PLZT Ceramics

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกในวัสดุ PLZT)
 
(การแก้ไข 13 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 1: แถว 1:
 +
ศิวัสม์ พึ่งศรีเพ็ง
 +
== เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT) ==
== เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT) ==
เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT) คือ วัสดุเฟร์โรอิเล็คทริกชนิดหนึ่งซึ่งมีโครงสร้างผลึกแบบ Perovskite  
เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT) คือ วัสดุเฟร์โรอิเล็คทริกชนิดหนึ่งซึ่งมีโครงสร้างผลึกแบบ Perovskite  
และมีสูตรโครงสร้างอย่างง่าย คือ ABO3 โดยตะกั่วไอออนและแลนทานัมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ A ส่วนเซอร์โคเนียม
และมีสูตรโครงสร้างอย่างง่าย คือ ABO3 โดยตะกั่วไอออนและแลนทานัมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ A ส่วนเซอร์โคเนียม
-
ไอออนและไทเทเนียมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ B ดังเห็นแผนภาพจำลองได้ใน รูปที่ 1 ซึ่งสามารถเขียนสูตรทางเคมีได้เป็น  
+
ไอออนและไทเทเนียมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ B ดังเห็นแผนภาพจำลองได้ใน '''รูปที่ 1''' ซึ่งสามารถเขียนสูตรทางเคมีได้เป็น  
                                   Pb1-xLax(ZryTi1-y)1-x/4O3
                                   Pb1-xLax(ZryTi1-y)1-x/4O3
[[ไฟล์:แผนภาพจำลองโครงสร้างของวัสดุ PLZT.jpg]]
[[ไฟล์:แผนภาพจำลองโครงสร้างของวัสดุ PLZT.jpg]]
-
รูปที่ 1 แผนภาพจำลองโครงสร้างของวัสดุ PLZT
+
'''รูปที่ 1'''<ref>Haertling, G. H. Ferroelectric Ceramics: History and Technology. Journal of the American Ceramic Society  82 (1999): 797-818.</ref> แผนภาพจำลองโครงสร้างของวัสดุ PLZT
-
เนื่องจากโครงสร้างผลึกของ PLZT อยู่ในระบบผลึกเททระโกนัล (tetragonal) ดังในรูปที่ 1 และมีการเคลื่อนตัวออกจาก
+
เนื่องจากโครงสร้างผลึกของ PLZT อยู่ในระบบผลึกเททระโกนัล (tetragonal) ดังใน'''รูปที่ 1''' และมีการเคลื่อนตัวออกจาก
จุดศูนย์กลางเล็กน้อยของไอออนในตำแหน่ง B เป็นเหตุให้ผลึก ของวัสดุ PLZT มีการโพลาไรเซชันในตัวเอง ดังเห็นได้ชัดเจนใน
จุดศูนย์กลางเล็กน้อยของไอออนในตำแหน่ง B เป็นเหตุให้ผลึก ของวัสดุ PLZT มีการโพลาไรเซชันในตัวเอง ดังเห็นได้ชัดเจนใน
-
รูปที่ 2 ซึ่งแสดงทิศทางของไดโพลในโครงสร้างผลึก และด้วยความยืดหยุ่นทางไดโพลนี้เองทำให้วัสดุดังกล่าวสามารถเปลี่ยนขั้วไดโพล
+
'''รูปที่ 2''' ซึ่งแสดงทิศทางของไดโพลในโครงสร้างผลึก และด้วยความยืดหยุ่นทางไดโพลนี้เองทำให้วัสดุดังกล่าวสามารถเปลี่ยนขั้วไดโพล
ได้ด้วยสนามไฟฟ้า
ได้ด้วยสนามไฟฟ้า
[[ไฟล์:แผนภาพจำลองการโพลาไรเซชันของวัสดุ PLZT.jpg]]
[[ไฟล์:แผนภาพจำลองการโพลาไรเซชันของวัสดุ PLZT.jpg]]
-
รูปที่ 2 แผนภาพจำลองการโพลาไรเซชันของวัสดุ PLZT
+
'''รูปที่ 2'''<ref>Haertling, G. H. Ferroelectric Ceramics: History and Technology. Journal of the American Ceramic Society  82 (1999): 797-818.</ref> แผนภาพจำลองการโพลาไรเซชันของวัสดุ PLZT
-
 
+
== ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกในวัสดุ PLZT ==
== ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกในวัสดุ PLZT ==
แถว 23: แถว 24:
เมื่อวัสดุ PLZT ถูกกระตุ้นด้วยแสงที่มีพลังงานมากกว่าช่องว่างแถบพลังงาน (energy band gap) ของ PLZT (~3.26 eV)  
เมื่อวัสดุ PLZT ถูกกระตุ้นด้วยแสงที่มีพลังงานมากกว่าช่องว่างแถบพลังงาน (energy band gap) ของ PLZT (~3.26 eV)  
จะทำให้อิเล็คตรอนถูกกระตุ้นจากแถบเวเลนซ์ (valence band) ขึ้นไปอยู่ในแถบการนำ (conduction band) ซึ่งช่วงความยาว
จะทำให้อิเล็คตรอนถูกกระตุ้นจากแถบเวเลนซ์ (valence band) ขึ้นไปอยู่ในแถบการนำ (conduction band) ซึ่งช่วงความยาว
-
คลื่นแสงที่มีค่าพลังงานเท่ากับ 3.26 eV อยู่ในช่วงประมาณ 380 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงของแสงอัลตราไวโอเล็ต ดังแสดงในรูปที่ 3
+
คลื่นแสงที่มีค่าพลังงานเท่ากับ 3.26 eV อยู่ในช่วงประมาณ 380 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงของแสงอัลตราไวโอเล็ต ดังแสดงใน'''รูปที่ 3'''
[[ไฟล์:แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกวัสดุ PLZT.jpg]]
[[ไฟล์:แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกวัสดุ PLZT.jpg]]
-
รูปที่ 3 แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกวัสดุ PLZT
+
'''รูปที่ 3'''<ref>Poosanaas, P., Tonooka, K., Uchino, K. Photostrictive actuators. Mechatronics  10 (2000): 467-487.</ref> แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกวัสดุ PLZT
-
จากผลงานวิจัยของ K. Uchino(21) องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ PLZT ที่ก่อให้เกิดค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก  
+
จากผลงานวิจัยของ K. Uchino องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ PLZT ที่ก่อให้เกิดค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก  
(photovoltaic power, Pph) สูงสุด คือ องค์ประกอบที่มีตะกั่วไอออน แลนทานัมไอออน เซอร์โคเนียมไอออนและไทเทเนียมไอออน  
(photovoltaic power, Pph) สูงสุด คือ องค์ประกอบที่มีตะกั่วไอออน แลนทานัมไอออน เซอร์โคเนียมไอออนและไทเทเนียมไอออน  
อยู่ 97, 3, 52 และ 48 mol% ตามลำดับ ((Pb0.97La0.03)(Zr0.52Ti0.48)O3) ดังแสดงในซึ่งสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์
อยู่ 97, 3, 52 และ 48 mol% ตามลำดับ ((Pb0.97La0.03)(Zr0.52Ti0.48)O3) ดังแสดงในซึ่งสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์
แถว 34: แถว 35:
และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) อยู่ที่ 1.8 kV/cm ซึ่งให้ค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจาก
และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) อยู่ที่ 1.8 kV/cm ซึ่งให้ค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจาก
ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังเห็นได้จากกราฟ contour ค่ากระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photocurent Jph)  
ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังเห็นได้จากกราฟ contour ค่ากระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photocurent Jph)  
-
และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) ในรูปที่ 4
+
และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) ใน'''รูปที่ 4'''
[[ไฟล์:ค่า photocurrent และ photovoltage.jpg]]
[[ไฟล์:ค่า photocurrent และ photovoltage.jpg]]
-
รูปที่ 4 กราฟ contour ค่า photocurrent (Jph) และค่า photovoltage (Eph) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT
+
'''รูปที่ 4'''<ref>Uchino, K., Aizawa, M., Nomura, L. S. Photostrictive effect in (Pb, La) (Zr, Ti)O3. Ferroelectrics  64 (1985): 199-208.</ref> กราฟ contour ค่า photocurrent (Jph) และค่า photovoltage (Eph) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT
นอกจากนี้ K. Uchino พบว่าความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกของ PLZT(3/52/48) คือ อยู่ที่ 366 นาโนเมตร  
นอกจากนี้ K. Uchino พบว่าความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกของ PLZT(3/52/48) คือ อยู่ที่ 366 นาโนเมตร  
-
เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังแสดงในรูปที่ 5
+
เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังแสดงใน'''รูปที่ 5'''
[[ไฟล์:48).jpg]]
[[ไฟล์:48).jpg]]
-
รูปที่ 5 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงและ photocurent ของวัสดุ PLZT(3/52/48)
+
'''รูปที่ 5'''<ref>Uchino, K., Aizawa, M., Nomura, L. S. Photostrictive effect in (Pb, La) (Zr, Ti)O3. Ferroelectrics  64 (1985): 199-208.</ref> กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงและ photocurent ของวัสดุ PLZT(3/52/48)
== ปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกในวัสดุ PLZT ==
== ปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกในวัสดุ PLZT ==
K. Uchino ทำการวัดค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric constant, d33) ของวัสดุ PLZT ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ  
K. Uchino ทำการวัดค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric constant, d33) ของวัสดุ PLZT ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ  
-
พบว่าวัสดุ PLZT ให้ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริกสูง คือ มากกว่า 300  
+
พบว่าวัสดุ PLZT ให้ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริกสูง คือ มากกว่า 300 พิโคเมตรต่อโวลต์ ขึ้นไป โดยเฉพาะองค์ประกอบทางเคมี PLZT(8/63/37)  
-
พิโคเมตรต่อโวลต์ ขึ้นไป โดยเฉพาะองค์ประกอบทางเคมี PLZT(8/63/37) ซึ่งให้ค่าคงที่เพียโซ-อิเล็กทริกสูงถึง 700 พิโคเมตรต่อโวลต์(21)  
+
ซึ่งให้ค่าคงที่เพียโซ-อิเล็กทริกสูงถึง 700 พิโคเมตรต่อโวลต์(21) ให้ค่าดังแสดงใน'''รูปที่ 6''' ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก ของวัสดุ  
-
ให้ค่าดังแสดงในรูปที่ 2.16 ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก ของวัสดุ PLZT(3/52/48) มีค่าอยู่ที่ประมาณ 360 พิโคเมตรต่อโวลต์
+
PLZT(3/52/48) มีค่าอยู่ที่ประมาณ 360 พิโคเมตรต่อโวลต์
[[ไฟล์:กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก.jpg ]]
[[ไฟล์:กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก.jpg ]]
-
รูปที่ 6 กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (d33) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT
+
'''รูปที่ 6'''<ref>Uchino, K., Aizawa, M., Nomura, L. S. Photostrictive effect in (Pb, La) (Zr, Ti)O3. Ferroelectrics  64 (1985): 199-208.</ref> กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (d33) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT
 +
 
 +
== ปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ (Photostrictive effect) ในวัสดุ PLZT ==
 +
ปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ (photostrictive effect) คือ ปรากฏการณ์ที่วัสดุเกิดปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltaic effect)
 +
และปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกแบบผันกลับ (converse-piezoelectric effect) ได้ในเวลาเดียวกัน นั่นหมายความว่าในขณะที่
 +
วัสดุดังกล่าวถูกฉายด้วยแสงแล้วจะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะไปกระตุ้นการเกิดปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกแบบกลับผันทำ
 +
ให้วัสดุดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงเส้นดังแสดงใน'''รูปที่ 7''' ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์สองท่านในเวลาใกล้เคียงกัน
 +
คือ P.S. Brody<ref>Brody, P. S. Optomechanical bimorph actuator. Ferroelectrics  50 (1983): 27-32.</ref> และ K. Uchino<ref>Uchino, K., Poosanaas, P., Tonooka, K. Photostrictive actuators. Ferroelectrics  264 (2001): 303-308.</ref> ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยสมการด้านล่าง
 +
 
 +
                                      Xph = d33 x Eph
 +
โดยที่ Xph คือ ค่าโฟโตสทริกชัน (photostriction)
 +
d33 คือ ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric constant)
 +
Eph คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage)
 +
 
 +
[[ไฟล์:แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ.jpg]]
 +
'''รูปที่ 7'''<ref>Phungsripheng, S. Effects of Nitrogen Doping on photostrictive property of Lead Lanthanum Zirconate Titanate ferroelectric ceramics. Master's Thesis,  Department of Materials Science, Faculty of Science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 2013.</ref> แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก และปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริก
 +
 
 +
ปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟนี้เกิดขึ้นได้ในวัสดุเฟร์โรอิเล็กทริกชนิดเลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต เป็นเหตุให้วัสดุดังกล่าวได้รับความสนใจ
 +
เพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแสง เช่น ใช้ในการบังคับหุ่นยนต์ระยะไกลด้วยแสง หรือใช้ในการแปลงสัญญาณแสงไปเป็น
 +
สัญญาณเสียง หรือสร้างเป็นมอเตอร์แสง เป็นต้น<ref>Uchino, K. New applications of photostrictive ferroics. Material Research Innovations  1 (1997): 163-168.</ref>
 +
 
 +
== อ้างอิง ==
 +
<references/>

รุ่นปัจจุบันของ 08:45, 4 มิถุนายน 2556

ศิวัสม์ พึ่งศรีเพ็ง

เนื้อหา

เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT)

เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT) คือ วัสดุเฟร์โรอิเล็คทริกชนิดหนึ่งซึ่งมีโครงสร้างผลึกแบบ Perovskite และมีสูตรโครงสร้างอย่างง่าย คือ ABO3 โดยตะกั่วไอออนและแลนทานัมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ A ส่วนเซอร์โคเนียม ไอออนและไทเทเนียมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ B ดังเห็นแผนภาพจำลองได้ใน รูปที่ 1 ซึ่งสามารถเขียนสูตรทางเคมีได้เป็น

                                 Pb1-xLax(ZryTi1-y)1-x/4O3

ไฟล์:แผนภาพจำลองโครงสร้างของวัสดุ PLZT.jpg รูปที่ 1[1] แผนภาพจำลองโครงสร้างของวัสดุ PLZT

เนื่องจากโครงสร้างผลึกของ PLZT อยู่ในระบบผลึกเททระโกนัล (tetragonal) ดังในรูปที่ 1 และมีการเคลื่อนตัวออกจาก จุดศูนย์กลางเล็กน้อยของไอออนในตำแหน่ง B เป็นเหตุให้ผลึก ของวัสดุ PLZT มีการโพลาไรเซชันในตัวเอง ดังเห็นได้ชัดเจนใน รูปที่ 2 ซึ่งแสดงทิศทางของไดโพลในโครงสร้างผลึก และด้วยความยืดหยุ่นทางไดโพลนี้เองทำให้วัสดุดังกล่าวสามารถเปลี่ยนขั้วไดโพล ได้ด้วยสนามไฟฟ้า

ไฟล์:แผนภาพจำลองการโพลาไรเซชันของวัสดุ PLZT.jpg รูปที่ 2[2] แผนภาพจำลองการโพลาไรเซชันของวัสดุ PLZT

ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกในวัสดุ PLZT

เมื่อวัสดุ PLZT ถูกกระตุ้นด้วยแสงที่มีพลังงานมากกว่าช่องว่างแถบพลังงาน (energy band gap) ของ PLZT (~3.26 eV) จะทำให้อิเล็คตรอนถูกกระตุ้นจากแถบเวเลนซ์ (valence band) ขึ้นไปอยู่ในแถบการนำ (conduction band) ซึ่งช่วงความยาว คลื่นแสงที่มีค่าพลังงานเท่ากับ 3.26 eV อยู่ในช่วงประมาณ 380 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงของแสงอัลตราไวโอเล็ต ดังแสดงในรูปที่ 3

ไฟล์:แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกวัสดุ PLZT.jpg รูปที่ 3[3] แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกวัสดุ PLZT

จากผลงานวิจัยของ K. Uchino องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ PLZT ที่ก่อให้เกิดค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltaic power, Pph) สูงสุด คือ องค์ประกอบที่มีตะกั่วไอออน แลนทานัมไอออน เซอร์โคเนียมไอออนและไทเทเนียมไอออน อยู่ 97, 3, 52 และ 48 mol% ตามลำดับ ((Pb0.97La0.03)(Zr0.52Ti0.48)O3) ดังแสดงในซึ่งสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ อย่างง่าย คือ PLZT(3/52/48) ซึ่งให้ค่ากระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photocurent, Jph) อยู่ที่ 2.8 nA/cm และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) อยู่ที่ 1.8 kV/cm ซึ่งให้ค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจาก ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังเห็นได้จากกราฟ contour ค่ากระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photocurent Jph) และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) ในรูปที่ 4

ไฟล์:ค่า photocurrent และ photovoltage.jpg รูปที่ 4[4] กราฟ contour ค่า photocurrent (Jph) และค่า photovoltage (Eph) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT

นอกจากนี้ K. Uchino พบว่าความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกของ PLZT(3/52/48) คือ อยู่ที่ 366 นาโนเมตร เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังแสดงในรูปที่ 5

ไฟล์:48).jpg รูปที่ 5[5] กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงและ photocurent ของวัสดุ PLZT(3/52/48)

ปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกในวัสดุ PLZT

K. Uchino ทำการวัดค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric constant, d33) ของวัสดุ PLZT ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ พบว่าวัสดุ PLZT ให้ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริกสูง คือ มากกว่า 300 พิโคเมตรต่อโวลต์ ขึ้นไป โดยเฉพาะองค์ประกอบทางเคมี PLZT(8/63/37) ซึ่งให้ค่าคงที่เพียโซ-อิเล็กทริกสูงถึง 700 พิโคเมตรต่อโวลต์(21) ให้ค่าดังแสดงในรูปที่ 6 ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก ของวัสดุ PLZT(3/52/48) มีค่าอยู่ที่ประมาณ 360 พิโคเมตรต่อโวลต์

ไฟล์:กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก.jpg รูปที่ 6[6] กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (d33) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT

ปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ (Photostrictive effect) ในวัสดุ PLZT

ปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ (photostrictive effect) คือ ปรากฏการณ์ที่วัสดุเกิดปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltaic effect) และปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกแบบผันกลับ (converse-piezoelectric effect) ได้ในเวลาเดียวกัน นั่นหมายความว่าในขณะที่ วัสดุดังกล่าวถูกฉายด้วยแสงแล้วจะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะไปกระตุ้นการเกิดปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกแบบกลับผันทำ ให้วัสดุดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงเส้นดังแสดงในรูปที่ 7 ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์สองท่านในเวลาใกล้เคียงกัน คือ P.S. Brody[7] และ K. Uchino[8] ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยสมการด้านล่าง

                                     Xph = d33 x Eph

โดยที่ Xph คือ ค่าโฟโตสทริกชัน (photostriction) d33 คือ ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric constant) Eph คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage)

ไฟล์:แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ.jpg รูปที่ 7[9] แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก และปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริก

ปรากฏการณ์โฟโตสทริกทีฟนี้เกิดขึ้นได้ในวัสดุเฟร์โรอิเล็กทริกชนิดเลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต เป็นเหตุให้วัสดุดังกล่าวได้รับความสนใจ เพื่อนำไปใช้ในประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแสง เช่น ใช้ในการบังคับหุ่นยนต์ระยะไกลด้วยแสง หรือใช้ในการแปลงสัญญาณแสงไปเป็น สัญญาณเสียง หรือสร้างเป็นมอเตอร์แสง เป็นต้น[10]

อ้างอิง

  1. Haertling, G. H. Ferroelectric Ceramics: History and Technology. Journal of the American Ceramic Society 82 (1999): 797-818.
  2. Haertling, G. H. Ferroelectric Ceramics: History and Technology. Journal of the American Ceramic Society 82 (1999): 797-818.
  3. Poosanaas, P., Tonooka, K., Uchino, K. Photostrictive actuators. Mechatronics 10 (2000): 467-487.
  4. Uchino, K., Aizawa, M., Nomura, L. S. Photostrictive effect in (Pb, La) (Zr, Ti)O3. Ferroelectrics 64 (1985): 199-208.
  5. Uchino, K., Aizawa, M., Nomura, L. S. Photostrictive effect in (Pb, La) (Zr, Ti)O3. Ferroelectrics 64 (1985): 199-208.
  6. Uchino, K., Aizawa, M., Nomura, L. S. Photostrictive effect in (Pb, La) (Zr, Ti)O3. Ferroelectrics 64 (1985): 199-208.
  7. Brody, P. S. Optomechanical bimorph actuator. Ferroelectrics 50 (1983): 27-32.
  8. Uchino, K., Poosanaas, P., Tonooka, K. Photostrictive actuators. Ferroelectrics 264 (2001): 303-308.
  9. Phungsripheng, S. Effects of Nitrogen Doping on photostrictive property of Lead Lanthanum Zirconate Titanate ferroelectric ceramics. Master's Thesis, Department of Materials Science, Faculty of Science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 2013.
  10. Uchino, K. New applications of photostrictive ferroics. Material Research Innovations 1 (1997): 163-168.
รับข้อมูลจาก "https://chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=PLZT_Ceramics"
เครื่องมือส่วนตัว