รวบรวมเกร็ดความรู้ เรื่อง ศัพท์บัญญัติ และ คำทับศัพท์ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(1. คำว่า "สันทนาการ" ไม่ควรใช้ (ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน))
(ศัพท์บัญญัติ (ตอนที่ 1))
 
(การแก้ไข 3 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 36: แถว 36:
'''สรุปว่า คำว่า “physical” จะใช้ว่า “-กายภาพ” หรือ “-เชิงฟิสิกส์” ก็ขึ้นอยู่กับนัยความหมาย และ คำว่า “property” ควรใช้คำภาษาไทยว่า “สมบัติ” (ไม่ใช่ ‘คุณสมบัติ’ ซึ่งจะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า ‘qualification’ หรือ ‘eligibility’ มากกว่า)'''
'''สรุปว่า คำว่า “physical” จะใช้ว่า “-กายภาพ” หรือ “-เชิงฟิสิกส์” ก็ขึ้นอยู่กับนัยความหมาย และ คำว่า “property” ควรใช้คำภาษาไทยว่า “สมบัติ” (ไม่ใช่ ‘คุณสมบัติ’ ซึ่งจะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า ‘qualification’ หรือ ‘eligibility’ มากกว่า)'''
 +
 +
 +
 +
== 3. ศัพท์บัญญัติ (ตอนที่ 1) ==
 +
 +
 +

รุ่นปัจจุบันของ 17:37, 23 พฤศจิกายน 2557

1. คำว่า "สันทนาการ" ไม่ควรใช้ (ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

คำว่า “นันทนาการ” นี้ มักมีกลุ่ม ชมรม หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐเองเป็นจำนวนมาก ยังใช้คำว่า “สันทนาการ” อยู่ แต่หลายท่านคงไม่ทราบว่า คำว่า “สันทนาการ” นั้นไม่มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายถึงเหตุที่คำว่า “สันทนาการ” จึงไม่มีอยู่ในพจนานุกรมฯ ว่าคำว่า “สันทนาการ” เป็นศัพท์เก่าที่กรมวิชาการบัญญัติ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกและใช้กันจนเป็นที่แพร่หลายแทนคำในภาษาอังกฤษ ว่า “Recreation” แต่ต่อมาภายหลังราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานทางภาษาของชาติ เห็นว่าคำว่า “สันทนาการ” นั้นมีความหมายไม่ตรงกับ คำว่า “Recreation” (ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่ทำตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด) คำว่า “สันทนาการ”* ตามรูปศัพท์แล้ว แปลว่า “การไหล” ซึ่งไม่ตรงกับความหมายของคำว่า “recreation” เลยแม้แต่น้อย ราชบัณฑิตยสถานจึงบัญญัติให้ใช้ศัพท์ใหม่ว่า “นันทนาการ” ซึ่งมีความหมายตามรูปศัพท์ตรงกับคำว่า “Recreation” อย่างแท้จริง

สรุปว่า คำว่า “สันทนาการ” เป็นคำเก่าที่เลิกใช้แล้ว และให้ใช้คำว่า “นันทนาการ” แทน

จะสังเกตเห็นว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีองค์กร หน่วยงาน หรือชมรมหลายแห่ง ได้ทยอยเปลี่ยนชื่อและป้ายองค์กร ที่เดิมใช้คำว่า “สันทนาการ” เป็นคำว่า “นันทนาการ” แทนแล้ว เช่น สำนักงานพัฒนากีฬาและนันทนาการ (Office of Sports and Recreation Development) ของกระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา เป็นต้น



*กรมวิชาการคงนำศัพท์มาจากคำว่า “สังสันทนา” หมายถึง การพูดคุยหรือพูดจาหารือกันอย่างเป็นกันเอง ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความบันเทิงใจอย่างหนึ่ง แต่ก็มีความหมายแคบกว่า “นันทนาการ”



2. การใช้ศัพท์บัญญัติของคำว่า “physical” และ “property” ในภาษาไทย

คำว่า physical เมื่อนำไปประกอบกับคำอื่นแล้ว คนไทยมักแปลว่า -กายภาพ เสมอ ความจริงแล้ว คำว่า physical มีความหมายสองนัย คือ

๑. เกี่ยวกับร่างกาย วัตถุสิ่งของ สิ่งที่ปรากฎหรือจับต้องสัมผัสได้ หรือสิ่งรูปธรรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยความหมายนี้จึงใช้ว่า “-กายภาพ” ได้

๒. เกี่ยวกับลักษณะ ภาวะ กระบวนการ กลไก หรือความเป็นไปตามธรรมชาติ คำว่า physical ในความหมายนี้ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า physics และใช้คำภาษาไทยว่า “-เชิงฟิสิกส์” หรือ “-ทางฟิสิกส์” คือเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์นั่นเอง


ดังนั้น คำว่า physical เมื่อนำไปประกอบกับศัพท์คำอื่น จะใช้ว่า “-กายภาพ” หรือ “-ทางฟิสิกส์”/“-เชิงฟิสิกส์” ก็แล้วแต่นัยความหมาย เช่น

ไฟล์:Physical_&_property.jpg


อนึ่ง ในตัวอย่างคำสุดท้าย พึงสังเกตว่า คำว่า property นั้น ใช้ศัพท์ภาษาไทยว่า “สมบัติ” ไม่ใช่ ‘คุณสมบัติ’ อย่างที่หลายคนนิยมใช้กัน ทั้งนี้ คำว่า “สมบัติ” เป็นศัพท์บัญญัติทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ลักษณะจำเพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ซึ่งอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษก็ได้) เช่น ฟอสฟีน มีสมบัติเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายกระเทียมหรือปลาเน่า มีจุดเดือดที่ -87.7 องศาเซลเซียส จุดหลอมเหลวที่ -133.5 องศาเซลเซียส สามารถลุกติดไฟได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศหรือเมื่อมีการสะสมเป็นปริมาณมาก ๆ และสามารถระเบิดได้โดยปราศจากแหล่งจุดติดไฟ หากรับประทานหรือสูดดมเข้าไป จะเกิดอาการปวดฟัน ขากรรไกร บวม มีการตายของเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกขากรรไกรล่าง คลื่นไส้ อาเจียน ไอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ตัวเหลือง ชากล้ามเนื้อไม่ประสานกัน หายใจลำบาก ปอดบวมน้ำ หัวใจเต้นผิดปกติ ชักและอาจตายได้ภายใน 4 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์ (จะเห็นได้ว่าสมบัตินี้ไม่เป็นคุณต่อชีวิตมนุษย์เท่าใดนัก) ส่วนคำว่า “คุณสมบัติ” หมายถึง คุณงามความดี คุณลักษณะประจําตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ ดังนี้เป็นต้น


สรุปว่า คำว่า “physical” จะใช้ว่า “-กายภาพ” หรือ “-เชิงฟิสิกส์” ก็ขึ้นอยู่กับนัยความหมาย และ คำว่า “property” ควรใช้คำภาษาไทยว่า “สมบัติ” (ไม่ใช่ ‘คุณสมบัติ’ ซึ่งจะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า ‘qualification’ หรือ ‘eligibility’ มากกว่า)


3. ศัพท์บัญญัติ (ตอนที่ 1)


ผู้เขียน

ดร.ชนินทร์ วิศวินธานนท์

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

กรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมไฟฟ้า ราชบัณฑิตยสถาน

เครื่องมือส่วนตัว