มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาสูบ
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== '''มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาสูบ''' == == '''คำนิยามศัพท์ที่เก…') |
|||
แถว 79: | แถว 79: | ||
4. องค์การอนามัยโลก. แนวทางการดำเนินงานตามข้อ 11 แห่งกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ การบรรจุหีบห่อและการปิดฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ.แปล โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., ม.ป.ป. | 4. องค์การอนามัยโลก. แนวทางการดำเนินงานตามข้อ 11 แห่งกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ การบรรจุหีบห่อและการปิดฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ.แปล โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., ม.ป.ป. | ||
+ | |||
+ | '''อาจารย์ผู้ดูแลบทความ''' ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ปรีชาวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ||
'''''ผู้รับผิดชอบบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ | '''''ผู้รับผิดชอบบทความ''''' ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ |
รุ่นปัจจุบันของ 03:24, 18 มีนาคม 2554
เนื้อหา |
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาสูบ
คำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรการทางกฎหมาย (Legal measures) หมายถึง "เครื่องมือทางกฎหมายใดๆ ซึ่งกำหนด ข้อผูกมัด เงื่อนไข หรือการห้าม ภายใต้กรอบแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างของเครื่องมือดังกล่าวรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะ พระราชบัญญัติกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งของทางราชการ
ใบแทรก (Insert) หมายถึง สื่อใดๆ ก็ตามที่อยู่ภายในหีบห่อ และ/หรือ กล่องบรรจุที่จำหน่ายปลีกให้กับผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น แผ่นพับขนาดเล็ก หรือแผ่นพับสำหรับโฆษณา (brochure)
ใบปิด (Onsert) หมายถึง สื่อใดๆ ซึ่งปิดไว้ภายนอกหีบห่อ และ/หรือ กล่องบรรจุที่จำหน่ายปลีกให้กับผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่นฉลากขนาดเล็กซึ่งปิดไว้ภายใต้พลาสติกใสห่อหุ้ม หรือทากาวติดไว้ด้านนอกซองบุหรี่ เป็นต้น
การบรรจุหีบห่อและฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ
1. สนับสนุนให้ปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบฯ เกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อและติดป้ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
2. เพื่อเสนอมาตรการที่ประเทศสมาชิกสามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมการบรรจุหีบห่อและการปิดฉลาก ทั้งนี้อนุสัญญาฯ ได้กำหนดไว้ว่า ประเทศสมาชิกจะต้องยอมรับและดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการบรรจุหีบห่อและการปิดฉลากภายในระยะเวลาสามปี นับจากวันที่อนุสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับประเทศสมาชิก
ลักษณะบรรจุหีบห่อและบรรจุภัณฑ์
1. ข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพควรจะมีขนาดใหญ่ ชัดเจนมองเห็นได้ชัด และอ่านง่าย ดังนั้นการจัดวางตำแหน่งของข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพควรจัดวางในตำแหน่งดังนี้
- ด้านหน้าและด้านหลังของซองหรือหีบห่อ
- บนด้านหลักของซองหรือหีบห่อ โดยเฉพาะส่วนบนของด้านหลักเพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด
- การเปิดหีบห่อตามปกติจะต้องไม่ทำลายหรือปกปิดข้อความหรือภาพคำเตือนอย่างถาวร
2. ควรพิจารณาให้มีการแสดงข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพบนทุกด้านของหีบห่อ รวมไปถึงใบแทรกและใบปิดหีบห่อ
3. การแสดงข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพบนหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบจะไม่ถูกปิดบังโดยลักษณะของการบรรจุหีบห่อหรือการปิดฉลากและการทำเครื่องหมายต่างๆ เช่น อากรแสตมป์ ฯลฯ เป็นต้น
4. ควรพิจารณาเพิ่มมาตรการใหม่เกี่ยวกับการจัดวางตำแหน่งข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพ อาทิ การพิมพ์ข้อความและภาพคำเตือนบนส่วนห่อหุ้มก้นกรองของบุหรี่
5. ข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพบนหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบควรมีขนาด 50% หรือมากกว่า แต่ไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่บนด้านหลัก ทั้งนี้ ควรมีขนาดใหญ่มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้บนพื้นที่ของด้านหลัก
6. ควรกำหนดให้มีการใช้ภาพถ่ายสีหรือภาพประกอบที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของประเทศ บนหีบห่อและฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ นอกจากนี้ควรพิจารณาให้มีการแสดงภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพบนด้านหลักของหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งสองด้าน
7. หากเป็นไปได้ ประเทศสมาชิกควรเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือลิขสิทธิ์ในภาพคำเตือนบนหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในระดับสูงสุดในการนำภาพดังกล่าวไปใช้กับมาตรการควบคุมยาสูบอื่นๆ รวมไปถึงการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน และการเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังสามารถอนุญาตให้หน่วยงานอื่นมีสิทธิในการใช้ภาพดังกล่าวได้
8. ควรกำหนดให้มีการใช้ภาพสี (พิมพ์สี่สี) สำหรับภาพประกอบข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพ แทนที่จะเป็นเพียงภาพขาวดำ
9. ควรมีการหมุนเวียนสลับเปลี่ยนข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพเป็นระยะ นอกจากนี้ควรกำหนดให้มีข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพอย่างน้อย 2 ชุด หรือมากกว่าเพื่อการหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่น ทุก 12 - 36 เดือน
10. นอกจากคำเตือนด้านอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ควรพิจารณากำหนดให้ข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพมีสาระที่หลากหลายโดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับการบริโภคยาสูบ รวมทั้งผลกระทบจากควันบุหรี่ที่ได้รับ เช่น คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ ผลเสียด้านเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ เป็นต้น
11. กำหนดให้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่และข้อมูลสถานที่ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่บนหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ อาทิ เว็บไซต์ หรือหมายเลขโทรศัพท์แบบโทรฟรี “สายด่วนเลิกบุหรี่”
12. บนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควรกำหนดให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสารพิษในควันบุหรี่ ตัวอย่างของข้อความดังกล่าวได้แก่ “ควันบุหรี่มีสารเบนซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง” และ “การสูบบุหรี่จะได้รับสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด” แต่ควรหลีกเลี่ยงข้อความในลักษณะที่จะชี้นำว่าบุหรี่ยี่ห้อหนึ่งมีอันตรายน้อยกว่ายี่ห้ออื่นๆ อาทิ “บุหรี่เหล่านี้มีปริมาณไนโตรซามีนในปริมาณที่ต่ำ”
การป้องกันบรรจุภัณฑ์หรือฉลากที่ให้ข้อมูลเท็จหรือชักจูงให้เข้าใจผิด
- ห้ามแสดงจำนวนตัวเลขปริมาณสารพิษในควันบุหรี่ (เช่น น้ำมันดินนิโคติน และคาร์บอนมอนนอกไซด์ ฯลฯ เป็นต้น) บนหีบห่อและฉลาก รวมทั้ง ห้ามการแสดงวันหมดอายุบนหีบห่อและฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ เนื่องจากจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบสามารถใช้บริโภคได้อย่างปลอดภัยตลอดเวลา
- บรรจุภัณฑ์ที่เรียบง่าย (Plain packaging) ควรพิจารณากำหนดมาตรการเพื่อจำกัดหรือห้าม การใช้ภาพโลโก้ สี หรือตรายี่ห้อ หรือข้อมูลเพื่อการโฆษณาบนหีบห่อนอกเหนือไปจากชื่อยี่ห้อ และชื่อผลิตภัณฑ์ซึ่งแสดงไว้ตามรูปแบบ สีและขนาดตัวอักษรตามทีกฎหมายกำหนด (ซองบุหรี่แบบมาตรฐาน) เพื่อช่วยให้ข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพมีความเด่นชัดขึ้น อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการออกแบบหีบห่อที่อาจชี้นำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นอันตรายน้อยกว่า
- มาตรการทางกฎหมาย ข้อกำหนดเกี่ยวกับหีบห่อและผลิตภัณฑ์ยาสูบนี้บังคับใช้อย่างเสมอภาคกับผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหมดที่วางจำหน่ายภายในประเทศ ส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและสารพิษในควันบุหรี่ บนหีบห่อและฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของอุตสาหกรรมยาสูบ
- ควรให้มี “เอกสารอ้างอิง” ซึ่งมีภาพตัวอย่างคุณภาพสูงที่แสดงให้เห็นว่าข้อความและภาพคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพควรจะปรากฏอยู่บนหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบอย่างไร เอกสารอ้างอิงนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในกรณีที่การใช้ภาษาในมาตรการทางกฎหมายยังไม่ชัดเจนเพียงพอมาตรการทางกฎหมายควรได้รับการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะ ตามหลักฐานใหม่ๆ ซึ่งปรากฏขึ้น โดยนำประสบการณ์การบังคับใช้กฎหมายจากประเทศอื่นๆ มาประกอบการพิจารณา การทบทวนแก้ไขดังกล่าวจะช่วยให้ค้นพบจุดอ่อนและช่องโหว่ รวมไปถึงชี้ให้เห็นลักษณะการใช้ภาษาในระเบียบข้อบังคับ ที่ควรได้รับการแก้ไขให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล
1. World Health Organization. WHO Framework Convention on Tobacco Control. WHO Document Production Services, Geneva, Switzerland; 2005.
2. องค์การอนามัยโลก. Framework Convention on Tobacco Control. กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ. แปลโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.(อัดสำเนา)
3. World Health Organization. WHO Framework Convention on Tobacco Control: Guidelines for implementation Article 5.3; Article 8; Article 11; Article 13. WHO Document Production Services, Geneva, Switzerland; 2009.
4. องค์การอนามัยโลก. แนวทางการดำเนินงานตามข้อ 11 แห่งกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ การบรรจุหีบห่อและการปิดฉลากผลิตภัณฑ์ยาสูบ.แปล โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท., ม.ป.ป.
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ปรีชาวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ