ประวัติสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
 
(การแก้ไขหนึ่งรุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 2: แถว 2:
ประวัติสาขาวิชา
ประวัติสาขาวิชา
-
การเรียนการสอนภาษาอิตาเลียนที่คณะอักษรศาสตร์ในระยะแรกๆ นั้น ทราบแต่เพียงว่ามีลักษณะไม่ต่อเนื่อง แต่จะเริ่มเมื่อใด หรือสอนช่วงเวลาใดบ้างนั้นไม่เป็นที่ปรากฏชัด มีเพียงข้อเขียนในที่บางแห่งเท่านั้น ที่ทำให้ทราบว่ามีการสอนภาษาอิตาเลียนที่คณะอักษรศาสตร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร เล่าไว้ในหนังสือ ๖๐ รุ่นอักษรศาสตร์บัณฑิตว่า เมื่อเข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นั้น นิสิตชั้นปีที่ ๑ และปีที่ ๒ ต้องเรียนวิชาบังคับ ๓ หมวด คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และประวัติศาสตร์ และวิชาเลือก ๑ หมวดจากภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาเลียน ภาษาญี่ปุ่น และคณิตศาสตร์ ในส่วนของภาษาเยอรมัน อิตาเลียน และญี่ปุ่นนั้น มีการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมอุดม เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการเรียนรู้ภาษาของประเทศฝ่ายอักษะ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การสอนภาษาทั้ง ๓ นี้ได้ค่อยๆ ยกเลิกไปเพราะนิสิตไม่นิยมเรียน แต่ในบทความ “พัฒนาการหลักสูตรและการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์” ระบุไว้ว่า “จากหลักฐานพบว่าวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอิตาเลียนเปิดให้เลือกสำหรับนิสิตรุ่นที่เข้าเรียนในปี ๒๔๘๓ เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น และก็ไม่ได้เปิดอีกเลย”
+
การเรียนการสอนภาษาอิตาเลียนที่คณะอักษรศาสตร์ในระยะแรกๆ นั้น ทราบแต่เพียงว่ามีลักษณะไม่ต่อเนื่อง แต่จะเริ่มเมื่อใด [http://www.arts.chula.ac.th/~italian สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน]หรือสอนช่วงเวลาใดบ้างนั้นไม่เป็นที่ปรากฏชัด มีเพียงข้อเขียนในที่บางแห่งเท่านั้น ที่ทำให้ทราบว่ามีการสอนภาษาอิตาเลียนที่คณะอักษรศาสตร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร เล่าไว้ในหนังสือ ๖๐ รุ่นอักษรศาสตร์บัณฑิตว่า เมื่อเข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นั้น นิสิตชั้นปีที่ ๑ และปีที่ ๒ ต้องเรียนวิชาบังคับ ๓ หมวด คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และประวัติศาสตร์ และวิชาเลือก ๑ หมวดจากภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาเลียน ภาษาญี่ปุ่น และคณิตศาสตร์ ในส่วนของภาษาเยอรมัน อิตาเลียน และญี่ปุ่นนั้น มีการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมอุดม เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการเรียนรู้ภาษาของประเทศฝ่ายอักษะ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การสอนภาษาทั้ง ๓ นี้ได้ค่อยๆ ยกเลิกไปเพราะนิสิตไม่นิยมเรียน แต่ในบทความ “พัฒนาการหลักสูตรและการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์” ระบุไว้ว่า “จากหลักฐานพบว่าวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอิตาเลียนเปิดให้เลือกสำหรับนิสิตรุ่นที่เข้าเรียนในปี ๒๔๘๓ เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น และก็ไม่ได้เปิดอีกเลย”
การสอนภาษาอิตาเลียนที่ต่อเนื่องมาถึงสมัยปัจจุบันนั้นเป็นผลงานของศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา สุนทร อดีตหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางรากฐานและพัฒนาการเรียนการสอนภาษา ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาเลียน และหากมิใช่เพราะ “วิสัยทัศน์” ของท่านแล้ว ภาษาบางภาษาเช่นภาษาอิตาเลียน คงมิได้หยั่งรากและเติบใหญ่เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ดวงใจ ชุมพล เล่าว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาดามลูเซีย อัชชิเนลลี จากสถานทูตอิตาลีได้มาติดต่อที่คณะอักษรศาสตร์ เสนอให้ความร่วมมือในการสอนภาษาอิตาเลียน เนื่องจากเห็นว่าจะมีบริษัทอิตาเลียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาก ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนาซึ่งขณะนั้นรับผิดชอบการเรียนการสอนภาษาตะวันตกคือ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน จึงจัดให้มีการสอนภาษาอิตาเลียนแก่นิสิตโดยไม่เรียกค่าใช้จ่าย นอกจากนิสิตอักษรศาสตร์เองแล้วยังมีผู้เรียนจากคณะอื่นๆ อีกด้วย ทั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ต่อมาปรากฏว่าในชั้นสูงๆ มีผู้เรียนเพียง ๒-๓ คน ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนาเห็นว่าสิ่งที่ได้มาฟรีคนย่อมไม่เห็นคุณค่า จึงให้เก็บค่าเรียนภาคละ ๒๐๐ บาท และให้เปิดสอนแก่บุคคลภายนอกด้วยในเวลานอกราชการ ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์
การสอนภาษาอิตาเลียนที่ต่อเนื่องมาถึงสมัยปัจจุบันนั้นเป็นผลงานของศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา สุนทร อดีตหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางรากฐานและพัฒนาการเรียนการสอนภาษา ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาเลียน และหากมิใช่เพราะ “วิสัยทัศน์” ของท่านแล้ว ภาษาบางภาษาเช่นภาษาอิตาเลียน คงมิได้หยั่งรากและเติบใหญ่เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ดวงใจ ชุมพล เล่าว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาดามลูเซีย อัชชิเนลลี จากสถานทูตอิตาลีได้มาติดต่อที่คณะอักษรศาสตร์ เสนอให้ความร่วมมือในการสอนภาษาอิตาเลียน เนื่องจากเห็นว่าจะมีบริษัทอิตาเลียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาก ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนาซึ่งขณะนั้นรับผิดชอบการเรียนการสอนภาษาตะวันตกคือ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน จึงจัดให้มีการสอนภาษาอิตาเลียนแก่นิสิตโดยไม่เรียกค่าใช้จ่าย นอกจากนิสิตอักษรศาสตร์เองแล้วยังมีผู้เรียนจากคณะอื่นๆ อีกด้วย ทั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ต่อมาปรากฏว่าในชั้นสูงๆ มีผู้เรียนเพียง ๒-๓ คน ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนาเห็นว่าสิ่งที่ได้มาฟรีคนย่อมไม่เห็นคุณค่า จึงให้เก็บค่าเรียนภาคละ ๒๐๐ บาท และให้เปิดสอนแก่บุคคลภายนอกด้วยในเวลานอกราชการ ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์
แถว 17: แถว 17:
ปัจจุบันสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ตั้งอยู่ที่ภาควิชาภาษาตะวันตก ชั้น 9 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานครฯ 10330 โทร. 02-218 4773 โทรสาร 02-218 4776
ปัจจุบันสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ตั้งอยู่ที่ภาควิชาภาษาตะวันตก ชั้น 9 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานครฯ 10330 โทร. 02-218 4773 โทรสาร 02-218 4776
 +
 +
==อ้างอิง==
 +
<references/>

รุ่นปัจจุบันของ 07:25, 20 กันยายน 2553

ประวัติสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติสาขาวิชา การเรียนการสอนภาษาอิตาเลียนที่คณะอักษรศาสตร์ในระยะแรกๆ นั้น ทราบแต่เพียงว่ามีลักษณะไม่ต่อเนื่อง แต่จะเริ่มเมื่อใด สาขาวิชาภาษาอิตาเลียนหรือสอนช่วงเวลาใดบ้างนั้นไม่เป็นที่ปรากฏชัด มีเพียงข้อเขียนในที่บางแห่งเท่านั้น ที่ทำให้ทราบว่ามีการสอนภาษาอิตาเลียนที่คณะอักษรศาสตร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร เล่าไว้ในหนังสือ ๖๐ รุ่นอักษรศาสตร์บัณฑิตว่า เมื่อเข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นั้น นิสิตชั้นปีที่ ๑ และปีที่ ๒ ต้องเรียนวิชาบังคับ ๓ หมวด คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และประวัติศาสตร์ และวิชาเลือก ๑ หมวดจากภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาเลียน ภาษาญี่ปุ่น และคณิตศาสตร์ ในส่วนของภาษาเยอรมัน อิตาเลียน และญี่ปุ่นนั้น มีการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมอุดม เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการเรียนรู้ภาษาของประเทศฝ่ายอักษะ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การสอนภาษาทั้ง ๓ นี้ได้ค่อยๆ ยกเลิกไปเพราะนิสิตไม่นิยมเรียน แต่ในบทความ “พัฒนาการหลักสูตรและการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์” ระบุไว้ว่า “จากหลักฐานพบว่าวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอิตาเลียนเปิดให้เลือกสำหรับนิสิตรุ่นที่เข้าเรียนในปี ๒๔๘๓ เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น และก็ไม่ได้เปิดอีกเลย”

การสอนภาษาอิตาเลียนที่ต่อเนื่องมาถึงสมัยปัจจุบันนั้นเป็นผลงานของศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนา สุนทร อดีตหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการวางรากฐานและพัฒนาการเรียนการสอนภาษา ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาเลียน และหากมิใช่เพราะ “วิสัยทัศน์” ของท่านแล้ว ภาษาบางภาษาเช่นภาษาอิตาเลียน คงมิได้หยั่งรากและเติบใหญ่เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ดวงใจ ชุมพล เล่าว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาดามลูเซีย อัชชิเนลลี จากสถานทูตอิตาลีได้มาติดต่อที่คณะอักษรศาสตร์ เสนอให้ความร่วมมือในการสอนภาษาอิตาเลียน เนื่องจากเห็นว่าจะมีบริษัทอิตาเลียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาก ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนาซึ่งขณะนั้นรับผิดชอบการเรียนการสอนภาษาตะวันตกคือ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน จึงจัดให้มีการสอนภาษาอิตาเลียนแก่นิสิตโดยไม่เรียกค่าใช้จ่าย นอกจากนิสิตอักษรศาสตร์เองแล้วยังมีผู้เรียนจากคณะอื่นๆ อีกด้วย ทั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ต่อมาปรากฏว่าในชั้นสูงๆ มีผู้เรียนเพียง ๒-๓ คน ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนาเห็นว่าสิ่งที่ได้มาฟรีคนย่อมไม่เห็นคุณค่า จึงให้เก็บค่าเรียนภาคละ ๒๐๐ บาท และให้เปิดสอนแก่บุคคลภายนอกด้วยในเวลานอกราชการ ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์

ส่วนเอกสารคำสอนที่ใช้ในการเรียนเป็นเอกสารที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.ดวงใจและมาดามอัชชิเนลลี ร่วมกันแปลเอกสารคำสอนเป็นภาษาไทย และมาดามอัชชิเนลลีได้ติดต่อบริษัทเลอเปอตี ซึ่งเป็นบริษัทยาให้สนับสนุนการพิมพ์ พิมพ์ที่โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก พิมพ์จำนวน ๓๐๐ เล่ม ชื่อหนังสืออิตาเลียนแรกเรียน

มาดามอัชชิเนลลีสอนอยู่ถึงประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงกลับประเทศอิตาลีเนื่องจากบิดาถึงแก่กรรม ต่อมาได้ย้ายติดตามสามีซึ่งเป็นนักการทูตไปอยู่ตามประเทศต่างๆ ผู้ที่สอนต่อจากมาดามอัชชิเนลลีคือ มาดามบอเร็ตตี ภรรยานักธุรกิจชาวอิตาเลียนใช้หนังสือแบบเรียนที่สถานทูตมอบให้แก่ภาควิชา ชื่อ Corso Preparatorio della Lingua Italiana

ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอิตาเลียนตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงขณะนี้ ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนามอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.ดวงใจ เป็นผู้ประสานงาน ม.ร.ว.ดวงใจสอนภาษาฝรั่งเศสที่คณะ แต่ก็อุทิศตัวให้แก่ภาษาอิตาเลียนอย่างเต็มที่ ได้เริ่มการสอนภาษาอิตาเลียนทางวิทยุจุฬาฯ ขณะที่ คุณสมโภชน์ รอดบุญ ยังดูแลรายการวิทยุอยู่ ออกอากาศสัปดาห์ละครั้ง ผู้ร่วมจัดรายการเป็นชาวอิตาเลียนที่แต่งงานกับคนไทย ชื่อ คุณเอ็นโซ ต่อมาคุณอิซซาเบลลา (ภรรยาผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมัยสารท สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งทำงานที่สถานทูตฝรั่งเศสได้มาร่วมจัดแทน แต่เมื่อออกอากาศได้ประมาณ ๒ ปี รายการนี้ก็ล้มเลิกไป เนื่องจากการสัมมนาการสอนทางไกลที่มหาวิทยาลัยครั้งหนึ่ง มีผู้แสดงความเห็นว่าภาษาอิตาเลียนไม่มีประโยชน์ ม.ร.ว.ดวงใจ จึงยุติรายการวิทยุ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานี้ ยังคงมีการสอนภาษาอิตาเลียนแก่บุคคลภายนอกอย่างต่อเนื่อง ผู้สอนคือ มาดามออกุสตา กัตตี สุจริตกุล ซึ่งสถานทูตอิตาลีส่งมา ส่วนอาจารย์ไทยคือ รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอิตาลี ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนายังคงมุ่งมั่นที่จะให้มีหลักสูตรภาษาอิตาเลียน ซึ่งต้องมีอาจารย์ไทยรับผิดชอบโดยตรง (ขณะนั้นมีหลักสูตรภาษาสเปนแล้ว โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เดโช อุตตรนที เป็นผู้รับผิดชอบ) ท่านพยายามติดต่อสถานทูตอิตาลีเพื่อขอทุนการศึกษาให้แก่ รศ. ชัตสุณี สินธุสิงห์ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๕ รัฐบาลอิตาลีได้ให้ทุนการศึกษาไปศึกษาภาษาอิตาเลียนที่ประเทศอิตาลี และรศ. ชัตสุณี สินธุสิงห์จึงได้ไปอบรมภาษาอิตาเลียนที่มหาวิทยาลัยสำหรับชาวต่างชาติที่เมืองเปรูจา จนได้รับประกาศนียบัตรที่อนุญาตให้สอนภาษาอิตาเลียนในต่างประเทศได้

เมื่อ รศ. ชัตสุณี สินธุสิงห์ กลับจากอิตาลี จึงมีการเปิดสอนภาษาอิตาเลียนในฐานะวิชาเลือกเสรีให้แก่นิสิตอักษรศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยมาดามออกุสตา และรองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร ยังคงสอนอยู่ และรศ. ชัตสุณี เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน ต่อมาจึงขยายหลักสูตรเป็นวิชาโทและวิชาเอก ดังนั้น นับแต่พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์จึงผลิตบัณฑิตสาขาภาษาอิตาเลียนอีกสาขาหนึ่งและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทยที่ผลิตบัณฑิตสาขานี้ ในขณะเดียวกันก็ได้ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดอบรมภาษาอิตาเลียนแก่บุคคลภายนอกเช่นที่ศาสตราจารย์คุณหญิงจินตนาได้ริเริ่มไว้มาโดยตลอด และยังได้ขยายการอบรมไปในลักษณะของ in house training ตามบริษัทต่างๆ ที่มีการใช้ภาษาอิตาเลียนด้วยอีกด้วย

ปัจจุบันสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ตั้งอยู่ที่ภาควิชาภาษาตะวันตก ชั้น 9 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานครฯ 10330 โทร. 02-218 4773 โทรสาร 02-218 4776

อ้างอิง

เครื่องมือส่วนตัว