สึนามิ (Tsunami)

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''สึนามิ (Tsunami) ''' == สึนามิ (Tsunami) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า …')
 
(การแก้ไข 3 รุ่นระหว่างรุ่นที่เปรียบเทียบไม่แสดงผล)
แถว 1: แถว 1:
-
== '''สึนามิ (Tsunami) ''' ==
+
== '''คลื่นสึนามิ ''' ==
   
   
สึนามิ (Tsunami) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คลื่นท่า (harbor wave) คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล ซึ่งคลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
สึนามิ (Tsunami) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คลื่นท่า (harbor wave) คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล ซึ่งคลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
แถว 34: แถว 34:
'''1. กรณีที่อยู่บนบก'''
'''1. กรณีที่อยู่บนบก'''
-
- หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่  
+
*หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่  
-
- หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงและอยู่ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร  
+
*หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงและอยู่ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร  
-
- หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาทีเท่านั้นสำหรับหาที่หลบภัยได้  
+
*หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาทีเท่านั้นสำหรับหาที่หลบภัยได้  
-
- สำหรับตึกสูง หลายชั้นและ มีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงหลบภัย  
+
*สำหรับตึกสูง หลายชั้นและ มีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงหลบภัย  
'''2. กรณีที่อยู่ในทะเล'''
'''2. กรณีที่อยู่ในทะเล'''
แถว 47: แถว 47:
-
''แหล่งที่มาข้อมูล :''
+
== อ้างอิง ==
 +
 
 +
'''''ที่มาข้อมูล'''''  
[http://evr.eng.chula.ac.th/earthquake/Tsunami.htm ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
[http://evr.eng.chula.ac.th/earthquake/Tsunami.htm ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
แถว 54: แถว 56:
[http://www.dmr.go.th/main.php?filename=index กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]
[http://www.dmr.go.th/main.php?filename=index กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]
 +
 +
 +
'''''ผู้รับผิดชอบบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

รุ่นปัจจุบันของ 04:28, 16 มีนาคม 2554

เนื้อหา

คลื่นสึนามิ

สึนามิ (Tsunami) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คลื่นท่า (harbor wave) คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล ซึ่งคลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้


ลักษณะของคลื่น

คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นน้ำธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงาน และสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้ โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง คลื่นโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติสำคัญที่วัดได้อยู่สองประการคือ คาบ ซึ่งจะเป็นเวลาระหว่างลูกคลื่นสองลูก และ ความยาวคลื่น ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างลูกคลื่นสองลูก ในทะเลเปิดคลื่นสึนามิมีคาบที่นานมาก โดยเริ่มจากไม่กี่นาทีไปจนเป็นชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก โดยอาจยาวถึงหลายร้อยกิโลเมตร ในขณะที่คลื่นทั่วไปที่เกิดจาก ลมที่ชายฝั่งนั้นมีคาบประมาณ 10 วินาที และมีความยาวคลื่นประมาณ 150 เมตรเท่านั้น ความสูงของคลื่นในทะเลเปิดมักน้อยกว่าหนึ่งเมตรซึ่งทำให้ไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนบนเรือ คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตร

คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวออกจากแหล่งกำเนิด ดังนั้น ชายฝั่งที่ถูกกำบังโดยแผ่นดินส่วนอื่นๆ มักปลอดภัยจากคลื่น อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่คลื่นจะสามารถเลี้ยวเบนไปกระทบได้ นอกจากนี้ คลื่นไม่จำเป็นต้องมีความแรงเท่ากันในทุกทิศทุกทาง โดยความแรงจะขึ้นกับแหล่งกำเนิดและลักษณะของภูมิประเทศแถบนั้น คลื่นจะมีพฤติกรรมเป็น "คลื่นน้ำตื้น" เมื่ออัตราส่วนระหว่างความลึกของน้ำและขนาดของคลื่นนั้นมีค่าต่ำ ดังนั้น เนื่องจากมีขนาดของคลื่นที่สูงมาก คลื่นสึนามิจึงมีคุณสมบัติเป็นคลื่นน้ำตื้นแม้อยู่ในทะเลลึกก็ตาม


สาเหตุการเกิด

คลื่นสึนามิส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้



ระบบเตือนภัยจากสึนามิ

การบรรเทาภัยจากสึนามิจะทำได้โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ประเทศไทยเป็นสมาชิกในระบบเตือนภัยสึนามิในแปซิฟิก (Pacific Tsunami Warning System) ซึ่งมีสมาชิก 26 ประเทศ ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่ฮาวาย เมื่อศูนย์ได้รับข้อมูลแผ่นดินไหวจะทำการตรวจสอบว่าตำแหน่งที่เกิดกับขนาดของแผ่นดินไหวว่าเข้าเกณฑ์เสี่ยงไหม ถ้าพบว่าเข้าเกณฑ์เสี่ยงก็จะทำการแจ้งเตือนภัยโดยรอบ พร้อมทั้งจะให้ข้อมูลเวลาที่คาดว่าคลื่นจะมาถึงสำหรับบริเวณที่คลื่นจะถึงใน 2-3 ชั่วโมง เมื่อทางศูนย์ตรวจพบสึนามิใหญ่จากการตรวจวัดภาพพื้นทะเล ศูนย์จะแจ้งเตือนทั่วประเทศในภาคพื้นแปซิฟิค



ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดสึนามิ

1. กรณีที่อยู่บนบก

  • หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่
  • หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงและอยู่ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร
  • หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาทีเท่านั้นสำหรับหาที่หลบภัยได้
  • สำหรับตึกสูง หลายชั้นและ มีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงหลบภัย

2. กรณีที่อยู่ในทะเล

ปกติผู้เดินเรือจะไม่ทราบว่าเกิดสึนามิเมื่ออยู่ในทะเล และเมื่อได้ยินการเตือนภัย ห้ามเข้าชายฝั่งเพราะระดับน้ำจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่ชายฝั่ง แต่ถ้าเรือกำลังจะออกจากท่าเรือให้ติดต่อกับท่าเรือเพื่อรับฟังคำแนะนำ ถ้ารับทราบคำเตือนและมีเวลาที่จะไปยังน้ำลึกก็อาจจะไปอย่างเป็นระเบียบ แต่สำหรับเรือเล็กอาจจะปลอดภัยกว่าถ้าอพยพออกจากเรือไปยังที่สูง


อ้างอิง

ที่มาข้อมูล

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว