภาพยนตร์ที่ปักกิ่ง จนอดไม่ได้ที่จะต้องจารึกความเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการครองพื้นที่ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ในชั่วระยะเวลาอันสั้น
ทันทีที่สิ้นสุดขั้นตอนการขึ้นชื่อเรื่องและแนะนำหนัง หนังบรรยายท้องที่เหตุการณ์และการกลับสู่ภูมิลำเนาของตัวละครหลักผ่าน 4 ฝีภาพ ฝีภาพแรกเป็นภาพการจุดไม้ขีดไฟจากระยะใกล้ ฝีภาพถัดมาเปลวจากก้านไม้ขีดไฟเดินทางไปเผาไหม้ปลายมวนบุหรี่ที่ชายคนหนึ่งคาบอยู่ บนกล่องไม้ขีดปรากฏอักขระจีนคำว่า Shan Xi บ่งบอกว่าเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในจังหวัดบ้านเกิดของเจีย ฝีภาพถัดมาเป็นภาพระยะไกลเผยให้เห็นชายเจ้าของบุหรี่ยืนอยู่ข้างถนน ในฝีภาพที่ 4 จากกล้องในทิศย้อนศรจับภาพจากด้านหลังของเสี่ยว วู(Xiao Wu) เผยให้เห็นว่าตัวละครหลักผู้นี้ยืนรอรถประจำทางอยู่ เบ็ดเสร็จแล้วเจี่ยใช้เวลาเพียง 20 วินาทีหลังสิ้นสุดการเปิดเรื่อง ในการทั้งจัดแจงฉากหลังและนำพาตัวละครหลักของก็กลับสู่ภูมิลำเนา จากนี้ไปเสี่ยว วูจะได้ลิ้มรสชาติของความยุ่งยากจากการคืนถิ่น เป็นการเดินทางอันระหกระเหินบิดเบี่ยงของลิ่มคลื่นความลำบากใจเมื่อครั้งเจี่ยกลับมาบ้านที่เฝิ่นหยางหลังไปเรียนที่ปักกิ่งอยู่หลายปี เจี่ยถ่ายทำ Pickpocket แล้วเสร็จใน 21 วัน เขาผลิตงานชิ้นนี้ในระบบ 16 ม.ม. ภาพหนังมีทั้งมาจากกล้องมือถือ ฝีภาพยาว(long take) และฝีภาพไล่สำรวจ(tracking shot)เพื่อถ่ายทอดความเสื่อมโทรมของสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น(ดังปรากฏอักขระตัว ไค ตามตึกที่ถูกหมายหัวรอวันถูกทุบ)
งานด้านเสียงของฝีภาพโดดเด่นด้วยสรรพสำเนียงอึกทึกตามประสาเมืองทั้งน่ารำคาญและคุกคามความรู้สึก ฝีภาพตามสำรวจความยาวหนึ่งนาทีถัดมาจะเป็นภาพขณะเสี่ยว วูนั่งซ้อนท้ายจักรยานเตร็ดเตร่ แม้ศูนย์เล็งของภาพจะอยู่ที่ชายสองคนบนรถจักรยาน แต่ตลอดรายทางที่พวกเขาปั่นไปถึงจะมีภาพซากปรักหักพังของกำแพง ร้านรวง ผู้คน ลานจอดจักรยาน ป้ายบอกทาง องค์ประกอบความเป็นเมืองสารพัดผันผ่านเข้ามา โดยถ่ายทอดสารรูปของสิ่งเหล่านี้ออกมาเสมอจริง คนบนรถจักรยานต้องตะเบ็งเสียงคุยกันแข่งกับเสียงแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์จากลำโพง ภาพและเสียงของเมืองคอยบดบังความสำคัญของตัวละครทั้งสองโดยตลอด
อีกฉากหนึ่ง เจี่ยเล่นงานตัวละครหลักของเขาอีกขนาน คราวนี้ยืมมือสถาปัตยกรรมภายใน ต้นสายปลายเหตุของฉากนี้มาจากเพื่อนในเมืองเอาด้วย เสี่ยว วู จึงเข้าไปเที่ยวร้านคาราโอเกะตามลำพัง เหมย เหมย สาวเชียร์เพลงเข้ามาตีสนิทและชวนเขาร้องเพลงด้วยกัน เสี่ยว วู ประหม่า บ่ายเบี่ยง อ้างว่าตัวเองร้องเพลงไม่เอาไหน เสี่ยว วูเก็บเนื้อเพลงท่อนของฝ่ายชายดังกล่าวมาขับขานในห้องอาบน้ำตามลำพังในฝีภาพความยาวสองนาทีถัดมา พอเสี่ยว วูเริ่มร้อง กล้องก็ค่อยเชิดหน้าขึ้นเก็บภาพจนหัวของเสี่ยว วู หลุดลงไปจากกรอบภาพ มีแต่ผนังห้องอาบน้ำส่วนที่อยู่สูงขึ้นไป 30 วินาทีสุดท้ายของฉากคือการขับกล่อมเพดานโรงอาบน้ำด้วยบทเพลงกังวานก้องจากเสียงร้องของจากชายหนุ่ม
ในงานชิ้นที่สองของเจี่ย คือ Platform (Zhantai)ซึ่งออกฉายในปีค.ศ.2000 นั้นห้าวหาญยิ่งกว่า Pickpocket กับการเจาะลึกรายละเอียดสภาพความเปลี่ยนแปลงในเฝิ่นหยางช่วงทศวรรษ 1970 ถึง 1990 หนังไล่เรียงพัฒนาเล่าความเป็นไปในยุคสมัยดังกล่าวผ่านมุมมองตัวละครหลัก 4 ตัวที่มีชีวิตโลดแล่นคาบเกี่ยวกับในคณะการแสดง เริ่มต้นจากการแสดงชุดสดุดีประธานเหมาและจบลงด้วยการแปรสภาพเป็นวงรวมดาวขาร็อคขาแด๊นซ์เลื่องชื่อแห่งเสิ่นเจิ้น ชีวิตของตัวละครเคลื่อนคล้อยไปตามสภาพความผันแปรทางสังคม-การเมือง และเศรษฐกิจที่แผ่มาถึงถิ่นฐานบ้านเกิด ดังจะเห็นได้จากการรณรงค์นโยบายมีลูกคนเดียว และทั้งเมืองมีไฟฟ้าใช้ หนังทิ้งทวนด้วยคำถามที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านำพาสิ่งใดมาสู่ปัจเจกและวัฒนธรรม หรือแม้แต่ในระดับจิตสำนึก ฉากสุดท้าย เหมือนจะไม่เข้าข้างการค้นหาคำตอบ
หนังส่งท้ายด้วยฝีภาพยาวขนาดสองนาทีบรรยายสภาพบ้านเรือน และชีวิตคู่ของตัวละครหลักสองคนที่ปลงใจออกเรือนจนมีลูกด้วยกัน ฝ่ายหญิงหัวไม่ได้วางหางไม่ได้เว้น กล่อมกระเตงลูกน้อยไปพลางติดไฟต้มน้ำไปด้วย ขณะที่ฝ่ายชายนั่งเต๊ะจุ้ย ซังกะตายกับมวนบุหรี่ที่กวัดไหวในมือ บ้านเซ็งแซ่โกรกกรากด้วยเสียงจากเตา แม่พล่ามกับลูก เสียงเด็กจากอาณาบริเวณบ้านนอกรัศมีการเล่าแทรกเข้าผสมโรง ก่อนจะถูกกลบโดยเสียงประกอบย้ำดุกร้าวจะแผดดังขึ้นเรื่อยๆ แม้ภาพจะเลือนดับไปแล้ว เสียงอึงคนึงดังกล่าวยังพันตูกับเสียงจากท้องเรื่องต่อไปอีกราว 10 วินาทีถึงจะราข้อ Platform จบลงไปพร้อมศรัทธาที่สูญสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับภาพตัวแทนชีวิตหนุ่มสาวที่แก่แดดแก่ลมไปถนัดใจด้วยน้ำมือยุคปฏิรูปแบบฉับพลัน
ความรุดหน้าของเทคโนโลยีและสังคมส่งผลกระทบต่อเจี่ย ฉาง เค่อ เช่นเดียวกับตัวละครในงานของเขา ผิดแต่เพียงเจ่ียรู้จักใช้เงื่อนไขเหล่านั้นเพื่อประโยชน์ในทางการผลิตและเผยแพร่ผลงาน |<เจี่ยได้ชื่อว่าเป็นคนทำหนังอิสระรุ่นใหม่ที่สมาทานการปฏิวัติดิจิทัลมาเป็นขุมกำลังหลักแห่งความสำเร็จและการบุกเบิกคิดค้น/>| เจี่ยระบุถึงคุณูปการใน 3 ลักษณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีต่อกระบวนการผลิตและสถานะของผู้กำกับรุ่นใหม่ในจีน ตลอดลำหักลำโค่นของคนดูชาวจีนไว้ในบทความ Trois Revolution ของกาเยส์ ดู ซีนีมาดังนี้ • กล้องดิจิทัลเพิ่มความสะดวกแก่ผู้กำกับรุ่นใหม่เป็นอันมากในการถ่ายทำ และขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอด • ความแพร่หลายของสื่อ DVD ในจีน(โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลักลอบผลิต) กลายเป็นสายพานยักษ์ลำเลียงผลงานของผู้กำกับรุ่นใหม่สู่ตลาด ขณะเดียวกันก็เพิ่มรสนิยมและเขี้ยวเล็บการดูหนังของคอหนังชาวจีน • อินเทอร์เน็ตเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนรักหนังรวมตัวกันวิพากษ์วิจารณ์
วิวัฒนาการทางภาพยนตร์ทั้งสามภาคีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีคุณูปการใหญ่หลวงต่อการเติบโตแบบก้าวกระโดดของคนทำหนังรุ่นใหม่ในจีน แม้จะยอมรับว่ายังมีข้อจำกัดในการทำงาน แต่การถ่ายทำด้วยกล้องดิจิทัลก็นำมาซึ่งเสรีภาพในการทำงาน ทั้งยังบุกเบิกเส้นทางสุนทรียะ ผลงานลำดับสามของเจี่ยในไตรภาคบ้านเกิดของเจี่ยออกฉายในค.ศ.2002 ในชื่อ Unknown Pleasure(Ren Xiao Yao) ผลิตในระะบบดิจิทัลล้วนๆ เพื่อถ่ายทอดการผจญภัยของสองเพื่อนรักคือ ปิน ปิน(Bin Bin)และ เสี่ยวไจ๋(Xiao Ji) กับพฤติกรรมขวางโลกตามถนนรนแคมไปวันๆ ในจังหวัดต้าถง(Datong) สองคนนี้เป็นผลผลิตจากนโยบายเปิดประเทศของเติ้ง(เสี่ยว ผิง - -Deng X P) ไม่เคยรับรู้อดีตสมัยเหมา(เจ๋อ ตง - - Mao Ze Tong) สองคนโตมาในครอบครัวเดี่ยว ไม่ทำงานทำการ ข่าวความคืบหน้าสถานการณ์อุบัติเหตุเครื่องบินขับไล่ของจีนชนกับเครื่องบินสอดแนมของสหรัฐในน่านฟ้านอกชายฝั่งไหหนานในค.ศ.2001 แทรกเข้ามาในหนังเป็นระยะ สุดท้ายเมื่อชีวิตไม่เป็นดังฝันและได้ฉากเปิดเรื่อง Pulp Fiction มาจุดประกาย สองหนุ่มตกลงใจปล้นธนาคาร ตามแผนปินปินจะบุกเข้าไปพร้อมระเบิดปลอม ส่วนเสี่ยวไจ๋จะติดเครื่องมอเตอร์ไซค์รอท่าอยู่ด้านนอก แต่แผนก็ล่มไม่เป็นท่า ปินปินถูกจับ เสี่ยวไจ๋หนีไปได้แต่มอเตอร์ไซค์ก็ไปตายอยู่บนทางด่วน
ยุคเปลี่ยนผ่าน ณ ทศวรรษ 1980 ของจีนแผ่นดินใหญ่บันดาลทั้งความสับสนและหวนไห้อาลัยแก่เจี่ย งานของเจี่ยยังนับเป็นสำนึกต่ออิทธิพลของโลกานุวัตน์ในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ หลักแหล่งของเจี่ยอันคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างภูธรกับสากลเป็นชัยภูมิชั้นเยี่ยมในการสังเกตการณ์อิทธิพลของโลกานุวัตน์ต่อผู้คนในท้องถิ่น งานขนาดยาวมาตรฐานลำดับที่สี่ของเจี่ยคือ The World ออกฉายในค.ศ.2004 ตามประชดประชันทุกอณูภาวะโลกานุวัตน์ หนังใช้สวนสนุกแนวเมืองจำลองแห่งหนึ่งในปักกิ่งเป็นฉากหลัง เช่นเดียวกับงานก่อนๆหน้า เจี่ยเล่าเรื่องราวโดยคำนึงถึงภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมเป็นสำคัญ เนื้อเรื่องของ The World เหมือนจะเป็นเบี้ยล่างของโวหารภาพ สวนสนุกเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างจำลองสถานที่สำคัญๆ ของโลก ไม่วาจะเป็นหอไอเฟล หอเอนเมืองปิซา เต๋าตัวเอกทำงานเป็นนักแสดงนาฏลีลาประจำสวนสนุก ไต้เฉิงทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของสวนสนุก ไต้เฉิงอพยพมาจากชานสีเช่นเดียวกับพนักงานสวนสนุกรายอื่นๆ แต่การถ่ายเทประชากรด้วยเหตุผลของการหาเลี้ยงชีพไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศ แต่ขยายขอบข่ายไปสู่ระดับนานาชาติ เพราะสวนสนุกก็มีลูกจ้างหน้าใหม่ที่เป็นรัสเซียชื่ออันนาอยู่ในคณะแสดงนาฏลีลาด้วย สองสาวเลยกลายมาเป็นเพื่อนกัน อันนาออกจากงานไปตามหาญาติ และตอนหลังก็ต้องไปเป็นโสเภณี ความเป็นไปในโลกแห่งนี้สำเนามาจากสภาพความเป็นจริงของโลกยุคโลกานุวัตน์
กว่าจะก้าวผ่านไตรภาคบ้านเกิดมาสู่ The World เส้นทางการเป็นผู้กำกับของเจี่ยผ่านหน้าไพ่ความเป็นไปได้อันหลากหลาย เช่นเดียวกับผู้กำกับรุ่นที่หกรายอื่นๆ ที่สร้างงานโดยไม่รับการอุปถัมภ์จากระบบโรงถ่ายของรัฐ และไปสร้างชื่อผ่านการนำผลงานไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ แต่กับ The World เจี่ยเดินเรื่องผ่านสำนักภาพยนตร์ ต่อข้อสงสัยต่อเบื้องหลังความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ิ เจี่ยตอบว่า "ผมไม่ได้เปลี่ยน แต่สภาพแวดล้อมของคนทำหนังชาวจีนต่างหากที่เปลี่ยน ตั้งแต่ปีที่แล้ว(ค.ศ.2003)แล้วละ กลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่พูดคุยกับสำนักภาพยนตร์มากขึ้น ต่อรองเพื่อเพิ่มเสรีภาพ และสร้างบรรยากาศการสร้างงานที่ผ่อนคลาย มาในปีนี้ทางสำนักฯจึงออกนโยบายใหม่ๆ มาหลายเรื่อง" เจี่ยกล่าวต่อโดยยกตัวอย่างนโยบายการตรวจพิจารณาผลงาน "จากเดิมหนังทุกเรื่องต้องผ่านความเห็นชอบโดยจากสำนักภาพยนตร์ แต่จากนั้นเป็นต้นมาก็มีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการระดับมลฑลเพื่อให้ความเห็นชอบการนำหนังออกฉาย จากที่มุ่งอยู่กับบ้านเกิด พอเปลี่ยนจากการทำงานอิสระไปสู่การเห็นชอบโดยรัฐ เจี่ยก็ปรับสัดส่วนขุมข่ายการเพ่งเล็งไปสู่โลกทั้งใบ ดูจะกลับตาลปัตรเอาการ มีอย่างที่ไหน ในการเล่าความเป็นไปในพื้นเพตนเองแท้ๆ เขาต้องหลบเลี่ยงหูตารัฐบาล แต่พอเป็นพื้นที่นอกอธิปไตยกลับผ่ามาขอไฟเขียวจากรัฐ
จักริน วิภาสวัชรโยธิน แปลจาก
Dalle, E. 'Narrating changes in topography: Still Life and the cinema of Jia Zhangke'. http://www.ejumpcut.org/archive/jc53.2011/dalleStillLife/index.html