เมทาเดทา
จาก ChulaPedia
(การแก้ไข 22 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | '''เมทาเดทา''' (Metadata) หมายถึง | + | ในปัจจุบันวรรณกรรมต่างประเทศทางด้านการจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศและการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานสารนิเทศมักเอ่ยถึงคำว่า “เมทาเดทา” (Metadata) อยู่เสมอ จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นในใจของผู้ประกอบวิชาชีพสารนิเทศหลายคน เช่น เมทาเดทาคืออะไร มีลักษณะเช่นไร เป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ใช่หรือไม่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งจุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ก็เพื่อตอบคำถามดังกล่าว และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเมทาเดทา โดยได้เรียบเรียงและสรุปความจากจุลสารของ NISO Press เรื่อง “Understanding Metadata” <ref>http://www.niso.org/publications/press/UnderstandingMetadata.pdf</ref> และได้แก้ไขข้อมูลภาษาไทยจากบทความของผู้เรียบเรียงเอง <ref>สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล. “เมทาเดทาไม่ยากอย่างที่คิด.” วารสารบรรณารักษศาสตร์ 23, 2 (กรกฎาคม 2546): 1-25.</ref> |
+ | |||
+ | == ความหมาย == | ||
+ | '''เมทาเดทา''' (Metadata) คือ สารนิเทศเชิงโครงสร้างที่ถูกใช้เพื่อพรรณนา อธิบาย ระบุตำแหน่งที่จัดเก็บของสารนิเทศ และส่งผลให้การค้นคืนสารนิเทศ การใช้ หรือการจัดการทรัพยากรสารนิเทศเป็นไปได้อย่างสะดวกและง่ายดาย คำว่า “เมทาเดทา” มีการใช้แตกต่างกันไปในหลายสาขาวิชา บางสาขาวิชาใช้เมทาเดทาเมื่อต้องการหมายถึงสารนิเทศที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะแปลความหมายได้ บ้างก็หมายถึงสารนิเทศที่ใช้บรรยายทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์ในระเบียนรายการ ส่วนในบริบทของห้องสมุดแล้ว คำว่า เมทาเดทา หมายถึง สารนิเทศจากแบบแผนใด ๆ ที่ใช้ในการพรรณนาทรัพยากรไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบวัตถุดิจิทัล หรือที่มิใช่ดิจิทัลก็ตาม ดังนั้น การลงรายการของห้องสมุดด้วย MARC 21 ([http://www.loc.gov/marc/ MAchine-Readable Cataloging]) และ AACR2 ก็ถือว่าเป็นมาตรฐานเมทาเดทาประเภทหนึ่ง ส่วนแบบแผนเมทาเดทาอื่น ๆ (Metadata schemes) ที่ถูกพัฒนาต่อมาล้วนมุ่งหมายเพื่อใช้พรรณนาทรัพยากรสารนิเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นวัตถุข้อความ ภาพ และเสียง อาทิ จดหมายเหตุ โสตทัศนวัสดุ สารนิเทศทางด้านภูมิศาสตร์ และชุดข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ||
+ | |||
+ | [[ไฟล์:Nordic.jpg]] | ||
+ | |||
+ | |||
+ | ''ตัวอย่างแผ่นแบบสำหรับใส่ข้อมูลเมทาเดทา'' | ||
+ | |||
+ | == ชนิดของเมทาเดทา == | ||
+ | โดยทั่วไปเมทาเดทามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ เมทาเดทาเชิงพรรณนา เมทาเดทาเพื่อการบริหาร และเมทาเดทาเชิงโครงสร้าง | ||
+ | |||
+ | 1)เมทาเดทาเชิงพรรณนา ใช้สำหรับพรรณนาทรัพยากรสารนิเทศอันจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาและระบุสารนิเทศได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างส่วนย่อย (elements) ของเมทาเดทาชนิดนี้เช่น ชื่อเรื่อง สาระสังเขป ผู้แต่ง และคำสำคัญ | ||
+ | |||
+ | 2)เมทาเดทาเพื่อการบริหาร หรือที่มักเรียกว่าเมทาเดทาเพื่อการจัดการสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสารนิเทศที่จะช่วยในการจัดการทรัพยากรสารนิเทศได้ดียิ่งขึ้น เช่น ระยะเวลาและวิธีการที่ทรัพยากรสารนิเทศถูกสร้าง ชนิดของไฟล์ สารนิเทศที่ระบุคุณสมบัติทางเทคนิคและการระบุว่าใครที่สามารถเข้าถึงสารนิเทศได้บ้าง | ||
+ | |||
+ | 3)เมทาเดทาเชิงโครงสร้าง ช่วยในการระบุให้ผู้ใช้ทราบว่า[[สื่อประสมดิจิทัล]] (compound objects) นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีการบูรณาการอย่างไร เช่น บทเรียนออนไลน์บนเว็บ 1 บท ประกอบด้วยเว็บเพจจำนวนเท่าไร และเว็บเพจใดมาก่อน-หลัง เป็นต้น | ||
+ | |||
+ | |||
+ | == อ้างอิง == | ||
+ | <references/> | ||
+ | |||
+ | --[[ผู้ใช้:Ssomsak1|Ssomsak1]] 09:03, 21 กันยายน 2553 (BST) | ||
+ | |||
+ | ---- |
รุ่นปัจจุบันของ 08:24, 21 กันยายน 2553
ในปัจจุบันวรรณกรรมต่างประเทศทางด้านการจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศและการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานสารนิเทศมักเอ่ยถึงคำว่า “เมทาเดทา” (Metadata) อยู่เสมอ จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นในใจของผู้ประกอบวิชาชีพสารนิเทศหลายคน เช่น เมทาเดทาคืออะไร มีลักษณะเช่นไร เป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ใช่หรือไม่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งจุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ก็เพื่อตอบคำถามดังกล่าว และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเมทาเดทา โดยได้เรียบเรียงและสรุปความจากจุลสารของ NISO Press เรื่อง “Understanding Metadata” [1] และได้แก้ไขข้อมูลภาษาไทยจากบทความของผู้เรียบเรียงเอง [2]
ความหมาย
เมทาเดทา (Metadata) คือ สารนิเทศเชิงโครงสร้างที่ถูกใช้เพื่อพรรณนา อธิบาย ระบุตำแหน่งที่จัดเก็บของสารนิเทศ และส่งผลให้การค้นคืนสารนิเทศ การใช้ หรือการจัดการทรัพยากรสารนิเทศเป็นไปได้อย่างสะดวกและง่ายดาย คำว่า “เมทาเดทา” มีการใช้แตกต่างกันไปในหลายสาขาวิชา บางสาขาวิชาใช้เมทาเดทาเมื่อต้องการหมายถึงสารนิเทศที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะแปลความหมายได้ บ้างก็หมายถึงสารนิเทศที่ใช้บรรยายทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์ในระเบียนรายการ ส่วนในบริบทของห้องสมุดแล้ว คำว่า เมทาเดทา หมายถึง สารนิเทศจากแบบแผนใด ๆ ที่ใช้ในการพรรณนาทรัพยากรไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบวัตถุดิจิทัล หรือที่มิใช่ดิจิทัลก็ตาม ดังนั้น การลงรายการของห้องสมุดด้วย MARC 21 (MAchine-Readable Cataloging) และ AACR2 ก็ถือว่าเป็นมาตรฐานเมทาเดทาประเภทหนึ่ง ส่วนแบบแผนเมทาเดทาอื่น ๆ (Metadata schemes) ที่ถูกพัฒนาต่อมาล้วนมุ่งหมายเพื่อใช้พรรณนาทรัพยากรสารนิเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นวัตถุข้อความ ภาพ และเสียง อาทิ จดหมายเหตุ โสตทัศนวัสดุ สารนิเทศทางด้านภูมิศาสตร์ และชุดข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
ตัวอย่างแผ่นแบบสำหรับใส่ข้อมูลเมทาเดทา
ชนิดของเมทาเดทา
โดยทั่วไปเมทาเดทามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ เมทาเดทาเชิงพรรณนา เมทาเดทาเพื่อการบริหาร และเมทาเดทาเชิงโครงสร้าง
1)เมทาเดทาเชิงพรรณนา ใช้สำหรับพรรณนาทรัพยากรสารนิเทศอันจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาและระบุสารนิเทศได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างส่วนย่อย (elements) ของเมทาเดทาชนิดนี้เช่น ชื่อเรื่อง สาระสังเขป ผู้แต่ง และคำสำคัญ
2)เมทาเดทาเพื่อการบริหาร หรือที่มักเรียกว่าเมทาเดทาเพื่อการจัดการสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสารนิเทศที่จะช่วยในการจัดการทรัพยากรสารนิเทศได้ดียิ่งขึ้น เช่น ระยะเวลาและวิธีการที่ทรัพยากรสารนิเทศถูกสร้าง ชนิดของไฟล์ สารนิเทศที่ระบุคุณสมบัติทางเทคนิคและการระบุว่าใครที่สามารถเข้าถึงสารนิเทศได้บ้าง
3)เมทาเดทาเชิงโครงสร้าง ช่วยในการระบุให้ผู้ใช้ทราบว่าสื่อประสมดิจิทัล (compound objects) นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีการบูรณาการอย่างไร เช่น บทเรียนออนไลน์บนเว็บ 1 บท ประกอบด้วยเว็บเพจจำนวนเท่าไร และเว็บเพจใดมาก่อน-หลัง เป็นต้น
อ้างอิง
- ↑ http://www.niso.org/publications/press/UnderstandingMetadata.pdf
- ↑ สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล. “เมทาเดทาไม่ยากอย่างที่คิด.” วารสารบรรณารักษศาสตร์ 23, 2 (กรกฎาคม 2546): 1-25.
--Ssomsak1 09:03, 21 กันยายน 2553 (BST)