รัตนปรีกษา

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
(หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''รัตนปรีกษา''' '''รัตนปรีกษา''' เป็นคำภาษาสันสกฤต (ส.ร…')
 
แถว 1: แถว 1:
-
'''รัตนปรีกษา'''
 
-
 
'''รัตนปรีกษา'''  เป็นคำภาษาสันสกฤต (ส.รตฺนปรีกฺษา)  ประกอบรูปจาก รตฺน “ของมีค่า” กับ ปรีกฺษา “การตรวจสอบ การทดสอบ” รัตนปรีกษาจึงหมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ พิจารณา และประเมินค่าอัญมณี  ตรงกับคำ Gemology  ในภาษาอังกฤษ  และ อัญมณีวิทยา ในภาษาไทย  คำ “รัตนปรีกษา” ยังใช้เรียกตำราภาษาสันสกฤตที่ว่าด้วยเรื่องอัญมณีวิทยาโดยตรง  (Gemological Text)  วรรณคดีสันสกฤตเรื่องกามสูตรซึ่งวาตสยายนะแต่งขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ระบุว่า  รัตนปรีกษาเป็นหนึ่งในศิลปศาสตร์ 64 ประการ  วรรณคดีสันสกฤตบางเรื่องซึ่งอ้างถึงความรู้เกี่ยวกับรัตนปรีกษาเอาไว้ด้วย เช่น อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ กาทัมพรีของพาณะ รวมถึงวรรณคดีพุทธศาสนาเรื่องทิพยาวทาน  ได้แสดงถึงความสำคัญของรัตนปรีกษาว่าเป็นศาสตร์ที่พระราชา เจ้าพนักงานพระคลัง และพ่อค้าควรศึกษาหาความรู้   
'''รัตนปรีกษา'''  เป็นคำภาษาสันสกฤต (ส.รตฺนปรีกฺษา)  ประกอบรูปจาก รตฺน “ของมีค่า” กับ ปรีกฺษา “การตรวจสอบ การทดสอบ” รัตนปรีกษาจึงหมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ พิจารณา และประเมินค่าอัญมณี  ตรงกับคำ Gemology  ในภาษาอังกฤษ  และ อัญมณีวิทยา ในภาษาไทย  คำ “รัตนปรีกษา” ยังใช้เรียกตำราภาษาสันสกฤตที่ว่าด้วยเรื่องอัญมณีวิทยาโดยตรง  (Gemological Text)  วรรณคดีสันสกฤตเรื่องกามสูตรซึ่งวาตสยายนะแต่งขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ระบุว่า  รัตนปรีกษาเป็นหนึ่งในศิลปศาสตร์ 64 ประการ  วรรณคดีสันสกฤตบางเรื่องซึ่งอ้างถึงความรู้เกี่ยวกับรัตนปรีกษาเอาไว้ด้วย เช่น อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ กาทัมพรีของพาณะ รวมถึงวรรณคดีพุทธศาสนาเรื่องทิพยาวทาน  ได้แสดงถึงความสำคัญของรัตนปรีกษาว่าเป็นศาสตร์ที่พระราชา เจ้าพนักงานพระคลัง และพ่อค้าควรศึกษาหาความรู้   
-
'''ประวัติความเป็นมาของตำรารัตนปรีกษา'''
+
 
 +
== ประวัติความเป็นมาของตำรารัตนปรีกษา ==
 +
 
ตำรารัตนปรีกษาฉบับแรกในประวัติวรรณคดีสันสกฤต คือ ตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะ  มีลักษณะเป็นเอกสารโบราณ  สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6  เป็นตำราที่นักปราชญ์อินเดียโบราณในสมัยหลังยึดถือเป็นต้นแบบในการแต่งตำรารัตนปรีกษา  ตอนต้นของตำราระบุว่า รัตนปรีกษาฉบับนี้เป็นเนื้อหาฉบับย่อของ “รัตนศาสตร์” ซึ่งเป็นตำรารัตนปรีกษาที่มีมาก่อน  แต่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบ  รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะจึงเป็นตำรารัตนปรีกษาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน   
ตำรารัตนปรีกษาฉบับแรกในประวัติวรรณคดีสันสกฤต คือ ตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะ  มีลักษณะเป็นเอกสารโบราณ  สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6  เป็นตำราที่นักปราชญ์อินเดียโบราณในสมัยหลังยึดถือเป็นต้นแบบในการแต่งตำรารัตนปรีกษา  ตอนต้นของตำราระบุว่า รัตนปรีกษาฉบับนี้เป็นเนื้อหาฉบับย่อของ “รัตนศาสตร์” ซึ่งเป็นตำรารัตนปรีกษาที่มีมาก่อน  แต่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบ  รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะจึงเป็นตำรารัตนปรีกษาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน   
แถว 9: แถว 9:
ตำรารัตนปรีกษาอีกฉบับหนึ่งเป็นเรื่องแทรกในคัมภีร์ครุฑปุราณะ ใช้ชื่อว่า รัตนปรีกษาธยายะ  สันนิษฐานว่ารวบรวมขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-10  รัตนปรีกษาธยายะนี้เป็นตำรารัตนปรีกษาที่คัดลอกมาจากตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะแทบทั้งฉบับโดยไม่ได้อ้างอิงที่มา  แต่ได้ปรับเปลี่ยนการใช้ภาษาในบางบทตอนให้สอดคล้องกับประเพณีฮินดู  ยกตัวอย่างเช่น รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะขึ้นต้นด้วยคำนมัสการพระรัตนตรัย  ในขณะที่รัตนปรีกษาธยายะในครุฑปุราณะขึ้นต้นด้วยข้อความซึ่งอ้างถึงฤษีวยาสะ ผู้รวบรวมคัมภีร์ครุฑปุราณะ  นอกจากนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวกับเทพเจ้าก็ล้วนเป็นชื่อของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู  โดยเฉพาะนิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด  (ไวศณพนิกาย) เพื่อให้สอดคล้องกับคัมภีร์ครุฑปุราณะซึ่งเป็นปุราณะในนิกายดังกล่าว
ตำรารัตนปรีกษาอีกฉบับหนึ่งเป็นเรื่องแทรกในคัมภีร์ครุฑปุราณะ ใช้ชื่อว่า รัตนปรีกษาธยายะ  สันนิษฐานว่ารวบรวมขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-10  รัตนปรีกษาธยายะนี้เป็นตำรารัตนปรีกษาที่คัดลอกมาจากตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะแทบทั้งฉบับโดยไม่ได้อ้างอิงที่มา  แต่ได้ปรับเปลี่ยนการใช้ภาษาในบางบทตอนให้สอดคล้องกับประเพณีฮินดู  ยกตัวอย่างเช่น รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะขึ้นต้นด้วยคำนมัสการพระรัตนตรัย  ในขณะที่รัตนปรีกษาธยายะในครุฑปุราณะขึ้นต้นด้วยข้อความซึ่งอ้างถึงฤษีวยาสะ ผู้รวบรวมคัมภีร์ครุฑปุราณะ  นอกจากนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวกับเทพเจ้าก็ล้วนเป็นชื่อของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู  โดยเฉพาะนิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด  (ไวศณพนิกาย) เพื่อให้สอดคล้องกับคัมภีร์ครุฑปุราณะซึ่งเป็นปุราณะในนิกายดังกล่าว
-
'''เนื้อหาสาระของตำรารัตนปรีกษา'''
+
 
 +
 
 +
== เนื้อหาสาระของตำรารัตนปรีกษา ==
 +
 
เนื้อหาสาระของตำรารัตนปรีกษาเป็นความรู้เกี่ยวกับอัญมณีสำคัญของอินเดีย 13-14 ชนิด  แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ 5 หัวข้อ  ได้แก่
เนื้อหาสาระของตำรารัตนปรีกษาเป็นความรู้เกี่ยวกับอัญมณีสำคัญของอินเดีย 13-14 ชนิด  แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ 5 หัวข้อ  ได้แก่
แถว 19: แถว 22:
'''3. คุณสมบัติ'''  หมายถึง  ลักษณะทางกายภาพของอัญมณี  ครอบคลุมด้านสี รัศมี รูปทรง ความบริสุทธิ์ และความแข็ง อัญมณีที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้   
'''3. คุณสมบัติ'''  หมายถึง  ลักษณะทางกายภาพของอัญมณี  ครอบคลุมด้านสี รัศมี รูปทรง ความบริสุทธิ์ และความแข็ง อัญมณีที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้   
-
      ''ด้านสี''  สีของอัญมณีจะต้อง เข้ม  สดใส ไม่ซีดจาง เนื้อสีสม่ำเสมอ  และมีความงดงามตามธรรมชาติ   
+
''ด้านสี''  สีของอัญมณีจะต้อง เข้ม  สดใส ไม่ซีดจาง เนื้อสีสม่ำเสมอ  และมีความงดงามตามธรรมชาติ   
-
      ''ด้านรัศมี''  อัญมณีที่งดงามจะสามารถเปล่งประกายแสงได้งดงามเจิดจ้า
+
''ด้านรัศมี''  อัญมณีที่งดงามจะสามารถเปล่งประกายแสงได้งดงามเจิดจ้า
-
      ''ด้านรูปทรง''  อัญมณีจะต้องมีรูปทรงสมส่วนเหมาะเจาะทุกด้าน
+
''ด้านรูปทรง''  อัญมณีจะต้องมีรูปทรงสมส่วนเหมาะเจาะทุกด้าน
-
      ''ด้านความบริสุทธิ์''  อัญมณีควรปราศจากตำหนิ เช่น จุด เส้น รอยแตก คราบสกปรก  อัญมณีที่มีตำหนิแต่สามารถขจัดออกได้ด้วยการเจียระไนก็นับว่าเป็นอัญมณีที่บริสุทธิ์
+
''ด้านความบริสุทธิ์''  อัญมณีควรปราศจากตำหนิ เช่น จุด เส้น รอยแตก คราบสกปรก  อัญมณีที่มีตำหนิแต่สามารถขจัดออกได้ด้วยการเจียระไนก็นับว่าเป็นอัญมณีที่บริสุทธิ์
-
      ''ด้านความแข็ง''  ตรวจสอบได้โดยนำอัญมณีที่ต้องการตรวจสอบมาขูดข่วนกัน  อัญมณีที่แข็งมากกว่าย่อมขูดข่วนอัญมณีที่แข็งน้อยกว่าให้เป็นรอยได้
+
''ด้านความแข็ง''  ตรวจสอบได้โดยนำอัญมณีที่ต้องการตรวจสอบมาขูดข่วนกัน  อัญมณีที่แข็งมากกว่าย่อมขูดข่วนอัญมณีที่แข็งน้อยกว่าให้เป็นรอยได้
'''4.  อานุภาพ'''  หมายถึง  พลังอำนาจของอัญมณีที่มีผลต่อชีวิตของผู้สวมใส่  อัญมณีมีอานุภาพทั้งด้านคุณและโทษ  อานุภาพด้านคุณเกิดจากคุณสมบัติที่ดีของอัญมณี   
'''4.  อานุภาพ'''  หมายถึง  พลังอำนาจของอัญมณีที่มีผลต่อชีวิตของผู้สวมใส่  อัญมณีมีอานุภาพทั้งด้านคุณและโทษ  อานุภาพด้านคุณเกิดจากคุณสมบัติที่ดีของอัญมณี   
แถว 31: แถว 34:
นอกจากนี้  ในเนื้อหาการตรวจสอบอัญมณีบางตอนยังกล่าวเพิ่มเติมถึงการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี  ไม่ว่าจะเป็นการเจียระไนเพื่อให้มีรูปทรงสมส่วน เพื่อให้ส่องประกายรัศมีได้มากขึ้น หรือเพื่อขจัดตำหนิที่ไม่พึงประสงค์ออกไป  การนำอัญมณีมาหุงเพื่อทำความสะอาดและเจาะรูได้สะดวกสำหรับไข่มุก  รวมถึงการนำอัญมณีมาขึ้นเรือนทำเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ แหวน เพื่อสวมใส่ในพิธีกรรมทางศาสนา
นอกจากนี้  ในเนื้อหาการตรวจสอบอัญมณีบางตอนยังกล่าวเพิ่มเติมถึงการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี  ไม่ว่าจะเป็นการเจียระไนเพื่อให้มีรูปทรงสมส่วน เพื่อให้ส่องประกายรัศมีได้มากขึ้น หรือเพื่อขจัดตำหนิที่ไม่พึงประสงค์ออกไป  การนำอัญมณีมาหุงเพื่อทำความสะอาดและเจาะรูได้สะดวกสำหรับไข่มุก  รวมถึงการนำอัญมณีมาขึ้นเรือนทำเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ แหวน เพื่อสวมใส่ในพิธีกรรมทางศาสนา
-
'''อัญมณีชนิดต่าง ๆ ในรัตนปรีกษา'''
+
 
 +
== อัญมณีชนิดต่าง ๆ ในรัตนปรีกษา ==
อัญมณีที่มีคำอธิบายในตำรารัตนปรีกษา  ได้แก่  เพชร (ส.วชฺร)  ไข่มุก (ส.มุกฺตา)  ทับทิม (ส.ปทฺมราค)  มรกต (ส.มรกต)  เศษะ (ส.เศษ; มีเฉพาะในตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะ) ไพลิน (ส.อินฺทฺรนีล)  ไพฑูรย์ (ส.ไวฑูรฺย, ไวทูรฺย)  บุษราคัม (ส.ปุษฺยราค, ปุษฺปราค)  กรรเกตนะ (ส.กรฺเกตน)  พลอยภีษมะ (ส.ภีษฺมมณิ)  โกเมน (ส.ปุลก)  หินสีเลือด (ส.รุธิร)  หินเขี้ยวหนุมาน (ส.สผฏิก)  และประพาฬ (ส.วิทรุม)
อัญมณีที่มีคำอธิบายในตำรารัตนปรีกษา  ได้แก่  เพชร (ส.วชฺร)  ไข่มุก (ส.มุกฺตา)  ทับทิม (ส.ปทฺมราค)  มรกต (ส.มรกต)  เศษะ (ส.เศษ; มีเฉพาะในตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะ) ไพลิน (ส.อินฺทฺรนีล)  ไพฑูรย์ (ส.ไวฑูรฺย, ไวทูรฺย)  บุษราคัม (ส.ปุษฺยราค, ปุษฺปราค)  กรรเกตนะ (ส.กรฺเกตน)  พลอยภีษมะ (ส.ภีษฺมมณิ)  โกเมน (ส.ปุลก)  หินสีเลือด (ส.รุธิร)  หินเขี้ยวหนุมาน (ส.สผฏิก)  และประพาฬ (ส.วิทรุม)

รุ่นปัจจุบันของ 05:07, 25 สิงหาคม 2557

รัตนปรีกษา เป็นคำภาษาสันสกฤต (ส.รตฺนปรีกฺษา) ประกอบรูปจาก รตฺน “ของมีค่า” กับ ปรีกฺษา “การตรวจสอบ การทดสอบ” รัตนปรีกษาจึงหมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ พิจารณา และประเมินค่าอัญมณี ตรงกับคำ Gemology ในภาษาอังกฤษ และ อัญมณีวิทยา ในภาษาไทย คำ “รัตนปรีกษา” ยังใช้เรียกตำราภาษาสันสกฤตที่ว่าด้วยเรื่องอัญมณีวิทยาโดยตรง (Gemological Text) วรรณคดีสันสกฤตเรื่องกามสูตรซึ่งวาตสยายนะแต่งขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ระบุว่า รัตนปรีกษาเป็นหนึ่งในศิลปศาสตร์ 64 ประการ วรรณคดีสันสกฤตบางเรื่องซึ่งอ้างถึงความรู้เกี่ยวกับรัตนปรีกษาเอาไว้ด้วย เช่น อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ กาทัมพรีของพาณะ รวมถึงวรรณคดีพุทธศาสนาเรื่องทิพยาวทาน ได้แสดงถึงความสำคัญของรัตนปรีกษาว่าเป็นศาสตร์ที่พระราชา เจ้าพนักงานพระคลัง และพ่อค้าควรศึกษาหาความรู้


ประวัติความเป็นมาของตำรารัตนปรีกษา

ตำรารัตนปรีกษาฉบับแรกในประวัติวรรณคดีสันสกฤต คือ ตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะ มีลักษณะเป็นเอกสารโบราณ สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นตำราที่นักปราชญ์อินเดียโบราณในสมัยหลังยึดถือเป็นต้นแบบในการแต่งตำรารัตนปรีกษา ตอนต้นของตำราระบุว่า รัตนปรีกษาฉบับนี้เป็นเนื้อหาฉบับย่อของ “รัตนศาสตร์” ซึ่งเป็นตำรารัตนปรีกษาที่มีมาก่อน แต่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบ รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะจึงเป็นตำรารัตนปรีกษาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน

ตำรารัตนปรีกษาอีกฉบับหนึ่งเป็นเรื่องแทรกในคัมภีร์ครุฑปุราณะ ใช้ชื่อว่า รัตนปรีกษาธยายะ สันนิษฐานว่ารวบรวมขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-10 รัตนปรีกษาธยายะนี้เป็นตำรารัตนปรีกษาที่คัดลอกมาจากตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะแทบทั้งฉบับโดยไม่ได้อ้างอิงที่มา แต่ได้ปรับเปลี่ยนการใช้ภาษาในบางบทตอนให้สอดคล้องกับประเพณีฮินดู ยกตัวอย่างเช่น รัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะขึ้นต้นด้วยคำนมัสการพระรัตนตรัย ในขณะที่รัตนปรีกษาธยายะในครุฑปุราณะขึ้นต้นด้วยข้อความซึ่งอ้างถึงฤษีวยาสะ ผู้รวบรวมคัมภีร์ครุฑปุราณะ นอกจากนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวกับเทพเจ้าก็ล้วนเป็นชื่อของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะนิกายที่นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด (ไวศณพนิกาย) เพื่อให้สอดคล้องกับคัมภีร์ครุฑปุราณะซึ่งเป็นปุราณะในนิกายดังกล่าว


เนื้อหาสาระของตำรารัตนปรีกษา

เนื้อหาสาระของตำรารัตนปรีกษาเป็นความรู้เกี่ยวกับอัญมณีสำคัญของอินเดีย 13-14 ชนิด แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ 5 หัวข้อ ได้แก่

1. การกำเนิด หมายถึง เรื่องราวความเป็นมาของอัญมณีแต่ละชนิด หรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอัญมณีชนิดนั้น ๆ บนโลก การอธิบายกำเนิดได้อ้างอิงตำนานพลาสูรผู้ถูกไฟในยัชญพิธีแผดเผาจนอวัยวะแต่ละส่วนของร่างกายกลายสภาพเป็นอัญมณี เพื่อสร้างความเชื่อที่ว่า อัญมณีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค่ามาก ตำนานพลาสูรนี้สัมพันธ์กับทฤษฎีการกำเนิดอัญมณีในทางอัญมณีวิทยาปัจจุบัน

2. แหล่งกำเนิด หมายถึง สถานที่ตามธรรมชาติที่อัญมณีฝังตัวอยู่ ทั้งนี้ยังครอบคลุมถึงแหล่งซื้อขายอัญมณีด้วย แหล่งกำเนิดของอัญมณีในตำรารัตนปรีกษามักเป็นแหล่งในดินแดนชมพูทวีป

3. คุณสมบัติ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของอัญมณี ครอบคลุมด้านสี รัศมี รูปทรง ความบริสุทธิ์ และความแข็ง อัญมณีที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้

ด้านสี สีของอัญมณีจะต้อง เข้ม สดใส ไม่ซีดจาง เนื้อสีสม่ำเสมอ และมีความงดงามตามธรรมชาติ ด้านรัศมี อัญมณีที่งดงามจะสามารถเปล่งประกายแสงได้งดงามเจิดจ้า ด้านรูปทรง อัญมณีจะต้องมีรูปทรงสมส่วนเหมาะเจาะทุกด้าน ด้านความบริสุทธิ์ อัญมณีควรปราศจากตำหนิ เช่น จุด เส้น รอยแตก คราบสกปรก อัญมณีที่มีตำหนิแต่สามารถขจัดออกได้ด้วยการเจียระไนก็นับว่าเป็นอัญมณีที่บริสุทธิ์ ด้านความแข็ง ตรวจสอบได้โดยนำอัญมณีที่ต้องการตรวจสอบมาขูดข่วนกัน อัญมณีที่แข็งมากกว่าย่อมขูดข่วนอัญมณีที่แข็งน้อยกว่าให้เป็นรอยได้

4. อานุภาพ หมายถึง พลังอำนาจของอัญมณีที่มีผลต่อชีวิตของผู้สวมใส่ อัญมณีมีอานุภาพทั้งด้านคุณและโทษ อานุภาพด้านคุณเกิดจากคุณสมบัติที่ดีของอัญมณี

5. ราคา คือค่าของอัญมณีที่เทียบเป็นเงินตรา ประเมินตามน้ำหนักซึ่งมีหน่วยวัดเป็นหน่วยเมล็ดพืช โดยทั่วไปอัญมณีที่มีน้ำหนักมากจะมีราคาสูงกว่าอัญมณีที่มีน้ำหนักน้อย

นอกจากนี้ ในเนื้อหาการตรวจสอบอัญมณีบางตอนยังกล่าวเพิ่มเติมถึงการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี ไม่ว่าจะเป็นการเจียระไนเพื่อให้มีรูปทรงสมส่วน เพื่อให้ส่องประกายรัศมีได้มากขึ้น หรือเพื่อขจัดตำหนิที่ไม่พึงประสงค์ออกไป การนำอัญมณีมาหุงเพื่อทำความสะอาดและเจาะรูได้สะดวกสำหรับไข่มุก รวมถึงการนำอัญมณีมาขึ้นเรือนทำเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ แหวน เพื่อสวมใส่ในพิธีกรรมทางศาสนา


อัญมณีชนิดต่าง ๆ ในรัตนปรีกษา

อัญมณีที่มีคำอธิบายในตำรารัตนปรีกษา ได้แก่ เพชร (ส.วชฺร) ไข่มุก (ส.มุกฺตา) ทับทิม (ส.ปทฺมราค) มรกต (ส.มรกต) เศษะ (ส.เศษ; มีเฉพาะในตำรารัตนปรีกษาของพุทธภัฏฏะ) ไพลิน (ส.อินฺทฺรนีล) ไพฑูรย์ (ส.ไวฑูรฺย, ไวทูรฺย) บุษราคัม (ส.ปุษฺยราค, ปุษฺปราค) กรรเกตนะ (ส.กรฺเกตน) พลอยภีษมะ (ส.ภีษฺมมณิ) โกเมน (ส.ปุลก) หินสีเลือด (ส.รุธิร) หินเขี้ยวหนุมาน (ส.สผฏิก) และประพาฬ (ส.วิทรุม)

เครื่องมือส่วนตัว