ไฟล์:Beach ridge.jpg

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
 
แถว 1: แถว 1:
 +
ในอดีตกาลระดับน้ำทะเลบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายครั้ง เกิดการรุกเข้ามาท่วมในแผ่นดิน และการถอยร่นออกไป ครั้งหนึ่งระดับน้ำทะเลได้เคยท่วมเข้ามาในประเทศไทยสูงสุดในระดับประมาณ 3-4 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางในปัจจุบันในช่วงสมัยโฮโลซีนตอนกลาง (ประมาณ 6,500 ปี) โดยที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยตอนนั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน หลักฐานทางธรณีวิทยารวมถึงธรณีสัณฐานวิทยาสามารถนำมาบ่งชี้สภาพแวดล้อมของการสะสมตัวของตะกอนในอดีตได้
 +
จากการศึกษาประวัติของการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในอดีต บริเวณปากน้ำชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มีการศึกษาเริ่มต้นจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศเพื่อดูลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งที่ปรากฏในพื้นที่ พบแนวหาดทรายเก่า (old sandy beach) 3 แนว ซึ่งมีการวางตัวเกือบขนานกับแนวชายฝั่งปัจจุบัน ตะกอนหาดทรายเก่าบริเวณปากน้ำชุมพรมีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอตซ์ (Quartz) เฉลี่ยประมาณร้อยละ 98 นอกเหนือจากนั้นมีองค์ประกอบร่วมเป็น แร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar) เศษหิน (Rock fragments) และแร่สีเข้ม (Ferromagnesian Minerals) มีขนาดตะกอนอยู่ในช่วงขนาดทรายหยาบปานกลางถึงทรายละเอียด (ขนาด 0.125 - 0.25 มิลลิเมตร) ความมนของเม็ดตะกอนอยู่ในช่วงกึ่งเหลี่ยมถึงเหลี่ยม และมีความเป็นทรงกลมสูงเนื่องมาจากได้รับอิทธิพลจากคลื่นทะเล  แนวหาดทรายเก่าเหล่านี้วางตัวห่างจากแนวชายฝั่งทะเลปัจจุบันเป็นระยะทางเฉลี่ยประมาณ 7 กิโลเมตร ระหว่างแนวหาดทรายมีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ (swale) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสะสมของตะกอนละเอียดขนาดทรายแป้งและขนาดโคลน  (ขนาด 0.062 – น้อยกว่า 0.004 มิลลิเมตร)  พบเศษเปลือกหอยปะปนอยู่กับตะกอน เปลือกหอยที่พบมีทั้งหอยสองฝา (Bivalves) และหอยฝาเดียว (Gastropods)  ซึ่งบ่งชี้สภาพแวดล้อมในอดีตว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เคยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบที่มีอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง (intertidal flat) และป่าชายเลน (mangrove) และถูกอิทธิพลของน้ำทะเลพัดมาปะปนกันอยู่กับตะกอนละเอียดเป็นอีกหนึ่งหลักฐานยืนยันว่าบริเวณนี้เคยได้รับอิทธิพลจากทะเลในอดีต
 +
 +
[[ไฟล์:beach ridge.jpg]]

รุ่นปัจจุบันของ 04:19, 6 มีนาคม 2557

ในอดีตกาลระดับน้ำทะเลบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายครั้ง เกิดการรุกเข้ามาท่วมในแผ่นดิน และการถอยร่นออกไป ครั้งหนึ่งระดับน้ำทะเลได้เคยท่วมเข้ามาในประเทศไทยสูงสุดในระดับประมาณ 3-4 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางในปัจจุบันในช่วงสมัยโฮโลซีนตอนกลาง (ประมาณ 6,500 ปี) โดยที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยตอนนั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน หลักฐานทางธรณีวิทยารวมถึงธรณีสัณฐานวิทยาสามารถนำมาบ่งชี้สภาพแวดล้อมของการสะสมตัวของตะกอนในอดีตได้

จากการศึกษาประวัติของการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในอดีต บริเวณปากน้ำชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มีการศึกษาเริ่มต้นจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศเพื่อดูลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งที่ปรากฏในพื้นที่ พบแนวหาดทรายเก่า (old sandy beach) 3 แนว ซึ่งมีการวางตัวเกือบขนานกับแนวชายฝั่งปัจจุบัน ตะกอนหาดทรายเก่าบริเวณปากน้ำชุมพรมีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอตซ์ (Quartz) เฉลี่ยประมาณร้อยละ 98 นอกเหนือจากนั้นมีองค์ประกอบร่วมเป็น แร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar) เศษหิน (Rock fragments) และแร่สีเข้ม (Ferromagnesian Minerals) มีขนาดตะกอนอยู่ในช่วงขนาดทรายหยาบปานกลางถึงทรายละเอียด (ขนาด 0.125 - 0.25 มิลลิเมตร) ความมนของเม็ดตะกอนอยู่ในช่วงกึ่งเหลี่ยมถึงเหลี่ยม และมีความเป็นทรงกลมสูงเนื่องมาจากได้รับอิทธิพลจากคลื่นทะเล แนวหาดทรายเก่าเหล่านี้วางตัวห่างจากแนวชายฝั่งทะเลปัจจุบันเป็นระยะทางเฉลี่ยประมาณ 7 กิโลเมตร ระหว่างแนวหาดทรายมีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ (swale) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสะสมของตะกอนละเอียดขนาดทรายแป้งและขนาดโคลน (ขนาด 0.062 – น้อยกว่า 0.004 มิลลิเมตร) พบเศษเปลือกหอยปะปนอยู่กับตะกอน เปลือกหอยที่พบมีทั้งหอยสองฝา (Bivalves) และหอยฝาเดียว (Gastropods) ซึ่งบ่งชี้สภาพแวดล้อมในอดีตว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เคยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบที่มีอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง (intertidal flat) และป่าชายเลน (mangrove) และถูกอิทธิพลของน้ำทะเลพัดมาปะปนกันอยู่กับตะกอนละเอียดเป็นอีกหนึ่งหลักฐานยืนยันว่าบริเวณนี้เคยได้รับอิทธิพลจากทะเลในอดีต

ไฟล์:beach ridge.jpg

ประวัติไฟล์

กดเลือก วัน/เวลา เพื่อดูไฟล์ที่แสดงในวันนั้น

(ท้ายสุด | แรกสุด) ดู (ใหม่กว่า 50) (เก่ากว่า 50) (20 | 50 | 100 | 250 | 500)
วันที่/เวลารูปย่อขนาดผู้ใช้ความเห็น
ปัจจุบัน04:18, 6 มีนาคม 2557รูปย่อสำหรับรุ่น 04:18, 6 มีนาคม 25571,371×767 (1.28 เมกะไบต์)53722850 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ท้ายสุด | แรกสุด) ดู (ใหม่กว่า 50) (เก่ากว่า 50) (20 | 50 | 100 | 250 | 500)

ไฟล์ต่อไปนี้ เป็นไฟล์เดียวกับไฟล์นี้ (รายละเอียดเพิ่ม):

เครื่องมือส่วนตัว