การค้าบริการระหว่างประเทศ
จาก ChulaPedia
(→เอกสารอ้างอิง) |
(→ข้อจำกัดของการจำแนกรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศ) |
||
แถว 19: | แถว 19: | ||
แม้ว่าองค์กรการค้าระหว่างประเทศจะได้ทำการจำแนกรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศออกเป็น 4 ประเภทไว้แล้วอย่างรอบคอบ แต่คำจำกัดความนี้ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการในการจำแนกลักษณะการให้บริการบางประเภท เช่น บริการ Logistics ซึ่งเป็นบริการระหว่างประเทศซึ่งไม่สามารถจำแนกลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งของรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศตามคำจำกัดความขององค์กรการค้าโลกได้ | แม้ว่าองค์กรการค้าระหว่างประเทศจะได้ทำการจำแนกรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศออกเป็น 4 ประเภทไว้แล้วอย่างรอบคอบ แต่คำจำกัดความนี้ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการในการจำแนกลักษณะการให้บริการบางประเภท เช่น บริการ Logistics ซึ่งเป็นบริการระหว่างประเทศซึ่งไม่สามารถจำแนกลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งของรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศตามคำจำกัดความขององค์กรการค้าโลกได้ | ||
+ | |||
--[[ผู้ใช้:Spiti|Spiti]] 05:17, 13 สิงหาคม 2553 (BST) | --[[ผู้ใช้:Spiti|Spiti]] 05:17, 13 สิงหาคม 2553 (BST) | ||
+ | |||
== เอกสารอ้างอิง == | == เอกสารอ้างอิง == | ||
World Trade Organisaion (2006) "THE GENERAL AGREEMENT ON TRADE IN SERVICES:AN INTRODUCTION" Online Available at | World Trade Organisaion (2006) "THE GENERAL AGREEMENT ON TRADE IN SERVICES:AN INTRODUCTION" Online Available at |
รุ่นปัจจุบันของ 04:19, 13 สิงหาคม 2553
การค้าบริการระหว่างประเทศ (Trade in Services)
ในทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงการค้าระหว่างประเทศ การค้าจะถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การค้าสินค้า (Trade in Goods) และการค้าบริการ (Trade in Services) ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในตัวสินค้าทั้ง 2 ประเภท เนื่องจากการค้าสินค้าเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนในสิ่งซึ่งจับต้องได้เป็นส่งผ่านสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้ขายให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้บริโภคที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าวข้ามเขตแดนระหว่างประเทศ
แต่สำหรับสินค้าที่เป็นภาคบริการนั้น เนื่องจากบริการเป็นสินค้าในทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Goods) ประเภทหนึ่งซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible Products) ทำให้รูปแบบการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ตลอดจนการผลิต และการบริโภคมีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากการค้าสินค้า
ดังนั้นเพื่อให้เห็นถึงลักษณะพิเศษในรูปแบบการค้าบริการที่มีความซับซ้อนและแตกต่างออกไป องค์กรการค้าโลก (World Trade Organisation: WTO) จึงกำหนดรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศออกเป็น 4 รูปแบบ (4 Modes of Services Supply) ไว้ในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreements on Trade in Services: GATs) (WTO, 2006; พัชราวลัย วงศ์บุญสิน, สินีนาฏ เสริมชีพ และ ปิติ ศรีแสงนาม, 2553)ดังนี้
1. รูปแบบที่ 1 : การบริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) หรือเรียกว่า Mode 1 เป็นการให้บริการจากพรมแดนของประเทศผู้ให้บริการไปยังพรมแดนของประเทศที่เป็นลูกค้า โดยผู้ให้บริการ (ผู้ส่งออก) ยังคงอยู่ในประเทศตน ไม่ต้องไปลงทุนหรือร่วมลงทุนจัดตั้งธุรกิจให้บริการในประเทศลูกค้า (ผู้บริโภค หรือผู้นำเข้า) ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยชาวไทย (ผู้บริโภค, ผู้นำเข้าบริการ) โทรศัพท์ไปปรึกษาปัญหาทางสุขภาพกับนายแพทย์ที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา (ผู้ผลิต, ผู้ส่งออกบริการ) ผ่านทางระบบสื่อสารโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ทางไกล การประชุมทางไกล (Teleconference) หรือแม้แต่การส่ง Email เพื่อถามตอบปัญหา และจ่ายค่าใช้บริการผ่านทางระบบการโอนเงินข้ามประเทศหรือระบบบัตรเครดิต
2. รูปแบบที่ 2 : การบริโภคในต่างประเทศ (Consumption Abroad) หรือเรียกว่า Mode 2 เป็นการให้บริการที่เกิดขึ้นในพรมแดนของประเทศผู้ให้บริการ โดยผู้เป็นลูกค้าเดินทางจากประเทศตนเข้ามาขอรับบริการในประเทศผู้ให้บริการ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยชาวไทย (ผู้บริโภค, ผู้นำเข้าบริการ) เดินทางไปรับการผ่าตัดจากนายแพทย์ที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา (ผู้ผลิต, ผู้ส่งออกบริการ) ที่โรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา
3. รูปแบบที่ 3 : การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ (Commercial Presence) หรือเรียกว่า Mode 3 เป็นการที่ผู้ให้บริการเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนจัดตั้งธุรกิจ (นิติบุคคล) เพื่อให้บริการในประเทศลูกค้า การจัดตั้งธุรกิจอาจทำในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดตั้งบริษัท การจัดตั้งสาขา การจัดตั้งสำนักงานตัวแทน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา (ผู้ผลิต, ผู้ส่งออกบริการ)เข้ามาลงทุนเปิดสาขาของโรงพยาบาลเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลในประเทศไทย (ผู้บริโภค, ผู้นำเข้าบริการ)
4. รูปแบบที่ 4 : การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Person) หรือเรียกว่า Mode 4 เป็นลักษณะของการที่บุคคลธรรมดาเดินทางเข้าไปทำงานประกอบวิชาชีพในสาขาบริการด้านต่างๆ ในประเทศลูกค้า ตัวอย่างเช่น นายแพทย์ชาวอเมริกัน (ผู้ผลิต, ผู้ส่งออกบริการ)เดินทางเข้ามาให้บริการรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยในประเทศไทย (ผู้บริโภค, ผู้นำเข้าบริการ)
ข้อจำกัดของการจำแนกรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศ
แม้ว่าองค์กรการค้าระหว่างประเทศจะได้ทำการจำแนกรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศออกเป็น 4 ประเภทไว้แล้วอย่างรอบคอบ แต่คำจำกัดความนี้ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการในการจำแนกลักษณะการให้บริการบางประเภท เช่น บริการ Logistics ซึ่งเป็นบริการระหว่างประเทศซึ่งไม่สามารถจำแนกลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งของรูปแบบการค้าบริการระหว่างประเทศตามคำจำกัดความขององค์กรการค้าโลกได้
--Spiti 05:17, 13 สิงหาคม 2553 (BST)
เอกสารอ้างอิง
World Trade Organisaion (2006) "THE GENERAL AGREEMENT ON TRADE IN SERVICES:AN INTRODUCTION" Online Available at http://www.wto.org/english/thewto_e/whatis_e/tif_e/agrm6_e.htm [Access 13/8/2010]
พัชราวลัย วงศ์บุญสิน, สินีนาฏ เสริมชีพ และ ปิติ ศรีแสงนาม (2553) "ข้อเสนอโครงการวิจัยเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานตามมาตรฐานอาเซียน" เสนอต่อ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2009 [B.E.2552]) โครงการศึกษาผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม, เสนอต่อ สภาสถาปนิก.