วัสดุเชิงประกอบพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยาง

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ' งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมวัสดุเชิงประกอบพอลิ…')
 
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 1: แถว 1:
-
        งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมวัสดุเชิงประกอบพอลิบิวทิลีนซักซิเนตที่มีผงไม้ยางในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 20, 30 และ 40 โดยน้้าหนัก ผ่านกระบวนการผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่และตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน อุณหภูมิการสลายตัว ปริมาณผลึกและดรรชนีการไหลของคอมพาวนด์ด้วยเทคนิค FTIR, TGA, DSC และ MFI ตามล้าดับ จากนั้นขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบเพื่อน้าไปศึกษาถึงผลของปริมาณผงไม้ยางต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อนและการย่อยสลายทางชีวภาพเทียบกับพีวีซีแข็ง
+
 
-
          จากผลการทดลองพบว่า ค่ามอดุลัสของชิ้นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณของผงไม้ยางที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดลดลงและความทนแรงกระแทกลดลงเล็กน้อยที่ปริมาณผงไม้ยางร้อยละ 20 โดยน้้าหนัก จากการทดสอบสมบัติทางความร้อนได้แก่ สัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนและอุณหภูมิโก่งตัวด้วยความร้อนพบว่าเมื่อปริมาณผงไม้ยางเพิ่มมากขึ้นชิ้นทดสอบมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนลดลงและมีอุณหภูมิโก่งตัวด้วยความร้อนสูงขึ้นซึ่งแสดงถึงชิ้นทดสอบสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้น อีกทั้งอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของชิ้นทดสอบสูงขึ้นตามปริมาณผงไม้ยาง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการทดสอบของพีวีซีแข็งพบว่าอัตราส่วนของไม้ยางที่เหมาะสมคือร้อยละ 20 โดยน้้าหนัก เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่มีการปรับปรุงค่ามอดุลัสเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดและค่าความทนแรงกระแทกไม่แตกต่างจากค่าของพีวีซีแข็งมากนัก แม้การขยายตัวทางความร้อนต่้ากว่าพีวีซีแต่มีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งานสูงกว่า
+
== วัสดุเชิงประกอบพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยางเพื่อทดแทนพีวีซีแข็ง ==
 +
 
 +
== POLYBUTYLENE SUCCINATE/RUBBERWOOD POWDER FOR REPLACING RIGID PVC ==
 +
 
 +
งานวิจัยนี้ ศึกษาการเตรียมวัสดุเชิงประกอบของพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยาง ในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนัก ผ่านกระบวนการผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ และตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน อุณหภูมิการสลายตัว ปริมาณผลึก และค่าดรรชนีการไหลของคอมพาวนด์ด้วยเทคนิค FTIR, TGA, DSC และ MFI ตามลำดับ จากนั้นขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ เพื่อนำไปศึกษาถึงผลของปริมาณผงไม้ยางต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสมบัติการย่ยสลายทางชีวภาพเทียบกับพีวีซีแข็งเพื่อเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบทดแทนในผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง โดยจากการทดสอบพบว่า ค่ามอดุลัสของชิ้นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณของผงไม้ยางที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดลดลงและความทนแรงกระแทกลดลงเล็กน้อยที่ปริมาณผงไม้ยางร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน ได้แก่ สัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนและอุณหภูมิโก่งตังด้วยความร้อน พบว่าเมื่อปริมาณผงไม้ยางเพิ่มมากขึ้น ชิ้นทดสอบมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนลดลงปละมีอุณหภูมิโก่งตัวด้วยความร้อนสูงขึ้น ซึ่งแสดงถึงชิ้นทดสอบสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้น อีกทั้งอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของชิ้นทดสอบสูงขึ้นตามปริมาณผงไม้ยาง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการทดสอบของพีวีซีแข็ง พบว่าอัตราส่วนของไม้ยางที่ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ช่วยปรับปรุงค่ามอดุลัสของวัสดุเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดและค่าความทนแรงกระแทกไม่แตกต่างจากพีวีซีแข็งมากนัก และมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งานสูงกว่า

รุ่นปัจจุบันของ 14:39, 5 สิงหาคม 2557

วัสดุเชิงประกอบพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยางเพื่อทดแทนพีวีซีแข็ง

POLYBUTYLENE SUCCINATE/RUBBERWOOD POWDER FOR REPLACING RIGID PVC

งานวิจัยนี้ ศึกษาการเตรียมวัสดุเชิงประกอบของพอลิบิวทิลีนซักซิเนตและผงไม้ยาง ในอัตราส่วนร้อยละ 5, 10, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนัก ผ่านกระบวนการผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ และตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน อุณหภูมิการสลายตัว ปริมาณผลึก และค่าดรรชนีการไหลของคอมพาวนด์ด้วยเทคนิค FTIR, TGA, DSC และ MFI ตามลำดับ จากนั้นขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ เพื่อนำไปศึกษาถึงผลของปริมาณผงไม้ยางต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสมบัติการย่ยสลายทางชีวภาพเทียบกับพีวีซีแข็งเพื่อเตรียมเป็นวัสดุเชิงประกอบทดแทนในผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง โดยจากการทดสอบพบว่า ค่ามอดุลัสของชิ้นทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณของผงไม้ยางที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดลดลงและความทนแรงกระแทกลดลงเล็กน้อยที่ปริมาณผงไม้ยางร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก จากการทดสอบสมบัติทางความร้อน ได้แก่ สัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนและอุณหภูมิโก่งตังด้วยความร้อน พบว่าเมื่อปริมาณผงไม้ยางเพิ่มมากขึ้น ชิ้นทดสอบมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนลดลงปละมีอุณหภูมิโก่งตัวด้วยความร้อนสูงขึ้น ซึ่งแสดงถึงชิ้นทดสอบสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้น อีกทั้งอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพของชิ้นทดสอบสูงขึ้นตามปริมาณผงไม้ยาง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการทดสอบของพีวีซีแข็ง พบว่าอัตราส่วนของไม้ยางที่ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ช่วยปรับปรุงค่ามอดุลัสของวัสดุเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าการยืดตัวที่แรงสูงสุดและค่าความทนแรงกระแทกไม่แตกต่างจากพีวีซีแข็งมากนัก และมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งานสูงกว่า

เครื่องมือส่วนตัว