พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์
จาก ChulaPedia
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์ : พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ใน…') |
|||
แถว 1: | แถว 1: | ||
- | ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์ : พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย : กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม. | + | '''ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์ : พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย : กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม. |
(SUPERSTITIOUS AND BUDDHIST COMMERCIALS IN THAI PRACTICAL BUDDHISM : CASE STUDIES OF TEMPLES IN NAKHON PATHOM PROVINCE) | (SUPERSTITIOUS AND BUDDHIST COMMERCIALS IN THAI PRACTICAL BUDDHISM : CASE STUDIES OF TEMPLES IN NAKHON PATHOM PROVINCE) | ||
- | อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : อ.ดร.พินิจ ลาภธนานนท์ | + | อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : อ.ดร.พินิจ ลาภธนานนท์.''' |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผสมกลมกลืนของพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ในวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย กับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม “บุญพาณิชย์” กับพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกด้วยแนวคำถามการสัมภาษณ์ (Interview Guides) กับกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับ | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผสมกลมกลืนของพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ในวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย กับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม “บุญพาณิชย์” กับพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกด้วยแนวคำถามการสัมภาษณ์ (Interview Guides) กับกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับ | ||
พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ ทั้งกลุ่มพระสงฆ์และฆราวาส ในพื้นที่วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และวัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม รวมทั้งการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ พื้นฐานความเชื่อความศรัทธาต่างๆ รวมถึงวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทยบนพื้นฐานแนวคิด “พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติ” ภายใต้บริบทสังคมไทย เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามประเด็นการวิจัย และนำมาเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับใช้ประกอบกับการศึกษาและตีความข้อมูลจากการวิจัยสนาม | พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ ทั้งกลุ่มพระสงฆ์และฆราวาส ในพื้นที่วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และวัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม รวมทั้งการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ พื้นฐานความเชื่อความศรัทธาต่างๆ รวมถึงวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทยบนพื้นฐานแนวคิด “พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติ” ภายใต้บริบทสังคมไทย เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามประเด็นการวิจัย และนำมาเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับใช้ประกอบกับการศึกษาและตีความข้อมูลจากการวิจัยสนาม |
การปรับปรุง เมื่อ 04:19, 17 สิงหาคม 2556
ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์ : พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย : กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม. (SUPERSTITIOUS AND BUDDHIST COMMERCIALS IN THAI PRACTICAL BUDDHISM : CASE STUDIES OF TEMPLES IN NAKHON PATHOM PROVINCE) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : อ.ดร.พินิจ ลาภธนานนท์.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผสมกลมกลืนของพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ในวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย กับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม “บุญพาณิชย์” กับพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกด้วยแนวคำถามการสัมภาษณ์ (Interview Guides) กับกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับ
พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ ทั้งกลุ่มพระสงฆ์และฆราวาส ในพื้นที่วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และวัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม รวมทั้งการค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์ พื้นฐานความเชื่อความศรัทธาต่างๆ รวมถึงวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทยบนพื้นฐานแนวคิด “พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติ” ภายใต้บริบทสังคมไทย เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามประเด็นการวิจัย และนำมาเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับใช้ประกอบกับการศึกษาและตีความข้อมูลจากการวิจัยสนาม
ผลการวิจัย พบว่า วิถีชีวิตของคนไทยประกอบไปด้วยความเชื่อพื้นฐานที่เป็นไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย ทั้งความเชื่อเกี่ยวกับผีสางเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ และ
พุทธศาสนาตามลำดับ โดยเฉพาะพุทธศาสนาในประเทศไทย มีลักษณะที่ผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์และคติความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีสางเทวดา อำนาจลึกลับ จนเป็นแหล่งที่มาของไสยศาสตร์ โดยผสมกลมกลืนไปกับพิธีกรรมหรือวิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนไทย และเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปด้วยอิทธิพลของทุนนิยมและบริโภคนิยม ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติทางศาสนาของคนไทย เกิดการผันแปรความเชื่อและการปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาแตกต่างไปจากเดิม ส่งผลถึงการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์ด้วย เป็นสภาพการณ์ในวิถีปฏิบัติที่มีเรื่องของผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้อง การทำบุญที่เป็นหนึ่งในวิถีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย จากสิ่งที่เป็นนามธรรมก็สามารถแสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านปรากฏการณ์พฤติกรรมที่เรียกว่า “บุญพาณิชย์” ในวิถีปฏิบัติแบบพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ได้ โดยพฤติกรรมบุญพาณิชย์เป็นเงื่อนไขและพฤติกรรมสำคัญที่เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกระบวนการพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์เข้าด้วยกัน เป็นทั้งเหตุและผลของวิถีปฏิบัติพุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์อีกทั้งมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะของแบบแผนวิถีการได้มาซึ่งบุญ โดยแสดงออกผ่านปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมชี้วัดความเป็นพาณิชย์ที่สำคัญ 5 ประการ คือ (1) กิจกรรมหรือพิธีกรรม (2) สถานที่ประกอบกิจกรรม (3) บุคคลในกิจกรรม (4) ราคา ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม และ (5) แผนการตลาด ซึ่งวิถีปฏิบัติภายใต้ ความเชื่อความศรัทธาดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาย่อมไม่สามารถหาคำอธิบายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นการอธิบายด้วยแนวคิด “พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติ” จึงเป็นแนวทางที่สามารถเชื่อมโยงถึงวิถีปฏิบัติทางศาสนาและปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ที่มีรากฐานสำคัญมาจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากวิถีการดำเนินชีวิตทางโลกแบบท้องถิ่นที่ไม่ได้ตรงตามตำราคำสอนทางพุทธศาสนา แต่เป็นวิถีปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงท่ามกลางความเชื่อ ความศรัทธาต่างๆ ภายใต้บริบทของวิถีชีวิตประจำวันของพุทธศาสนิกชน