รอยประทับของภาพสะท้อน

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(ทำหน้าว่าง)
แถว 1: แถว 1:
-
 
-
เข้าเรื่องมากว่า 2 ชั่วโมงแล้ว แต่หนังสัญชาติอิตาเลียนเรื่องใหม่เอี่ยมกลับยังมีแก่ใจโอ้เอ้วิหารรายอยู่กับภาพอนงค์นางวิ่งไปตามเฉลียงจากระยะไกลลิบ  คนดูของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ค.ศ.1960 พากันตะโกน "ตัด" "ตัด" แข่งกับเสียงโห่ฮาป่าและสาปส่ง
 
-
 
-
วีรกรรมการเล่าเรื่องใน L'avventura ของผู้กำกับมิเกลันเจโล  แอนโทนิโอนี(Michelangelo  Antonioni)โดยเปิดโอกาสให้แต่ละคาบ แต่ละฉากเหตุการณ์คลี่คลายไปตามระยะเวลาจริงแทนที่จะลัดเล็มถ่ายทอดเฉพาะจุดหักเหหรือจูงจมูกคนดูไว้ตลอดเวลา ได้รับการตอบสนองจากคนดูด้วยท่าทีดังกล่าว  การฉายครานั้นล่มไม่เป็นท่า แอนโทนิโอนีและนักแสดงนำคือ มอนิกา  วิตติ(Monica  Vitti)ต้องเผ่นออกจากโรงฉายจ้าละหวั่น
 
-
 
-
เช้าวันรุ่งขึ้นผู้กำกับและนักวิจารณ์ที่เข้าร่วมงานเทศกาลเข้าชื่อในจดหมายลูกโซ่ประท้วงพฤติกรรมของคนดูและเรียกร้องให้ฉายผลงานที่ได้ชื่อว่าเป็นงานยุคใหม่ที่มาปลดแอกกาล-อวกาศ อันนับเป็นการปฏิวัติวงการ ซ้ำอีกรอบ  ผู้จัดงานเทศกาลจัดฉาย L'avventura อีกครั้งและตั้งรางวัลพิเศษด้านความงามในการใช้ภาพและการสร้างมิติใหม่แก่ภาษาภาพยนตร์มอบให้หนัง
 
-
 
-
เพียงสองปีให้หลัง L'avv ก็ไปผงาดอยู่ในทำเนียบหนังยอดเยี่ยมตลอดกาลจากการสำรวจของนิตยสาร Sight and Sound โดยมีอันดับเป็นรองเพียง Citizen Kane ผลงานของออร์สัน  เวลส์(Orson  Welles)ซึ่งออกฉายตั้งแต่ค.ศ.1941 นับเป็นการกลับลำครั้งสำคัญของวงการ(ใครจะไปคาดคิด อุบัติการณ์เช่นนั้นยากจะเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน)  การที่หนังผงาดเป็นอันดับสองในทำเนียบหนังยอดเยี่ยมตลอดกาลสะท้อนถึงแรงศรัทธาอันท่วมท้นรวมถึงการเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ผู้กำกับต่อหนังเรื่องนี้ของแอนโทนิโอนี
 
-
 
-
เกียรติคุณดังกล่าวสะท้อนถึงฉันทามติในหมู่ผู้กำกับและนักวิจารณ์ต่อฐานภาพการเป็นผลงานพลิกโฉมประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ และถึงพร้อมด้วยแก่นความคิด ชั้นเชิงแปลกใหม่แยบคายของหนังก็ควรค่าแก่การแซ่ซ้อง
 
-
 
-
32 ปีให้หลัง ในการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีรับชม ในจำนวนผู้ชมราว 20 คน มีอยู่แค่ 3 คนที่ชื่นชอบ L'avv  ส่วนคนที่เหลือพากันก่นด่าว่าเป็นหนึ่งในงานที่สร้างความหงุดหงิดในการรับชมมากสุดเท่าที่พวกเขาเคยประสบ(บางรายถึงกับตะโกนสาปส่งระหว่างหนังกำลังฉายเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นมาแล้วที่คานส์)  สัมพันธภาพลุ่ม ๆ ดอน ๆ ระหว่างคนดูกับ L'avv เกิดจากสาเหตุใด หนังสือสองเล่มของเดอเลิช(Gilles Deleuze)ในชื่อ Cinema 1:  The movement-image และ Cinema 2:  The time-image มีคำตอบเชิงทฤษฏีและกุญแจไขปริศนาทั้งส่วนที่เป็นก้อนอิฐและดอกไม้ ในผลงานของแอนโทนิโอนีเรื่องนี้
 
-
 
-
ในการสาธยายผังความคิดว่าด้วยปรากฏกาล(time-image)ของเดอเลิช เขาจะเน้นไปที่คุณค่าอันอาจเป็นหัวใจของการปลุกเร้าความพลุ่งพล่านทั้งทางบวกและทางลบซึ่งหนังอย่าง L'avv ร่ายนิมิตแห่งเวลาและอวกาศให้คนดูและนักวิจารณ์ได้เห็น  รู้สึก และขบคิด
 
-
 
-
แอนโทนิโอนีเคยให้นิยาม Il grido งานค.ศ.1957 ของตนว่าเป็น"สัจนิยมใหม่ไม่พึ่งจักรยาน"(neorealism without the bicycle)  เดอเลิชขยายผลแนวคิดดังกล่าว โดยการนำเสนอ สัจนิยมใหม่ไร้จักรยาน คือแทนที่ปฏิบัติการทิ้งทวนขอดั้นด้น(trip)ไปตายดาบหน้าของตัวละครด้วยปฏิบัติการแทรกซึมเข้าไปขุดกำพืดตัวละครโดยเวลา  L'avv ถือเป็นหนังแรมทาง(road movie)เมื่อพิจารณาจุดหมายปลายทางและความแม่นตรงแน่วแน่ในการขับเคลื่อนวาระแม่บทและการไขขานเหตุการณ์ในเชิงแขวะอำการผจญภัยอิทธิฤทธิ์จากเปลือกนอกอาบยาพิษของกาลและอวกาศ
 
-
 
-
"การดั้นด้น"ในที่นี้สร้างความยุ่งยากแก่กาลและอวกาศข้างในตัวละครเพราะเป็นการสางกำพืดในฐานะตัวแทนคุณค่าที่ตั้งราคาคุยกันไว้และการตกเป็นเป้าในฐานะเจ้าของเรื่อง  ความหมายของจุดเริ่มต้นที่เคยคลุมเครือ  การคลี่คลายประเด็นต่าง ๆ จึงดูยืดยาด และเปิดพื้นที่ว่างมหาศาลไว้พินิจพิเคราะห์ตัวละคร แต่คนดูต่างต้องแข็งใจสู้กับแรงเสียดสีของห้วงระยะเวลาบนจอของเหตุการณ์  กระบวนการเช่นนี้นำซึ่งการร่วมทุกข์และตระหนักได้ว่าตัวเองผูกพันอยู่กับจักรวาลอันมีเวลาคอยประกาศิตอนิจลักษณะผ่านสสารของโลกียภพ
 
-
 
-
เดอเลิชบรรยายสรรพคุณความสมบูรณ์แบบของโครงสร้างคู่ควบระหว่างหนังทางกายกับหนังทางใจในงานของแอนโทนิโอนีว่าประกอบด้วยการบรรเลงเรื่องด้วยอัตราเร่งอันผิดแผก  สมองคนดูต้องตื่นอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับแบ่งภาคสำนึกออกจากความรู้สึกของผัสสะทางกาย  งานของแอนโทนิโอนีมีพลังเหนี่ยวนำทฤษฎีวิพากษ์ของเดอเลิช โดยเฉพาะในเรื่องลูกล่อลูกชน  การขับเคลื่อนพฤติการณ์เป็นกลไกผลิตและบรรจุเวลาในหนัง  ตัวหนังไม่ได้เป็นเพียงสนามรองรับกิจกรรมในชีวิตตัวละครอีกต่อไป หากแต่แปรสภาพเป็นผลของการเคลื่อนตัวของเวลา  ตัวกลางดังกล่าวไม่มีปัจจุบัน แต่เก็บกักสภาพก่อนและหลังเอาไว้  คอยฟูมฟักและถ่ายทอดมโนธรรมและมโนภาพว่าด้วยทุกขเวทนา  เดอเลิชชี้แจง ลายจารึกที่ฝากไว้กับตัวกลางระหว่างเคลื่อนผ่านอวกาศ ว่า ตัวกลางดังกล่าวสร้างความเหนื่อยล้า  ขันติธรรม รวมตลอดจนความสิ้นหวัง แอนโทนิโอนีล้ำหน้ากว่าใครในทางนี้  กรรมวิธีของเขา  การหยั่งก้นบึ้งผ่านพฤติกรรมไม่ได้เป็นบทเรียนแต่เป็นผลพวงของประสบการณ์จากอดีต ผลสืบเนื่อง  การแฉโพย  กรรมวิธีเช่นนี้จำเป็นต้องมีแม่นตรงในวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับท่วงทีอิริยาบถต่าง ๆ [http://wp.me/p4vTm-zo อ่านทั้งหมด]
 
-
 
-
จักริน วิภาสวัชรโยธิน
 

การปรับปรุง เมื่อ 08:44, 16 ตุลาคม 2556

เครื่องมือส่วนตัว