เตาอุโมงค์ Tunnel Kilns
จาก ChulaPedia
แถว 1: | แถว 1: | ||
ผู้จัดทำ | ผู้จัดทำ | ||
- | นายเชิดพงษ์ บรรลุกิจ | + | นายเชิดพงษ์ บรรลุกิจ 5433269823 |
- | นางสาวธัญญาเรศ เรืองรัตนไพศาล | + | นางสาวธัญญาเรศ เรืองรัตนไพศาล 5433279023 |
- | นายพงศธร นาคสุทธิ์ | + | นายพงศธร นาคสุทธิ์ 5433285823 |
- | นายวรัญญู อ่างทอง | + | นายวรัญญู อ่างทอง 5433297323 |
การปรับปรุง เมื่อ 01:36, 26 กรกฎาคม 2556
ผู้จัดทำ
นายเชิดพงษ์ บรรลุกิจ 5433269823
นางสาวธัญญาเรศ เรืองรัตนไพศาล 5433279023
นายพงศธร นาคสุทธิ์ 5433285823
นายวรัญญู อ่างทอง 5433297323
เตาอุโมงค์ หรือ Tunnel Kiln เป็นหนึ่งในเตาเผาผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทหนึ่งที่สำคัญ ด้วยมีลักษณะพิเศษคือ มีรางคล้ายรางรถไฟโดยที่ผลิตภัณท์ที่ต้องการจะเผาจะถูกนำไปใส่ในรถเตาแล้วให้รถดังกล่าวจะเคลื่อนไปตามรางผ่านเข้าไปในเตาจนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ต้องการออกมา
หลักการของเตาเผานี้ คือ ให้ผลิตภัณฑ์วางเรียงบนรถเตา และรถเตาเคลื่อนผ่านไปในอุโมงค์เตา ที่มีระดับอุณหภูมิค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนไปถึงจุดสูงสุด และหลังจากนั้น ระดับอุณหภูมิจะลดต่ำลง
เตาอุโมงค์ (Tunnel Kiln) ได้มีการพัฒนาเป็น เตาแบบโรลเลอร์ฮาร์ท (Roller Herarth Kiln) โดยผลิตภัณฑ์ จะวิ่งบนล้อเลื่อน (Roller) แทนที่จะวางเรียงบนรถเตา ผลิตภัณฑ์ที่เผา วางอยู่ในระดับเดียวกันหมด มีเพียงชั้นเดียว
ประวัติของเตาอุโมงค์
เตาอุโมงค์เตาแรกถูกสร้างขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศษ ในปี ค.ศ. 1854 เพื่อใช้สำหรับเผาอิฐและกระเบื้อง หลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างเตาอุโมงค์อื่นๆตามมา จนถึงปี ค.ศ.1878 ในประเทศเยอรมันนี และ อังกฤษ เป็นต้น
เตาอุโมงค์ ได้ถูกจดสิทธิบัตรโดย William Cliff ในปี ค.ศ.1869 ณ ประเทศอังกฤษ โดยเตาดังกล่าวมีความยาวเฉพาะในส่วนของอุโมงค์ถึง 27 เมตร และมีรางรถไฟทอดยาวอยู่ภายในอุโมงค์อุโมงค์สำหรับการขนส่งอิฐ โดยเตาได้ถูกออกแบบให้มีพื้นลาดเอียงเพื่อช่วยในการขนส่ง รวมถึงมีการสร้างปล่องควันบริเวณผนังของห้องเผาผลิตภัณท์ เพื่อใช้ระบายก๊าซและลมร้อนจากกระบวนการเผา ต่อมาเตาอุโมงค์ได้มีการถูกนำไปพัฒนาต่อโดย Messrs และตั้งเตาชนิดใหม่นั้นว่า Tramway kiln ในปี ค.ศ. 1879 โดยตัวตัวนี่สามารถเผาอิฐได้มากถึง 20,000 ก้อน ต่อ วัน ซึ่งเกิดจากการที่ตัวรถขนอิฐสามารถขนอิฐพร้อมกันทีเดียวได้มากถึง 5000 ก้อน ต่อ ครั้ง ในส่วนของทวีปอเมริกาเหนือนั้น เตาอุโมงค์ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกที่ เมืองชิคาโก ในปี ค.ศ. 1889 โดย J.C.- Anderson เพื่อใช้เผาอิฐ และจากนั้นเตาอุโมงค์ก็ถูกสร้างและพัฒนาต่อมาเรื่อยๆจนกระทั้งได้เตาที่มีลักษณะสมบูรณ์ที่สุดในปี ค.ศ. 1910 ที่ นิวเจอร์ซี่
ส่วนประกอบของเตาอุโมงค์
สาเหตุที่เรียกเราเตาอุโมงค์ เนื่องมาจากสภาพทั่วไปดูคล้ายอุโมงค์ยาวๆ ตัวเตาจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Preheating zone , Heating zone , และ cooling zone การควบคุมใช้ระบบอัตโนมัติ และการเผาเมื่อปรับได้เหมาะสมแล้วจะควบคุมให้คงที่เรื่อยๆทำให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และความสูญเสียต่ำ ในขณะเดียวกัน ข้อเสียของเตาอุโมงค์ คือ ไม่สามารถที่จะหยุดการทำงานของเตาได้บ่อยครั้ง เนื่องจากการเริ่มต้นเผาแต่ละครั้งต้องใช้เวลา และ พลังงานมาก นอกจากนั้นหากมีข้อผิดพลาดจากกระบวนการผลิตเกิดขึ้นทำให้เกิดความเสียหายของผลิตภัณฑ์ภายในเตาขณะเผาแล้ว จะเสียหายมากกว่าเตาแบบไม่ต่อเนื่องหลายเท่า
การทำงานของเตาอุโมงค์
รถเตาจะเริ่มเคลื่อนเข้าไปในอุโมงค์เตาในส่วนที่มีระดับอุณหภูมิค่อยๆเพิ่มขึ้น (Preheating Zone) จนไปถึงจุดที่มีอุณหภูมิสูงสุดสูง(Heating Zone ) และหลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่ระดับอุณหภูมิจะลดต่ำลง (Cooling Zone)
แหล่งอ้างอิง ประวัติของเตาอุโมงค์
http://www.jstor.org/discover/10.2307/1493782?uid=3737496&uid=2&uid=4&sid=21102474100041
ส่วนประกอบของเตาอุโมงค์
http://cool.conservation-us.org/jaic/articles/jaic43-03-004_3.html
การทำงานของเตาอุโมงค์
http://www.bpcd.net/new_subject/library/research/document/sopida/research/industrail/ceramics/02.pdf http://www.mne.eng.psu.ac.th/staff/lek_files/ceramic/u7-3.htm http://www.azom.com/article.aspx?ArticleID=3540