|
|
แถว 1: |
แถว 1: |
- | เด็กผู้หญิงมีบทบาทโดดเด่นเสมอในสื่อสาธารณะของญี่ปุ่นรวมถึงภาพยนตร์และวรรณกรรม วัฒนธรรมญี่ปุ่นหมกมุ่นกับภาวะคาบลูกคาบดอกระหว่างวัยเยาว์กับวัยเจริญพันธุ์ ความไร้เดียงสากับวุฒิภาวะ ความอ่อนแอกับอำนาจ และอิสตรีกับชายชาตรีที่ห่อหุ้ม shojo ไว้ ผลงานในค.ศ.2004 เรื่อง Howl’s Moving Castle ของฮายาโอะ มิยาซากิ(Hayao Miyazaki)> กล่าวถึงเด็กหญิงต้องคำสาบให้กลายเป็นยายแก่แร้งทึ้ง และเนื้อหาหลักของหนังก็จะเป็นการถ่ายทอดวิบากกรรมความทุกข์ทรมานจากความชราภาพของตัวละครชื่อโซฟี
| |
| | | |
- | เธอตกบันไดพลอยโจนได้ออกผจญภัยทางจิตวิญญาณไปในโลกจินตนาการ โดยมีคณะพรรคประกอบด้วยหุ่นไล่กาตีนพัด(fleet-footed scarecrow) ปีศาจ(เคย)พ่นไฟได้ จิ้งเหลนนักฝัน และลูกศิษย์วัยกระเตาะ แหล่งซ่องสุมของพวกเขาคือยานรูปทรงหัวมังกุฏท้ายมังกรประกอบขึ้นตามมีตามเกิดจากวัสดุตามธรรมชาติและอะไหล่กล ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำจากพลังไฟพ่นอันกระเสาะกระแสะของปีศาจคัลซิเฟอร์(Calcifer)
| |
- |
| |
- | ภารกิจอันหนักหน่วงเหนือใดปานของคุณยายโซฟีในฐานะผู้บังคับการยานคือการเก็บกวาดเช็ดถูความอีลุ่ยฉุยแฉกจากน้ำมือลูกเรือเพศชาย ต่อมาไม่นานเธอเป็นหัวหอกรณรงค์ยุติสงครามในสมรภูมิโลกภายนอก แววการเป็นคนเจ้าปัญญา กล้าหาญ และกล้าได้กล้าเสียของเธอฉายข่มบรรดาขุนพลรุ่นหนุ่มทั้งคณะ หนำซ้ำยังเป็นพลังฉุดรั้งให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาและเสียสละตนเพื่อหน้าที่ ตลอดจนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน คนดูรู้ดีแก่ใจว่าแท้ที่จริงยายแก่คือร่างจำแลงของเด็กหญิงตัวเอก ตัวตนของเธอหล่อหลอมขึ้นจากส่วนผสมอันลงตัวระหว่างบุคลิกของเพศหญิงและเพศชายตามขนบเช่นเดียวกับตัวเอกหญิงของมิยาซากิทุกเรื่อง
| |
- |
| |
- | เงื่อนภาวะว่าด้วย shojoได้รับความสนใจกว้างขวางในแวดวงญี่ปุ่นศึกษา โดยที่หัวข้อการอภิปรายจะตั้งอยู่บนสาระสำคัญ 3 ประการคือ ในประการแรกจะเป็นเรื่องของอัตลักษณ์ กล่าวคือ ฐานภาพของ shojo จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ น่ารักน่าเอ็นดูแต่ยังไม่ประสาในการดึงดูดเพศตรงข้าม แต่มีแต้มต่อในฐานะหน่ออ่อนของอิสรภาพ เธอเป็นข้อยกเว้นจากประเพณีและจารีต ความคาดหวังที่สังคมมีต่อผู้หญิงและผู้ชายวัยเจริญพันธุ์ เธอจึงมีเอกสิทธิ์คุ้มครองในการประพฤติตัวไม่เป็นโล้เป็นพาย ไม่เอาถ่าน และเอาแต่ใจ เธอฝันเฟื่องกับการเหาะเหินเดินอากาศ แผลงฤทธิ์และผจญภัยหัวหกก้นขวิดได้ตามประสา รวมตลอดจนไม่ต้องคอยแบกความรับผิดชอบใด ๆ ประการที่สองให้ความสนใจไปที่การเป็นจุดขาย การมัดใจผู้บริโภค โดยมองกันว่า shojo คือ บุคลิกในอุดมคติ เป็นดัชนีบ่งชี้และรูปตัวแทนของความน่ารักในห้วงคำนึงนักบริโภควัฒนธรรมและสินค้า สิงสถิตย์อยู่ในเครื่องประดับกระจุ๋มกระจิ๋ม ตุ๊กตา สัตว์เลี้ยงขี้อ้อน ๆ พฤติกรรมแบบเด็ก ๆ (งอน ขำ ทะโมน ชักสีหน้าสีตาเวลาตกตะลึงหรือตื่นกลัว) การแต่งองค์ทรงเครื่องและลายมือ ประการที่สามเป็นการอภิปรายในแง่ความสัมพันธ์ระหว่าง shojo กับผู้เสพ ความน่ารักไร้พิษภัยผิดกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีพลังทางเพศและความเป็นแม่เป็นเขี้ยวเล็บ ส่งผลให้บรรดาสาวรุ่นยึดเธอเป็นแบบอย่าง แม้แต่ผู้หญิงโตเต็มวัยก็ยังขอยึดเป็นเกราะกำบังจากแรงกดดันและจารีตของสังคมต่อนางและนางสาว รวมถึงสวมรอยย้อนกลับไปดื่มด่ำกับวัยเยาว์
| |
- |
| |
- | ภาพหญิงปลอดเขี้ยวเล็บยังถูกใจบรรดาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ผู้ขยาดกับพิษภัยจากแม่เสือสาวทั้งหลาย การย้อนสำรวจและแตกประเด็นศึกษาชี้ว่ารูปการรับรู้ต่อ shojo คอยตอกย้ำและมีผลต่อการโน้มน้าวและเป็นเวทีรองรับความโหยหาและถอยกลับไปสู่ภาวะหลงไหลตนเองและสภาพทารก หรือไม่ก็ส่งผลกลับตาลปัตรในแง่เป็นฐานที่มั่นของขบวนการก่อขบถต่อต้านค่านิยมดั้งเดิมของสังคม ในฐานะขั้วตรงข้ามและคอยส่งกำลังบำรุงอุดมการณ์สัมพันธภาพต่าง ๆ งัดข้อกับลัทธิเอดิปุสนิยม(anti-Œdipus) รักสวยรักงาม อ่อนไหว มีใจอารีเพื่อนมนุษย์ทุกรูปนาม
| |
- |
| |
- | นางเอกของมิยาซากิส่วนใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำรับการเป็น shojo ไม่ว่าจะในด้านวัยวุฒิ ความน่าเอ็นดู เมตตาสรรพสัตว์และสัตว์เลี้ยง และไม่ประสาในเรื่องเพศ ตลอดจนมีท่าทีของพระเอกขนานแท้เป็นส่วนผสมอยู่มากเกินงามไปบ้าง อย่างที่ซูซาน เนเปียร์(Susan Napier)ตั้งข้อสังเกต เพราะพวกเธออยู่ไม่สุข ชอบผจญภัยและเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูริกะผู้ได้ชื่อว่าเป็นวีรสตรีนักรบต่อกรกับปีศาจทำลายล้างสิ่งแวดล้อม ลัทธิทุนนิยม ลัทธิทหาร และอภิบาลผู้ถูกกดขี่ และกล้าเผชิญหน้าอำนาจ
| |
- |
| |
- |
| |
- |
| |
- | Kiki's Delivery Service
| |
- |
| |
- | ในบทอภิปรายชิ้นเอกว่าด้วยความน่าเอ็นดูในญี่ปุ่น(Cuties in Japan)ของ ชารอน คินเซลลา(Sharon Kinsellar)ได้ระบุถึงวัฒนธรรมบริโภคความน่ารัก แ ละความน่ารักดังกล่าวปรากฏร่องรอยหลายแห่งในงานของมิยาซากิเรื่องนี้แม่มดฝึกหัดชื่อกิกิในเรื่องนี้เป็นคนน่ารักอยู่ในวัยเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ไม่เชิง มีเค้าความเป็นหญิงครบเครื่องแต่ไม่เดียงสาเรื่องเพศ เธอผูกผ้าคาดผมสีแดงในมาดสาวนักกีฬา มีแมวดำเป็นเพื่อนคู่หู พ่อแม่ตามใจ ตีโพยตีพายหากใครเล่นไม่ซื่อ เธอเฝ้ารอวันจะได้แต่งตัวด้วยชุดและรองเท้าสวย ๆ และทำใจไม่ได้กับสารรูปเชย ๆ ปอน ๆ ไปวัดไปวาไม่ได้ แต่เธอใช้คาถาเหาะไปช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนได้
| |
- |
| |
- | มิยาซากิสร้าง Kiki ในค.ศ.1989 นานพอดูหลังจากเขาและคู่หูคือทากาฮาระปลีกตัวจากโตอิ(Toei)ออกมาตั้งจิบลี(Ghibli studio)เพื่อผลิตผลงานตามถนัดกันเอง อันที่จริงมิยาซากิมีส่วนในการผลิตงานประเภทสาวน้อยพลังวิเศษเพื่ออกอากาศทางโทรทัศน์ภายใต้ชื่อผู้กำกับคนอื่นตั้งแต่ยังเป็นนักวาดการ์ตูนฝึกหัดของโตอิอยู่แล้ว ค.ศ.1966 เขามีผลงานให้ Maho tsuki Sally หรือ Sally, the Witch 2 ตอนด้วยกัน การ์ตูนเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของแม่มดที่ถูกส่งตัวมายังโลกเพื่อเรียนรู้และผูกมิตรกับมนุษย์ รวมถึงใช้พลังวิเศษช่วยเหลือมนุษย์ คศ.1969 เขามีผลงานเรื่อง Himitsu no Akko-chan(Akko's Secret) ความยาว 2 ตอน ตัวละครเป็นนักเรียนหญิงธรรมดาแต่ได้รับพลังวิเศษจากกระจกวิเศษ เธอจึงแปลงร่างเป็นใครหรือสัตว์ชนิดใดก็ได้เพื่อออกช่วยเหลือเพื่อน ๆ และครอบครัว ค.ศ.1971 มิยาซากิมีผลงาน 1 ตอนกับ Sarutobu ecchan(หรือ Ecchan the ninja) ตัวนำเรื่องเป็นเด็กสาวน่ารักท่าทางไม่มีพิษมีภัย แต่มีพลังวิเศษสารพัดพิษ
| |
- |
| |
- | นอกจากนี้มิยาซากิยังวาดการ์ตูนอันมีวรรณกรรมเยาวชนขั้นลายครามเป็นเค้าโครง ไม่ว่าจะเป็น Heidi ของยอนนา สไปรี(Johanna Spyri) Anne of Green Gable ของลูซี มอด มองต์โกเมอรี(Lucy Maud Montgomerry) ทั้งหมดกำกับโดยอิซาโอะ ทากาฮาตะ(Isao Takahata)เพื่อนคู่หูของมิยาซากิ และก็ล้วนเป็นเรื่องราวของสาวน้อยนักสู้ มิยาซากิยังพยายามจะสร้างการ์ตูนจาก The Adventures of Pippi Longstocking เพชรน้ำเอกแห่งวรรณกรรมเยาวชนของแอสตริด ลินด์เกร็น(Astrid Lindgren) แต่การขอลิขสิทธิ์เรื่องราวของเด็กหญิงผู้เด็ดเดี่ยวนี้ไม่ประสบผลดังหวัง ทั้งที่มีการไปสำรวจฉากหลังถึงสวีเดนไว้เสียดิบดี
| |
- |
| |
- | Howl ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่สร้างจากเค้าโครงของต่างประเทศ ต้นเรื่องเป็นวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็กโต ตีพิมพ์ครั้งแรกในค.ศ.1986 ฝีมือนัักเ ขียนแนวจินตนาการเหนือจริงชาวอังกฤษ ไดอานา ไวน์ โจนส์(Diana Wynne Jones) เธอผู้นี้ถือเป็นเจ้าแม่ในวงการเดียวกับผู้ัแต่งแฮร์รี พ็อตเตอร์ แม้จะไม่เปรี้ยงปร้างเท่า ด้วยแนวการเขียนโครงสร้างการเล่าอันซับซ้อน เต็มไปด้วยตัวละครพิลึกพิลั่นและเวทมนต์ คาถา คำสาปสารพัดขนาน
| |
- |
| |
- | ผลงานอันมีเรื่องแต่งจากยุโรปเป็นเค้าโครงของสตูดิโอจิบลีนั้นประกอบด้วย Rupan sensei: Kariosutoro no shiro(The Castle of Cagliostro) งานเมื่อ ค.ศ.1979 Majo no takkyubin(Kiki's Delivery Service) งานเมื่อค.ศ.1989 และ Kurenai no buta(Porco Rosse) งานค.ศ.1992
| |
- |
| |
- | กรณีไม่มีพลังวิเศษติดตัว นางเอกของมิยาซากิก็จะมีผู้วิเศษคอยอุ้มชู เช่น นางเอกจาก Sen to Chihiro no kamikakushi(Spirited Away)งานเมื่อค.ศ.2001 ในเรื่องจะมีปีศาจพ่นไฟคัลซิเฟอร์และพ่อมดคอยอุปถัมภ์ ซุ่มสั่งสมบารมีตลอดจนอัตลักษณ์ จนมีคุณสมบัติกล้าแกร่งเพียบพร้อมสมเป็นนางเอกตามแบบฉบับมิยาซากิใ นที่สุด ทั้งนี้นางเอกประเภทนี้ก็จำต้องเรียนรู้การเอาชนะความกลัวและความอ่อนแอเ่ชนเดียวกับไคฮิโระ(Chihiro)และกิกิอยู่ดีนั่นเอง
| |
- |
| |
- | สุนทรียะของความน่าเอ็นดูใน Kaze no tani Naushika(Nausicaa of the Valley of the Winds) งาน ค.ศ.1984 มีให้เห็นในฉากนางเอกนักบู๊มาดมั่นได้รับสัตว์เลี้ยงตัวน้อยซึ่งคับคล้ายคับคลาจะเป็นเด็กหญิงตัวจิ๋วเสียมากกว่า(ดูจากอากัปกิริยาการหัวเราะ ช่างประจบ ท่าทีและรูปลักษณ์) ส่วนใน Mononoke - hime(Princess Mononoke)งานค.ศ.1997 ก็มีอยู่ในฉากเทพารักษ์ขี้เล่นเผยตัวกลางป่า ส่วนใน Spirited Away มีอยู่ในฉากหมัดฝุ่น(เช่นเดียวกับกิริยางอนเชิดของไคฮิโระ)
| |
- |
| |
- |
| |
- |
| |
- | Princess Mononoke
| |
- |
| |
- | แต่ซาน(San)ไม่น่ารัก เธอพยศและดุร้าย แถมยังปรากฏตัวครั้งแรกในสภาพเลือดเปรอะใบหน้าจากระยะใกล้ อะชิกาตะตัวเอกของเรื่องยังดูอ่อนหวานกว่าเธอเสียอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะมิยาซากิสอดแทรกประเด็นทางการเมืองไว้ในหนังด้วยการทวงถามความสำคัญของชาวไอนุ(Ainu)อันเป็นชนพื้นเมืองของญี่ปุ่น อะชิกาตะจึงมีบทบาทเป็นตัวกลางระหว่างลัทธิจกรวรรดินิยมและทุนนิยมญี่ปุ่นกับโลกอมนุษย์เพราะเขามาจากเผ่าพันธุ์ที่หวนคืนสู่ธรรมชาติและเคารพผีสางนางไม้ ซานไม่ยอมรับสภาพความเป็นมนุษย์และสำคัญตนว่าเป็นสมาชิกในสังคมอมนุษย์ มิยาซากิเนรมิตสภาพน่ายำเกรงและสูงส่งของธรรมชาติไว้สารพัด รวมถึงพลังบำบัดมหัศจรรย์ของจ้าวป่าเจ้าที่ในงานชิ้นนี้
| |
- |
| |
- | ใน Spirited Away ความน่ารักน่าเอ็นดูถูกแทนที่ด้วยความอัปลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นหมูยักษ์สารรูปอุบาทว์ตาอันเป็นร่างจำแลงของพ่อและแม่ แม่มดแฝดต้องฤทธิ์คำสาปยูบาบา(Yubaba) และเซนิบา(Zeniba)ก็ใ หญ่ย้วยอุจาดตา ลูกชายวัยทารกของยูบาบาก็เป็นเหมือนกับก้อนเนื้องอกน่าขยะแขยงที่ผู้เป็นแม่ทั้งรักทั้งชังจากหน้าตาประหลาด จ้ำม้ำบวมฉุและอัปลักษณ์ชาติไร้ที่ติ เทพโอคุทาเรซามะก็มีเรืองร่างมโหฬารน่าเกรงขาม สารรูปของตัวละครเหล่านี้ล้วนน่าเกลียดน่ากลัวรูปพรรณสันฐานอัปลักษณ์สุดบรรยาย ไม่น่าพิสมัยแม้แต่น้อย
| |
- |
| |
- | ร่องรอยการวิพากษ์สังคมใน Spirited Away แม้ไม่เอิกเกริกแต่การไหลย้อนทางของแม่น้ำแห่งพระเจ้าเข้าสู่ยักษ์ใจดำก็น่าจะอนุมานได้ว่าเป็นผลจากมลภาวะทางน้ำ ส่วนการที่พ่อแม่ของตัวเอกถูกสาปเป็นหมูก็น่าจะหมายถึงบทลงโทษสำหรับความละโมบ เห็นแก่ได้ เพียงแต่หนังเปรยเนื้อหาเหล่านี้ขึ้นมาลอย ๆ
| |
- |
| |
- | องค์ประกอบว่าด้วยการผจญภัยในดินแดนเหนือจริง การผลัดรู้ด้วยประสบการณ์พิลึกพิลั่นอกสั่นขวัญแขวน มิตรภาพ และการเผชิญความทุกข์ยาก ความงดงาม และความน่าสะพรึงกลัว ในหนังจะฉุดคนดูจมดิ่งในอาณาจักรจินตภาพและฝันหวาน ฝันร้ายอันไร้ขีดจำกัด Spirited Away ต่างกับ Princess Mononoke ตรงที่งานอื่นจะมีการออกตัวว่าเหมาะกับเด็กผู้หญิงอายุ 10 ขวบขึ้นไปทั้งนี้เพื่อปลูกฝีอุทาหรณ์และขัดเกลาความคิดเด็ก ๆ โดยหนังชี้ให้เห็นว่าตัวละครเด็กหญิงในเรื่อง แม้จะเคยเป็นคนเอาแต่ใจ ขี้แย เหยาะแหยะ และหงอ แต่เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ก็ยังปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ มั่นใจในตนเอง มีมานะ กล้าคิดกล้าทำ ด้วยความช่วยเหลือจากผองเพื่อน เธอจึงเอาตัวรอดได้และยังถอนคำสาปแก่บุพการี
| |
- |
| |
- | อย่างไรก็ตามหนังก็ไม่ได้ทิ้งขว้างอนุสติ(vertige)ว่าด้วยสุนทรียะของภาวะหลุดพ้น หากมาในรูปขันติธรรมของปวงเทพและภูติ แม่น้ำแห่งพระเจ้า คาโอนาริ และวิญญาณไดกอน ภาวะหลุดพ้นจะมาในสภาพไร้ภาพและเสียง สุญญตา และความนิ่งเงียบตามคติอรูปภูมิ การปรากฏตัวของเจ้าป่า(the lord of the Forest)จึงมีแต่จอขาวโพลนพร้อมความสงัด พักหลัง ๆ ดูเหมือนเสน่ห์ของสภาพยูโทเปียนในแดนจินตนาการจะจืดจางลง มิยาซากิจึงหันไปสกัดแยกกากลัทธิจักรวรรดินิยมออกจากแนวคิดนิกายชินโต(Shintoism) แล้วสมาทานเฉพาะความเชื่อเรื่องวิญญาณธรรมชาติมาผสมโรงเข้ากับตัวหนัง ธรรมชาติจึงไม่เพียงงดงามหากยังน่าครั่นคร้าม ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นลับแลแห่งการหลุดพ้น
| |
- |
| |
- |
| |
- | Howl's Moving Castle ไม่มีภาพของธรรมชาติในมิติผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่ง อาจเพราะหนังได้เค้าโครงมาจากวรรณกรรมยุโรป ดังนั้นจึงมีเฉพาะความสวยงามของธรรมชาติในรูปสีสัน รูปทรงของดอกไม้ ใบหญ้า ทิวทัศน์ตามหลักการจัดภาพ แต่หนังก็ต่อเติมมิติทางการเมืองเพิ่มเข้ามา ขณะที่ฉบับหนังสือไม่มีแง่มุมนี้ ในงานเขียนของไวน์ โจนส์ แม่มดแห่งการล้างผลาญ(the Witch of the Waste)เป็นฝ่ายก่อหวอดโดยใช้กำลังและไม่มีการโยงใยเข้ากับสงครามในโลกของความเป็นจริง แต่ในพากย์หนังของมิยาซากิกลับมีภาพความสยดสยองจากสงครามจริง ๆ และตัวละครโซฟีก็ปวารณาตัวออกรบเพื่อยุติสงคราม และปลุกสำนึกให้กษัตริย์หาทางดับไฟสงครามแทนที่จะมัวสนองตัณหาของฮาว(Howl) ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นเป็นการประกาศจุดยืนทางการเมืองแต่ยากจะหักห้ามมิให้โยงฉากสะเทือนอารมณ์ดังกล่าวเข้ากับสงครามอิรัก จริงอยู่ตัวละครในงานเรื่องก่อน ๆ ของมิยาซากิ(เช่น นูซิกะ และอะริกาตะ)พยายามยับยั้งสงครามระหว่างคู่ปรปักษ์โดยวางตัวเป็นคนกลางและหาทางไกล่เกลี่ยถอดชนวนวิกฤติการณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่ามิยาซากิถือหางฝ่ายสันติภาพนิยมและป้องปรามการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอันย่อมพลอยโดนหางเลขจากสงคราม อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัจจุบันของโลกอาจขจัดม่านหมอกในใจมิยาซากิไปได้มากและแน่วแน่พอจะปวารณาตนแก่ความคิดที่ตนฝักใฝ่
| |
- |
| |
- | นอกจากเป็นนักรณรงค์สันติภาพ นูซิกะและอะชิกาตะยังเป็นนักรบผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม นักสู้เพื่อยุติการชำเรา การสร้างมลภาวะแก่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิยาซากิกล่าวยอมรับในการให้สัมภาษณ์ว่า ระหว่างเขียนเนื้อเรื่องและวาดภาพนูซิกะ เขาคิดถึงกรณีมินามาตะอันเป็นผลจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยสารปรอทลงสู่ทะเลญี่ปุ่น สร้างมลพิษแก่ระบบนิเวศน์ของสัตว์ทะเล(เดิมทีเขาตั้งใจผลิตเป็นการ์ตูนเล่ม แต่เปลี่ยนมาเป็นหนังการ์ตูนในภายหลัง) Princess Mononoke เปิดแนวรบหลายด้าน โดยมีเป้าหมายหลักคือ ราวีกับการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติอันเป็นผลจากการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมโดยปราศจากมาตรการรองรับ และการลิดรอนศักดิ์ศรีการดำรงอยู่(ของผู้หญิง ชนเผ่าพื้นเมือง สัตว์ ป่าไม้)อันเป็นผลพวงจากการขยายตัวของลัทธิทุนนิยมและอำนาจนิยม หนังตั้งโจทย์กับทิศทางการเจริญเติบโตของญี่ปุ่นสมัยใหม่และไว้อาลัยแก่เหยื่อ Princess Mononoke เป็นงานที่มีเนื้อหาข้องแวะเรื่องการเมืองมากที่สุดของมิยาซากิแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนอกญี่ปุ่น หนังไม่ถูกใจผู้ชมในตลาดสหรัฐและตลาดออสเตรเลียก็ตอบรับการเข้าฉายอย่างเฉยเมย หนังมีฉากเหตุการณ์เยิ่นเย้อและเนื้อหาก็ซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็ก ๆ ส่วนคนดูผู้ใหญ่ก็มองว่าตัวเอกอายุน้อยเกินไปและปราศจากแรงดึงดูดทางเพศ
| |
- |
| |
- | แล้วมิยาซากิผูกโยงแบบฉบับการเป็น shojo เข้ากับกระบวนการวิพากษ์สังคม แนวคิดสิ่งแวดล้อมนิยม และการบูชาธรรมชาติในลักษณะใด ด้วยเหตุที่ shojo และความน่าเอ็นดูสัมพันธ์กับลัทธิบริโภคนิยมในแง่เป็นทางถอยจากภาวะความเป็นจริงของสังคม โดยอาจถือเป็นวิถีทางของการก่ออารยะขัดขืนต่อบรรทัดฐานสังคม มิยาซากิมอบแต้มต่อในฐานะลูกผู้หญิงเป็นทุนหน้าตักและลงขันถือหาง shojo เลือดนักสู้แบบลูกผู้ชายเข้าไปในตัวละคร shojo
| |
- |
| |
- | ตัวละคร shojo ของมิยาซากิมีแต้มต่อจากความเป็นลูกผู้หญิงเป็นทุนประเดิม และยังมีเลือดนักสู้แบบลูกผู้ชายเป็นสภาพคล่องเสริม ตัวละครพวกนี้ใช้บารมีในตัวเป็นกลไกสำคัญในการอภิบาลผู้ถูกกดขี่จากฝ่ายเผด็จการ ตลอดจนรณรงค์เพื่อปฏิวัติสังคม แทนที่จะหลงตัว โอหังกับเสน่ห์เฉพาะตัว ลอยหน้าลอยตาหว่านเสน่ห์ไปวัน ๆ นับเป็นการผสมผสานขั้วพลังหญินและหยาง หญิงกับชาย เข้าด้วยกันเพื่อสรางดุลยภาพและความสมานฉันท์ในสังคม กรณีนี้ใช้ไม่ได้กับอะชิกาตะ ตัวละครตัวนี้เข้าข่ายเป็น shonen อันเป็นแบบฉบับของเด็กหนุ่มผู้อ่อนไหวและอ่อนโยนเหมือนอิสตรี นอกจากนี้ มิยาซากิยังแต่งแต้มอุปนิสัยรักสัตว์ไว้ใน shojo เพื่อเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมอันสะท้อนถึงความรัและความเคารพธรรมชาติ โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามคติชินโตและเผ่าไอนุทั้งในฟากมิตร สูงส่ง และชวนพรั่นพรึง เป็นลูกคู่
| |
- |
| |
- | อาจกล่าวได้ว่าแม้นางเอกของมิยาซากิจะเป็นนักสู้แต่ก็ไม่อยู่ในสายตาอิตถีนิยม พวกเธอไม่มีแววว่าจะแบ่งเขาแบ่งเรากับผู้หญิงด้วยกัน อีกทั้งก็ไม่เอาเรื่องสิทธิสตรีมาเป็นอารมณ์ สถานภาพของพวกเธอเป็นขั้วตรงข้ามกับภาพแม่แบบของหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ (คุณแม่จอมจู้จี้ นางตัวแสบ) ออกจะลักเพศ แต่อยู่ในกรอบของการ์ตูนวิทยาศาสตร์อันมีจุดใหญ่ใจความอยู่ที่วีรกรรมเหล่ามานพ(shonen) การพิชิตอธรรมของเพศชาย ปมขัดแย้งจึงไม่ได้เกิดจากประเด็นของเพศ(หญิงกับชาย) แต่เกิดจากวัย(หนุ่มสาว กับผู้ใหญ่) และก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างจากจินตนาการถึงความห้าวหาญมุ่งมั่นของคนรุ่นใหม่ เสริมแต่งด้วยจินตภาพถึงการก่อหวอดของคนรุ่นใหม่ คุณนายอิโบชิ(Eboshi)แม่เลี้ยงของเหล่าอดีตโสเภณีใน Princess Mononoke อันที่จริงก็คอยขูดรีดแรงงานและลำเลิกบุญคุณจากพวกหญิงอาภัพใต้อาณัติ
| |
- |
| |
- | หากไม่นับกรณี Torari no Totora(My Neighbour Totoro งานค.ศ.1988)แล้ว นางเอกห้าวเล็ก ๆ ในหนังมิยาซากิมักเป็นเด็กหัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่มีเพื่อนพ้องน้องพี่เพศเดียวกัน และไม่เดียงสากับเพศตรงข้าม ในภาควรรณกรรมนั้นไดอานา ไ วน์ โจนส์แต่งเรื่องให้โซฟีมีน้องสาว 2 คน แต่ในฉบับหนังนั้นมิยาซากิตัดตัวละครร่วมอุทรเหล่านี้ออกทั้งหมด San และไคฮิโระต่างมีเพื่อนชายคนพิเศษแต่ความสัมพันธ์ก็ไม่ได้เบ่งบานไปถึงขั้นคู่รัก หากจะเหนียวแน่นในฐานะคู่คิด พี่ชาย-น้องสาวในอุดมคติ(Platonic)เสียมากกว่า แม้ไม่มีแม่เป็นตัวเป็นตนอยู่ในหนัง แต่พลังของเพศแม่ก็แผ่อิทธิพลเข้าแทนที่พลังขั้วพ่ออันเป็นขั้วอำนาจเก่าในการ์ตูนวิทยาศาสตร์ และพวกหนุ่ม ๆ ก็จะเอาแต่สนุก ไร้สาระไปวัน ๆ
| |
- |
| |
- | มิยาซากิสะท้อนท่าทีเบื่อหน่ายตัวละครประเภทคุณชายอ้อนแอ้น ผ่านออกมาทางตัวละครองค์ชายเรือนร่างสูงชะลูด สำรวย ม่านตาสีฟ้า ผมหยักโศกสีบลอนด์ห้อยระย้า แช่มช้อย จีบปากจีบคอ ตามตำราพระเอกของละครน้ำเน่าไม่ก็เทพนิยายจักร ๆ วงศ์ ๆ ของยุโรปอันเป็นขวัญใจเด็กสาวญี่ปุ่น
| |
- |
| |
- | ก่อนถูกสาป โซฟีเป็นสาวโสดผู้มีฝีมือในการทอผ้า เธอไม่ใช่สาวรุ่นมัธยม เธอกลายเป็นยายแก่แร้งทึ้งด้วยผลของคำสาป ช่วงชีวิตหลังจากนั้นมีแต่ต้องตกระกำลำบากตามประสาคนชราดุจเดียวกับตัวผู้กำกับ
| |
- |
| |
- | มิยาซากิร่ำ ๆ จะเกษียณตัวเองมาตั้งแต่เสร็จงานกำกับ Princess Mononoke ทว่าก็ยังล้างมือในอ่างทองคำไม่สำเร็จ แถมยังหวนคืนยุทธจักรวาดลวดลายการปรุงสูตรเรื่องเล่าใหม่ พร้อมกับพลิกแพลงทัศนคติต่อเพศ ชะรอยผู้กำกับลายครามคงจะมีทีเด็ดไม้ตายไหนมาสร้างความฮือฮาแก่คนดูได้อีกเรื่อย ๆ
| |
- |
| |
- |
| |
- | แปลจาก
| |
- |
| |
- | Freiberg, Freda. 2006. "Miyazaki’s Heroines".http://archive.sensesofcinema.com/contents/06/40/miyazaki-heroines.html
| |
- |
| |
- | ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ [http://enyxynematryx.wordpress.com/2008/06/18/miyasaki-heroine-th/ http://enyxynematryx.wordpress.com/2008/06/18/miyasaki-heroine-th]
| |