การฟื้นคืนได้ของครอบครัวที่บุตรมีภาวะออทิซึม
จาก ChulaPedia
แถว 8: | แถว 8: | ||
ประเด็นที่สี่ ''การพัฒนาวิถีครอบครัวพลังบวกของครอบครัว'' ได้แก่ การเกิดความมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อบุตร การพัฒนามุมมองทางบวก การแสวงหาหลักยึดเหนี่ยวทางใจ และการสร้างความเข้มแข็งภายใน | ประเด็นที่สี่ ''การพัฒนาวิถีครอบครัวพลังบวกของครอบครัว'' ได้แก่ การเกิดความมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อบุตร การพัฒนามุมมองทางบวก การแสวงหาหลักยึดเหนี่ยวทางใจ และการสร้างความเข้มแข็งภายใน | ||
ประเด็นที่ห้า ''การเผชิญปัญหาของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ'' ได้แก่ การสื่อสารภายในครอบครัว การแบ่งหน้าที่ในครอบครัว การพัฒนาวิธีการดูแลบุตรในแบบเฉพาะของตนเอง และการพัฒนาความพร้อมในการเผชิญปัญหา | ประเด็นที่ห้า ''การเผชิญปัญหาของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ'' ได้แก่ การสื่อสารภายในครอบครัว การแบ่งหน้าที่ในครอบครัว การพัฒนาวิธีการดูแลบุตรในแบบเฉพาะของตนเอง และการพัฒนาความพร้อมในการเผชิญปัญหา | ||
- | ประเด็นสุดท้าย | + | ประเด็นสุดท้าย ''ความสุขและการเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะของครอบครัว'' ได้แก่ การมีความสุขในการดูแลบุตรที่มีภาวะออทิซึม การมีความพึงพอใจในชีวิต การตกผลึกการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการดูแลบุตร และการมีความรู้สึกเข้าใจ เห็นใจ และอยากแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับครอบครัวอื่น |
ผลการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ความยกลำบากที่ครอบครัวที่บุตรมีภาวะออทิซึ่มต้องเผชิญ การปรับตัวของครอบครัว ที่มีแหล่งทรัพยากรภายในของครอบครัว เช่น ความรักและสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น กำลังใจต่างๆ เป็นตัวช่วยในการฟื้นคืนตัวจากภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยแม้ว่าทุกครอบครัวจะประสบกับความทุกข์ยาก แต่หากครอบครัวมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีความรักความอบอุ่น ได้รับกำลังใจและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ครอบครัวก็จะสามารถฟันฝ่าความทุกข์ยากต่างๆ จนก่อให้เกิดความสุขและการเติบโตอย่างเข้มแข็งของครอบครัวในที่สุด | ผลการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ความยกลำบากที่ครอบครัวที่บุตรมีภาวะออทิซึ่มต้องเผชิญ การปรับตัวของครอบครัว ที่มีแหล่งทรัพยากรภายในของครอบครัว เช่น ความรักและสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น กำลังใจต่างๆ เป็นตัวช่วยในการฟื้นคืนตัวจากภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยแม้ว่าทุกครอบครัวจะประสบกับความทุกข์ยาก แต่หากครอบครัวมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีความรักความอบอุ่น ได้รับกำลังใจและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ครอบครัวก็จะสามารถฟันฝ่าความทุกข์ยากต่างๆ จนก่อให้เกิดความสุขและการเติบโตอย่างเข้มแข็งของครอบครัวในที่สุด |
รุ่นปัจจุบันของ 09:56, 28 กันยายน 2557
การฟื้นคืนได้ (resilience) โดยทั่วไป หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการยืนหยัดอดทนต่อสิ่งที่มารบกวนความปกติสุขในชีวิตประจำวัน ตลอดจนเป็นความสามารถในการฟื้นตัวของบุคคลจากภาวะวิกฤติที่เกิดจากการประสบกับความกดดันและเหตุการณ์ด้านลบในชีวิตที่รุนแรงหรือต่อเนื่องยาวนานได้1 สำหรับการฟื้นคืนได้ในบริบทของครอบครัว หมายถึง ความสามารถของครอบครัวในการรับมือกับสิ่งที่มารบกวนภาวะปกติสุขของครอบครัวและเป็นการที่ครอบครัวยังคงความสามารถในการทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี แม้ว่าจะต้องประสบกับความทุกข์ยากหรือวิกฤติที่ร้ายแรงก็ตาม2 ครอบครัวที่บุตรมีภาวะออทิซึม นับเป็นครอบครัวที่ประสบกับภาวิกฤติครั้งสำคัญที่รบกวนความปกติสุขของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องทางพัฒนาการที่ทำให้เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ (เช่น หงุดหงิด หรือก้าวร้าวได้ง่าย) มีปัญหาทางสังคม (เช่น ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจคนอื่น ไม่เข้าใจมารยาทในสังคม) และมีปัญหาทางพฤติกรรม (เช่น ชอบทำอะไรซ้ำๆ อย่างไม่มีจุดหมาย หรือบางรายอาจมีการทำร้ายตัวเอง) ซึ่งทำให้ครอบครัวประสบกับความยากลำบากในการดูแล3
เป็นที่น่าสังเกตว่า บางครอบครัวที่บุตรมีภาวะออทิซึมสามารถเผชิญกับวิกฤต รับมือกับความกดดันต่างๆ และมีการฟื้นตัวที่ดี ในขณะที่หลายครอบครัวมีการปรับตัวที่ล้มเหลว การศึกษาของ ประภัสสร ฉันทศิริเวทย์4 นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของครอบครัวที่มีบุตรเป็นออทิสติก” โดยมี รศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ อาจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ได้สัมภาษาณ์ครอบครัวที่บุตรมีภาวะออทิซึมและมีคะแนนแบบประเมินการฟื้นคืนได้ของครอบครัวสูง ( 4 คะแนนขึ้นไปจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) จำนวน 8 ครอบครัว ผลการศึกษาพบ ครอบครัวที่มีการฟื้นคืน รายงานประสบการณ์ที่สำคัญ 6 ประเด็น กล่าวคือ
ประเด็นแรก สิ่งทีรบกวนความปกติสุข หรือ ความยากลำบากที่ครอบครัวประสบ ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ที่คุกคามความปกติสุขของครอบครัวอันเป็นผลกระทบจากการที่บุตรมีภาวะออทิซึม และเกิดเป็นความยากลำบากทางจิตใจและอารมณ์ทางลบต่างๆ เช่น ความรู้สึกเสียใจ รู้สึกผิดโทษตัวเอง ความโมโหบุตรและคนรอบข้าง เป็นต้น ประเด็นที่สอง แหล่งทรัพยากรที่สำคัญ หรือ ขุมพลังของครอบครัว ได้แก่ ความรักของพ่อแม่ การมีสายสัมพันธ์ในครอบครัวที่แน่นแฟ้น การได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ช่วยให้ครอบครัวเข้าใจบุตรและทราบวิธีการดูแลบุตร ประเด็นที่สาม ความเข้าใจและการยอมรับตัวบุตรที่มีภาวะออทิซึมของครอบครัวและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบุตร ได้แก่ การที่ครอบครัวมีความเข้าใจและการยอมรับในตัวบุตรที่มีภาวะออทิซึมเกิดขึ้น รวมทั้งการมีความเข้าอกเข้าใจกันของสมาชิกในครอบครัว และความเข้าใจของบุคลากรที่ทำงานใกล้ชิดกับบุตร ประเด็นที่สี่ การพัฒนาวิถีครอบครัวพลังบวกของครอบครัว ได้แก่ การเกิดความมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อบุตร การพัฒนามุมมองทางบวก การแสวงหาหลักยึดเหนี่ยวทางใจ และการสร้างความเข้มแข็งภายใน ประเด็นที่ห้า การเผชิญปัญหาของครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การสื่อสารภายในครอบครัว การแบ่งหน้าที่ในครอบครัว การพัฒนาวิธีการดูแลบุตรในแบบเฉพาะของตนเอง และการพัฒนาความพร้อมในการเผชิญปัญหา ประเด็นสุดท้าย ความสุขและการเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะของครอบครัว ได้แก่ การมีความสุขในการดูแลบุตรที่มีภาวะออทิซึม การมีความพึงพอใจในชีวิต การตกผลึกการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการดูแลบุตร และการมีความรู้สึกเข้าใจ เห็นใจ และอยากแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับครอบครัวอื่น
ผลการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ความยกลำบากที่ครอบครัวที่บุตรมีภาวะออทิซึ่มต้องเผชิญ การปรับตัวของครอบครัว ที่มีแหล่งทรัพยากรภายในของครอบครัว เช่น ความรักและสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น กำลังใจต่างๆ เป็นตัวช่วยในการฟื้นคืนตัวจากภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยแม้ว่าทุกครอบครัวจะประสบกับความทุกข์ยาก แต่หากครอบครัวมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีความรักความอบอุ่น ได้รับกำลังใจและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ครอบครัวก็จะสามารถฟันฝ่าความทุกข์ยากต่างๆ จนก่อให้เกิดความสุขและการเติบโตอย่างเข้มแข็งของครอบครัวในที่สุด
รายการอ้างอิง
1. Walsh, F. (2003).Family resilience: A framework for clinical practice. Family process, 42(1), 1-18. 2. Patterson, J. M. (2004). Integrating family resilience and family stress theory. Journal of marriage and family, 64(2), 349-360. 3. Myers, B. J., Mackintosh, V. H., & Goin-Kochel, R. P. (2009). “My greatest joy and my greatest heart ache:” Parents’ own words on how having a child in the autism spectrum have affected their lives and their families’ lives. Research in Autism Spectrum Disorders, 3(3), 670-684. 4. ประภัสสร ฉันทศิริเวทย์. (2556). ประสบการณ์การฟื้นคืนได้ของครอบครัวที่มีบุตรเป็นออทิสติก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.