การนำเสนอระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชม

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
แถว 1: แถว 1:
-
 
         ผลการวิจัยพบว่า  
         ผลการวิจัยพบว่า  
1. ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมมี 4  องค์ประกอบ  คือ 1) คน ประกอบด้วย คณะทำงานจัดการความรู้ และชุมชนนักปฏิบัติ ที่มีคุณอำนวยกระตุ้นและสร้าง
1. ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมมี 4  องค์ประกอบ  คือ 1) คน ประกอบด้วย คณะทำงานจัดการความรู้ และชุมชนนักปฏิบัติ ที่มีคุณอำนวยกระตุ้นและสร้าง

การปรับปรุง เมื่อ 09:10, 19 พฤศจิกายน 2556

       ผลการวิจัยพบว่า 

1. ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเว็บล็อกด้วยวิธีการสืบสอบแบบชื่นชมมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) คน ประกอบด้วย คณะทำงานจัดการความรู้ และชุมชนนักปฏิบัติ ที่มีคุณอำนวยกระตุ้นและสร้าง บรรยากาศของความชื่นชมและการคิดเชิงบวก 2) ความรู้ ได้แก่ ทักษะวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นประสบการณ์ตรงของกลุ่มที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) เทคโนโลยี คือ เว็บล็อก และ 4) แรงจูงใจ จากคณะทำงานจัดการความรู้และจากสมาชิกกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ 2. ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นสร้างกลุ่มสัมพันธ์ร่วมคิดด้วยกัน 2) ขั้นกำหนดความรู้มุ่งสู่เป้าหมาย ด้วยการเล่าเรื่องการแก้ปัญหาการทำงาน 3) ขั้นออกแบบพัฒนาแสวงหาความรู้ด้วยกลยุทธ์เพื่อให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ 4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บนพื้นที่จริงและเสมือนผ่านเว็บล็อก 5) ขั้นสร้างแรงจูงใจ ผ่านช่องทางสื่อสาร 6) ขั้นประมวลกลั่นกรองและทดลองนำไปใช้ และ7) ขั้นประเมินผลงานของกลุ่ม 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม หลังการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

ผู้วิจัย: นางบัวงาม ไชยสิทธิ์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รศ.ดร.อรจีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง กิตติกรรมประกาศ: ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก "ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช รุ่นที่ 17

เครื่องมือส่วนตัว