PLZT Ceramics
จาก ChulaPedia
แถว 39: | แถว 39: | ||
รูปที่ 4 กราฟ contour ค่า photocurrent (Jph) และค่า photovoltage (Eph) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT | รูปที่ 4 กราฟ contour ค่า photocurrent (Jph) และค่า photovoltage (Eph) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT | ||
- | นอกจากนี้ K. Uchino พบว่าความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกของ PLZT(3/52/48) คือ อยู่ที่ 366 นาโนเมตร เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังแสดงในรูปที่ 5 | + | นอกจากนี้ K. Uchino พบว่าความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกของ PLZT(3/52/48) คือ อยู่ที่ 366 นาโนเมตร |
+ | เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังแสดงในรูปที่ 5 | ||
[[ไฟล์:48).jpg]] | [[ไฟล์:48).jpg]] | ||
รูปที่ 5 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงและ photocurent ของวัสดุ PLZT(3/52/48) | รูปที่ 5 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงและ photocurent ของวัสดุ PLZT(3/52/48) | ||
- | [[ไฟล์:กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก ]] | + | |
+ | == ปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกในวัสดุ PLZT == | ||
+ | K. Uchino ทำการวัดค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric constant, d33) ของวัสดุ PLZT ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ | ||
+ | พบว่าวัสดุ PLZT ให้ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริกสูง คือ มากกว่า 300 | ||
+ | พิโคเมตรต่อโวลต์ ขึ้นไป โดยเฉพาะองค์ประกอบทางเคมี PLZT(8/63/37) ซึ่งให้ค่าคงที่เพียโซ-อิเล็กทริกสูงถึง 700 พิโคเมตรต่อโวลต์(21) | ||
+ | ให้ค่าดังแสดงในรูปที่ 2.16 ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก ของวัสดุ PLZT(3/52/48) มีค่าอยู่ที่ประมาณ 360 พิโคเมตรต่อโวลต์ | ||
+ | |||
+ | [[ไฟล์:กราฟ contour ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก.jpg ]] |
การปรับปรุง เมื่อ 09:09, 31 พฤษภาคม 2556
เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT)
เลดแลนทานัมเซอร์โคเนตไททาเนต (PLZT) คือ วัสดุเฟร์โรอิเล็คทริกชนิดหนึ่งซึ่งมีโครงสร้างผลึกแบบ Perovskite และมีสูตรโครงสร้างอย่างง่าย คือ ABO3 โดยตะกั่วไอออนและแลนทานัมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ A ส่วนเซอร์โคเนียม ไอออนและไทเทเนียมไอออน บรรจุอยู่ในตำแหน่งของ B ดังเห็นแผนภาพจำลองได้ใน รูปที่ 1 ซึ่งสามารถเขียนสูตรทางเคมีได้เป็น
Pb1-xLax(ZryTi1-y)1-x/4O3
รูปที่ 1 แผนภาพจำลองโครงสร้างของวัสดุ PLZT
เนื่องจากโครงสร้างผลึกของ PLZT อยู่ในระบบผลึกเททระโกนัล (tetragonal) ดังในรูปที่ 1 และมีการเคลื่อนตัวออกจาก จุดศูนย์กลางเล็กน้อยของไอออนในตำแหน่ง B เป็นเหตุให้ผลึก ของวัสดุ PLZT มีการโพลาไรเซชันในตัวเอง ดังเห็นได้ชัดเจนใน รูปที่ 2 ซึ่งแสดงทิศทางของไดโพลในโครงสร้างผลึก และด้วยความยืดหยุ่นทางไดโพลนี้เองทำให้วัสดุดังกล่าวสามารถเปลี่ยนขั้วไดโพล ได้ด้วยสนามไฟฟ้า
รูปที่ 2 แผนภาพจำลองการโพลาไรเซชันของวัสดุ PLZT
ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกในวัสดุ PLZT
เมื่อวัสดุ PLZT ถูกกระตุ้นด้วยแสงที่มีพลังงานมากกว่าช่องว่างแถบพลังงาน (energy band gap) ของ PLZT (~3.26 eV) จะทำให้อิเล็คตรอนถูกกระตุ้นจากแถบเวเลนซ์ (valence band) ขึ้นไปอยู่ในแถบการนำ (conduction band) ซึ่งช่วงความยาว คลื่นแสงที่มีค่าพลังงานเท่ากับ 3.26 eV อยู่ในช่วงประมาณ 380 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงของแสงอัลตราไวโอเล็ต ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 แผนภาพจำลองปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกวัสดุ PLZT
จากผลงานวิจัยของ K. Uchino(21) องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ PLZT ที่ก่อให้เกิดค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltaic power, Pph) สูงสุด คือ องค์ประกอบที่มีตะกั่วไอออน แลนทานัมไอออน เซอร์โคเนียมไอออนและไทเทเนียมไอออน อยู่ 97, 3, 52 และ 48 mol% ตามลำดับ ((Pb0.97La0.03)(Zr0.52Ti0.48)O3) ดังแสดงในซึ่งสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ อย่างง่าย คือ PLZT(3/52/48) ซึ่งให้ค่ากระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photocurent, Jph) อยู่ที่ 2.8 nA/cm และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) อยู่ที่ 1.8 kV/cm ซึ่งให้ค่ากำลังไฟฟ้าเนื่องจาก ปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังเห็นได้จากกราฟ contour ค่ากระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photocurent Jph) และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิก (photovoltage, Eph) ในรูปที่ 4
รูปที่ 4 กราฟ contour ค่า photocurrent (Jph) และค่า photovoltage (Eph) ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ ของวัสดุ PLZT
นอกจากนี้ K. Uchino พบว่าความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกของ PLZT(3/52/48) คือ อยู่ที่ 366 นาโนเมตร เนื่องจากเป็นความยาวคลื่นที่ก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าเนื่องจากปรากฏการณ์โฟโตวอลเทอิกสูงที่สุด ดังแสดงในรูปที่ 5
รูปที่ 5 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงและ photocurent ของวัสดุ PLZT(3/52/48)
ปรากฏการณ์เพียโซอิเล็กทริกในวัสดุ PLZT
K. Uchino ทำการวัดค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก (piezoelectric constant, d33) ของวัสดุ PLZT ที่องค์ประกอบทางเคมีต่างๆ พบว่าวัสดุ PLZT ให้ค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริกสูง คือ มากกว่า 300 พิโคเมตรต่อโวลต์ ขึ้นไป โดยเฉพาะองค์ประกอบทางเคมี PLZT(8/63/37) ซึ่งให้ค่าคงที่เพียโซ-อิเล็กทริกสูงถึง 700 พิโคเมตรต่อโวลต์(21) ให้ค่าดังแสดงในรูปที่ 2.16 ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าคงที่เพียโซอิเล็กทริก ของวัสดุ PLZT(3/52/48) มีค่าอยู่ที่ประมาณ 360 พิโคเมตรต่อโวลต์