แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัด

จาก ChulaPedia

(ความแตกต่างระหว่างรุ่นปรับปรุง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
แถว 155: แถว 155:
'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''
-
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ.2555. ราชกิจจานุเบกษา 130 (16 มกราคม 2556): 1-4.
+
    กฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ.2555. ราชกิจจานุเบกษา 130 (16 มกราคม 2556): 1-4.
-
กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548. ราชกิจจา-นุเบกษา 122 (2 กรกฎาคม 2548): 4-19.
+
    กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548. ราชกิจจา-นุเบกษา 122 (2 กรกฎาคม 2548): 4-19.
-
ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. 2548. มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
+
    ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. 2548. มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
-
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง และคณะ. 2552. การสำรวจข้อมูลพื้นที่ในชุมชนเพื่อเตรียมการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เทศบาลตำบลแม่เหียะ). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ.
+
    วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง และคณะ. 2552. การสำรวจข้อมูลพื้นที่ในชุมชนเพื่อเตรียมการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เทศบาลตำบลแม่เหียะ). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ.
-
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. 2544. สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
+
    ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. 2544. สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
-
สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร กองนโยบายและแผนงาน. 2555. รายงานการศึกษาศาสนสถานประเภทวัดในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: กองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร.
+
    สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร กองนโยบายและแผนงาน. 2555. รายงานการศึกษาศาสนสถานประเภทวัดในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: กองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร.
-
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. 2552. สู่สังคมไม่ทอดทิ้งกันบนเส้นทางสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับ
+
    สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. 2552. สู่สังคมไม่ทอดทิ้งกันบนเส้นทางสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับ
ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ
-
อรุณ ศิริจานุสรณ์. 2555. “การบริหารจัดการออกแบบและพัฒนาการสถาบันศาสนา” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 3, 1 (เมษายน–กันยายน 2555): 1-14.
+
    อรุณ ศิริจานุสรณ์. 2555. “การบริหารจัดการออกแบบและพัฒนาการสถาบันศาสนา” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 3, 1 (เมษายน–กันยายน 2555): 1-14.
-
Carstens, Diane Y. 1993. Site Planning and Design for the Elderly: Issues, Guidelines, and Alternatives. New York: Van Nostrand Reinhold.
+
    Carstens, Diane Y. 1993. Site Planning and Design for the Elderly: Issues, Guidelines, and Alternatives. New York: Van Nostrand Reinhold.
-
Charles Harris and Nicholas Dines. 1998. Time-Saver Standards for Landscape Architecture. United States: McGraw-Hill.
+
    Charles Harris and Nicholas Dines. 1998. Time-Saver Standards for Landscape Architecture. United States: McGraw-Hill.
-
Clare Cooper Marcus and Carolyn Francis. 1990. People Places : Design Guidelines for Urban Open Space. New York: Van Nostrand Reinhold.
+
    Clare Cooper Marcus and Carolyn Francis. 1990. People Places : Design Guidelines for Urban Open Space. New York: Van Nostrand Reinhold.

การปรับปรุง เมื่อ 11:59, 27 ธันวาคม 2557

แนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัด DESIGN GUIDELINES AND IMPROVEMENT OF OUTDOOR ENVIRONMENT AND FACILITIES IN TEMPLES FOR THE ELDERLY ภัทรนิษฐ์ จันพล

กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก “ทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิต” (CU.GRADUATE SCHOOL THESIS GRANT) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางผู้วิจัย นางสาวภัทรนิษฐ์ จันพล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก รศ.จามรี อาระยานิมิตสกุล สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

บทนำ ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีความแตกต่างจากวัยอื่นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเริ่มเสื่อมลงไปตามอายุ ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนบทบาทหน้าที่ และสัมพันธ์ภาพทางสังคมลดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการเกิดภาวะสุขภาพที่เจ็บป่วยของผู้สูงอายุหากไม่มีป้องกันและการจัดการที่เหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากจะช่วยลดข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมและเพิ่มความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับ ผู้สูงอายุ อันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ วัด คือ พื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งในการออกนอกบ้านในแต่ละครั้งของผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงอาคารสถานที่สาธารณะในบ้านเราจำนวนมากยังไม่เอื้อต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 มีผลบังคับใช้กับอาคารหลายประเภท แต่ไม่ครอบคลุมอาคารทางศาสนา และพบว่าในปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎหมายหรือมาตรการควบคุมใดเพื่อบังคับใช้กับอาคารทางศาสนา ทำให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายนอกในบริเวณพื้นที่วัดหลายแห่งไม่ได้รับการออกแบบที่เหมาะสมไม่สามารถรองรับการใช้งานของกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ามาทำบุญจำนวนมากและบ่อยครั้งได้อย่างสะดวกและปลอดภัยเท่าที่ควรการวิจัยครั้งนี้มุ่งทำการศึกษาลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัดในปัจจุบัน โดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับลักษณะพฤติกรรมและการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณพื้นที่วัดให้มีความเหมาะสมปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ และเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อใช้เป็นแนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในวัดให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุต่อไป อีกทั้งเป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้ามาใช้บริเวณพื้นที่วัดทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้พิการหรือทุพพลภาพที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะด้วยเช่นกัน

พื้นที่ศึกษา ทางผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกวัดเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างในการเสนอแนะแนวทางออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัด โดยคัดเลือกจากวัดพระพุทธศาสนาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งหมด 452 วัด และพิจารณาเลือกเฉพาะวัดที่มีศักยภาพในการศึกษาวิจัยตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ซึ่งสามารถเลือกวัดเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างได้จำนวน 4 วัด โดยเป็นวัดที่สามารถเข้าปฏิบัติธรรมแบบไป-กลับ จำนวน 3 วัด ได้แก่ วัดม่วง วัดเวฬุวนาราม วัดพรหมวงศาราม และเป็นวัดที่สามารถเข้าปฏิบัติธรรมแบบค้างคืน จำนวน 1 วัด ได้แก่ วัดสุวรรณประสิทธิ์

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการศึกษาวิจัย การศึกษาเรื่องแนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัด มีแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

     ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ได้กล่าวว่า การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุนั้น ควรมีลักษณะเอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในสภาวะแวดล้อมทั้ง 3 ประเภท ดังนี้ 1) สภาวะแวดล้อมส่วนบุคคล (Individual Environment) ควรปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อกระตุ้นความสนใจและทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น 2) สภาวะแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) ควรเน้นการจัดสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ คือ การปรับปรุงหรือเสริมแต่งให้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือแม้แต่การพูดคุย เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ 3) สภาวะแวดล้อมทางกายภาพ(Physical Environment) ควรให้ความสนใจเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของผู้สูงอายุ นอกเหนือจากเรื่องความสวยงาม จะเห็นได้ว่าสภาวะแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ ดังนั้น เพียงการปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมของผู้สูงอายุให้เหมาะสม ทั้งสภาวะแวดล้อมส่วนบุคคล สภาวะแวดล้อมทางสังคมและสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ จะช่วยป้องกัน ลด และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ โดยจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้สูงอายุแต่ละคนด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ
     ในหนังสือ Time-Saver Standards for Landscape Architecture ได้ให้หลักสำคัญในการออกแบบองค์ประกอบและรายละเอียดของสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารว่า สิ่งสำคัญคือเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาอันเกิดจากองค์ประกอบในการออกแบบและรายละเอียด วัสดุพืชพรรณจะต้องเลือกอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงพืชพันธุ์ที่อันตรายหรือเป็นพิษ
     ในหนังสือ People places : design guidelines for urban open space ได้ให้รายละเอียดในการออกแบบ พื้นที่ว่างสำหรับผู้สูงอายุเป็นรายการตรวจสอบในการออกแบบ7 ประกอบด้วยหัวข้อหลักดังนี้ เป้าหมายของที่ว่าง, ผู้ใช้พื้นที่,การพิจารณาเรื่องความหนาแน่นของอาคารและสภาพภูมิอากาศ, ทางเข้าและการเข้าถึงพื้นที่, ที่จอดรถและทางเข้าอาคาร, ระบบการสัญจรและทิศทาง, พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง, พื้นที่สนามหญ้า, พื้นที่สวน, ความต้องการทางด้านสังคมและด้านจิตวิทยาของผู้สูงอายุ อาทิเช่น สุขภาพและการออกกำลังกาย ความเพลิดเพลินกับธรรมชาติ รายละเอียดในการออกแบบเกี่ยวกับการรับรู้ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความปลอดภัย, เฟอร์นิเจอร์สนาม และรายละเอียด ได้แก่ ม้านั่งและโต๊ะ ราวจับแสงสว่างและป้ายสัญลักษณ์
     ในหนังสือ Site Planning and Design for the Elderly: Issues, Guidelines, and Alternatives ได้ให้รายละเอียดในการออกแบบสภาพแวดล้อมในส่วนต่างๆ เพื่อให้เป็นแนวทางในการออกแบบภูมิทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก โดย Carstens ได้แนะนำการวางเป้าหมายในการออกแบบสิ่งแวดล้อมภายนอกสำหรับผู้สูงอายุออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคือส่วนของข้อกำหนดเชิงพื้นที่และข้อกำหนดที่เกี่ยวกับความต้องการของผู้สูงอายุ โดยส่วนนี้มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาคือ เรื่องความสามารถในการรับรู้ทิศทางได้ของผู้ใช้ เรื่องความสามารถรับทราบได้ถึงลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้งานที่เหมาะสม เรื่องพื้นที่สำหรับการพบปะพูดคุยและความง่ายในการเข้าถึงจับจอง และเรื่องการกระตุ้นประสาทสัมผัสด้านต่างๆ และการเป็นสิ่งแวดล้อมที่ง่ายในการใช้งาน ส่วนที่สองคือส่วนของข้อพิจารณาสำคัญอื่นๆ อาทิเช่น ด้านความปลอดภัย ด้านความสะดวกในการเข้าถึง และความสบายในการใช้งาน
     แนวคิด Universal Design หรือการออกแบบที่เป็นสากล เป็นการออกแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างมีเหตุผลสะดวก ปลอดภัย และเสมอภาคในการใช้งานของทุกคน โดยมีหลักในการออกแบบ 7 หลักการ ในการออกแบบให้มีประสิทธิภาพดังนี้ 1. มีความเสมอภาคในการใช้สำหรับทุกๆ คนในสังคม (Equitable Use) 2. สามารถยืดหยุ่นการใช้งานได้ง่าย (Flexibility in Use) 3. เรียบง่าย เข้าใจการใช้งานได้ง่าย(Simple and Intuitive) 4. สามารถรับรู้ได้โดยง่าย (Perceptible Information) 5. ออกแบบให้สามารถแก้ไขสิ่งผิดพลาดในการใช้งานได้ (Tolerance for Error) เช่นลืมกดชักโครก ควรติดตั้งระบบล้างอัตโนมัติ 6. ใช้แรงน้อย (Low Physical Effort) 7. มีขนาดและพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้สอย (Size and Space for Approach and Use)
     แนวคิดของสวนเพื่อการบำบัด10 (Healing Therapeutic Garden) เป็นทฤษฎีที่ว่า สวนมีส่วนช่วยลดช่วงเวลาการพักฟื้นของคนไข้หนักในโรงพยาบาล และการใช้สวนเป็นการออกกำลังกายทางจิตใจที่สร้างผลดีต่อการบำบัด อีกทั้งการเดินเป็นการออกกำลังกายด้วย ซึ่ง 9 หลักของสวนเพื่อการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ คือ คล้ายบ้าน มีความเป็นส่วนตัว กระตุ้นจิตใจให้ตื่นตัว โอกาสการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ครอบครัวสามารถใช้พบปะกัน ใหญ่เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรม ที่นั่งสบาย รู้สึกสบาย รู้สึกปลอดภัย ผู้พิการเข้าถึงได้ โดยพืชพันธุ์ควรเหมาะสมทั้งสี ผิวสัมผัส กลิ่น และความหลากหลายทำให้พื้นที่มีเอกลักษณ์และมุมมองที่สวยงาม ซึ่งเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัส อีกทั้งสวนยังมีส่วนช่วยในการสร้างความต่อเนื่องในการใช้ชีวิต ผู้สูงอายุจำนวนมากมีประสบการณ์ในการทำสวน ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก หรือทำสวนภายในบ้านมาก่อน ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่จะสร้างความต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน
     กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้ว่าวัดซึ่งเป็นอาคารทางศาสนาจะไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่วัดโดยตรง แต่วัดนั้นมีลักษณะเป็นอาคารสาธารณะ จึงได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับอาคารสาธารณะในด้านกฎหมายข้อกำหนด และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้ 1. กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2548 2. กฎกระทรวง กำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ.2555

วิธีการดำเนินการศึกษาวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีดำเนินการดังนี้ 1. การตั้งคำถามในการวิจัย เพื่อกำหนดทิศทางในการศึกษา - วางแผนโครงการศึกษา ได้แก่ การกำหนดความสำคัญของปัญหา ศึกษาความเป็นไปได้ กำหนดตัวแปรทำการวางแผนงานในการศึกษาให้ชัดเจน 2. ศึกษาข้อมูลทางเอกสารจากหนังสือ เอกสาร บทความ งานวิจัยและกรณีศึกษา รวมถึงกฎหมาย ข้อกำหนดและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยทำการศึกษา 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายนอกและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ และศึกษาความรู้เกี่ยวกับวัด 3. เลือกวัดเพื่อเป็นกรณีตัวอย่าง 4. สำรวจภาคสนาม - เก็บข้อมูลทางด้านกายภาพด้วยวิธีสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation)โดยทำแบบสำรวจกิจกรรม (Behavior mapping) สำรวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ตำแหน่งกิจกรรม การใช้งาน พฤติกรรม และปัญหาต่างๆ เป็นรายการตรวจสอบ (Check list) ในการบันทึกข้อมูล โดยจะทำการสำรวจลักษณะการใช้พื้นที่ภายนอกอาคาร ได้แก่ ถนน ทางเดิน ที่จอดรถ ทางลาด ราวจับ บันได การใช้ป้าย-สัญลักษณ์ อุปกรณ์สนาม ผิวพื้น การให้แสงสว่าง ระบบระบายน้ำ ระบบรดน้ำ สวนและสภาพแวดล้อม - เก็บข้อมูลด้านความต้องการ ปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่วัดในแง่การให้บริการแก่ผู้สูงอายุด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) โดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารวัด - เก็บข้อมูลด้านความต้องการ ปัญหาและข้อจำกัดในการใช้พื้นที่วัดของผู้สูงอายุด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) ทำการสัมภาษณ์โดยทำการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนผู้สูงอายุที่มาใช้บริเวณพื้นที่วัดกรณีตัวอย่าง 5. ประมวลผลข้อมูล - วิเคราะห์และสรุปข้อมูลจากการลงสำรวจภาคสนามในแต่ละวัดกรณีตัวอย่าง - วิเคราะห์ความสัมพันธ์ร่วมในทุกวัดกรณีตัวอย่างเชื่อมโยงกับข้อมูลทางเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะแนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัด 6. สรุปผลการวิจัยและนำเสนอข้อมูล

ผลการศึกษา จากการลงเก็บข้อมูลในพื้นที่วัดกรณีตัวอย่างทั้ง 4 วัด โดยแยกเป็นประเด็นด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และประเด็นด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ สรุปภาพรวมจากความคิดเห็นของผู้บริหารวัดและผู้สูงอายุ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการให้ออกแบบหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นเรียงตามลำดับ ดังนี้ ความร่มรื่น (ร้อยละ 11) จำนวนต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามีน้อย ความสะอาด (ร้อยละ 7) ปัญหาความสะอาดเกิดจากมูลสัตว์และขยะมูลฝอย ขนาดพื้นที่ (ร้อยละ 5) ขนาดพื้นที่ไม่เพียงพอในการทำกิจกรรม ความรู้สึกสบาย (ร้อยละ 3) ขาดที่นั่งสบายใต้ร่มเงา ความรู้สึกปลอดภัย (ร้อยละ 3) รู้สึกไม่ปลอดภัยจากคนแปลกหน้าหรือจากความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการให้ออกแบบหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นเรียงตามลำดับ ดังนี้ ห้องน้ำ (ร้อยละ 38) ซึ่งแบ่งเป็นเรื่องของความต้องการห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ (ร้อยละ 46.67) จำนวนห้องน้ำไม่ เพียงพอ (ร้อยละ 31.11) และวัสดุพื้นผิวลื่น (ร้อยละ 22.22) บันได (ร้อยละ 11) บันไดชัน ไม่มีชานพัก ทางเดิน/ทางสัญจร (ร้อยละ 4) พื้นผิวทางเดินขรุขระ ไม่เรียบ เฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคาร (ร้อยละ 2) ที่นั่งใต้ร่มไม้มีน้อย การให้แสงสว่าง (ร้อยละ 1) แสงสว่างไม่เพียงพอ สรุปภาพรวมจากการสำรวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่วัด ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัดม่วง วัดเวฬุวนาราม วัดพรหมวงศาราม วัดสุวรรณประสิทธิ์ ความร่มรื่น 􀁹 ความสะอาด 􀁹 ความสวยงาม 􀁹 ความรู้สึกสบาย 􀁹 􀁹 􀁹 ความรู้สึกปลอดภัย 􀁹 􀁹 โอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 􀁹 􀁹 􀁹 ขนาดพื้นที่ 􀁹 􀁹 􀁹 ตารางที่ 1 บันทึกผลการเก็บข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่วัดกรณีตัวอย่างทั้ง 4 วัด จากตารางที่ 1 สามารถสรุปสิ่งที่ต้องออกแบบหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น มีดังนี้ ความร่มรื่น (1 วัด) จำนวนต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามีน้อย ความสะอาด (1 วัด) ปัญหาความสะอาดเกิดจากมูลสัตว์และขยะมูลฝอย ความสวยงาม (1 วัด) สวนถูกทิ้งร้าง ทรุดโทรม ขาดการดูแล ความรู้สึกสบาย (3 วัด) ขาดที่นั่งสบายใต้ร่มเงา ความรู้สึกปลอดภัย (2 วัด) รู้สึกไม่ปลอดภัยจากคนแปลกหน้าหรือจากความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ โอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (3 วัด) ขาดพื้นที่ที่เปิดโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ขนาดพื้นที่ (3 วัด) ขนาดพื้นที่ไม่เพียงพอในการทำกิจกรรม 599 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้สูงอายุ วัดม่วง วัดเวฬุวนาราม วัดพรหมวงศาราม วัดสุวรรณประสิทธิ์ ถนน/ทางเข้าออก 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 ที่จอดรถ 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 ทางเดิน/ทางสัญจร 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 บันได 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 ราวจับ 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 ราวกันตก/ผนังกันตก 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 ป้ายและสัญลักษณ์ 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 ห้องน้ำ 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 เฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคาร 􀁹 􀁹 􀁹 ระบบระบายน้ำ 􀁹 􀁹 􀁹 􀁹 ตารางที่ 2 บันทึกผลการเก็บข้อมูลด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัดกรณีตัวอย่างทั้ง 4 วัด จากตารางที่ 2 สามารถสรุปสิ่งที่ต้องออกแบบหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น มีดังนี้ ถนน/ทางเข้าออก (4 วัด) มีพื้นผิวถนนขรุขระ (3 วัด) มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตราย (1 วัด) มีความลาดชันเกิน 1:12 (1 วัด) ที่จอดรถ (4 วัด) ไม่มีที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ (4 วัด) ทางเดิน/ทางสัญจร (4 วัด) มีการใช้ผิวจราจรเป็นทางสัญจร (4 วัด) บันได (4 วัด) ความสูงของลูกตั้งสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน (4 วัด) ไม่มีชานพักทุกระยะในแนวดิ่งไม่เกิน 2 ม. (2 วัด) ใช้วัสดุ พื้นผิวที่ลื่น (4 วัด) ราวจับ (4 วัด) ขนาดใหญ่กว่าเกณฑ์มาตรฐาน (4 วัด) ราวกันตก/ผนังกันตก (4 วัด) ลักษณะไม่ตรงกับเกณฑ์มาตรฐาน (4 วัด) ไม่มีราวกันตกในจุดที่เสี่ยง (1 วัด) ป้ายและสัญลักษณ์ (4 วัด) ไม่มีป้ายแสดงแผนผังบริเวณวัด (2 วัด) ไม่พบเครื่องหมายแสดงทางไปสู่อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวย ความสะดวก (4 วัด) ห้องน้ำ (4 วัด) ไม่มีห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ (3 วัด) ใช้วัสดุพื้นผิวที่ลื่น (4 วัด) ตำแหน่งของห้องน้ำผู้สูงอายุ สุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ในห้องน้ำยังไม่เหมาะสม (1 วัด) เฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคาร (3 วัด) โต๊ะและม้านั่งไม่เพียงพอ (3 วัด) ระบบระบายน้ำ (4 วัด) ฝาท่อที่เป็นตะแกรงมีซี่หรือรูขนาดกว้างเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (4 วัด) สรุปผลการศึกษา จากผลของการศึกษาในภาพรวมของความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่สรุปมาข้างต้น สามารถนำไปพิจารณาเป็นแนว ทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัดเป็นอันดับ ต้นๆ เนื่องจากเป็นส่วนที่สำคัญและมีความจำเป็นต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ยังนำผลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูล ภาพรวมจากการสำรวจลักษณะทางกายภาพของพื้นที่วัดเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อนำผลการศึกษามาวิเคราะห์แล้ว สามารถเสนอแนะแนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทาง กายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่วัดได้ดังต่อไปนี้ 600 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ แนวทางการออกแบบและปรับปรุง ความร่มรื่น เพิ่มจำนวนต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาในบริเวณที่ขาดความร่มรื่น ความสะอาด จัดการทำความสะอาดบริเวณวัดอย่างสม่ำเสมอและวางถังขยะไว้ตามจุดต่างๆ ของวัด อย่างทั่วถึง ขนาดพื้นที่ จัดพื้นที่ให้เพียงพอในการทำกิจกรรม ความรู้สึกสบาย เพิ่มที่นั่งที่สบายใต้ร่มเงา ความรู้สึกปลอดภัย ปรับปรุงพื้นที่วัดให้มีความปลอดภัยไม่เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ความสวยงาม ดูแลสวนและภูมิทัศน์ภายในพื้นที่วัดอย่างสม่ำเสมอ โอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพิ่มพื้นที่ที่เปิดโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น โต๊ะ ม้านั่ง ตารางที่ 3 แนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ ผู้สูงอายุ แนวทางการออกแบบและปรับปรุง ห้องน้ำ เพิ่มห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ โดยจัดให้ออยู่ในตำแหน่งที่สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก และมีสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ในห้องน้ำที่เหมาะสม เพิ่มจำนวนห้องน้ำให้เพียงพอ และปรับเปลี่ยน วัสดุพื้นผิวไม่ให้ลื่น บันได เพิ่มราวจับช่วยพยุงตัว และใช้วัสดุพื้นผิวที่ไม่ลื่น ทางเดิน/ทางสัญจร ปรับพื้นผิวทางเดินให้เรียบ ไม่ขรุขระ และแยกพื้นผิวจราจรกับทางสัญจรออกจากกัน เฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคาร เพิ่มโต๊ะ ม้านั่งบริเวณที่มีร่มเงา การให้แสงสว่าง เพิ่มไฟส่องสว่างในบริเวณที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ถนน/ทางเข้าออก ปรับปรุงพื้นถนนให้เรียบ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตราย และปรับพื้นถนนให้มีความลาดชันไม่ เกิน 1:12 ที่จอดรถ เพิ่มที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะโดยต้องจัดให้มีอย่างน้อยตามอัตราส่วน ดังนี้ จำนวนที่จอดรถตั้งแต่ 10-50 คัน มีอย่างน้อย 1 คัน จำนวนที่จอดรถตั้งแต่ 51-100 คัน มีอย่างน้อย 2 คัน จำนวนที่จอดรถที่เพิ่มขึ้นทุก 100 คัน ให้มีเพิ่มขึ้นอีก 1 คัน โดยเพิ่มต่อจาก 100 คันแรก ราวจับ ปรับปรุงราวจับให้มีลักษณะกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร ราวจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 90 เซนติเมตร ราวจับด้านที่ อยู่ติดผนังให้มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตรและผนังบริเวณราวจับต้องเป็นผนังเรียบ ราวจับต้องยาวต่อเนื่อง และส่วนที่ยึดติด กับผนังจะต้องไม่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ของคนพิการทางการมองเห็นปลายของราว จับให้ยื่นเลยจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ของทางลาดไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ทำด้วยวัสดุ เรียบ ไม่ลื่น มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับ ราวกันตก/ผนังกันตก เพิ่มราวกันตกในจุดที่เสี่ยงต่อการพลัดตก เช่น ท่าเรือ ท่าน้ำ โดยที่ราวกันตก/ผนังกันตกนั้นสูง จากพื้นไม่น้อยกว่า 1.10 เมตร ราวกันตกควรติดตั้งต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีช่องว่าง ในกรณีที่มี ช่องว่างระหว่างราวกันตกระยะห่างของช่องว่างต้องมีความกว้างสุทธิ 10 ถึง 15 เซนติเมตรและทำด้วยวัสดุที่มีความมั่นคง แข็งแรง และไม่เป็นอันตราย ระบบระบายน้ำ ปรับเปลี่ยนฝาปิดที่เป็นตะแกรงให้มีซี่หรือรูเล็กขนาดกว้างไม่เกิน 1.30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันมิให้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรืออุปกรณ์ช่วยเดินอื่นๆ หรือล้อรถเข็นคนพิการตกลงไป ป้ายและสัญลักษณ์ จัดให้มีป้ายแสดงแผนผังบริเวณวัด และทำเครื่องหมายแสดงทางไปสู่อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก

บรรณานุกรม

    กฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ.2555. ราชกิจจานุเบกษา 130 (16 มกราคม 2556): 1-4.
    กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548. ราชกิจจา-นุเบกษา 122 (2 กรกฎาคม 2548): 4-19.
    ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. 2548. มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
    วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง และคณะ. 2552. การสำรวจข้อมูลพื้นที่ในชุมชนเพื่อเตรียมการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เทศบาลตำบลแม่เหียะ). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ.
    ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. 2544. สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร กองนโยบายและแผนงาน. 2555. รายงานการศึกษาศาสนสถานประเภทวัดในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: กองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร.
    สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. 2552. สู่สังคมไม่ทอดทิ้งกันบนเส้นทางสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับ

ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ

    อรุณ ศิริจานุสรณ์. 2555. “การบริหารจัดการออกแบบและพัฒนาการสถาบันศาสนา” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 3, 1 (เมษายน–กันยายน 2555): 1-14.
    Carstens, Diane Y. 1993. Site Planning and Design for the Elderly: Issues, Guidelines, and Alternatives. New York: Van Nostrand Reinhold.
    Charles Harris and Nicholas Dines. 1998. Time-Saver Standards for Landscape Architecture. United States: McGraw-Hill.
    Clare Cooper Marcus and Carolyn Francis. 1990. People Places : Design Guidelines for Urban Open Space. New York: Van Nostrand Reinhold.
เครื่องมือส่วนตัว