โรคอัลไซเมอร์
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)'''เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิ…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | '''โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)'''เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากเซลส์สมองตาย ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ,การควบคุมอารมณ์ตัวเอง, ความทรงจำจนถึงขั้นไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น พูดไม่ได้ ,แปรงฟันไม่ได้ เป็นต้น ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % และจะพบอัตราการป่วยในโรคนี้มากขึ้น ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี | + | '''โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)''' เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากเซลส์สมองตาย ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ,การควบคุมอารมณ์ตัวเอง, ความทรงจำจนถึงขั้นไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น พูดไม่ได้ ,แปรงฟันไม่ได้ เป็นต้น ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % และจะพบอัตราการป่วยในโรคนี้มากขึ้น ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี |
การปรับปรุง เมื่อ 09:32, 31 สิงหาคม 2554
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากเซลส์สมองตาย ทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ,การควบคุมอารมณ์ตัวเอง, ความทรงจำจนถึงขั้นไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น พูดไม่ได้ ,แปรงฟันไม่ได้ เป็นต้น ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % และจะพบอัตราการป่วยในโรคนี้มากขึ้น ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
สาเหตุของโรค
1.จากความผิดปกติในเนื้อสมองจะพบลักษณะที่สำคัญสองอย่างคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน Neurofibrillary Tangles.และมีสาร Beta Amyloid ในสมอง ใยสมองที่พันกันทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง การที่สมองมีคราบ Beta Amyloid หุ้มทำระดับ acetylcholine สมองลดลงสาร acetylcholine จะมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำ
2.การอักเสบ inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง
3.กรรมพันธุ์ โรค Alzheimer ทีเกิด late onset จะมีการเพิ่มของ gene ที่ควบคุมการสร้าง apolipoprotein E4 (ApoE 4) ส่วนที่เกิด early onset จะมีการเปลี่ยนแปลงของ gene presenilin-1 (PS1) และ presenelin-2 (PS2)
อาการของโรค
ความจำเสื่อมหรือ หลงลืม เรื่องที่ลืมก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา หรือใครมาพบวันนี้ ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ ชอบพูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ เพราะจำคำตอบไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการพูดและการใช้ภาษา คือจะคิดคำศัพท์บางคำไม่ออก ใช้คำใกล้เคียงแทน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดลดลง ทักษะต่างๆ จะเริ่มสูญไป อารมณ์หงุดหงิด และอาจท้อแท้ เพราะอาการดังกล่าว
ปัจจัยเสี่ยง
1.อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้
2.โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น
3. เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์
รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์สื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ