ผักเชียงดา

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย '== ผักเชียงดา == รพงษ์ เบศรภิญโญวงศ์ ผักเชียงดา มีชื…')
แถว 11: แถว 11:
'''เอกสารอ้างอิง'''
'''เอกสารอ้างอิง'''
 +
1. สุภาภรณ์ ปิติพร. [[บันทึกของแผ่นดิน 2 ผักเป็นยารักษาชีวิต]]. กรุงเทพมหานคร: ปรมัตถ์การพิมพ์, 2552.
1. สุภาภรณ์ ปิติพร. [[บันทึกของแผ่นดิน 2 ผักเป็นยารักษาชีวิต]]. กรุงเทพมหานคร: ปรมัตถ์การพิมพ์, 2552.
2. Shimizu, K., Ozeki, M., Tanaka, K., Itoh, K., Nakajyo, S., Urakawa, N., et al.  Suppression of glucose absorption by extracts from the leaves of ''Gymnema inodorum''. [[Journal of Veterinary Medical Science]]. 59 (1997): 753-757.
2. Shimizu, K., Ozeki, M., Tanaka, K., Itoh, K., Nakajyo, S., Urakawa, N., et al.  Suppression of glucose absorption by extracts from the leaves of ''Gymnema inodorum''. [[Journal of Veterinary Medical Science]]. 59 (1997): 753-757.
แถว 16: แถว 17:
4. Chanwitheesuk, A., Teerawutgulrag, A. and Rakariyatham, N.  Screening of antioxidant activity and antioxidant compounds of some edible plants of Thailand. [[Food Chemistry]]. 92 (2005): 491-497.
4. Chanwitheesuk, A., Teerawutgulrag, A. and Rakariyatham, N.  Screening of antioxidant activity and antioxidant compounds of some edible plants of Thailand. [[Food Chemistry]]. 92 (2005): 491-497.
5. Chiabchalard, A., Tencomnao, T. and Santiyanont, R.  Effect of ''Gymnema inodorum'' on postprandial peak plasma glucose levels in healthy human. [[African Journal of Biotechnology]] 9 (2010): 1079-1085.
5. Chiabchalard, A., Tencomnao, T. and Santiyanont, R.  Effect of ''Gymnema inodorum'' on postprandial peak plasma glucose levels in healthy human. [[African Journal of Biotechnology]] 9 (2010): 1079-1085.
-
6. Bespinyowong, R. [[EFFECT OF ''GYMNEMA INODORUM'' TEA ON BLOOD SUGAR IN TYPE 2 DIABETIC OUT-PATIENTS AT LERDSIN HOSP]]ITAL. Master's thesis. Department of Food and Pharmaceutical Chemistry, Chulalongkorn University, 2012.
+
6. Bespinyowong, R. [[EFFECT OF ''GYMNEMA INODORUM'' TEA ON BLOOD SUGAR IN TYPE 2 DIABETIC OUT-PATIENTS AT LERDSIN HOSPITAL]]. Master's thesis. Department of Food and Pharmaceutical Chemistry, Chulalongkorn University, 2012.

การปรับปรุง เมื่อ 01:45, 28 พฤษภาคม 2556

ผักเชียงดา

รพงษ์ เบศรภิญโญวงศ์

ผักเชียงดา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum (Lour.) Decne ชื่อพื้นบ้านอื่นๆได้แก่ ผักจินดา ผักเซ็ง ม้วนไก่ ผักว้น ผักฮ่อนไก่ เครือจันปา ผักอีฮ่วน เป็นพืชในวงศ์ Asclepiadaceae ลักษณะเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ลำต้นมีน้ำยางใส ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม ออกสลับตั้งฉาก ดอกสีเหลืองอมส้ม ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นรูปหอก ผักเชียงดาเป็นผักพื้นบ้านแถบภาคเหนือ สามารถรับประทานเป็นผักสด หรือนำมาเป็นส่วนผสมของแกงและผัดร่วมกับผักอื่นๆ ผักเชียงดายังเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ สรรพคุณแก้ไข้ แก้แพ้ แก้เบาหวาน รักษาอาการท้องผูก และรับประทานเวลาคิดมาก หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดเลยใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยจากการทำงาน (1)

การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด Shimizu โดยสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่ได้รับน้ำตาลกลูโคสทางปาก (2)และเมื่อวิเคราะห์พฤกษเคมีที่ออกฤทธิ์ พบว่าเป็นสารในกลุ่ม triterpenoid saponins (3)ฤทธิ์ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของผักเชียงดาคือฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของผักพื้นบ้านจำนวน 43 ชนิดที่บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ ผักเชียงดาสามารถแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด นอกจากนี้ผักเชียงดายังมีปริมาณวิตามินอีสูงสุดอีกด้วย (4)

การศึกษาผลของชาผักเชียงดาในผู้ที่มีสุขภาพดี พบว่าการดื่มชาผักเชียงดาภายใน 15 นาทีหลังจากได้รับสารละลายกลูโคสจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเมื่อเทียบกับตอนที่ไม่ได้ดื่มชาผักเชียงดา และการออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลจะขึ้นอยู่กับขนาดของชาผักเชียงดาด้วย เมื่อให้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีดื่มชาผักเชียงดาเป็นเวลา 28 วัน ก็ไม่พบอาการน้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นอันตราย และไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับ (5)อย่างไรก็ตาม การให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 12 คน ดื่มชาผักเชียงดาหลังอาหารสามมื้อเพิ่มเติมจากยาเบาหวานที่ได้รับการรักษาจากแพทย์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตลอดจนไม่กระทบต่อการทำงานของตับและไต และไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง เนื่องจากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานดังกล่าวยังมีข้อจำกัดคือจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาค่อนข้างน้อย และระยะเวลาในการศึกษาที่สั้น จึงควรมีการศึกษาอื่นเพื่อประเมินผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยเบาหวานต่อไป (6)

เอกสารอ้างอิง

1. สุภาภรณ์ ปิติพร. บันทึกของแผ่นดิน 2 ผักเป็นยารักษาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ปรมัตถ์การพิมพ์, 2552. 2. Shimizu, K., Ozeki, M., Tanaka, K., Itoh, K., Nakajyo, S., Urakawa, N., et al. Suppression of glucose absorption by extracts from the leaves of Gymnema inodorum. Journal of Veterinary Medical Science. 59 (1997): 753-757. 3. Shimizu, K., Ozeki, M., Iino, A., Nakajyo, S., Urakawa, N. and Atsuchi, M. Structure-activity relationships of triterpenoid derivatives extracted from Gymnema inodorum leaves on glucose absorption. Japanese Journal of Pharmacology. 86 (2001): 223-229. 4. Chanwitheesuk, A., Teerawutgulrag, A. and Rakariyatham, N. Screening of antioxidant activity and antioxidant compounds of some edible plants of Thailand. Food Chemistry. 92 (2005): 491-497. 5. Chiabchalard, A., Tencomnao, T. and Santiyanont, R. Effect of Gymnema inodorum on postprandial peak plasma glucose levels in healthy human. African Journal of Biotechnology 9 (2010): 1079-1085. 6. Bespinyowong, R. [[EFFECT OF GYMNEMA INODORUM TEA ON BLOOD SUGAR IN TYPE 2 DIABETIC OUT-PATIENTS AT LERDSIN HOSPITAL]]. Master's thesis. Department of Food and Pharmaceutical Chemistry, Chulalongkorn University, 2012.

เครื่องมือส่วนตัว