ทองคำ
จาก ChulaPedia
(→การคำนวณราคาทองคำในประเทศไทย) |
(→ปัจจัยที่กำหนดราคาทองคำ) |
||
(การแก้ไข 7 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | '' | + | ''บทความนี้จะอธิบายถึงทองคำ โดยเฉพาะการซื้อขายทองคำแท่งในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ และมูลค่าในทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการปรับปรุงจากบทความใน Web blog ของ อาจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม'' <ref>[[http://mblog.manager.co.th/piti31/3-631 ราคาทองคำ... ทำไมต้องรายงานกันทุกวัน มันสำคัญนักเหรอ ]]</ref><ref>[[http://mblog.manager.co.th/piti31/4-464 จากราคาทองคำในตลาดโลก สู่ราคาทองคำในร้านทองที่เยาวราช]]</ref><ref>[[http://mblog.manager.co.th/piti31/5-290 จะลงทุนในทองคำ... ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง]]</ref> |
[[ไฟล์:gold1.jpg]] | [[ไฟล์:gold1.jpg]] | ||
แถว 39: | แถว 39: | ||
[[ไฟล์:goldformula.jpg]] | [[ไฟล์:goldformula.jpg]] | ||
+ | |||
+ | จากสูตรนี้ ทางด้านขวามือของสมการ พจน์ (Terms) แรกหรือส่วนแรกของสูตรคือการเปลี่ยนจากน้ำหนักทองเป็นออนซ์ให้อยู่ในรูปของน้ำหนักทองเป็นบาท พจน์ตรงกลางคือการปรับระดับความบริสุทธิ์จาก 99.5% ให้เป็น 96.5% ที่นิยมซื้อขายกันในประเทศไทย และพจน์สุดท้ายคือปรับราคาจากในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐให้กลายเป็นราคาในรูปของเงินบาท | ||
+ | |||
+ | ดังนั้นถ้าอ่านหนังสือพิมพ์และพบว่าในวันที่ 14 สิงหาคม 2552 ราคาทองคำแท่งที่ซื้อขายกันในตลาดโลกเท่ากับ 995.87 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนั้นเท่ากับ 34.080 บาท/ดอลลาร์ โดยอาศัยสูตรการคำนวณด้านบน เราก็สามารถคำนวณได้ว่าราคาทองคำแท่งควรอยู่ที่ระดับ 16,132.30 บาท | ||
+ | |||
+ | แน่นอนว่าราคาทองคำซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีสภาพคล่องสูง (มีความสามารถในการเปลี่ยนกลับเป็นเงินตราได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำในระยะเวลาที่สั้นด้วยความสะดวก) และทุกคนมีข่าวสารข้อมูลค่อนข้างสมบูรณ์ครบถ้วน (โดยเฉพาะร้านทอง) ราคาทองคำแท่งที่ร้านทองเขียนแสดงไว้ที่หน้าร้านก็จะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคานี้ด้วยเช่นกัน บางครั้งราคาที่หน้าร้านทองอาจสูงกว่านี้บ้างประมาณ 80 – 100 บาทซึ่งถือเป็นส่วนที่ร้านทองจะได้กำไร หรือในทางเศรษฐศาสตร์ก็คือต้นทุนการดำเนินการ (Transaction Costs) ที่ร้านทองจะต้องใช้ในการเอาทองคำแท่งมาขายให้กับผู้ซื้อ | ||
+ | |||
+ | ทองคำแท่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่เหมือนกันหมดในทุกๆ หน่วย เพราะเกิดจากการหลอมทองเท่านั้น ดังนั้นราคาทองคำแท่งจึงมีราคาในประเทศและราคาในตลาดโลกที่ไม่ค่อยต่างกันมากนัก อย่างที่อธิบายแล้วข้างต้นว่าราคาทองคำอาจต้องมีการบวกค่า Transaction Costs เพิ่มเข้าไปอีก 80 – 100 บาท และเมื่อร้านทองรับซื้อทองคำแท่งคืนจากเราไปก็สามารถนำไปขายต่อได้ทันที ดังนั้นราคารับซื้อคืนกับราคาขายออกจึงไม่ต่างกันมาก โดยปกติราคาจะต่างกันเพียง 100 บาทเท่านั้น เช่น ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2552 เวลา 9.17 น. ทองคำแท่งมีราคาขายออกที่ 15,250 บาทและมีราคารับซื้อที่ 15,150 บาท โดยส่วนต่าง 100 บาทนี้ก็คือค่า Transaction Costs ที่ร้านทองต้องมาเสียเวลา เสียกำลังคนในการทำธุรกรรม | ||
+ | |||
+ | |||
+ | == ปัจจัยที่กำหนดราคาทองคำ == | ||
+ | |||
+ | จากสูตรคำนวณที่นำเสนอไปแล้วข้างต้น ทำให้สามารถพิจารณาได้ว่าปัจจัยที่จะทำให้ทองคำเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของเงินบาทจะมีปัจจัยหลักๆ 2 ด้าน นั่นคือราคาทองคำในตลาดโลกเอง และอัตราแลกเปลี่ยน โดยปัจจัยที่จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้นในตลาดโลกก็ขึ้นกับความต้องการซื้อและปริมาณทองคำที่ออกขายในตลาดโลก หรือเป็นไปตามกลไกตลาด อุปสงค์ (Demand) – อุปทาน (Supply) นั่นเอง | ||
+ | |||
+ | ด้านอุปสงค์ ทองคำนอกจากเพื่อการลงทุนแล้ว ทองคำยังถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการคลัง, ทองคำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทองคำถูกนำมาให้ในวงการอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม และยังใช้ประโยชน์ในวงการแพทย์และทันตกรรม ดังนั้นเมื่ออุปสงค์ต่อทองคำเพิ่มสูงขึ้นราคาทองคำก็จะปรับเพิ่มสูงขึ้น | ||
+ | |||
+ | ในขณะที่ปริมาณทองคำ หรืออุปทานของทองคำมีค่อนข้างจำกัด เหมืองทองทั่วโลกผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ปริมาณทองคำส่วนใหญ่ถูกใช้ในการสำรองเพื่อแสดงฐานะทางการเงินการคลังทั้งในระดับประเทศ และในสถาบันการเงินต่างๆ | ||
+ | |||
+ | ดังนั้นถ้าเราได้ยินข่าว เช่น เกิดภาวะวิกฤตในตลาดการเงิน (เช่นในช่วงตกต่ำสุดของวิกฤต Sub-prime ในสหรัฐอเมริกา) ทำให้การถือครองตราสารทางการเงินกลายเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง (คนไม่กล้าถือหุ้น หรือตราสารกระดาษแทนเงินต่างๆ) ถ้าเป็นเช่นนี้เราก็จะวิเคราะห์ได้ว่า นักลงทุนส่วนหนึ่งก็จะสนใจลงทุนในทองคำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้มีความต้องการซื้อทองคำมากขึ้น และดันให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลกนั่นเอง หรืออีกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราได้ข่าวว่า ประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศในตะวันออกกลางซึ่งมีเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะสะสมทองคำเพื่อเป็นเงินทุนสำรองของประเทศตนเองมากยิ่งขึ้น ข่าวแบบนี้ก็แสดงให้เห็นว่าราคาทองคำจะยิ่งปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากมีทั้งความต้องการถือทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในระดับประเทศ แล้วยังจะทำให้ปริมาณทองคำที่มีขายในตลาดลดลงอีกอย่างมาก เนื่องจากทองคำจะถูกเก็บเข้าไปในคลังของประเทศเหล่านี้ ดังนั้นเมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้น แต่อุปทานกลับลดลง ราคาสินค้าก็จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น | ||
+ | |||
+ | ส่วนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อใดที่เงินบาทอ่อนค่า (Depreciation) เราก็ต้องจ่ายเงินบาทมากขึ้นเพื่อซื้อทองคำปริมาณเท่าเดิม แต่เมื่อเงินบาทแข็งค่า (Appreciation) เราก็จะจ่ายเงินบาทน้อยลงในการซื้อทองคำปริมาณเท่าเดิม โดยถ้าเราพิจารณาเงินตราต่างประเทศว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง เช่น สินค้าที่เรียกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ 1 ชิ้น (1 ดอลลาร์) มีราคา (อัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับ 34.219 บาท ดังนั้นตามกฎของอุปสงค์-อุปทาน ถ้าคนไทยต้องการซื้อของจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เราก็จะมีอุปสงค์ต่อเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มมากขึ้น ราคาเงินดอลลาร์ก็จะปรับสูงขึ้นค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลง หรือถ้าคนไทยต้องการแลกเงินเพื่อไปชำระหนี้ต่างประเทศมากขึ้นเราก็จะมีอุปสงค์ต่อเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มมากขึ้น ราคาเงินดอลลาร์ก็จะปรับสูงขึ้นค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลงเช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้ามถ้าต่างชาติอยากซื้อของจากไทยมากขึ้น อยากเข้ามาเที่ยว เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเข้ามาเปิดโรงงาน หรือเข้ามาซื้อหุ้น ต่างชาติก็จะขนเงินดอลลาร์เข้ามาเพิ่มขึ้น อุปทานของเงินดอลลาร์สหรัฐที่ออกขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็จะเพิ่มมากขึ้น ราคาเงินดอลลาร์ก็จะปรับตัวลดลง ค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลง ดังนั้นถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนอย่างไร โดยเราพบว่าอุปสงค์อุปทานที่เกิดขึ้นจากการค้าขายสินค้าและบริการเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับอุปสงค์อุปทานที่เกิดขึ้นจากการลงทุนระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ อยู่ที่อัตรา 30:70 นั่นคืออุปสงค์อุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านการลงทุนทั้งทางการเงินและลงทุนแท้จริงจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าอุปสงค์อุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านซื้อขายสินค้าและบริการ เมื่อเราทราบข่าวสารข้อมูลเหล่านี้แล้ว เราก็สามารถจะคาดการณ์คร่าวๆ ถึงทิศทางการปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างง่ายๆ ได้ | ||
+ | |||
+ | โดยสรุปเราสามารถจำแนกสถานการณ์ราคาทองคำออกมาได้เป็น 4 สถานการณ์ดังนี้ | ||
+ | |||
+ | '''สถานการณ์ที่ 1''': ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาสูงขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาสูงที่สุด ดังนั้นนักลงทุนควรขายทองคำที่ตนถือครองไว้เพื่อทำกำไรในช่วงนี้อย่างยิ่ง | ||
+ | |||
+ | '''สถานการณ์ที่ 2''': ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาสูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาสูงขึ้นหรือลดต่ำลงก็ได้ ขึ้นกับขนาดของการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นนักลงทุนควรต้องระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น | ||
+ | |||
+ | '''สถานการณ์ที่ 3''': ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาลดลง และค่าเงินบาทอ่อนค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาสูงขึ้นหรือลดต่ำลงก็ได้ ขึ้นกับขนาดของการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นนักลงทุนควรต้องระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น | ||
+ | |||
+ | '''สถานการณ์ที่ 4''': ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาลดลง และค่าเงินบาทแข็งค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาลดต่ำลงมากที่สุด ดังนั้นนักลงทุนควรเข้าซื้อทองคำในช่วงนี้อย่างยิ่ง | ||
+ | |||
+ | --[[ผู้ใช้:Spiti|Spiti]] 02:41, 18 สิงหาคม 2553 (BST) | ||
+ | |||
+ | == เอกสารอ้างอิง == | ||
+ | <references/> |
รุ่นปัจจุบันของ 07:02, 18 สิงหาคม 2553
บทความนี้จะอธิบายถึงทองคำ โดยเฉพาะการซื้อขายทองคำแท่งในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ และมูลค่าในทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการปรับปรุงจากบทความใน Web blog ของ อาจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม [1][2][3]
เนื้อหา |
ทองคำและความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ทุกๆ อารยธรรมทั่วโลกต่างยอมรับว่า ทองคำถือเป็นโลหะที่มีค่าในตัวมันเอง ถึงขนาดที่ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 14 – 16 ชาวตะวันตกมองว่าทองคำเป็นเพียงวัตถุเดียวที่ใช้ในการสะสมความมั่งคั่ง กลุ่มนักคิดพาณิชยนิยม (Mercantilism) จึงสนับสนุนการจัดตั้งกองกำลังขึ้นมาเพื่อออกล่าอาณานิคม เพียงเพื่อจะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ และแหล่งระบายสินค้าที่ตนเองผลิตได้มาขึ้นหลักจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (ศตวรรษที่ 16 – 17) และการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ศตวรรษที่ 18)
เพราะเมื่อได้วัตถุดิบที่ยังคับซื้อมาในราคาถูกจากอาณานิคม และยังบังคับขายสินค้าที่ผลิตได้ให้กับอาณานิคมในราคาแพง การเกินดุลการค้า (กำไรมหาศาล) จึงเกิดขึ้นและเป็นที่มาของทองคำที่ไหลเข้ามาในประเทศเจ้าอาณานิคมเพื่อชำระค่าสินค้า อีกทั้งยังอาจค้นพบเหมืองหรือแหล่งแร่ทองคำในประเทศอาณาณิคมซึ่งก็ยิ่งทำให้สามารถขนทองคำกลับมายังประเทศเจ้าอาณานิคมได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ทองคำที่เพิ่มมากขึ้นก็สามารถนำมาใช้จ้างทหารรับจ้างเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักรของตนเองได้มากยิ่งขึ้น
ดังนั้นตั้งแต่ยุคกลางของประวัติศาสตร์ยุโรป ทองคำจึงเป็นสิ่งมีค่าที่ใช้ในการสะสมความมั่งคั่ง (Wealth) และความมั่นคงของชาติ โดยระบบความเชื่อนี้ก็ยังคงฝังรากลึกในตัวมนุษย์มาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าที่มาของตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลกที่ชื่อ The Wealth of Nations ที่แต่งโดยบิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์ Adam Smith จะพยายามอย่างยิ่งที่จะพิสูจน์ว่า ความมั่งคั่งของชาติไม่ได้อยู่ที่ปริมาณทองคำที่ประเทศนั้นๆ สะสมไว้ หากแต่อยู่ที่ปริมาณสินค้าและบริการที่ประชาชนในประเทศนั้นๆ สามารถนำมาบริโภคเพื่อสร้างความพึงพอใจและสวัสดิการสังคมต่างหาก แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ยังยกให้ทองคำเป็นสุดยอดแห่งเครื่องสะสมความมั่งคั่งอยู่นั่นเอง
แม้แต่ในประเทศไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยก็ยกให้ทองคำเป็นเครื่องสะสมความมั่งคั่งเช่นเดียวกัน สามารถพิจารณาได้จากสุภาษิตคำพังเพยหลายๆ บทที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของทองคำ เช่น ทองคำถูกใช้เป็นเครื่องวัดความมีฐานะมีหน้ามีตาในสังคม ในสุภาษิตที่ว่า “มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่” หรือทองคำถูกแสดงให้เห็นว่าเป็นเครื่องสะสมมูลค่า (Store of Value) และเป็นสินทรัพย์ที่ทุกคนหวงแหน และเป็นสื่อกลางการลงทุนที่ทุกคนนิยมเลือกลงทุนในทองคำเป็นอันดับแรก แม้ว่าจะยังมีฐานะไม่ค่อยดีนักก็ตาม ดังที่นิยมกล่าวกันว่า “มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว” เวลาคนไทยเปรียบเทียบของที่ดีเลิศ ของที่มีมูลค่าสูง มีคุณค่าสูง ทองคำก็จะถูกนำมาใช้เปรียบเปรยเสมอ เช่นในคำกล่าวที่ว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ดังนั้นในสังคมไทยก็เช่นเดียวกับในสังคมอื่นๆ นั่นคือ ทองคำถูกยกให้เป็นของมีค่า มีราคา
ทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Goods) ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันในแทบจะทุกตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Market) ทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์เนื่องจากมีลักษณะ มีคุณสมบัติที่เหมือนกันเกือบทุกประการไม่ว่าจะผลิตจากแหล่งใดในโลก โดยมีการกำหนดมาตรฐานทั้งในแง่ของน้ำหนักที่ทำการซื้อขาย รวมทั้งมีการกำหนดระดับความบริสุทธิ์ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอีกด้วย ทองคำเป็นโลหะที่มีค่าในตัวมันเอง สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และบริการหลายๆ ประเภท รวมทั้งยังถูกใช้เป็นสินทรัพย์ที่เป็นทางเลือกที่ดีประเภทหนึ่งในการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย โดยเฉพาะในประเทศที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาระบบตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งยังไม่มีความหลากหลายในตราสารทางการเงินให้เลือกลงทุนมากประเภทนัก ทองคำก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการลงทุนที่ดีประเภทหนึ่ง ในช่วงที่ค่าเงินสกุลหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐเกิดการอ่อนค่า หลายๆ ประเทศเช่น ประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางก็ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk) โดยการขอรับชำระค่าน้ำมันที่ขายออกไปโดยทองคำ
ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้องการลดความเสี่ยงในการสำรองเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของตนในช่วงที่ผ่านมา ที่เคยถือเงินดอลลาร์สหรัฐในสัดส่วนที่สูงก็เลือกที่จะแปรสภาพเงินดอลลาร์ที่ตนถือเป็นเงินสกุลหลักอื่นๆ เช่น ยูโร และถือทองคำเป็นทุนสำรองก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วโดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2001 - 2005 นอกจากนี้ประเทศไทยและเกือบทุกประเทศในโลกก็ยังมีการสำรองสะสมทองไว้ในลักษณะของสินทรัพย์สำรองที่แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งและแสดงถึงฐานะของชาติอีกด้วย
การวัดปริมาณและนำหนักทองคำ
แต่ละประเทศก็มีการใช้หน่วยวัดปริมาตรทองคำที่ทำการซื้อขายในหน่วยที่แตกต่างกันไป เช่น บางประเทศกำหนดราคาโดยเทียบกับน้ำหนักทองในหน่วยเป็น “กรัม” บางประเทศ เช่น จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน วัดปริมาตรหรือน้ำหนักของทองคำในหน่วย “ตำลึง” แต่ในประเทศตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรต, อินเดีย และสิงคโปร์ใช้หน่วย “โทลา” ในการชั่งน้ำหนักทอง และที่เรามักจะได้ยินกันเสมอๆ ในการรายงานข่าวในสื่อต่างๆ และถือเป็นมาตรฐานในการวัดน้ำหนักทองคำในการซื้อขายในตลาดโลกคือการกำหนดราคาทองคำเป็นดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักทองคำ 1 ออนซ์ หรือ 1 เอานซ์ ในขณะที่ในประเทศไทย เราจะนิยมวัดน้ำหนักทองคำโดยใช้หน่วยเป็น “บาท”
โดยปกติแล้วน้ำหนักทองคำมาตรฐานที่ใช้กันในการซื้อขายเขาจะกำหนดหน่วยที่เรียกว่า “ทรอย เอานซ์ (Troy Ounce)” ซึ่งเป็นหน่วยวัดเก่าแก่โบราณตั้งแต่สมัยเมืองทรอย สมัยโรมันเรืองอำนาจ โดยทองคำ 1 ทรอยเอานซ์ หรือ 1 ออนซ์จะหนักเท่ากับ 31.1034768 กรัมครับ และทองคำในประเทศไทยหนัก 1 บาทจะหนักเท่ากับ 15.244 กรัม ดังนั้นเมื่อเทียบบัญญัติไตรยางค์เราก็จะสามารถคำนวณได้ว่าทองคำ 1 ออนซ์จะหนักเท่ากับ 2.040375 บาทครับ (=31.1034768 / 15.244) หรือเทียบคร่าวๆ ก็คือ 1 ออนซ์ จะหนักเท่ากับทองคำประมาณ 2 บาท
ความบริสุทธิ์ของทองคำ
ทองคำที่ขายกันในตลาดโลกมีหลายระดับความบริสุทธิ์ของเนื้อทองคำอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ทองคำบริสุทธิ์ 99.99 หรือทองคำ Four-9 นั้นจะเป็นทองคำที่มีระดับความบริสุทธิ์สูงที่สุดที่ทำการซื้อขายกัน โดยในเนื้อของทองคำแท่งประเภทนี้ 10,000 ส่วนจะมีทองคำแท้ปนอยู่ 9,999 ส่วน ในขณะที่ทองคำที่ชาวตะวันตกนิยมใส่เป็นเครื่องประดับกันนั้นจะมีปริมาณทองคำในสัดส่วนที่ลดลง ดังที่เรามักจะเห็นว่าฝรั่งชอบใส่ทองสีซีดๆ กัน โดยทองคำเหล่านี้ก็จะมีความบริสุทธิ์ต่างๆ กันออกไปอีกครับ เช่น ทองคำ 22K ก็จะมีความบริสุทธิ์ที่ระดับ 91.66% หรือในเนื้อของทองคำแท่ง 1,000 ส่วนจะมีทองคำแท้ปนอยู่ 916.6 ส่วน
แต่ทองคำที่คนไทยนิยมใส่กันและเป็นมาตรฐานที่ซื้อขายในประเทศไทยจะมีความบริสุทธิ์อยู่ที่ระดับ 96.5% (ในเนื้อของทองคำแท่ง 1,000 ส่วนจะมีทองคำแท้ปนอยู่ 965 ส่วน) ซึ่งก็จะเป็นทองคำที่มีสีทองอร่ามสุกปลั่งแบบที่ชาวไทยและชาวเอเซียส่วนใหญ่นิยมใช้กัน
โดยที่ระดับความบริสุทธิ์มาตรฐานของทองคำที่ซื้อขายกันในตลาดโลกจะอยู่ที่ระดับ 99.5% (ในเนื้อของทองคำแท่ง 1,000 ส่วนจะมีทองคำแท้ปนอยู่ 995 ส่วน)
การคำนวณราคาทองคำในประเทศไทย
ในการคำนวณราคาทองคำ มีข้อที่ต้องคำนึงถึง 2 ประการ นั่นคือ ระดับราคาที่ประกาศมีหน่วยเป็นดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักทองคำ 1 ออนซ์ ในขณะที่ในประเทศไทยเรานิยมกำหนดราคาทองโดยใช้น้ำหนักเป็น “บาท” และประการที่ 2 ทองคำที่ขายในตลาดโลกมีความบริสุทธิ์ที่ระดับ 99.5% แต่ทองคำที่ขายกันในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีความบริสุทธิ์ที่ระดับ 96.5% ดังนั้นเมื่อเราได้ข้อมูลราคาทองคำที่ซื้อขายในตลาดโลกเราจึงต้องมีสูตรการคำนวณเพื่อหาราคาทองคำในประเทศไทยดังนี้
จากสูตรนี้ ทางด้านขวามือของสมการ พจน์ (Terms) แรกหรือส่วนแรกของสูตรคือการเปลี่ยนจากน้ำหนักทองเป็นออนซ์ให้อยู่ในรูปของน้ำหนักทองเป็นบาท พจน์ตรงกลางคือการปรับระดับความบริสุทธิ์จาก 99.5% ให้เป็น 96.5% ที่นิยมซื้อขายกันในประเทศไทย และพจน์สุดท้ายคือปรับราคาจากในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐให้กลายเป็นราคาในรูปของเงินบาท
ดังนั้นถ้าอ่านหนังสือพิมพ์และพบว่าในวันที่ 14 สิงหาคม 2552 ราคาทองคำแท่งที่ซื้อขายกันในตลาดโลกเท่ากับ 995.87 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนั้นเท่ากับ 34.080 บาท/ดอลลาร์ โดยอาศัยสูตรการคำนวณด้านบน เราก็สามารถคำนวณได้ว่าราคาทองคำแท่งควรอยู่ที่ระดับ 16,132.30 บาท
แน่นอนว่าราคาทองคำซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีสภาพคล่องสูง (มีความสามารถในการเปลี่ยนกลับเป็นเงินตราได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำในระยะเวลาที่สั้นด้วยความสะดวก) และทุกคนมีข่าวสารข้อมูลค่อนข้างสมบูรณ์ครบถ้วน (โดยเฉพาะร้านทอง) ราคาทองคำแท่งที่ร้านทองเขียนแสดงไว้ที่หน้าร้านก็จะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคานี้ด้วยเช่นกัน บางครั้งราคาที่หน้าร้านทองอาจสูงกว่านี้บ้างประมาณ 80 – 100 บาทซึ่งถือเป็นส่วนที่ร้านทองจะได้กำไร หรือในทางเศรษฐศาสตร์ก็คือต้นทุนการดำเนินการ (Transaction Costs) ที่ร้านทองจะต้องใช้ในการเอาทองคำแท่งมาขายให้กับผู้ซื้อ
ทองคำแท่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่เหมือนกันหมดในทุกๆ หน่วย เพราะเกิดจากการหลอมทองเท่านั้น ดังนั้นราคาทองคำแท่งจึงมีราคาในประเทศและราคาในตลาดโลกที่ไม่ค่อยต่างกันมากนัก อย่างที่อธิบายแล้วข้างต้นว่าราคาทองคำอาจต้องมีการบวกค่า Transaction Costs เพิ่มเข้าไปอีก 80 – 100 บาท และเมื่อร้านทองรับซื้อทองคำแท่งคืนจากเราไปก็สามารถนำไปขายต่อได้ทันที ดังนั้นราคารับซื้อคืนกับราคาขายออกจึงไม่ต่างกันมาก โดยปกติราคาจะต่างกันเพียง 100 บาทเท่านั้น เช่น ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2552 เวลา 9.17 น. ทองคำแท่งมีราคาขายออกที่ 15,250 บาทและมีราคารับซื้อที่ 15,150 บาท โดยส่วนต่าง 100 บาทนี้ก็คือค่า Transaction Costs ที่ร้านทองต้องมาเสียเวลา เสียกำลังคนในการทำธุรกรรม
ปัจจัยที่กำหนดราคาทองคำ
จากสูตรคำนวณที่นำเสนอไปแล้วข้างต้น ทำให้สามารถพิจารณาได้ว่าปัจจัยที่จะทำให้ทองคำเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของเงินบาทจะมีปัจจัยหลักๆ 2 ด้าน นั่นคือราคาทองคำในตลาดโลกเอง และอัตราแลกเปลี่ยน โดยปัจจัยที่จะทำให้ราคาทองคำสูงขึ้นในตลาดโลกก็ขึ้นกับความต้องการซื้อและปริมาณทองคำที่ออกขายในตลาดโลก หรือเป็นไปตามกลไกตลาด อุปสงค์ (Demand) – อุปทาน (Supply) นั่นเอง
ด้านอุปสงค์ ทองคำนอกจากเพื่อการลงทุนแล้ว ทองคำยังถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการคลัง, ทองคำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทองคำถูกนำมาให้ในวงการอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม และยังใช้ประโยชน์ในวงการแพทย์และทันตกรรม ดังนั้นเมื่ออุปสงค์ต่อทองคำเพิ่มสูงขึ้นราคาทองคำก็จะปรับเพิ่มสูงขึ้น
ในขณะที่ปริมาณทองคำ หรืออุปทานของทองคำมีค่อนข้างจำกัด เหมืองทองทั่วโลกผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ปริมาณทองคำส่วนใหญ่ถูกใช้ในการสำรองเพื่อแสดงฐานะทางการเงินการคลังทั้งในระดับประเทศ และในสถาบันการเงินต่างๆ
ดังนั้นถ้าเราได้ยินข่าว เช่น เกิดภาวะวิกฤตในตลาดการเงิน (เช่นในช่วงตกต่ำสุดของวิกฤต Sub-prime ในสหรัฐอเมริกา) ทำให้การถือครองตราสารทางการเงินกลายเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง (คนไม่กล้าถือหุ้น หรือตราสารกระดาษแทนเงินต่างๆ) ถ้าเป็นเช่นนี้เราก็จะวิเคราะห์ได้ว่า นักลงทุนส่วนหนึ่งก็จะสนใจลงทุนในทองคำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้มีความต้องการซื้อทองคำมากขึ้น และดันให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลกนั่นเอง หรืออีกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราได้ข่าวว่า ประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศในตะวันออกกลางซึ่งมีเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะสะสมทองคำเพื่อเป็นเงินทุนสำรองของประเทศตนเองมากยิ่งขึ้น ข่าวแบบนี้ก็แสดงให้เห็นว่าราคาทองคำจะยิ่งปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากมีทั้งความต้องการถือทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในระดับประเทศ แล้วยังจะทำให้ปริมาณทองคำที่มีขายในตลาดลดลงอีกอย่างมาก เนื่องจากทองคำจะถูกเก็บเข้าไปในคลังของประเทศเหล่านี้ ดังนั้นเมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้น แต่อุปทานกลับลดลง ราคาสินค้าก็จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อใดที่เงินบาทอ่อนค่า (Depreciation) เราก็ต้องจ่ายเงินบาทมากขึ้นเพื่อซื้อทองคำปริมาณเท่าเดิม แต่เมื่อเงินบาทแข็งค่า (Appreciation) เราก็จะจ่ายเงินบาทน้อยลงในการซื้อทองคำปริมาณเท่าเดิม โดยถ้าเราพิจารณาเงินตราต่างประเทศว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง เช่น สินค้าที่เรียกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ 1 ชิ้น (1 ดอลลาร์) มีราคา (อัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับ 34.219 บาท ดังนั้นตามกฎของอุปสงค์-อุปทาน ถ้าคนไทยต้องการซื้อของจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เราก็จะมีอุปสงค์ต่อเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มมากขึ้น ราคาเงินดอลลาร์ก็จะปรับสูงขึ้นค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลง หรือถ้าคนไทยต้องการแลกเงินเพื่อไปชำระหนี้ต่างประเทศมากขึ้นเราก็จะมีอุปสงค์ต่อเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มมากขึ้น ราคาเงินดอลลาร์ก็จะปรับสูงขึ้นค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลงเช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้ามถ้าต่างชาติอยากซื้อของจากไทยมากขึ้น อยากเข้ามาเที่ยว เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเข้ามาเปิดโรงงาน หรือเข้ามาซื้อหุ้น ต่างชาติก็จะขนเงินดอลลาร์เข้ามาเพิ่มขึ้น อุปทานของเงินดอลลาร์สหรัฐที่ออกขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็จะเพิ่มมากขึ้น ราคาเงินดอลลาร์ก็จะปรับตัวลดลง ค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่าลง ดังนั้นถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนอย่างไร โดยเราพบว่าอุปสงค์อุปทานที่เกิดขึ้นจากการค้าขายสินค้าและบริการเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนกับอุปสงค์อุปทานที่เกิดขึ้นจากการลงทุนระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ อยู่ที่อัตรา 30:70 นั่นคืออุปสงค์อุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านการลงทุนทั้งทางการเงินและลงทุนแท้จริงจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าอุปสงค์อุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านซื้อขายสินค้าและบริการ เมื่อเราทราบข่าวสารข้อมูลเหล่านี้แล้ว เราก็สามารถจะคาดการณ์คร่าวๆ ถึงทิศทางการปรับตัวของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างง่ายๆ ได้
โดยสรุปเราสามารถจำแนกสถานการณ์ราคาทองคำออกมาได้เป็น 4 สถานการณ์ดังนี้
สถานการณ์ที่ 1: ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาสูงขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาสูงที่สุด ดังนั้นนักลงทุนควรขายทองคำที่ตนถือครองไว้เพื่อทำกำไรในช่วงนี้อย่างยิ่ง
สถานการณ์ที่ 2: ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาสูงขึ้น และค่าเงินบาทแข็งค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาสูงขึ้นหรือลดต่ำลงก็ได้ ขึ้นกับขนาดของการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นนักลงทุนควรต้องระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
สถานการณ์ที่ 3: ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาลดลง และค่าเงินบาทอ่อนค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาสูงขึ้นหรือลดต่ำลงก็ได้ ขึ้นกับขนาดของการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นนักลงทุนควรต้องระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
สถานการณ์ที่ 4: ทองคำในตลาดโลก (ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์) มีราคาลดลง และค่าเงินบาทแข็งค่า ในสถานการณ์นี้ราคาทองคำที่ขายในประเทศไทย (บาท/บาท) จะมีราคาลดต่ำลงมากที่สุด ดังนั้นนักลงทุนควรเข้าซื้อทองคำในช่วงนี้อย่างยิ่ง
--Spiti 02:41, 18 สิงหาคม 2553 (BST)